อายุ-จารึก พ.ศ. 2469, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 25, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวน, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง ลำปาง, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างทุงหิน, บุคคล-ธุเจ้าอภิวงศา, บุคคล-พ่อเลี้ยงแสนเทพ, บุคคล-ผู้ใหญ่น้อยพรมเสนา, บุคคล-ท่านหนานไชยอาจารย์, บุคคล-หนานอภิวงศา, บุคคล-หนานกาวี,
โพสต์เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2560 18:15:05 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2565 23:58:42 )
ชื่อจารึก |
จารึกการสร้างทุงศิลา |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
ลป. 17 จารึกการสร้างทุงศิลา พ.ศ. 2469, ลป. 17 |
อักษรที่มีในจารึก |
ธรรมล้านนา |
ศักราช |
พุทธศักราช 2469 |
ภาษา |
ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวน 1 ด้าน มี 28 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินชนวน |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 22.5 ซม. สูง 97 ซม. หนา 3 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลป. 17” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วิหารวัดพระธาตุลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
หน้าวิหารพระพุทธ วัดพระธาตุลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง (สำรวจเมื่อ 24-27 กรกฎาคม 2560) |
พิมพ์เผยแพร่ |
จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 251-253. |
ประวัติ |
ข้อมูลของจารึกหลักนี้ปรากฏและพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 พ.ศ. 2551 |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เมื่อปี พ.ศ. 2469 ธุเจ้าอภิวงศา เจ้าอาวาส พ่อเลี้ยงแสนเทพพร้อมด้วยภริยาและบุตร ผู้ใหญ่น้อยพรมเสนา ท่านหนานไชยอาจารย์ หนานอภิวงศาพร้อมด้วยภริยา หนานกาวีพร้อมด้วยภริยา ตลอดจนศรัทธาบ้านนาเวียงทั้งหลายได้พร้อมใจกันสร้างทุงศิลา 2 ผืน เพื่อบูชาแก่พระมหาชินธาตุเจ้า |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
กำหนดจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ พ.ศ. 2469 ในสมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ (ครองเชียงใหม่ระหว่าง พ.ศ. 2454-2482) |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2560, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 2 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551) |