อายุ-จารึก พ.ศ. 1664, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 17, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกที่อาคารหอพระสมุดวชิรญาณ หอสมุดแห่งชาติ, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, เรื่อง-พระราชพิธี, เรื่อง-พระราชพิธีบรมราชาภิเษก, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-กัลปนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-สาปแช่ง, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2, บุคคล-ภควัดบาทกัมรเตงอัญดคุรุศรีทิวากรบัญฑิต, บุคคล-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ก.ค. 2562 20:44:00 )
ชื่อจารึก |
จารึกปราสาทหินพระวิหาร 2 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมโบราณ |
ศักราช |
พุทธศักราช 1664 |
ภาษา |
เขมร |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 135 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 48 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 57 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 7 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 23 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา ประเภทหินทราย |
ลักษณะวัตถุ |
สี่เหลี่ยม |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 44.5 ซม. สูง 117 ซม. หนา 13.5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ศก. 3” |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2502 |
สถานที่พบ |
ปราสาทหินพระวิหาร ตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
หอสมุดวชิรญาณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร |
พิมพ์เผยแพร่ |
จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 77-95. |
ประวัติ |
จารึกหลักนี้ถูกพบอยู่บนเขาพระวิหารซึ่งตั้งอยู่ในเขตตำบลบึงมะลู อำเภอกันทรลักษณ์ (น้ำอ้อม) จังหวัดศรีสะเกษ อยู่ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศใต้ 47 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ในความคุ้มครองของประเทศสาธารณรัฐประชาชนชาวกัมพูชา เป็นจารึกที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 มีรูปร่างลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า วัดขนาดกว้าง 44.5 เซนติเมตร สูง 117 เซนติเมตร หนา 13.5 เซนติเมตร วัตถุที่ใช้จารึกเป็นหินสีเทา จารึกด้วยอักษรขอม ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมร สำหรับภาษาสันสกฤต ได้จารึกไว้เพียง 3 แห่งเฉพาะด้านที่ 1 เท่านั้น คือ ในบรรทัดที่ 1-2 บรรทัดที่ 35-36 และ บรรทัดที่ 40-41 ส่วนบรรทัดที่เหลือทุกๆ ด้านนอกนี้ จารึกเป็นภาษาเขมรทั้งหมด |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ด้านที่ 1 กล่าวถึงการประกอบพระราชพิธีราชาพิเษกของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 โดยภควัดบาทกัมรเตงอัญดคุรุศรีทิวากรบัญฑิตได้รับเชิญให้เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ด้านที่ 2 กล่าวถึงภควัดบาทกัมรเตงอัญดคุรุศรีทิวากรบัญฑิต ที่ได้ถวายทรัพย์ สิ่งของ และทาสแก่เทวสถานแต่ละแห่งเป็นจำนวนมาก ด้านที่ 3 ข้อความขาดหายไป ไม่สมบูรณ์ จับความได้ว่าเป็นคำสาปแช่งผู้ที่มาทำลายศิลาจารึก ด้านที่ 4 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงพระราชทานนามแด่ภควัดบาทกัมรเตงอัญดคุรุศรีทิวากรบัญฑิต ว่า ธุลีเชงกัมรเตงอัญศรีทิวากรบัณฑิต และธุลีเชงกัมรเตงอัญศรีทิวากรบัณฑิตนี้ก็ได้ซื้อที่ดินถึง 2 แห่ง แล้วถวายแด่เทวสถานแห่งเมืองพะนุรทะนง |
ผู้สร้าง |
พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 |
การกำหนดอายุ |
จารึกด้านที่ 4 บรรทัดที่ 11 บอกมหาศักราช 1043 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1664 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-11, ไฟล์; SK_003f1และ SK_003f2) |