จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images
  • images

จารึกกษัตริย์ราชวงศ์มังราย

จารึก

จารึกกษัตริย์ราชวงศ์มังราย

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2566 15:28:43 )

ชื่อจารึก

จารึกกษัตริย์ราชวงศ์มังราย

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ. 9, ลพ./9, พช. 341, 18, ศิลาจารึกกษัตริย์ราชวงศ์มังราย, หลักที่ 301 จารึกวัดสุวรรณมหาวิหาร พะเยา

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 1954

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 68 บรรทัด ด้านที่ 1 และ 2 มีด้านละ 23 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 22 บรรทัด ด้านที่ 4 ตัวอักษรลบเลือน อ่านจับความได้ยาก

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทรายเนื้อหยาบ สีน้ำตาล

ลักษณะวัตถุ

รูปหลักสี่เหลี่ยมด้านเท่า ปลายแหลม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 37 ซม. สูง 101 ซม. หนา 37 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 9”
2) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน กำหนดเป็น “ลพ./9, พช. 341, 18”
3) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม 2523) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกกษัตริย์ราชวงศ์มังราย”
4) ในหนังสือ วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย และ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “จารึกกษัตริย์ราชวงศ์มังราย”
5) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 กำหนดเป็น “หลักที่ 301 จารึกวัดสุวรรณมหาวิหาร พะเยา”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงแสน ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (สำรวจเมื่อ 31 กรกฎาคม 2557)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 24 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม 2523) : 42-52.
2) วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2533), 34-35.
3) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยฯ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 89-98.
4) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 49-57.

ประวัติ

เดิมจารึกหลักนี้ได้ขึ้นทะเบียนประวัติในบัญชีจารึกจังหวัดเชียงราย ครั้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 นายประสาร บุญประคอง และนายเทิม มีเต็ม ได้รับอนุมัติให้เดินทางขึ้นไปสำรวจจารึกต่างๆ ในเขตท้องที่อำเภอพะเยา อำเภอเชียงคำ อำเภอเชียงแสน และอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สำรวจแล้วไม่พบจารึกหลักดังกล่าวนี้ ถึงปี พ.ศ. 2515 นายประสาร บุญประคอง พร้อมด้วยนายธูป นวลยง และนายเทิม มีเต็ม เจ้าหน้าที่กองหอสมุดแห่งชาติ ได้เดินทางขึ้นไปสำรวจจารึกต่างๆ ในเขตท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และจังหวัดเชียงใหม่ ได้สำรวจพบจารึกหลักนี้เก็บรักษาอยู่ ณ พิพิธภัณฑฯ หริภุญไชย วัดพระธาตุ จังหวัดลำพูน เมื่อสำรวจพบแล้ว จึงได้จำหน่ายจารึกหลักนี้ออกจากทะเบียนประวัติบัญชีจารึกจังหวัดเชียงราย มาขึ้นทะเบียนไว้ในทะเบียนประวัติบัญชีจารึกจังหวัดลำพูน ในลำดับบัญชีเลขที่ ลพ. 9 เลขทะเบียนหลักจารึกที่ ลพ. 9

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกขึ้นต้นด้วยการอภิวาทพระรัตนตรัย จากนั้นกล่าวลำดับราชวงศ์กษัตริย์ เริ่มต้นแต่พระยามังราย ดังนี้ มังราย, คราม, ท้าวแสนพู, คำฟู, ผายู, ท้าวกลินา (กือนา), เจ้าแสนเมืองมา จารึกได้บ่งถึง พระมหาเถรพุทธเสน ผู้เป็นประธานในการสร้างพระสุวรรณมหาวิหาร เจ้ามหาราชและมหาเทวีได้ถวายนา แก่พระสุวรรณมหาราช อีกทั้งยังกล่าวถึงหมู่บ้านและที่นา ที่เจ้าสี่หมื่นถวายไว้กับพระสุวรรณมหาวิหาร

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 3 บรรทัดที่ 20-21 ระบุ พ.ศ. 1954 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าสามฝั่งแกน (พ.ศ. 1945-1985) อนึ่ง ข้อความจารึกบรรทัดที่ 17-18 ระบุ “ปีรวงเม้า” ซึ่งเป็นปีเถาะ อัฐศก ของไทยภาคเหนือ ควรตรงกับ พ.ศ. 1954 เพราะเป็นปีที่สร้างเวียงเจ็ดรินด้วย เวียงนี้เป็นที่ประทับของพระเจ้าสามฝั่งแกน ดังนั้นจึงจะเทียบปีรวงเม้าให้ตรงกับพุทธศักราชที่เกินสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนไม่ได้ (ในรอบ 60 ปี จึงจะมีชื่อปีของไทยซ้ำกันครั้งหนึ่ง และปีรวงเม้าในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนตรงกับ พ.ศ. 1954 เพียงปีเดียวเท่านั้น)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) จำปา เยื้องเจริญ, เทิม มีเต็ม และคงเดช ประพัฒน์ทอง, “จารึกกษัตริย์ราชวงศ์มังราย,” ใน วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2533), 34-35.
2) เทิม มีเต็ม, “ชร. 4 จารึกกษัตริย์ราชวงศ์มังราย,” ใน ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, 2538), 49-57.
3) เทิม มีเต็ม, “หลักที่ 301 จารึกวัดสุวรรณมหาวิหาร พะเยา,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 : ประมวลจารึกที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 89-98.
4) เทิม มีเต็ม และประสาร บุญประคอง, “ศิลาจารึกราชวงศ์มังราย ลพ./19,” ศิลปากร 24, 2 (พฤษภาคม 2523) : 42-52.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยฯ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534)