อายุ-จารึก พ.ศ. 1565, อายุ-จารึกศตวรรษที่ 16, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ปทุมธานี, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายสิ่งของ, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1, เรื่อง-การสรรเสริญบุคคล-พระศรีสูรยลักษมี, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-ประดิษฐานเทวรูป, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-สร้างพระศิวลึงค์, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1, บุคคล-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1, บุคคล-พระศรีสูรยลักษมี,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2567 15:05:41 )
ชื่อจารึก |
จารึกพระศรีสูรยลักษมี |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
ขก. 22, K. 1084, 01/33/2518, 99/2/2560 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมโบราณ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 17 |
ภาษา |
สันสกฤต, เขมร |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 90 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 18 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 18 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 27 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 27 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินทราย |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 43 ซม. สูง 48.5 ซม. หนา 6 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ขก. 22” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล 22 กุมภาพันธ์ 2564) |
พิมพ์เผยแพร่ |
วารสาร ศิลปากร ปีที่ 35 ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535) : 109-121. |
ประวัติ |
ศิลาจารึกหลักนี้เป็นสมบัติเดิมอยู่ในห้องคลังของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ไม่มีทะเบียนประวัติว่าได้มาจากไหน เมื่อใด แต่จากการสอบถามเจ้าหน้าที่ ได้ข้อมูลเพียงว่า ได้มาจากอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น จึงไม่มีรายละเอียดว่าใครเป็นคนพบศิลาจารึก พบเมื่อใด ณ ที่ตำแหน่งใดของอำเภอพล |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ข้อความจารึกด้านที่ 1 ชำรุดมาก พบเพียงข้อความข้างต้นที่กล่าวนมัสการเทพเจ้า ได้แก่ พระศิวะ และต่อด้วยการสรรเสริญพระเจ้าศรีสูรยวรมเทวะ ซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัดว่าคือพระเจ้าศรีสูรยวรมันที่ 1 หรือพระเจ้าศรีสูรยวรมันที่ 2 ข้อความจารึกด้านที่ 2 กล่าวถึงประวัติและพระราชกิจของกัมรเตงอัญเทวี ศรีสูรยลักษมี ได้แก่การประดิษฐานเทวรูปและสร้างพระศิวลึงค์ไว้ในเมือง ข้อความจารึกดานที่ 3, 4 และขอบล่าง กล่าวถึงพระราชกิจของกัมรเตงอัญเทวี ศรีสูรยลักษมี ได้แก่การประดิษฐานเทวรูป สร้างพระศิวลึงค์ และประทานวัตถุสิ่งของ ข้าทาส ให้อยู่รับใช้เทวสถานในหมู่บ้านต่างๆ ที่ทรงประทานนั้นด้วย |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
จารึกด้านที่ 3 บรรทัดที่ 1 ระบุศักราช 944 ตรงกับ พ.ศ. 1565 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าศรีสูรยวรมันที่ 1 กล่าวถึงกัมรเตงอัญเทวี ศรีสูรยลักษมี โดยนัยนี้ ทำให้เข้าใจว่า ศรีสูรยลักษมี ก็คือ มเหสีของพระเจ้าศรีสูรยวรมันที่ 1 แต่พระเจ้าศรีสูรยวรมันที่ 1 มีมเหสีทรงพระนามว่า ศรีวีรลักษมี ฉะนั้น ความบกพร่องอาจเกิดจากเหตุผล 2 ประการ ประการแรก คือ จารึกตัวเลขศักราชผิดพลาด ผู้อ่านได้พยายามเปรียบเทียบตัวเลขหลายครั้งหลายหน เพื่อให้อ่านเป็นอย่างอื่นได้ แต่ตัวเลขจารึกชัดเจน จึงไม่อาจอ่านเป็นอย่างอื่นได้ แม้ข้อความจะขัดแย้งกันก็ตาม ก็ต้องรักษาคำจารึกไว้ ประการที่สอง ถ้าศักราชถูกต้อง ความบกพร่องอาจจะเกิดจากการจารึกชื่อ ศรีวีรลักษมี กับ พระศรีสูรยลักษมี เป็นคนเดียวกัน ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้ เพราะ ศิลาจารึก Prasat Don So K. 680 กล่าวว่า ในรัชสมัยของพระศรีสูรยวรมเทวะ กัมรเตงชคัต ศรีสูรยลักษมีปตีนทรเทวะ ก็แปลว่า เทพผู้เป็นใหญ่ คือ สามีของพระศรีสูรยลักษมี แสดงว่า พระศรีสูรยลักษมี คือ มเหสีของพระเจ้าศรีสูรยวรมันที่ 2 และจากเหตุผลทั้งสองประการนี้ ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่า ศิลาจารึกศรีสูรยลักษมีนี้อยู่ในยุคไหน คือ ระหว่าง ยุคของพระเจ้าศรีสูรยวรมันที่ 1 กับ ยุคของพระเจ้าศรีสูรยวรมันที่ 2 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก : |
ภาพประกอบ |
1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-07, ไฟล์; KhK_002f1, KhK_002f2, KhK_002f3 และ KhK_002f4) |