จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

ชุดคำค้น 21 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2337, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 24, วัตถุ-จารึกบนไม้, ลักษณะ-จารึกรูปสี่เหลี่ยม, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนา, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม, ยุคสมัย-จารึกสมัยล้านนาภายใต้สยาม-พระเจ้ากาวิละ, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-ประวัติและตำนาน-พุทธศาสนา, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นรก-สวรรค์, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นิพพาน, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่-พระเจ้ากาวิละ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่-พระยาธรรมลังกา, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองเมืองเชียงใหม่-พระยาคำฝั้น, บุคคล-พระเจ้ากาวิละ, บุคคล-พระยาธรรมลังกา, บุคคล-พระยาคำฝั้น,

จารึกพระพุทธบาทไม้มุก

จารึก

จารึกพระพุทธบาทไม้มุก

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2567 18:13:12 )

ชื่อจารึก

จารึกพระพุทธบาทไม้มุก

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 65 จารึกพระพุทธบาทไม้มุก, ชม. 65

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา, มอญ, เทวนาครี

ศักราช

พุทธศักราช 2337

ภาษา

สันสกฤต, บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวน 2 ด้าน ด้านที่ 1 ไม่ทราบจำนวนบรรทัด ด้านที่ 2 มี 15 บรรทัด

วัตถุจารึก

ไม้

ลักษณะวัตถุ

แผ่นไม้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านหน้าเป็นภาพพระพุทธบาท

ขนาดวัตถุ

ความสูงรวมฐาน 199 ซม. กว้าง 91 ซม. หนา 5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

กองหอสมุดแห่งชาติกำหนดเป็น “ชม. 65 จารึกพระพุทธบาทไม้มุก”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (สำรวจเมื่อ 29 สิงหาคม 2561)

พิมพ์เผยแพร่

วารสารศิลปากร ปีที่ 18 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2518) : 49-55.

ประวัติ

พระพุทธบาทนี้เดิมอยู่ที่วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาถูกนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ คำจารึกบนพระพุทธบาทไม้ปรากฏอยู่ทั้ง 2 ด้าน แต่เป็นการจารึกขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน กล่าวคือ จารึกด้านหน้าของพระพุทธบาทถูกเขียนขึ้นก่อน ฮันส์ เพนธ์ (พ.ศ. 2518) สันนิษฐานจากรูปแบบของตัวอักษรว่า น่าจะถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21 ส่วนจารึกด้านหลังระบุจุลศักราช 1156 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2337 กล่าวถึงการบูรณะพระพุทธบาทในภายหลัง ลวดลายที่อยู่ด้านเดียวกับพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นรูปใบไม้และดอกไม้วาดด้วยสีทองบนน้ำรัก ส่วนพระพุทธบาททั้งพระองค์ประดับด้วยหอยมุกฝังในชาด จากส้นพระบาทขึ้นไปเป็นภาพแสดงจักรวาล มีเขาพระสุเมรุล้อมด้วยมหาสมุทร มหาทวีปทั้ง 4 เขาเจ็ดแนว และกำแพงจักรวาล พร้อมทั้งภาพสัตว์และสิ่งอื่นๆ เหนือขึ้นไปเป็นภาพสวรรค์ 22 ชั้นของกามโลกและรูปโลก ท่ามกลางภาพสวรรค์มีรูปจักร 1 รูป ซึ่งเป็นลักษณะอันหนึ่งใน 32 ลักษณะของมหาบุรุษ ด้านล่างของพระพุทธบาทมีนามพระพุทธกกุสนธ์ โกนาคมน์ และกัสสปะ ฮันส์ เพนธ์ สันนิษฐานว่า ผู้สร้างคงตั้งใจแสดงว่า พระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์นี้ซ้อนอยู่ใต้พระบาทของพระโคดมเจ้า นอกจากนี้มีชื่อสวรรค์, สัตว์ และสิ่งของอยู่ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ใช้อักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี ส่วนทางด้านหลังบริเวณใต้ข้อความจารึก มีภาพเขียนด้วยสีทองบนชาด อาจเป็นภาพภูเขาแต่ชำรุดหลายแห่ง ภาพต่างๆที่ปรากฏในพระพุทธบาท เช่น เขาพระสุเมรุ และสวรรค์ หมายถึง มงคลลักษณะ 108 ซึ่งตามปกติจะจัดเรียงเป็นแถวหรือวงกลม แต่ผู้สร้างพระพุทธบาทองค์นี้ไม่ได้ทำตามแบบดังกล่าว อาจเพราะมีความคิดว่ามงคลลักษณะ 108 เป็นส่วนของจักรวาล (กามโลกและรูปโลก) จึงจัดที่ของรูปมงคลตามความคิดนี้ และผู้สร้างคงต้องการแสดงว่าพระพุทธเจ้าเป็นเจ้าเหนือจักรวาลทั้งมวล ทั้งนี้ทำให้เกิดคำถามที่ว่า ผู้สร้างนำความคิดดังกล่าวมาจาก “ไตรภูมิพระร่วง” หรือไม่ เพราะในในไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงมงคลลักษณะ 108 หลายลักษณะ หรือครบทุกลักษณะ เป็นส่วนสำคัญของจักรวาล

เนื้อหาโดยสังเขป

ด้านที่ 1 พระนามของอดีตพุทธ ได้แก่ พระพุทธกกุสนธ์ กัสสปะ และโกนาคมน์ ชื่อของสวรรค์ชั้นต่างๆและชื่อสัตว์หิมพานต์ เป็นต้น ด้านที่ 2 กล่าวถึงการบูรณะพระพุทธบาทในจุลศักราช 1156 (พ.ศ. 2337)

ผู้สร้าง

พระเจ้ากาวิละ, เจ้าธรรมลังกาและเจ้าคำฝั้น

การกำหนดอายุ

ฮันส์ เพนธ์ กำหนดอายุจากรูปแบบตัวอักษรธรรมล้านนาที่ปรากฏด้านหน้าของพระพุทธบาท โดยสันนิษฐานว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 21 ส่วนด้านหลังกำหนดอายุจากศักราชที่ปรากฏในจารึก คือ จุลศักราช 1156 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2337 ในรัชกาลพระเจ้ากาวิละแห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2325-2356)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ฮันส์ เพนธ์, “พระพุทธบาทที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่,” ศิลปากร 18, 5 (มกราคม 2518), 49-55.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 18 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2518)