เทศกาลพิพิธภัณฑ์

มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง 2563

18 กรกฎาคม 2565

คลิกชมนิทรรศการออนไลน์มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง “วิถีวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ ประตูสู่สยามประเทศ” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ณ วัดขนอน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี   โดยเป็นความร่วมมือของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ภาคกลาง จัดงานขึ้นเป็นครั้งแรกของภาคกลาง โดยมีพิพิธภัณฑ์ในภาคกลางที่เป็นเครือข่ายจำนวน 30 แห่ง ในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้ร่วมกันศึกษา สืบค้นเรื่องราวพิพิธภัณฑ์และชุมชนของตน เพื่อนำเสนอต่อสาธารณะชนในรูปแบบของการจัดนิทรรศการและกิจกรรม ที่เล่าเรื่องราวของวิถีชีวิตและสังคมวัฒนธรรมของชุมชนใน 5 ลุ่มน้ำภาคกลาง คือ เจ้าพระยา  ป่าสัก-ลพบุรี  ท่าจี  แม่กลอง  และเพชรบุรี  ภายใต้การนำเสนอจัดแสดงนิทรรศการ  การสาธิต และการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์และขุมชนท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์ การจัดงานในครั้งนี้เป็นการแสดงศักยภาพของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง ในการสร้างพื้นที่ให้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ได้นำเสนอเรื่องราวมรดกวัฒนธรรมในฐานะที่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นพื้นที่สำคัญในการบันทึกเรื่องราวทางสังคมวัฒนธรรมไว้ ทั้งเรื่องราวที่มีในวัตถุสิ่งของในพิพิธภัณฑ์ และเรื่องราวความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล  เพื่อให้ชุมชนในพื้นที่ นักท่องเที่ยว ประชาชนทั่วไป และคนรุ่นใหม่ ได้มาสัมผัสเรื่องราวที่ก่อกำเนิดจากความตั้งใจของคนทำพิพิธภัณฑ์ที่ใช้ความรัก และเวลาในการสั่งสม ไม่ว่าจะเป็นศิลปวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ วัตถุวัฒนธรรม การละเล่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย    facebook  มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง  คลิกชมวิดีโอเสวนาภายในงานหลังจากจบงานมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง  พวกเราทำอะไรต่อ?วันที่ 31 มีนาคา 2564  ศมส.และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง จัดงานประชุมเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เพื่อถอดบทเรียนในการจัดงานโครงการมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง                วิถีวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ ประตูสู่สยามประเทศหลังการจัดงานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง โดยเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)(ศมส.) เมื่อพฤศจิกายนที่ผ่านมา  เพื่อเป็นการทบทวนและเรียนรู้กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างศมส.และชาวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น   วันที่ 31 มีนาคม 2564  ศมส.และเครือข่ายได้ร่วมกันถอดบทเรียน เพื่อทบทวนการทำงานตั้งแต่ต้นทาง จากการเริ่มสร้างเครือข่าย จนมีกระบวนการทำงานสู่การเป็นงานมหกรรม ชวนคิด ชวนคุย สะท้อนความประทับใจ อุปสรรค การเรียนรู้ รวมถึงการทำงานต่อไปในอนาคต           เนื่องจาก ศมส. มุ่งหวังจะส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น และผู้ปฏิบัติงานทางวัฒนธรรม ให้สามารถจัดเก็บ จัดการ และเผยแพร่ข้อมูลด้านมรดกวัฒนธรรมของตนเองได้อย่างเป็นระบบ ความรู้ดังกล่าวเป็นความรู้ที่สร้างโดยคนท้องถิ่น/เจ้าของวัฒนธรรม สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ เพราะเป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ของคนท้องถิ่น กระบวนการจัดการความรู้เหล่านี้ยังเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพให้กับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในการจัดการวัตถุและพิพิธภัณฑ์ของตนได้           การถอดบทเรียนเป็นส่วนสำคัญของการทำงาน ที่จะส่งเสริมทั้ง "คนทำพิพิธภัณฑ์" และ "การจัดการงานพิพิธภัณฑ์" ไปพร้อมๆกันคลิกอ่านรายละเอียด

มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา 2564

29 กรกฎาคม 2564

งานมหกรรมเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ สีสัน เส้นด้าย ลายผ้า ล้านนา” วันที่ 25- 27 มีนาคม พ.ศ. 2564 ณ วัดศรีดอนคำ  อำเภอลอง จังหวัดแพร่  จัดโดยเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ล้านนา ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน)  และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานแพร่  จัดแสดงผ้าและสิ่งทอจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ในภาคเหนือกว่า 20 แห่ง  มีทั้งผ้าจากชาติพันธุ์ต่างๆจากจังหวัดเชียงราย    ผ้าในพระพุทธศาสนาจากจังหวัดลำปาง     ผ้าห่อคัมภีร์จากวัดสูงเม่นจังหวัดแพร่ และผ้าจากวัฒนธรรมไทยใหญ่จากจังหวัดแม่ฮ่องสอน และหลากหลายในผ้าของกลุ่มล้านนาตะวันออก น่าน เชียงราย  พะเยา   และยังมีคอลเล็กชั่นอื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิ ผ้าผะเหวดเป็นภาพพระเวสสันดรยาวกว่า 20 เมตร ในสภาพสมบูรณ์ 90 เปอร์เซ็นต์ และผ้าโบราณอายุกว่า 200 ปี พร้อมกับ ผลงานใหม่ๆของกลุ่มทอผ้าจากรุ่นสู่รุ่น นิทรรศการนำเสนอใน 5  เรื่องราว ได้แก่1. ผ้าแห่งศรัทธา2. นานาเครื่องย้อง3. ผ้าพี่น้องชนเผ่า4. ภาพผ้าเก่าคนเมือง5. ลือเลื่องผ้าเมืองลองนอกจากนี้ยังมีกิจกรรมเวิร์คช้อป เวทีเสวนาเรื่องผ้าและสิ่งทอ ที่จะแชร์ความรู้และประสบการณ์จากเครือข่ายคนทำพิพิธภัณฑ์และนักวิชาการที่มาของมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา ที่จัดโดยพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคเหนือ มาจากการสนับสนุนของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  ให้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนาเก็บข้อมูลวัตถุในพิพิธภัณฑ์ภายใต้ "โครงการพัฒนาความรู้ผ้าล้านนา : มหัศจรรย์สีสันเส้นด้ายลายผ้าล้านนา" โดยศึกษารวบรวมข้อมูลความรู้และเรื่องราวเกี่ยวกับผ้าของภาคเหนือในด้านต่างๆ  โดยส่วนหนึ่งนำข้อมูลดังกล่าวมานำเสนอผ่านงานมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา ครั้งที่ 3 มหัศจรรย์สีสันเส้นด้ายลายผ้าล้านนา เพื่อสร้างความรู้ในเรื่องผ้าและพื้นที่การเรียนรู้ให้กับชุมชน สร้างคุณค่าและความหมายของผ้าแต่ละชนิด ที่ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนภาคเหนือทั้งในอดีตและปัจจุบัน ณ อ.ลอง จ.แพร่ นอกจากการสร้างและจัดการความรู้ที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์และชุมชนแล้ว ยังเป็นการสนับสนุนการทำงานร่วมกันของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา ทั้งการสืบค้น การคัดเลือกข้อมูล และการบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนาที่เข้าร่วมงานมีกว่า 30 แห่ง อาทิ พิพิธภัณฑ์วัดปงสนุก จ.ลำปาง  พิพิธภัณฑ์วัดไหล่หินหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง  พิพิธภัณฑ์คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ จ.แพร่  พิพิธภัณฑ์วัดสูงเม่น จ.แพร่  พิพิธภัณฑ์วัดสะแล่ง จ.แพร่   พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ อ.ลอง จ.แพร่   พิพิธภัณฑ์เมืองขุนควร อ.ปง จ.พะเยา  พิพิธภัณฑ์เวียงพยาว(วัดลี) อ.เมือง จ.พะเยา   พิพิธภัณฑ์วัดแสนเมืองมา อ.เชียงคำ จ.พะเยา โฮงนิทัศน์ครูบาศรีวิชัย อ.เมือง จ.ลำพูน  พิพิธภัณฑ์บ้านมณีทอง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน  พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว อ.เมือง จ.ลำพูน  พิพิธภัณฑ์ตุ๊กตา จ.เชียงใหม่   หอภาพถ่ายล้านนา จ.เชียงใหม่  โฮงหลวงแสงแก้ว จ.เชียงราย  ไร่แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย  บ้านฝิ่น อ.เชียงแสน จ. เชียงราย   พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย   เป็นต้นสอบถามรายละเอียดการจัดงานได้ที่ พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ อ.ลอง จ.แพร่ โทร. 0-5458-1532   หรือ  08-1807-9960  หรือ Facebook พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ คลิกดูพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจในจังหวัดแพร่คลิกชมภาพถ่ายบรรยากาศและกิจกรรมภายในงาน

มหกรรมเมืองพิพิธภัณฑ์เชียงแสน พ.ศ. 2562

18 กุมภาพันธ์ 2564

          อำเภอเชียงแสนและอำเภอใกล้เคียง จังหวัดเชียงราย ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอันยาวนาน ศักดิ์ชัย สายสิงห์ อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี (2551 : 7) กล่าวถึงกลุ่มวัฒนธรรมเชียงแสนว่า บริเวณเมืองเชียงแสนโบราณ ได้พบร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยพบหลักฐานประเภทเครื่องมือ หินกระเทาะบริเวณแม่น้ำโขงและแม่น้ำคำ สันนิษฐานว่าเป็นยุคหินเก่า ในส่วนยุคหินกลางนั้นพบเครื่องขูดสับและสับตัด ในยุคต่อมา คือ ยุคหินใหม่ พบหลักฐานเป็นเครื่องมือหินขัดคล้ายรูปไข่และขวานหินขัดชนิดมีบ่า และยังพบเศษภาชนะดินเผาเนื้อหยาบแบบขึ้นรูปด้วยมือและเครื่องประดับดินเผา           นอกจากนี้ยังมีตำนานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเมืองโบราณเชียงแสนที่สำคัญหลายตำนาน เช่น ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานสุวรรณโคมคำ  เชียงแสนปรากฏชื่อว่าโยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน และชื่อหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ในยุคนี้ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษร เพียงสันนิษฐานจากเอกสารตำนานที่เขียนขึ้นในภายหลัง แต่อย่างไรก็ดี คำว่า “เมืองเชียงแสน” เป็นชื่อที่เรียกขึ้นภายหลัง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 ในสมัยมีการสถาปนาอาณาจักรล้านนาแล้ว โดยปรากฏหลักฐานในชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงเมืองเชียงแสนว่า  สร้างขึ้นในรัชสมัยพญาแสนภู ซึ่งเป็นพระนัดดาของพญามังราย           การสร้างเมืองเชียงแสนของพระองค์ สร้างเมืองขึ้นใหม่จากร่องรอยของเวียงเดิม ริมน้ำโขง ใกล้กับสบกก ในราวปี พ.ศ. 1871 ดังนั้นชื่อเมืองเชียงแสนจึงตั้งขึ้นตามพระนามของพระองค์  หลังจากนั้นเมืองเชียงแสนได้บูรณะและสร้างเพิ่มเติมอีกหลายครั้งต่างยุคสมัยกันมา จนในปี พ.ศ. 2100 เชียงแสนตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า โดยมีฟ้ามังทราแห่งราชวงศ์ตองอูปกครอง ต่อมากรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวร ได้ส่งออกญารามเดโชมาครองเมืองเชียงแสน แต่ก็ยึดเมืองเชียงแสนได้ในระยะเวลาสั้นๆ เพราะต่อมาต้องอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ชาวล้านช้าง และถูกพม่าเข้าตีแล้วครอบครองอยู่อีกหลายปี จนในที่สุดยุคกรุงธนบุรี มีผู้นำของล้านนา คือ พญาจ่าบ้านและเจ้ากาวิละ ร่วมกับทัพกรุงธนบุรีต่อต้านอำนาจพม่าในล้านนา จึงทำสงครามกันอย่างยืดเยื้อเป็นระยะเวลาถึง 30 ปี จนล่วงเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงเทพหริรักษ์กับพระยายม ร่วมกับกองทัพเวียงจันทร์ ยกทัพเข้าตีเชียงแสนจนแตก หลังจากนั้นได้เผาเมืองเชียงแสน และกวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยจำนวนมาก           เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (2526 : 186) ผู้เขียนพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชการที่ 1 กล่าวว่าการกวาดต้อนชาวเชียงแสนในยุคนี้มีจำนวนประมาณ 23,000 ครอบครัว แล้วแบ่งกลุ่มให้ไปอยู่ตามเมืองต่างๆ คือ เชียงใหม่ ลำปาง น่าน เวียงจันทร์ และที่สำคัญ คือ มีกลุ่มหนึ่งให้ลงมายังกรุงเทพฯ โดยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เสาไห้ สระบุรี และที่บ้านคูบัว ราชบุรี           สงครามครั้งนั้นทำให้เมืองเชียงแสนกลายสภาพเป็นเมืองร้างมาจนถึงรัชกาลที่ 3 จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพวกพม่า ลื้อ เขิน เริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงแสน รัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ยกกำลังไปปราบและขับไล่ให้ออกไป ภายหลังพระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินต๊ะ เจ้าผู้ครองนครลำพูนนำครอบครัวพร้อมชาวเมืองลำพูนและเชียงใหม่ จำนวน 1,500 ครอบครัวขึ้นมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองเชียงแสน เมืองเชียงแสนจึงกลับมาเป็นเมืองที่มีผู้คนอีกครั้งหนึ่ง           เมื่อเมืองเชียงแสนกลายเป็นเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของกรุงเทพฯ โดยมีนโยบายให้ตั้งเป็นเมืองขึ้นมาใหม่ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จนถึงช่วงยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครองท้องถิ่น จึงมีนโยบายให้ยุบเมืองเชียงแสนเข้าเป็นกิ่งอำเภอเชียงแสนหลวงขึ้นตรงต่ออำเภอแม่จัน ต่อมาจึงยกระดับขึ้นเป็นอำเภอเชียงแสน ในปี พ.ศ. 2500           ตลอดระยะเวลาเกือบ 700 ปีจนถึงปัจจุบัน เมืองเชียงแสนได้ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย ซึ่งยังเหลือหลักฐานที่จากแหล่งโบราณคดีและโบราณวัตถุให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชม เรียนรู้ และสัมผัส นอกจากนี้ เมืองเชียงแสน ยังมีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ คือ ชาวไทยยวน (คนเมือง) ชาวไทยลื้อ ชาวไทยใหญ่ ชาวไทยลาว ชาวไทยลาวอีสาน ชาวไทยเขิน และกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อีกหลายกลุ่ม มีความสมบูรณ์ของพื้นที่ชุ่มน้ำและแหล่งสัตว์น้ำ แหล่งโบราณสถานและแหล่งโบราณคดี ความงดงามของประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นเป็นถิ่นพำนักของศิลปินเชียงรายหลากหลายสาขา เช่น สาขาจิตรกรรม สาขาปฏิมากรรม สาขาหัตถกรรม และสาขาดนตรีนาฏศิลป์  เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นจุดเด่นของชุมชน           นอกจากนี้ ชุมชนท้องถิ่นในเขตพื้นที่อำเภอเชียงแสน ยังเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำสำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำกกและแม่น้ำโขง พร้อมทั้งเป็นพื้นที่เชื่อมโยงชายแดนระหว่าง 3 ประเทศ คือ ไทย เมียนมาร์ และ ลาว ดังคำขวัญของจังหวัดเชียงราย “เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง”           ปัจจุบันเมืองเชียงแสนเป็นหนึ่งในสามของเขตเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดเชียงราย (อีกสองแหล่ง คืออำเภอแม่สาย และอำเภอเชียงของ) ทำให้เมืองเชียงแสนมีความเจริญอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะด้านการขนส่ง มี 2 เส้นทางหลัก คือ เส้นทางเดินเรือ (เส้นทางน้ำ) และเส้นทางเดินรถ (เส้นทางบก) นอกจากนี้รัฐบาลปัจจุบัน (รัฐบาลภายใต้การนำของ คสช.) ยังมีแนวคิดดำเนินโครงการเส้นทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย โดยเมืองเชียงแสนเป็นจุดสิ้นสุดเส้นทางรถไฟเส้นที่ 2           ความเจริญในด้านต่างๆ ดังกล่าวนั้น เป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนต่อสภาพสังคมของคนเชียงแสน โดยเฉพาะในด้านศิลปวัฒนธรรม ถือเป็นจุดล่อแหลมมากที่สุด หากปล่อยให้มีสภาพที่ไหลไปตามกระแสความเจริญก้าวหน้าอย่างไม่รู้เท่าทันแล้ว ย่อมทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี แต่อย่างไรก็ดี เมืองเชียงแสนในปัจจุบันก็คงความเป็นเมืองเชียงแสนที่หลากหลายด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ แหล่งศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม และแหล่งโบราณคดีที่สมบูรณ์ สามารถเชื่อมโยงจากปัจจุบันไปสู่อดีต และวางแผนไปสู่อนาคตอันรุ่งเรืองได้           ด้วยความสำคัญของเมืองโบราณเชียงแสนดังกล่าวนั้น เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน จึงดำริร่วมกันที่จะจัดงานเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ในปี พ.ศ. 2562 ณ บริเวณเมืองโบราณเชียงแสน ในชื่องานว่า “มหกรรมเมืองพิพิธภัณฑ์เมืองเชียงแสน : ปาเจียงแสนปิ๊กบ้าน” ถือว่าเป็นการจัดงานมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนาต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2  ต่อจากครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2559 ในครั้งนั้นใช้ชื่อหัวข้องานว่า “ศรัทธาสักการะ” ณ วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา  โดยงานมหกรรมพิพิธภัณฑ์ทั้งสองครั้ง เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา และศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)           ชมบรรยากาศงานมหกรรมพพิธภัณฑ์ท้องถิ่นล้านนา ปาเจียงแสนปิ๊กบ้าน จากคลิปวิดีโอ https://channel.sac.or.th/th/website/video/detail_news/3191

มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้ 2560

18 กุมภาพันธ์ 2564

ในภาคใต้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอยู่กว่า 150 แห่ง  กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้บอกเรื่องราวของท้องถิ่น ผ่านสิ่งของที่จัดแสดงอยู่และให้บริการแก่ชุมชนและสังคม ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเหล่านี้สร้างองค์ความรู้ การบริหารจัดการ และพัฒนาพิพิธภัณฑ์ในด้านต่าง ๆ จนเกิดเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนการทำงานพิพิธภัณฑ์ในระดับภูมิภาค ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์และผู้ปฏิบัติการทางวัฒนธรรมในภาคใต้จำนวน 42 แห่ง รวมตัวกันสร้างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้  เพื่อเผยแพร่ความรู้สู่สังคม รวมทั้งสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน โดยรอบในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา การท่องเที่ยว ฯลฯ  ในปี พ.ศ. 2560 เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้ ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร จัดงาน มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคใต้ “ทักษิณถิ่นไทยใต้ร่มพระบารมี” ระหว่างวันที่ 26 – 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 ณ วัดคลองแห อ.หาดใหญ่ จ.สงขลาคลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม

เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 2555

18 กุมภาพันธ์ 2564

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ชวนร่วมงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ "ภูมิรู้ สู้วิกฤต" เมื่อคนเราช่างคิดแก้ปัญหา  จึงเกิดเป็นภูมิปัญญาในท้องถิ่น    ระหว่างวันที่ 23 – 27  พฤศจิกายน 2555 เวลา 9.00 - 19.00 น. ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ   เราอาจคุ้นเคยกับวิธีแก้ไขปัญหา ด้วยการพึ่งพาความรู้จากตำรา นักวิชาการ หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่  แต่รู้หรือไม่ว่า คนธรรมดาสามัญ คนเล็กคนน้อยในท้องถิ่น ต่างมีศักยภาพทางปัญญาในการจัดการกับปัญหาในแบบของตนที่น่าสนใจ ทั้งการหันกลับนำเอาความรู้และวิถีปฏิบัติดั้งเดิมมาปรับใช้  การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม  การใช้ระบบประเพณีและพิธีกรรมมาแก้ไขปัญหา รวมถึงการสร้างสรรค์ผลงานบางอย่างเพื่อบันทึกเหตุการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้น งานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นครั้งที่ 3  พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจำนวน 69 แห่ง ภูมิใจนำเสนอความหลากหลายของความรู้ในสังคมไทย ทั้งที่อยู่ในตัวคน ชุมชน ธรรมชาติ และวัฒนธรรม ที่แต่ละท้องถิ่นนำมาใช้จัดการกับวิกฤตการณ์ที่ตนเองเผชิญ ทั้งโรคภัยไข้เจ็บ  ภัยธรรมชาติ  ภัยสงคราม  ภัยเศรษฐกิจ และโลกาภิวัตน์ที่ทำให้วัฒนธรรมท้องถิ่นเปลี่ยนแปลง  ชมรายละเอียดเพิ่มเติมใน Facebook เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น

เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 2553

18 กุมภาพันธ์ 2564

เทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 2553  "สยามใหม่ จากมุมมองท้ิองถิ่น" พุทธศักราช 2553 เป็นปีครบรอบหนึ่งศตวรรษแห่งการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว  หลังจากที่ทรงครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2411-2453  ช่วงเวลาสี่สิบกว่าปีในรัชสมัยของพระองค์ท่าน เป็นเวลาที่สยามก้าวเข้าสู่ศักราชใหม่  เกิดความเปลี่ยนแปลงสำคัญยิ่งหลายด้าน จนนักวิชาการหลายคนถือว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้นถือเป็นการเข้าสู่สังคม สมัยใหม่ พร้อมเรียกขานกันอย่างไม่เป็นทางการว่าเป็นยุค “สยามใหม่” งานเทศกาลจึงเป็นการร่วมเฉลิมฉลองรัชสมัยอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ไทย ภาพของสยามใหม่ ในความรับรู้ทั่วไป มักจะเป็นภาพของการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างใหญ่ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากศูนย์กลาง สิ่งที่เรามักจะยังมองไม่เห็น คือภาพของความเปลี่ยนแปลงในชีวิตประจำวันของผู้คนที่เป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินในชุมชนท้องถิ่นต่างๆ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสามารถช่วยให้เราย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์ เรื่องราว ที่เกิดขึ้นท้องถิ่นในยุคร้อยกว่าปีมาแล้วได้เป็นอย่างดี โดยอาศัยวัตถุสิ่งของต่างๆที่เก็บรวบรวมไว้ รวมทั้งเรื่องเล่าของคนในท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา ...อ่านต่อ