จารึกกู่บ้านค่ายเจริญ

จารึก

จารึกกู่บ้านค่ายเจริญ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2552 16:19:11 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2567 18:19:24 )

ชื่อจารึก

จารึกกู่บ้านค่ายเจริญ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชร. 35, 1.4.1.1 กู่บ้านค่ายเจริญ, จารึกกู่บ้านค่ายเจริญ พุทธศตวรรษที่ 21-23

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย

ศักราช

พุทธศตวรรษ 21-23

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 2 ด้านที่ 1 มี 13 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 14 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินสีเทา

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปใบเสมา แตกเหลือเพียงด้านขวาส่วนบน

ขนาดวัตถุ

กว้าง 53 ซม. สูง 34 ซม. หนา 5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชร. 35”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 28 ฉบับที่ 4 (กันยายน 2527) กำหนดเป็น “1.4.1.1 กู่บ้านค่ายเจริญ”
3) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 กำหนดเป็น “จารึกกู่บ้านค่ายเจริญ พุทธศตวรรษที่ 21-23”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วัดมิ่งเมือง ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย (สำรวจเมื่อ 30 กรกฎาคม 2557)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 28 ฉบับที่ 4 (กันยายน 2527), 81-86.
2) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 42-43.

ประวัติ

จากการสำรวจของ ดร. ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2525) ทราบว่า ประมาณ พ.ศ. 2496 มีการพบจารึกหลักนี้ในวัดร้าง (ชาวบ้านเรียกกู่) ใกล้หมู่บ้านค่ายเจริญ ตำบลเวียงขัย อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย ครั้งนั้น ได้นำไปไว้ที่บ้านนายอิ่นคำ ดวงมูล บ้านราษฎร์เจริญ และต่อมานำไปไว้ที่วัดราษฎร์เจริญ กระทั่งถึง พ.ศ. 2515 จึงได้นำไปไว้ที่วัดมิ่งเมือง ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกเป็นคำอธิษฐานของผู้สร้าง ขอให้ได้เกิดในยุคของพระศรีอาริย์ ด้วยอานิสงส์จากการสร้างพระพุทธรูป 1,000 องค์ นั้น

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

เนื่องจากจารึกนี้ไม่มีเลขศักราชบอกอายุไว้ กองหอสมุดแห่งชาติจึงกำหนดอายุโดยพิจารณาจากรูปแบบอักษรไทยสุโขทัย

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2552, จาก :
1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “จารึกกู่บ้านค่ายเจริญ พุทธศตวรรษที่ 21-23,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 42-43.
2) ฮันส์ เพนธ์, “การสำรวจและวิจัยจารึก 1.4.1.1 กู่บ้านค่ายเจริญ,” ศิลปากร 28, 4 (กันยายน 2527), 81-86.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-18, ไฟล์; ChR_3501_c และ ChR_3502_c)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 28 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 2557
3) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 8 กันยายน 2566