จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกฐานปราสาทโลหะ

จารึก

จารึกฐานปราสาทโลหะ ด้านที่ 4

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 17:18:14

ชื่อจารึก

จารึกฐานปราสาทโลหะ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชร. 9, จารึกปราสาทโลหะ, หลักที่ 77 จารึกบนฐานปราสาทโลหะ, ชร. 9 จารึกฐานปราสาทโลหะ พ.ศ. 2270

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา

ศักราช

พุทธศักราช 2270

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 17 บรรทัด ด้านที่ 1 ถึงด้านที่ 3 มีด้านละ 4 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 5 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2495), (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

ผู้แปล

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2495), (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)
3) สุวัฒน์ โกพลรัตน์, แปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย (พ.ศ. 2534)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) โครงการวิจัยการปริวรรตและชำระจารึกล้านนา (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ฉ่ำ ทองคำวรรณ : “สงสการ” ภาษาถิ่นเหนือนิยมอ่านกันว่า “ส่งสการ” หมายถึง ส่งสักการะ ซึ่งเกี่ยวกับพิธีการปลงศพ ส่วนเขมร เขียนเป็น “สฺงการ” อ่านว่า “ส็องการ์” ซึ่งหมายถึง พิธีเกี่ยวกับการปลงศพเช่นกัน เข้าใจว่ามาจากมาจากภาษาสันสกฤตว่า “สํสฺการ” แปลว่า การทำให้ดีขึ้น ซึ่งได้แก่ “พิธี” นั่นเอง
2. โครงการวิจัยการปริวรรตฯ : “เจติยคัพภ์” หมายถึง ห้องในพระเจดีย์
3. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร : “นิพฺพาน ปจฺจโย โหตุ โน อนาคเต กาเล นิจฺจํ อิมสฺมิ ํ อตฺตภาเว อายุวณฺณาทิ วุฑฒิธมฺมาวหํ โหตุ” คำแปลภาษาบาลีใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 โดย ฉ่ำ ทองคำวรรณ แปลว่า “ขอจงปัจจัยแห่งพระนิพพานแก่เราทั้งหลายในอนาคตกาล (และ) ขอจงนำมาซึ่งวุฒิธรรม คือ ความเจริญด้วยอายุและวรรณเป็นต้น ในอัตภาพนี้เป็นนิจ เทอญ” ส่วนคำแปลในหนังสือ จารึกล้านนา โดย สุวัฒน์ โกพลรัตน์ แปลว่า “(ขออำนาจบุญกุศลที่เราได้บำเพ็ญกันในครั้งนี้) จงเป็นปัจจัยให้ได้บรรลุถึงพระนิพพานแก่เราทั้งหลายในอนาคตกาล ขอพรทั้ง 4 ประการ มีอายุ และวรรณะ เป็นต้น จงอำนวยให้แต่ความเจริญในอัตภาพนี้ตลอดกาลเป็นนิตย์เทอญ”