จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images

คำอ่าน-แปล

ชุดคำค้น 16 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2403, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 25, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม-พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์, ลักษณะ-จารึกบนฆ้อง, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดพระธาตุหริภุญไชย ลำพูน, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-ประวัติและตำนาน-วัดพระสิงห์ เชียงใหม่, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-หล่อกังสดาล, บุคคล-กัญจนมหาเถร, บุคคล-เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรล้านนา,

จารึกกังสดาล

จารึก

จารึกกังสดาล

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2566 19:53:21 )

ชื่อจารึก

จารึกกังสดาล

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ลพ. 40, จารึกบนฆ้องวัดพระธาตุ จังหวัดลำพูน, จารึกบนฆ้องวัดพระธาตุ จังหวัดลำพูน, ลพ. 40

อักษรที่มีในจารึก

ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2403

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 10 บรรทัด

ลักษณะวัตถุ

ฆ้อง

ขนาดวัตถุ

เส้นผ่าศูนย์กลางกลาง 229 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลพ. 40”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2501) กำหนดเป็น “จารึกบนฆ้องวัดพระธาตุ จังหวัดลำพูน”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “จารึกบนฆ้องวัดพระธาตุ จังหวัดลำพูน”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดพระธาตุหริภุญไชย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

หอกังสดาล วัดพระธาตุหริภุญไชย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 1 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2501) : 71-72.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 238-239.

เนื้อหาโดยสังเขป

ในปี พ.ศ. 2403 กัญจนมหาเถรเจ้าวัดป่าเมืองแพร่เป็นประธานทายกฝ่ายใน และ เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่เป็นประธานทายกฝ่ายนอก พร้อมทั้งทายกทายิกาทั้งฝ่ายในฝ่ายนอก ร่วมกันหล่อกังสดาลไว้ ณ วัดพระสิงห์ เวียงเชียงใหม่ เพื่อไว้เป็นเครื่องบูชาพระธาตุอันตั้งไว้ในเมืองหริภุญไชย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 3 ระบุ จ.ศ. 1222 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2403 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (พ.ศ. 2399-2413)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำอ่านจารึกบนฆ้องวัดพระธาตุ จังหวัดลำพูน,” ศิลปากร 1, 5 (มกราคม 2501) : 71-72.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 79 จารึกบนฆ้องวัดพระธาตุ จังหวัดลำพูน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษร และ ภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 238-239.
3) สรัสวดี อ๋องสกุล, ประวัติศาสตร์ล้านนา (กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง, 2544), 277.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508)