จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานปราสาทโลหะ

จารึก

จารึกฐานปราสาทโลหะ ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:18:14

ชื่อจารึก

จารึกฐานปราสาทโลหะ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชร. 9, จารึกปราสาทโลหะ, หลักที่ 77 จารึกบนฐานปราสาทโลหะ, ชร. 9 จารึกฐานปราสาทโลหะ พ.ศ. 2270

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2270

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 17 บรรทัด ด้านที่ 1 ถึงด้านที่ 3 มีด้านละ 4 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 5 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2495), (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้แปล

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2495), (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)
3) สุวัฒน์ โกพลรัตน์, แปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย (พ.ศ. 2534)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “จุฑศักกาพัท” เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า จุลศักราช มาจาก จุฑ = จุล ศกฺก หรือ ศก = ศักราช อพฺท = ปี สำหรับคำว่า จุล นั้น ภาษาสันสกฤตใช้คำว่า “กฺษุลฺล” ไม่ใช่ จุฑ (กฺษุลฺล = small ส่วน จุฑ = to be small) จุลศักราช 1089 ตรงกับ พ.ศ. 2270
2. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “เต่ายี” ในที่นี้เป็นชื่อวันไทย ซึ่งเอาศก 10 ศกที่เรียกว่า แม่วันไทย หรือ แม่มื้อ และเอาปี 12 นักษัตรที่เรียกว่า ลูกวันไทย หรือลูกมื้อมาใช้เป็นวัน เรียกว่า วันไทยหรือมื้อ
3. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “โมระหว่วน” หรือ มยุหวุ่น เป็นตำแหน่งขุนนางพม่าชั้นเจ้าเมือง คำนี้ในภาษาพม่า เขียน มฺรุ วนฺ อ่านว่า เมี้ยว วัน หรือ มะโย้ วุน
5. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “เมืองเชียงแสน” เป็นเมืองโบราณซึ่งอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน