อายุ-จารึก พ.ศ. 1859, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 18, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรศรีวิชัย, ยุคสมัย-จารึกอาณาจักรศรีวิชัย-พระเจ้าศรีมัตไตรโลกยราชภูษนวรรมเทวะ, วัตถุ-จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูปสัมฤทธิ์, ลักษณะ-จารึกที่ฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างพระพุทธรูป, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-หล่อพระพุทธรูป, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองครหิ, บุคคล-พระเจ้าศรีมัตไตรโลกยราชภูษนวรรมเทวะ,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2567 16:52:29 )
ชื่อจารึก |
จารึกบนฐานพระพุทธรูปวัดหัวเวียง |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
สฎ. 9, จารึกบนฐานพระพุทธรูปจากวัดหัวเวียง, จารึกที่ 25 จารึกที่ฐานพระพุทธรูปจากวัดหัวเวียง |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมโบราณ, กวิ |
ศักราช |
พุทธศักราช 1726 |
ภาษา |
เขมร |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 5 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
สัมฤทธิ์ |
ลักษณะวัตถุ |
ฐานพระพุทธรูปนาคปรก |
ขนาดวัตถุ |
เฉพาะบริเวณฐานพระพุทธรูปที่มีอักษรจารึก กว้าง 7.5 ซม. ยาว 56 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สฎ. 9” |
ปีที่พบจารึก |
พุทธศักราช 2447 |
สถานที่พบ |
วิหารวัดเวียง ตำบลเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ผู้พบ |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร (สำรวจเมื่อ 31 ตุลาคม 2564) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) ประชุมศิลาจารึกสยาม ภาคที่ 2 (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, 2472), 43-44. |
ประวัติ |
จารึกหลักนี้เป็นจารึกบนฐานพระพุทธรูปนาคปรกสัมฤทธิ์ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงได้มาจากวิหารวัดหัวเวียง (ปัจจุบันคือ วัดเวียง) อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขณะเสด็จไปตรวจราชการหัวเมืองชายทะเลภาคใต้ เมื่อรัตนโกสินทร์ศก 123 (พุทธศักราช 2447) ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาวรสิทธิ์เสวีวัตร์ (ใต้ฮัก) ซึ่งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลชุมพรอยู่ในขณะนั้น จัดส่งขึ้นมา ณ กรุงเทพฯ พร้อมกับจารึกอีก 2 หลัก คือ จารึก สฎ. 3 และ สฎ. 4 พระยาวรสิทธิ์เสวีวัตร์ได้จัดให้หลวงเสวีวรราช (แดง) ซึ่งเป็นนายอำเภอพุมเรียงอยู่ในเวลานั้น นำขึ้นมาถวายในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2447 ในครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้นำไปประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีคนร้ายลักองค์พระพุทธรูปไป เหลือไว้แต่นาค ทั้งนี้เพราะส่วนขององค์พระพุทธรูปไม่ติดกับตัวนาค ต่อจากนั้นมาอีก 3 วัน พระยาดำรงค์ธรรมสาสน์ได้สืบทราบแหล่งที่คนร้ายนำองค์พระพุทธรูปไปซ่อนไว้ จึงกราบทูลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเพื่อทรงทราบ จากนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงได้ตามไปนำกลับคืนมา และโปรดให้นำนาคจากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม มาสวมเข้ากับองค์พระพุทธรูปตามเดิม และให้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ซึ่งอยู่มาจนถึงปัจจุบัน |
เนื้อหาโดยสังเขป |
กล่าวถึงเจ้าเมืองครหิ ได้รับพระราชโองการจากพระเจ้าศรีมัตไตรโลกยราชภูษนวรรมเทวะให้หล่อพระพุทธรูปนี้เมื่อ พ.ศ. 1726 |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
จารึกบรรทัดที่ 1 บอกมหาศักราช 1105 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1726 และชื่อบุคคล คือ พระเจ้าศรีมัตไตรโลกยราชเมาลิภูษนวรรมเทวะ จารึกบรรทัดที่ 2 ได้ระบุชื่อเมือง คือ เมืองครหิ ซึ่ง ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ ได้สันนิษฐานไว้ว่า พระเจ้าศรีมัตไตรโลกยราชเมาลิภูษนวรรมเทวะ พระองค์นี้ น่าจะเป็นพระเจ้าแผ่นดินผู้ปกครองประเทศมลายูในเกาะสุมาตรา และเมืองครหินี้ ก็คือจังหวัดสุราษฏร์ธานีในปัจจุบัน |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 21-22 กรกฏาคม 2550 |