จารึกขันทรงวงรีสัมฤทธิ์

จารึก

จารึกขันทรงวงรีสัมฤทธิ์

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2567 11:54:21 )

ชื่อจารึก

จารึกขันทรงวงรีสัมฤทธิ์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

จารึกบนขันสัมฤทธิ์, หลักที่ 112 จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์, ปจ. 20, หลัก 112

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1730

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 1 บรรทัด

วัตถุจารึก

สัมฤทธิ์

ลักษณะวัตถุ

รูปขันทรงวงรี

ขนาดวัตถุ

กว้าง 3 ซม. สูง 7 ซม. โดยรอบขอบขัน 40 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ปจ. 20”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 10 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2510) กำหนดเป็น “จารึกบนขันสัมฤทธิ์”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 กำหนดเป็น “หลักที่ 112 จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 กำหนดเป็น “จารึกขันทรงวงรีสัมฤทธิ์”
5) เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 25/226/2524  

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2509

สถานที่พบ

โบราณสถานหมายเลข 11 บริเวณเมืองพระรถ ดงศรีมหาโพธิ์ ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ (ข้อมูลเดิมว่า อำเภอศรีมหาโพธิ์) จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่หน่วยศิลปากรที่ 5 จังหวัดฉะเชิงเทรา

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี (สำรวจเมื่อ 24 กรกฎาคม 2554)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 10 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2510) : 76-79.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 147-149.
3) จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 126-129.
4) รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 1 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 80-81.
 

ประวัติ

จารึกนี้มีอักษรจารึกที่ขอบขันด้านนอกตอนบนไปรอบขันรูปวงรี สันนิษฐานว่าแต่เดิมคงสร้างให้เป็นรูปทรงกลม แต่ชำรุดไปด้วยกาลเวลานานหรือเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้รูปทรงเปลี่ยนไปเป็นวงรี ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 ใช้ชื่อจารึกว่า “หลักที่ 112 จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์” แต่การจัดพิมพ์จารึกในประเทศไทยครั้งนี้ คณะกรรมการจัดพิมพ์ได้มีมติให้ใช้ชื่อจารึกใหม่ตามลักษณะวัตถุที่ใช้จารึกว่า จารึกขันทรงวงรีสัมฤทธิ์

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นการบันทึกว่า ขันใบนี้เป็นของที่พระกัมรเตงอัญศรีวิเรนทราธิบดีวรมัน ถวายแด่กมรเตงชคตศรีวิเรศวร (เทวรูป) ในมหาศักราช 1109

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกบอกมหาศักราช 1109 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1730

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ประสาร บุญประคอง และฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำอ่านจารึกบนขันสัมฤทธิ์,” ศิลปากร 10, 5 (มกราคม 2510) : 76-79.
2) ประสาร บุญประคอง และฉ่ำ ทองคำวรรณ, “จารึกขันทรงวงรีสัมฤทธิ์,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17-18 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 126-129.
3) ประสาร บุญประคอง และฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 112 จารึกบนวัตถุสัมฤทธิ์,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 4 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2513), 147-149.
4) รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, “จารึกขันทรงวงรีสัมฤทธิ์,” ใน รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 1 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 80-81.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี