อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 23, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 23-24, ยุคสมัย-จารึกสมัยอยุธยา, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวนสีเขียว, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนแผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า, ลักษณะ-จารึกบนรอยพระพุทธบาท, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระพุทธบาท นครสวรรค์, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-พระศรีอาริยเมตไตรย,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2567 14:46:57 )
ชื่อจารึก |
จารึกกลางรอยพระพุทธบาท |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
นว. 8 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมอยุธยา |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 23-24 |
ภาษา |
บาลี |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 3 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินชนวนสีเขียว |
ลักษณะวัตถุ |
สี่เหลี่ยมผืนผ้ารูปรอยพระพุทธบาท อักษรจารึกอยู่ใกล้กับรูปดอกบัว กึ่งกลางของพระบาท |
ขนาดวัตถุ |
แผ่นศิลามีขนาดกว้าง 70.5 ซม. ยาว 169 ซม. หนา 9 ซม. รูปรอยพระบาทกว้าง 52.5 ซม. ยาว 140 ซม. ส่วนที่จารึกอักษรขนาดกว้าง 3 ซม. ยาว 17.5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นว. 8” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดพระพุทธบาท ตำบลสำโรงชัย อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
วัดพระพุทธบาท ตำบลสำโรงชัย อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ |
พิมพ์เผยแพร่ |
วารสาร ศิลปากร ปีที่ 27 ฉบับที่ 4 (กันยายน 2526) : 69-72. |
ประวัติ |
รอยพระพุทธบาทศิลาสีเขียว มีอักษรจารึกอยู่ใกล้กับรูปดอกบัวที่กึ่งกลางรูปรอยพระบาท รอยพระพุทธบาทนี้เป็นสมบัติของวัดพระพุทธบาท อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ นายภูธร ภูมะธน หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี ได้มีหนังสือเป็นทางราชการมาถึงกองหอสมุดแห่งชาติ เพื่อจัดส่งเจ้าหน้าที่ดำเนินการอ่าน-แปลจารึกดังกล่าวนี้ เมื่อครั้งตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี อนึ่ง รอยพระพุทธบาทนี้ หลายปีมาแล้วได้ถูกผู้ร้ายโจรกรรมไปจากวัด จนถึงปี พ.ศ. 2524 สมาคมส่งเสริมศิลปโบราณวัตถุ ได้นำรอยพระพุทธบาทดังกล่าวมามอบให้กรมศิลปากร ดังนั้นรอยพระพุทธบาทนี้ จึงได้มาพักอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อทางพิพิธภัณฑสถานสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดนิทรรศการเรื่อง จารึกพบที่จังหวัดลพบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ในเดือนกรกฎาคม 2524 จึงได้เคลื่อนย้ายรอยพระพุทธบาทนี้ ไปตั้งแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประกอบการจัดแสดงนิทรรศการในครั้งนั้นด้วย ภายหลังการแสดงนิทรรศการ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทราบว่า ชาวอำเภอไพศาลีและพุทธศาสนิกชนในเขตใกล้เคียง มีความประสงค์จะขอนำรอยพระพุทธบาทกลับคืนไปประดิษฐานไว้ ณ วัดพระพุทธบาท อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ดังเดิม และด้วยเหตุที่รอยพระพุทธบาทนี้เป็นโบราณวัตถุสำคัญ สมควรจะได้มีการศึกษาประวัติความเป็นมาให้ถูกต้องชัดเจน ประกอบกับมีอักษรอยู่ที่กลางรอยพระพุทธบาทนี้ด้วย ซึ่งน่าจะได้ศึกษารูปลักษณะของเส้นและภาษา ตลอดจนข้อความที่จารึกไว้นั้นให้ถ่องแท้ชัดเจนอีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้นำหลักฐานนั้น มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการศึกษาวิเคราะห์ทางด้านโบราณคดีต่อไป |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ข้อความที่จารึกนั้น เป็นการกล่าวสรรเสริญอานุภาพของพระศรีอาริยเมตไตรย ผู้จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
รูปอักษรที่จารึกอยู่กลางรอยพระพุทธบาทนี้ มีขนาดตัวอักษรเล็กมาก วัดได้ 0.2 ซม. เท่านั้น รอยเส้นอักษรก็เบาบางและลบเลือน จนไม่สามารถทำสำเนา ด้วยวิธีการใช้กระดาษเพลาและน้ำตบให้เป็นรอยรูปอักษรได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการอ่านจารึก พร้อมทั้งคัดรูปอักษรออกมา เฉพาะส่วนที่จะสามารถอ่านเห็นได้ และเมื่อได้ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะรูปลายเส้นอักษร ซึ่งปรากฏอยู่ที่กลางรอยพระพุทธบาทนี้แล้ว จะเห็นได้ว่า เป็นการยากที่จะชี้บ่งถึงเวลาหรืออายุของรูปอักษรนั้นให้แน่นอนตายตัวลงไป ได้ ทั้งนี้เพราะองค์ประกอบส่วนใหญ่ของเส้นอักษร ลบเลือนและเบาบางมาก จนไม่สามารถชี้ชัดได้อย่างใกล้เคียง ฉะนั้นจึงสันนิษฐานไว้เป็นเบื้องต้นว่า น่าจะจารึกขึ้นในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23-24 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพจำลองอักษรจารึกจาก : วารสาร ศิลปากร ปีที่ 27 ฉบับที่ 4 (กันยายน 2526) |