จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 29 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2375, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม-พระยาพุทธวงศ์, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวน, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง ลำปาง, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างฉัตร, , เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายทองคำ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-บูชาพระธาตุ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-ปิดทององค์พระธาตุ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองนครลำปาง, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองนครลำปาง-พระองค์เจ้าสุวรรณหอคำเขลางค์ลัมพกบุรี, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงรัตนโกสินทร์, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองกรุงรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่ 2, บุคคล-พระองค์เจ้าสุวรรณหอคำเขลางค์ลัมพกบุรี, บุคคล-เจ้าพระยามหาอุปราชา, บุคคล-เจ้าพระยาราชวงศ์, บุคคล-เจ้าพระยารัตนหัวเมืองแก้ว, บุคคล-เจ้าพระยาชัยสงคราม, บุคคล-เจ้าพระยาราชบุตรวรราชกนิษฐา, บุคคล-เจ้าพระยาศรีสุริยวงศา, บุคคล-พลวิชัยภิกขุ,

จารึกการสร้างฉัตร

จารึก

จารึกการสร้างฉัตร

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2558 14:58:45 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2565 23:53:04 )

ชื่อจารึก

จารึกการสร้างฉัตร

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลป. 3, ลป. 3 จารึกการสร้างฉัตร พ.ศ. 2375

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2375

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 2 ด้าน ด้านที่ 1 มี 30 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 13 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวน

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 36 ซม. สูง 72 ซม. หนา 3 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลป. 3”
2) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ลป. 3 จารึกการสร้างฉัตร พ.ศ. 2375”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระธาตุลำปางหลวง ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วิหารหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง (สำรวจเมื่อ 24-27 กรกฎาคม 2560)

พิมพ์เผยแพร่

จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 206-211.

ประวัติ

-

เนื้อหาโดยสังเขป

ในปี พ.ศ. 2375 มหาสวาธุเจ้าสังฆราชาประธานฝ่ายสงฆ์และพระสงฆ์ทุกวัด ร่วมกับพระองค์เจ้าสุวรรณหอคำเขลางค์ลัมพกบุรีประธานฝ่ายฆราวาส, เจ้าพระยามหาอุปราชา, เจ้าพระยาราชวงศ์,เจ้าพระยารัตนหัวเมืองแก้ว, เจ้าพระยาชัยสงคราม, เจ้าพระยาราชบุตรวรราชกนิษฐา และเจ้าพระยาศรีสุริยวงศา พร้อมใจกันสร้างฉัตรเพื่อบูชาพระธาตุ และได้แต่งทูตไปกราบทูลพระมหากษัตริย์เจ้ากรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์เจ้ามีพระหฤทัยยินดีจึ่งได้พระราชทานแก้วและทองคำเปลวแก่คณะผู้สร้างฉัตร

ผู้สร้าง

พลวิชัยภิกขุ

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 3 ระบุข้อความ “จุลศักพทะได้ 1194 ตัว” ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2375 อันเป็นสมัยที่พระยาพุทธวงศ์ปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2369-2389)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2557, จาก :
1) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ลป. 3 จารึกการสร้างฉัตร พ.ศ. 2375,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 206-211.
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 2 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551)