จารึกคาถาหัวใจพระสูตร

จารึก

จารึกคาถาหัวใจพระสูตร

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2567 14:54:54 )

ชื่อจารึก

จารึกคาถาหัวใจพระสูตร

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สท. 42

อักษรที่มีในจารึก

ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

ทองคำ

ลักษณะวัตถุ

แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 42”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกคาถาหัวใจพระสูตร”

ปีที่พบจารึก

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2502

สถานที่พบ

จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

นายสมพงษ์ และนางบุญมี พรหมวิภา

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 47-49.

ประวัติ

จารึกคาถาหัวใจพระสูตรนี้ เป็นจารึกแผ่นทองคำ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตามบันทึกหลักฐานของศาสตราจารย์ ฉ่ำ ทองคำวรรณ กล่าวว่า จารึกลานทอง (3 ลาน) นายสมพงษ์ และนางบุญมี พรหมวิภา เจ้าของร้านขายยาพรหมวิภา ตลาดสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ได้มอบให้แก่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 จารึกข้อความไว้เป็นหัวใจคาถาต่างๆ ได้แก่ หัวใจพระสูตร หัวใจกาสลัก หัวใจไตรสรณาคมน์ หัวใจกรณีย์ และคำนมัสการ หัวใจคาถา คือ อักษรย่อของคาถานิยมใช้อักษรตัวแรกของคำ ในคาถาแต่ละบทหรือแต่ละวรรค ซึ่งคัดอักษรแต่ละตัวนั้นมาเรียงต่อกันตามลำดับ โดยไม่มีรูปคำศัพท์ในภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่ถือกันว่ามีข้อความและความหมายครบถ้วน ตามจำนวนคำในคาถาบทนั้นๆ

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นคาถาหัวใจพระสูตร, คาถากาสลัก หรือ หัวใจคาถากาสลัก, คาถาหัวใจไตรสรณาคมน์, คาถาหัวใจกรณีย์

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติกำหนดให้เป็น จารึกอักษรขอมสุโขทัย อายุพุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย: วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก:
ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “จารึกคาถาหัวใจพระสูตร,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 47-49.