จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 20 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2500, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 25, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์, ยุคสมัย-จารึกสมัยรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 9, วัตถุ-จารึกบนหิน, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง ลำปาง, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบูรณะปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างวัดหรือศาสนสถาน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายแหวน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายเงิน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายทองคำ, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นิพพาน, บุคคล-ครูบาถา ถาวโรเจ้า, บุคคล-พระครูอุดมศรัทธาคุณ, บุคคล-พระราชวิสุทธี, บุคคล-จรูญ สุวรรณมาส, บุคคล-แปลก พิบูลสงคราม,

จารึกการปฏิสังขรณ์พระมหาชินธาตุเจ้าลำปาง

จารึก

จารึกการปฏิสังขรณ์พระมหาชินธาตุเจ้าลำปาง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2560 16:03:26 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2567 18:33:14 )

ชื่อจารึก

จารึกการปฏิสังขรณ์พระมหาชินธาตุเจ้าลำปาง

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลป. 16, ลป. 16 จารึกการปฏิสังขรณ์พระมหาชินธาตุเจ้าลำปาง พ.ศ. 2500

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2500

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 1 ด้าน มี 32 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลป. 16”
2) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ลป. 16 จารึกการปฏิสังขรณ์พระมหาชินธาตุเจ้าลำปาง พ.ศ. 2500”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วิหารวัดพระธาตุลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วิหารวัดพระธาตุลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง (สำรวจเมื่อ 24-27 กรกฎาคม 2560)

พิมพ์เผยแพร่

จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 245-250.

ประวัติ

ข้อมูลของจารึกหลักนี้ปรากฏและพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 พ.ศ. 2551

เนื้อหาโดยสังเขป

วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 ครูบาถา ถาวโร เจ้าอาวาสเป็นประธานฝ่ายสงฆ์พร้อมกับด้วยสิกยมแลครูบาเจ้าอันอยู่อุโบสถเดียวกัน ทั้งฝ่ายฆราวาสได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการวัด และศรัทธาชาวบ้านทุกคนได้เห็นมหาชินธาตุเจ้าถูกสายฟ้าผ่า ดูไม่สวยงาม จึงได้ปรึกษากันเป็นเอกฉันท์กันทั้ง 2 ฝ่ายคือทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส แล้วนำกราบยังพระครูอุดมศรัทธาคุณทราบ และเรียนไล่ตามลำดับถึงพระคุณเจ้าคณะใหญ่จังหวัด พระราชวิสุทธี คุณจรูญ สุวรรณมาส วัฒนธรรมจังหวัดก็ได้มีใบบอก เมื่อท่านพระคุณเจ้าได้มาดูเหตุการณ์ก็จึงได้ประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อรายงานไปยังกรมศาสนา ของบจากสภา ท่านจอมพล ป. แปลก พิบูลสงคราม นั้นก็ได้มอบเงินส่วนตัว 40,000 บาท ร่วมปฏิสังขรณ์มหาชินธาตุลำปางเจ้านี้ด้วย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากข้อความจารึกบรรทัดที่ 2 “จุลศักราชได้ 1319 ตัว ปีระกา สนำกัมโพชคามตามขอมพิสัย” คือ จุลศักราช 1319 ตรงกับ พ.ศ. 2500 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ร. 9) แห่งราชวงศ์จักรี (ครองราชย์ พ.ศ. 2489-2559)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2560, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ลป. 16 จารึกการปฏิสังขรณ์พระมหาชินธาตุเจ้าลำปาง พ.ศ. 2500,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 245-250.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 2 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551)