จารึกปราสาทเมืองต่ำ

จารึก

จารึกปราสาทเมืองต่ำ

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 21:18:39 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทเมืองต่ำ

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

บร. 25, บร. 26, บร. 27, บร. 28

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 16

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 5 บรรทัด สำเนาจารึกที่ 2, 3 และ 4 มี 1 บรรทัด สำเนาจารึกที่ 5 มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

โคปุระปราสาท 2 ชิ้น กรอบประตูปราสาท 2 ชิ้น

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “บร. 25, บร. 26, บร. 27, บร. 28”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 34 ฉบับที่ 6 (พฤษภาคม 2534) กำหนดเป็น “จารึกปราสาทเมืองต่ำ”

ปีที่พบจารึก

พฤศจิกายน พ.ศ. 2533

สถานที่พบ

ปราสาทเมืองต่ำ บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้พบ

นายสามารถ ทรัพย์เย็น หัวหน้าโครงการบูรณะโบราณสถานปราสาทเมืองต่ำ

ปัจจุบันอยู่ที่

ปราสาทเมืองต่ำ บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

พิมพ์เผยแพร่

1วารสารศิลปากร ปีที่ 34 ฉบับที่ 6 (พฤษภาคม 2534) : 115-122.

ประวัติ

จากการบูรณะโบราณสถานปราสาทเมืองต่ำที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ หัวหน้าโครงการบูรณะฯ ได้พบศิลาจารึก 4 ชิ้น ในสถานที่ 2 ตำแหน่ง คือ ใต้บัวหงายรับชายหลังคาโคปุระทิศตะวันออก ชั้นนอกทางปีกขวาด้านหลัง จำนวน 2 ชิ้น อยู่ที่เสาเดียวกัน แต่คนละเหลี่ยม เป็นจารึกอักษรขอมโบราณ ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 16 นั้นเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความเก่าแก่ของโบราณสถานปราสาทเมืองต่ำด้วยว่า มีอายุ 1,000 ปีกว่ามาแล้ว จึงสมควรอย่างยิ่งที่อนุรักษ์ไว้เพื่อให้เป็นแหล่งทางการศึกษาของอนุชนทางด้านศิลปวัฒนธรรม ความเชื่อทางศาสนาและประวัติศาสตร์ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

เนื้อหาโดยสังเขป

จารึกทั้ง 4 ชิ้นมีข้อความน้อยคำ เป็นชื่อบุคคล และเทวสถาน

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รูปอักษรที่สามารถนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบได้อย่างชัดเจน คือ สำเนาจารึกที่ 4 อักษร “ว” และอักษร “ส” ทั้งเส้นอักษรและศกของรูปอักษรจะเหมือนกันทุกประการกับจารึกพนมวัน 2 พ.ศ. 1598 อันเป็นปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ส่วนสำเนาจารึกที่ 2, 3 และ 4 อักษร “ง”, “ภ”, “ว”, “ป” และศกของอักษร “ก”, “ค” ก็มีลักษณะเป็นเส้นเดียวเหมือนกันกับจารึกสด๊กก๊อกธม 2 พ.ศ. 1595 ต่างกันแต่ส่วนโค้งเท่านั้น ด้วยเหตุผลของการเปรียบเทียบรูปอักษรนี้เอง จึงจัดอายุของจารึกปราสาทเมืองต่ำทั้ง 4 สำเนา ไว้ในพุทธศตวรรษที่ 16 ตอนปลายดังกล่าว

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกปราสาทเมืองต่ำ,” ศิลปากร 34, 6 (พฤษภาคม 2534) : 115-122.

ภาพประกอบ

1) ภาพถ่ายจารึกและภาพคัดจำลองอักษรจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 34 ฉบับที่ 6 (พฤษภาคม 2534)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 16-19 พฤษภาคม 2551