จารึกกฎหมายลักษณะโจร

จารึก

จารึกกฎหมายลักษณะโจร

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2567 14:46:20 )

ชื่อจารึก

จารึกกฎหมายลักษณะโจร

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกวัดพระมหาธาตุ วัดสระศรี (หลักที่ 7 ก.), หลักที่ 38 ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร, ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร พุทธศตวรรษที่ 19-20, สท. 17

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 19-20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน ด้านที่ 1 มี 45 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 54 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 65 ซม. สูง 108 ซม. หนา 14 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 17”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 เรียกศิลาจารึกหลักนี้ว่า “จารึกวัดพระมหาธาตุ วัดสระศรี (หลักที่ 7 ก.)”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 38 ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร”
4) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร พุทธศตวรรษที่ 19-20”
5) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น “99/33/2560”

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2473

สถานที่พบ

ทางเลี้ยวเข้าวัดพระมหาธาตุและวัดสระศรี หลักกิโลเมตรที่ 50-51 อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย

ผู้พบ

กรมทางหลวงแผ่นดินขุดพบ

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 8 ฉบับที่ 12 (พฤษภาคม 2498), 93-112.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 (พระนคร : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2500), 84-109.
3) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 25-38.
4) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 153-167.

ประวัติ

จารึกหลักนี้เป็นแผ่นหิน จารึกอักษรสุโขทัย ภาษาไทย จารึกเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19-20 (ระหว่าง พ.ศ. 1856-1976) กรมทางหลวงแผ่นดินขุดพบขณะที่สร้างถนนจรดวิถีถ่อง ระหว่างกิโลเมตรที่ 50-51 ตรงทางเลี้ยวเข้าวัดพระมหาธาตุ และวัดสระศรี เมื่อ พ.ศ. 2473

เนื้อหาโดยสังเขป

เรื่องราวที่จารึก คือ พระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติกฏหมายลักษณะโจร

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ศาสตราจารย์ ฉ่ำ ทองคำวรรณ อธิบายเกี่ยวกับการสร้างศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจรว่า “5 ศกฉลู เลขตัวหน้าชำรุด ยังเหลือแต่เลขท้ายตัวเดียว คือเลข 5 และในระหว่าง พ.ศ.1800 ถึง พ.ศ.2000 มีศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 5 ซึ่งตรงกับปีฉลู อยู่ 3 ครั้ง คือ ปีฉลู มหาศักราช 1235 จุลศักราช 675 (พ.ศ. 1856) ปีฉลู มหาศักราช 1295 จุลศักราช 735 (พ.ศ. 1916) ปีฉลู มหาศักราช 1355 จุลศักราช 795 (พ.ศ. 1976) ดังนั้นการสร้างจารึกหลักนี้ ควรจะอยู่ในระหว่าง พ.ศ. 1856 ถึง พ.ศ. 1976”

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร พุทธศตวรรษที่ 19-20,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 153-167.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 38 ศิลาจารึกกฏหมายลักษณะโจร,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 25-38.

ภาพประกอบ

1) ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508)
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566