จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกกฎหมายลักษณะโจร

จารึก

จารึกกฎหมายลักษณะโจร ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เวลา 18:03:24

ชื่อจารึก

จารึกกฎหมายลักษณะโจร

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกวัดพระมหาธาตุ วัดสระศรี (หลักที่ 7 ก.), หลักที่ 38 ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร, ศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจร พุทธศตวรรษที่ 19-20, สท. 17

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 19-20

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน ด้านที่ 1 มี 45 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 54 บรรทัด

ผู้อ่าน

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2508), (พ.ศ. 2526)

ผู้ปริวรรต

ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2508), (พ.ศ. 2526)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) กรมศิลปากร (พ.ศ. 2526)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : -----5 ศกฉลู เลขตัวหน้าชำรุด ยังเหลือแต่เลขท้ายตัวเดียว คือเลข 5 และในระหว่าง พ.ศ.1800 ถึง พ.ศ.2000 มีศักราชที่ลงท้ายด้วยเลข 5 ซึ่งตรงกับปีฉลูอยู่ 3 ครั้งคือ ปีฉลู มหาศักราช 1235 จุลศักราช 675 (พ.ศ.1856) ปีฉลู มหาศักราช 1295 จุลศักราช 735 (พ.ศ.1916) ปีฉลู มหาศักราช 1355 จุลศักราช 795 (พ.ศ.1976)
2. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : หนไทย แบบไทย หรือใช้อย่างไทย
3. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : มื้อ วัน
4. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ลวงเม้า ตรงกับชื่อศกและชื่อปีของไทยฝ่ายเหนือ ลวง ก็คือ อัฐศก เม้า ก็คือ เถาะ แต่ในที่นี้เป็นชื่อของวันไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งเอาศก 10 ศก ที่เรียกว่าแม่วันไทยหรือแม่มื้อ และเอาปีนักษัตรที่เรียกว่าลูกวันไทย หรือลูกมื้อ มาใช้เป็นวัน เรียกว่าวันไทย หรือมื้อ
5. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ผคุนี หรือ ผลคุนี เป็นชื่อดาวนักษัตรมี 4 ดวง เรียกว่าดาวเพดาน คือ 2 ดวงหน้า เรียกว่าบุรพผลคุนี เป็นดาวฤกษ์ที่ 11 ได้แก่ดาวเพดานตอนหน้า อีก 2 ดวงหลัง เรียกว่าอุตรผลคุนี เป็นดาวฤกษ์ที่ 12 ได้แก่ดาวเพดานตอนหลัง
6. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : กฤตย์ กติกา หรือ ข้อบังคับ
7. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : บเหิง ไม่นาน
8. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : มนุษยธรรม ธรรมอันบุคคลพึงมี เช่น เมตตา กรุณา เป็นต้น
9. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ปรชญบติ บัญญัติ, สันสกฤตว่า ปฺรชฺญปฺติ, บาลีว่า ปญฺญตฺติ
10. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ตวาน หรือ ตวน ตรงกับภาษามลายูว่า tuwan แปลว่า นาย (หรือ เจ้า) เพราะฉะนั้นคำว่า ลูกขุนมูลตวาน ก็คือลูกขุนมูลนายนั่นเอง
11. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ทํเนปร เป็นภาษาขอมโบราณและไทยโบราณ แปลว่า เป็นต้น หรือ เป็นต้นว่า
12. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : แม้นซิ แม้นว่า
13. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : บทันส่งคืน ยังไม่ส่งคืน
14. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จ่าข้า เจ้าของทาส
15. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : จ่าข้าสุภาวดี เจ้าของทาสและหัวหน้าฝ่ายตุลาการ
16. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ปรญบติ ปฺรชฺญปฺติ คือ บัญญัติ
17. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ทอดสินไหม วางเงินค่าสินไหม
18. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ไป่ ไม่
19. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ปีกท่าน สังกัดท่าน
20. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : เจ้าไท เจ้านายผู้ใหญ่ (แต่ในที่อื่นแปลว่าพระสงฆ์ก็มี)
21. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : บยั้ง ไม่อยู่
22. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ไหม ปรับเอา
23. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : แลวันหมื่นวันพัน วันละหนึ่งหมื่นหนึ่งพัน
24. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ดังอั้น ดังนั้น
25. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : สินไหม เงินค่าปรับ
26. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ไปจอด ไปถึง
27. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : ไปกราย ไปหา