จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

จารึกการชะลอพระพุทธรูปไสยาสน์

จารึก

จารึกการชะลอพระพุทธรูปไสยาสน์

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2566 09:03:06 )

ชื่อจารึก

จารึกการชะลอพระพุทธรูปไสยาสน์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อย. 7, ศิลาจารึกอักษรและภาษาไทย

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 34 บรรทัด

วัตถุจารึก

หิน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นหินที่อยู่ในสภาพชำรุด

ขนาดวัตถุ

กว้าง 112 ซม. สูง 174 ซม. หนา 12.3 ซม. วัตถุหักออกเป็น 3 ชิ้น ชิ้นที่ 1 กว้าง 76 ซม. สูง 74 ซม. หนา 12.3 ซม. ชิ้นที่ 2 กว้าง 76.8 ซม. สูง 95 ซม. หนา 12.3 ซม. ชิ้นที่ 3 กว้าง 72 ซม. สูง 115 ซม. 12.3 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 7”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 12 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2512) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกอักษรและภาษาไทย”
3) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม กำหนดเป็น "CK150/50", "215วจ2519/2"

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจเมื่อ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565)

พิมพ์เผยแพร่

วารสารศิลปากร ปีที่ 12 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2512) : 95-98.

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์วัดมเหยงค์ และชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์ เมืองอ่างทอง ให้ห่างจากที่ตั้งเดิม 4 เส้น 4 วา เนื่องจากถูกแม่น้ำเซาะ โดยมีการสถาปนาวิหารในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ อนึ่ง การชะลอพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกข์นั้น นอกจากจะปรากฏในจารึกหลักนี้ และ ในจารึกวัดป่าโมกข์ ซึ่งมีเนื้อความสัมพันธ์กันแล้ว ก็ยังมีหลักฐานด้านเอกสาร เช่น พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับต่างๆ เช่น ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งให้รายละเอียดต่างๆ มากกว่าที่ปรากฏในจารึก เช่น ขั้นตอนและวิธีการชะลอ เป็นต้น

ผู้สร้าง

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (ครองราชย์ พ.ศ. 2251-2275)

การกำหนดอายุ

จารึกหลักนี้ไม่ปรากฏศักราช แต่เนื้อความสัมพันธ์กับจารึกวัดป่าโมกข์ ซึ่งระบุศักราช 2271 ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ แห่งกรุงศรีอยุธยา (ครองราชย์ พ.ศ. 2251-2275)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ธนากิต, ประวัติพระพุทธรูปปางต่างๆ (กรุงเทพฯ : ปิรามิด, 2540), 376.
2) ประยุทธ สิทธิพันธ์, “เจ้าพระยาราชสงคราม (ปาน),” ใน ต้นตระกูลขุนนางไทย (ธนบุรี : กรุงธน, 2505), 11-33.
3) ประสาร บุญประคอง, “คำอ่านศิลาจารึกอักษรและภาษาไทย ได้มาจากพระราชวังจันทรเกษม ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา,” ศิลปากร 12, 6 (มีนาคม 2512) : 94-99.
4) พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ, พิมพ์ครั้งที่ 19 (นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547), 13.
5) พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ กับพระจักรพรรดิพงศ์ (จาด) (พระนคร : คลังวิทยา, 2507), 450-452.
6) สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะอยุธยา งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2542), 71-72.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : วารสาร ศิลปากร ปีที่ 12 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2512)