จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก

จารึก

จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2567 17:13:36 )

ชื่อจารึก

จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นบ. 1

อักษรที่มีในจารึก

ขอมอยุธยา

ศักราช

พุทธศตวรรษ 20

ภาษา

บาลี

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 42 บรรทัด (มีอักษรจารึกอยู่ที่ดุม กำ ระหว่างกำ กง ปลาย และข้างพระพุทธบาท)

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินชนวน

ลักษณะวัตถุ

รูปรอยพระพุทธบาท

ขนาดวัตถุ

กว้าง 52 ซม. ยาว 130 ซม. หนา 23 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นบ. 1”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2506) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาท อักษรขอมโบราณ ประมาณ พ.ศ. 1800 ที่วัดชมภูเวก ต. ท่าทราย อ. เมือง จ. นนทบุรี”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 85 ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 กำหนดเป็น “จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก”

ปีที่พบจารึก

วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2505

สถานที่พบ

วัดชมภูเวก ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

ผู้พบ

นายจำปา เยื้องเจริญ และนายประสาร บุญประคอง

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดชมภูเวก ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2506) : 58-61.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 6-10.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 113-119.

ประวัติ

จารึกนี้มีอักษรปรากฏอยู่ในบริเวณส่วนต่างๆ ของรูปรอยพระพุทธบาท ได้แก่ บริเวณส่วนปลายนิ้วพระบาท ที่กึ่งกลางพระบาททำเป็นรูปล้อเกวียน มีอักษรจารึกอยู่ที่ ดุม กำ ระหว่าง กำ กง และที่ขอบด้านข้างของพระพุทธบาท

เนื้อหาโดยสังเขป

คำจารึกเป็นคาถานมัสการพระพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ซึ่งสัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

กองหอสมุดแห่งชาติได้กำหนดให้เป็น จารึกอักษรขอมอยุธยา อายุพุทธศตวรรษที่ 20

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง และแสง มนวิทูร, “จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 113-119.
1) ประสาร บุญประคอง และแสง มนวิทูร, “ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาท อักษรขอมโบราณ ประมาณ พ.ศ. 1800 ที่วัดชมภูเวก ต. ท่าทราย อ. เมือง จ. นนทบุรี,” ศิลปากร 6, 5 (มกราคม 2506), 58-61.
2) ประสาร บุญประคอง และแสง มนวิทูร, “หลักที่ 85 ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 6-10.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)