จารึกฐานปราสาทโลหะ

จารึก

จารึกฐานปราสาทโลหะ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2566 21:37:26 )

ชื่อจารึก

จารึกฐานปราสาทโลหะ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชร. 9, จารึกปราสาทโลหะ, หลักที่ 77 จารึกบนฐานปราสาทโลหะ, ชร. 9 จารึกฐานปราสาทโลหะ พ.ศ. 2270

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2270

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 17 บรรทัด ด้านที่ 1 ถึงด้านที่ 3 มีด้านละ 4 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 5 บรรทัด

วัตถุจารึก

โลหะ

ลักษณะวัตถุ

รูปปราสาทฐานสี่เหลี่ยม

ขนาดวัตถุ

กว้าง 42 ซม. ยาว 167 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชร. 9”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 (ตุลาคม 2495) กำหนดเป็น “จารึกปราสาทโลหะ”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 77 จารึกบนฐานปราสาทโลหะ”
4) ในหนังสือ จารึกล้านนา เล่ม 1 ภาค 1 กำหนดเป็น “ชร. 9 จารึกฐานปราสาทโลหะ พ.ศ. 2270”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ห้องศิลปะเชียงแสน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ถนนหน้าพระธาตุ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 6 ฉบับที่ 5 (ตุลาคม 2495), 92-98.
2) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 219-227.
3) จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 22-24.

เนื้อหาโดยสังเขป

จุลศักราช 1098 พระญาหลวงเจ้ามังสะแพกเจ้าเมืองเชียงแสน และบุษบาสิริวัฒนเทพาราชกัญญา รวมทั้งราชบุตรนามว่าพระยอดงำเมือง มีศรัทธาหล่อปราสาทหลังนี้ขึ้น เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปและพระธาตุ โดยขอให้เป็นปัจจัยแก่นิพพาน รวมทั้งได้เกิดในดาวดึงส์ และบรรลุเป็นพระอรหันต์ ในสำนักพระอริยเมตไตรย เป็นต้น

ผู้สร้าง

พระญาหลวงเจ้ามังสพรสะแพก, บุษบาสิริวัฒนเทพาราชกัญญาและพระยอดงำเมือง

การกำหนดอายุ

กำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึกคือ “จุฑศักกาพัท 1089 ตัว” (จ.ศ. 1089) ตรงกับ พ.ศ. 2270 ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์ นยองยานของพม่าปกครองล้านนา (ระหว่าง พ.ศ. 2157-2295)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
1) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชร. 9 จารึกฐานปราสาทโลหะ พ.ศ. 2270,” ใน จารึกล้านนา ภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, 2534), 22-24.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “คำอ่านจารึกปราสาทโลหะ,” ศิลปากร 6, 5 (ตุลาคม 2495), 92-98.
3) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 77 จารึกบนฐานปราสาทโลหะ,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 219-227.
4) ปริวรรต ธรรมปรีชากร และทรรศนะ โดยอาษา, เมืองเชียงแสน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2539).

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-18, ไฟล์; ChR_0901_p, ChR_0902_p, ChR_0903_p และ ChR_0904_p)