เกี่ยวกับเรา

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

เกี่ยวกับโครงการ

"โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย" ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนี้ เป็นโครงการที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก "โครงการจัดทำสำเนาจารึกดิจิตอลจากสำเนาจารึกกระดาษสา" ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2541 - 2545 อันเป็นความร่วมมือกันระหว่างภาควิชาภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย อ. อัญชนา จิตสุทธิญาณ และ ผศ. กรรณิการ์ วิมลเกษม กับ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร มหาวิทยาลัยศิลปากร (ขณะนั้น) โดย ศ. คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ (อดีตผู้อำนวยการฯ) 
เมื่อโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2545 จึงได้เริ่มโครงการต่อไป นั่นคือ "โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ระยะทดลอง" ซึ่งได้จัดทำข้อมูลเท่าที่มีตามสำเนาจารึกดิจิตอล ด้วยระบบการนำเสนอแบบจำแนกจารึกออกเป็นกลุ่มๆ ตามภูมิภาคและจังหวัดที่พบจารึก 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ดร. ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (ผู้อำนวยการฯ ในขณะนั้น) มีดำริที่จะปรับปรุงระบบการสืบค้นข้อมูลให้ทันสมัย และเพิ่มเติมข้อมูลของจารึกแต่ละหลักให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงเกิดเป็นความร่วมมือกัน 3 ฝ่าย คือ 

1. ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร 
2. ฝ่ายวิจัยและพัฒนา สาขาคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
3. สำนักวิจัยและสนับสนุนการวิจัย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ชื่อตอนนั้น)

ปัจจุบัน ฐานข้อมูลได้เปิดให้บริการแล้ว แต่เป็นเพียงในส่วนข้อมูลที่เสร็จสมบูรณ์เท่านั้น ซึ่งทางคณะผู้เรียบเรียงข้อมูล ได้ทยอยเรียบเรียงข้อมูลให้สำเร็จไปเป็นชุดๆ ตามชนิดของตัวอักษร และเพิ่มข้อมูลจารึกที่มีการอ่านและเผยแพร่ใหม่ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

คู่มือปฏิบัติงานประจำฐานข้อมูล


นโยบายการใช้งานฐานข้อมูล

ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลจารึกที่พบในประเทศไทยที่มีการตีพิมพ์และเผยแพร่แล้วในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ มาจัดเก็บ เรียบเรียง และเผยแพร่ในรูปแบบฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และสามารถนำข้อมูลไปศึกษาต่อยอดในประเด็นต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา และสังคมไทยปัจจุบันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ยินดีเป็นอย่างยิ่งหากมีผู้ใช้ข้อมูลของเรา ทั้งการนำข้อมูลและเนื้อหาต่างๆ ของเราไปเผยแพร่ ทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ภาพถ่าย แต่การนำข้อมูลไปใช้ดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้

  • ไม่ดัดแปลงแก้ไขเนื้อหาหรือข้อความใดๆ จากเว็บไซต์ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย

  • ต้องให้เครดิตหรืออ้างอิงที่มาของข้อมูลทุกชนิดที่นำไปเผยแพร่ว่ามาจากเว็บไซต์ฐานข้อมูลจารึกในประเทศย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

  • ห้ามใช้ข้อมูลใดๆ จากเว็บไซต์ฐานข้อมูลในประเทศไทย เพื่อการพาณิชย์

  • ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ใช้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0)

  • ข้อมูลบางประเภทที่ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ได้ขออนุญาตนำมาใช้จากแหล่งข้อมูลอื่น ได้แก่ ภาพถ่ายที่ไม่ใช่ลิขสิทธิ์ของ ศมส. การดัดแปลง ทำซ้ำ หรือนำไปใช้โดยวัตถุประสงค์อื่น ผู้ใช้ข้อมูลต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเจ้าของลิขสิทธิ์

หากมีคำถาม กรุณา ติดต่อเรา

Creative Common

Creative common คือ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ เป็นสัญญาอนุญาตทางลิขสิทธิ์ มีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ โดยหากจะมีการนำข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย ไปใช้ ต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดดังต่อไปนี้ คือ อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า และห้ามดัดแปลง โดยเอกสาร/ข้อมูล ที่ได้รับการคุ้มครองภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ จะปรากฎสัญลักษณ์ดังต่อไปนี้  ซึ่งแต่ละสัญลักษณ์หมายถึง

  • Attribution icon (by) แสดงที่มา หมายถึง ศูนย์ฯ ยินยอมให้ผู้ใช้คัดลอก แจกจ่าย จัดแสดง และเผยแพร่ข้อมูล โดยต้องประกาศอ้างอิงศูนย์ฯ ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของข้อมูล

  • Non Commercial icon (nc)  ไม่ใช้เพื่อการค้า หมายถึง ศูนย์ฯ ยินยอมให้ผู้ใช้คัดลอก แจกจ่าย จัดแสดง และเผยแพร่ข้อมูลสำหรับจุดประสงค์ที่ไม่ใช่เพื่อการค้าเท่านั้น

  • No Derivative Works icon (nd)  ไม่ดัดแปลง หมายถึง ศูนย์ฯ ยินยอมให้ผู้ใช้คัดลอก แจกจ่าย จัดแสดง และเผยแพร่ข้อมูล เฉพาะงานที่เหมือนต้นฉบับทุกประการเท่านั้น ไม่ใช่งานที่ถูกแก้ไขดัดแปลง