จารึกประวัติการทำสังคายนาและรายนามพระสงฆ์

จารึก

จารึกประวัติการทำสังคายนาและรายนามพระสงฆ์

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2567 20:06:54 )

ชื่อจารึก

จารึกประวัติการทำสังคายนาและรายนามพระสงฆ์

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 289 จารึกประวัติการทำสังคายนาและรายนามพระสงฆ์, พล. 3

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย, ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช (หลัง) 1935

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 3 ด้าน ด้านที่ 1 มี 13 บรรทัด, ด้านที่ 2 มี 58 บรรทัด และด้านที่ 3 มี 38 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวน

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา (ชำรุด)

ขนาดวัตถุ

กว้าง 63.5 ซม. สูง 234 ซม. หนา 21.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พล. 3”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 กำหนดเป็น “หลักที่ 289 จารึกประวัติการทำสังคายนาและรายนามพระสงฆ์”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วัดยาง ข้างกรมทหาร ตำบลบ้านคลอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

วิหารหลวงพ่อดำ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรวิหาร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก (สำรวจเมื่อ 30 มกราคม 2554)

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 (กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 37-46.

ประวัติ

เจ้าหน้าที่กองหอสมุดแห่งชาติได้ไปสำรวจศิลาจารึกนี้เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2515

เนื้อหาโดยสังเขป

ด้านที่ 1 ว่าด้วยประวัติการทำสังคายนา ด้านที่ 2 และ 3 เป็นรายนามพระสังฆเถรานุเถระ พร้อมด้วยรายชื่อญาติ และรายชื่อบุคคล

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ระยะอายุกาลจารึก ไม่ปรากฏเกณฑ์ปีศักราชที่ใช้ แต่พิจารณาจากลักษณะรูปอักษร และอักขรวิธีที่ใช้แล้ว ศิลาจารึกประวัติการทำสังคายนาฯ ควรจะจารึกขึ้นหลัง พ.ศ. 1935

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
ฉ่ำ ทองคำวรรณ, ประเสริฐ ณ นคร และเทิม มีเต็ม, “หลักที่ 289 ศิลาจารึกประวัติการทำสังคายนาและรายนามพระสงฆ์,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 : ประมวลจารึกที่พบในประเทศไทยและต่างประเทศ (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534), 37-46.

ภาพประกอบ

1) ภาพถ่ายจารึกจาก : ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 (กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2534)
2) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 28-31 มกราคม 2554
3) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566