จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกการชะลอพระพุทธรูปไสยาสน์

จารึก

จารึกการชะลอพระพุทธรูปไสยาสน์ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2564 เวลา 19:21:40

ชื่อจารึก

จารึกการชะลอพระพุทธรูปไสยาสน์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

อย. 7, ศิลาจารึกอักษรและภาษาไทย

อักษรที่มีในจารึก

ไทยอยุธยา

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 34 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2512)

ผู้ปริวรรต

ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม (พ.ศ. 2512)

ผู้ตรวจ

ประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2512)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม : “เจตรมาส” หมายถึง เดือน 5
2. ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม : “กาฬปักษ์” หมายถึง ข้างแรม
3. ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม : “เอกมีดิถี” หมายถึง แรม 1 ค่ำ
4. ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม : “พุธวาร” หมายถึง วันพุธ
5. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระพุทธเจ้าอยู่หัวพระเจ้าปราสาททอง พระเจ้าช้างเนียม” เป็นคำที่ใช้เรียกกษัตริย์ ไม่ใช่ชื่อเฉพาะ ในที่นี้ หมายถึง พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (พ.ศ. 2252-2275) เป็นโอรสของพระเจ้าเสือ และเป็นพระเชษฐาของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
6. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ปฏิสังขรณ์” ความหมายในสมัยโบราณหมายถึง การรื้อถอนลงแล้วสร้างขึ้นใหม่ โดยอาจมีรูปแบบหรือตำแหน่งเดิมหรือไม่ก็ได้ ต่างจากปัจจุบันซึ่งหมายถึง การทำให้กลับคืนสู่สภาพอย่างที่เคยเป็นมา
7. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วัดมเหยงค์” ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยาด้านตะวันออก พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ ระบุว่าเจ้าสามพระยา (พ.ศ. 1976-1991) โปรดฯให้สร้างวัดดังกล่าวขึ้นใน พ.ศ. 1981 และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ใน พ.ศ. 2252-2256 ตรงกับรัชกาลพระเจ้าท้ายสระ (พ.ศ. 2252-2275) ในสมัยอยุธยาตอนปลาย สิ่งก่อสร้างสำคัญของวัดแห่งนี้คือ เจดีย์ประธานซึ่งเป็นทรงระฆังที่มีช้างล้อมรอบฐานประทักษิณซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวข้องกับเจดีย์ช้างล้อมในศิลปะสุโขทัย
8. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วัดพระพุทธไสยาสน์ป่าโมกข์” ปัจจุบันคือ วัดป่าโมกข์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลป่าโมกข์ อำเภอป่าโมกข์ จังหวัด อ่างทอง
9. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “อุดร” หมายถึง ทิศเหนือ
10. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ศอก” เป็นมาตราการวัด (1 ศอก เท่ากับ 2 คืบ)
11. ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม : “ชราบ” หมายถึง ทราบ
12. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ชะลอ” หมายถึง ลากของหนักให้ค่อยๆ เคลื่อนที่
13. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระพุทธไสยาสน์” อยู่ในอริยาบทบรรทม ตะแคงขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย (หมอน) พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกายเบื้องซ้าย ฝ่าพระหัตถ์ขวารองรับพระเศียร พระบาทซ้ายซ้อนทับบนพระบาทขวา
14. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “อุทกอันตราย” หมายถึง อันตรายที่เกิดจากน้ำ ในที่นี้คือ การที่น้ำเซาะตลิ่งจนต้องชะลอพระพุทธไสยาสน์ออกจากตำแหน่งเดิม
15. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “ถาปนา” (สถาปนา) หมายถึง ตั้งขึ้น
16. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “มาน” หมายถึง มี
17. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระบัณฑูรย์สุรสีห์” หมายถึง คำสั่ง
18. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระราชสงคราม” เป็นผู้มีบทบาทมากในการชะลอพระพุทธไสยาสน์ครั้งนี้ ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศระบุว่าอธิการวัดป่าโมก ได้บอกแก่พระยาราชสงครามเรื่องที่ตลิ่งพังชิดพระวิหาร ซึ่งพระพุทธไสยาสน์อาจตกน้ำภายในหนึ่งปี พระยาราชสงครามจึงนำความเข้ากราบทูลพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระและเสนอวิธีการชะลอ แต่พระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลไม่ทรงเห็นชอบด้วย เนื่องจากทรงเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ เกรงว่าจะไม่สำเร็จ แต่พระราชสงครามผู้นี้ถึงกับยอมถวายชีวิตเป็นเดิมพัน พระราชสงครามท่านนี้ นามเดิมว่า “ปาน” เป็นผู้ที่พระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงโปรดปรานมาก เนื่องจากเคยมีความดีความชอบเป็นผู้ควบคุมการขุดคลองมหาชัยให้เสร็จได้ภายในเวลาเพียงเดือนเดียว พระองค์ถึงกับพระราชทานหม่อมพิมเสนนางห้ามพระสนมให้เป็นภรรยา
19. ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม : “อชสังวัจฉร” หมายถึง ปีมะแม (ปีแพะ)
20. ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม : “ไพสาขมาส” หมายถึง เดือน 6
21. ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม : “ศุกลปักษ์” หมายถึง ข้างขึ้น
22. ประสาร บุญประคอง และเทิม มีเต็ม : “อัฐมีดิถี” หมายถึง วันขึ้น 8 ค่ำ
23. ประสาร บุญประคอง และ เทิม มีเต็ม : “จันทวาร” หมายถึง วันจันทร์
24. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “พระอนุชาธิราชพระราชวังบวรสถานมงคล” (วังหน้า) เป็นพระอนุชา (น้องชาย) ของพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ชาวบ้านขนานนามพระองค์ว่า “ล้นเกล้าล้นกระหม่อมพระบัณฑูร” ตำแหน่งพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้านี้ คือผู้ที่จะได้ครองราชสมบัติต่อไป
25. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “สมเด็จพระวรโอรสาธิราช” คือ เจ้าฟ้าปรเมศร์และเจ้าฟ้าอภัย
26. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “อเนก” หมายถึง มาก, หลาย
27. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “จำเริญพระพุทธมนต์” หมายถึง สวดมนต์
28. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เศวตรพัสตร์” หมายถึง ผ้าสีขาว (เศวตร-สีขาว พัสตร์-ผ้า)
29. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “กอปร” หมายถึง ประกอบ
30. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “นิกร” หมายถึง หมู่, พวก
31. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “มรรคา” หมายถึง ทาง
32. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “เส้น” เป็นชื่อมาตราวัด (20 วา เป็น 1 เส้น)
33. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “วา” เป็นชื่อมาตราวัด (1 วา เท่ากับ 4 ศอก มีอัตราเท่ากับ 2 เมตร)