บ้านชินประชา


พิพิธภัณฑ์บ้านชินประชา ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เป็นคฤหาสน์หลังเดิมของ “พระพิทักษ์ชินประชา (ตันม่าเสียง)” คหบดีผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่จังหวัดภูเก็ตในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 รูปแบบสถาปัตยกรรมของอาคารได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมแบบชิโน-ยูโรเปียน ซึ่งพบได้ทั่วไปในบริเวณอดีต สเตรทเซ็ตเทลเม้นท์ (Strait settlement) ของภูเก็ตที่เรียกว่า “อั่งม้อหลาว” และยังเป็นถิ่นฐานของกลุ่มจีนเปอรานากัน (Peranakan Chinese) ในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งชาวจีนกลุ่มนี้ตั้งถิ่นฐานกระจายตัวหนาแน่นในบริเวณ. ช่องแคบมะละกา บางครั้งจึงเรียกว่า จีนช่องแคบ (Strait Chinese) อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจีนเปอรานากันเกิดจากการรับเอาและปรับใช้วัฒนธรรมท้องถิ่น อาทิ มลายู อินโด วัฒนธรรมจีนโพ้นทะเล รวมถึงวัฒนธรรมยุโรปที่เป็นเจ้าอาณานิคมในบริเวณนี้ กระทั่งเกิดเป็นอัตลักษณ์ของ เครื่องแต่งกาย อาหาร ภาษา วรรณกรรม สถาปัตยกรรม เป็นต้น พิพิธภัณฑ์บ้านชินประชา จัดแสดงในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ความเป็นมาผ่านข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของผู้คนชาวภูเก็ต โดยเฉพาะชาวจีนเปอรานากัน อาทิ เครื่องแต่งกายของสตรี (ญอณญ่าหรือย่าหยา) หรือชุดบาจูปันจัง เครื่องเรือนเฟอร์นิเจอร์ อาทิ เก้าอี้ โต๊ะ เตียงนอน ภาชนะที่ใช้ในครัวเรือน หรือวัตถุที่มีความหมายทางการเมือง อาทิ หางเปียพระพิทักษ์ชินประชา ใบหาเสียง เป็นต้น

ที่อยู่:
98 ถ.กระบี่ ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต
โทรศัพท์:
076-211 281, 062-552-5253
วันและเวลาทำการ:
เปิดทุกวัน กรุณาติดต่อล่วงหน้า
ค่าเข้าชม:
คนละ 100 บาท
จัดการโดย:

โดย:

วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555

ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

เจ้าของที่ทุบกำแพง"บ้านชินประชา" จ.ภูเก็ต อายุ 105 ปี

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 04/02/ 2552

ที่มา: มติชนรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

บ้านชินประชา ตึก 101 ปี ตระกูลตัณฑวนิช

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: ปีที่ 27 ฉบับที่ 3508 25-27 สิงหาคม 2546 น.38

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

วันวานภูเก็ต..บ้านชินประชา

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 16/6/2007

ที่มา: แนวหน้า

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

ทุบกำแพงบ้าน105ปี ทำตึกแถว กรมศิลป์ภูเก็ตลุยจับ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 05/02/2552

ที่มา: ข่าวสด

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

"มังกรโพ้นทะเล" ใน พิพิธภัณฑ์ unlimited

ชื่อผู้แต่ง: ปณิตา สระวาสี | ปีที่พิมพ์: 2552

ที่มา: กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555


ไม่มีข้อมูล

รีวิวของบ้านชินประชา

ริมถนนกระบี่ ภายในเมืองภูเก็ต เป็นที่ตั้งของบ้านเลขที่ 98 บ้านที่มีสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า “ชิโน-โปรตุกีส” หลังแรกของเมืองภูเก็ต ชื่อว่า “บ้านชินประชา” บ้านหลังนี้สร้างขึ้นในปี  พ.ศ. 2446 หรือราวปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยพระพิทักษ์ชินประชา (ตันม่าเสียง) คหบดีเชื้อสายจีนที่เกิดในภูเก็ต ซึ่งบิดาของท่านอพยพจากมณฑลฮกเกี้ยน ประเทศจีน ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น หลวงบำรุงจีนประเทศ(ตันเนียวยี่) ท่านเดินทางมาไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2397 หรือปลายรัชกาลที่ 4 โดยประกอบกิจการทำเหมืองแร่ดีบุกที่เกาะภูเก็ต และกิจการค้าขายที่เกาะปีนัง โดยใช้ยี่ห้อการค้า “เหลียนบี้”แปลว่าดอกบัว ติดประดับไว้เหนือประตูบ้าน นอกจากจะเป็นเตือนใจให้รำลึกถึงความยากลำบากและการต่อสู้ของบรรพชนสมัยเริ่มสร้างฐานะ ยังแสดงอีกว่าแม้จะพลัดจากบ้านเมืองมา แต่ความทรงจำในถิ่นฐานบ้านเกิดไม่เคยลางเลือน หลวงจีนบำรุงประเทศจึงตั้งชื่อยี่ห้อการค้าตามภูเขารูปดอกบัว ในตำบลเอ้หมึง เพื่อระลึกถึงบ้านเกิดที่ท่านจากมา 
 
พระพิทักษ์ชินประชา(ตันม่าเสียง) ถือกำเนิดที่เกาะภูเก็ต ในปี พ.ศ. 2426 เมื่ออายุราว 20 ปี ท่านได้สร้างบ้านชินประชาตามแบบชิโน-โปรตุกีส หรือเรียกว่า “อังม่อเหลา” เพื่อสำหรับใช้เป็นเรือนหอ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 2 ปีจึงแล้วเสร็จ หากแต่ท่านและภรรยากลับไม่ได้อาศัยในบ้านหลังนี้เนื่องจากเห็นว่าอยู่ห่างไกลจากตลาดและบ้านของญาติ ๆ เกินไป ท่านจึงใช้บ้านหลังนี้เป็นที่รับรองแขกและมิตรสหาย
 
  บ้านชินประชาเป็นบ้านที่ภายในโปร่งโล่งสบาย เพราะมีหน้าต่างค่อนข้างมาก และตรงกลางบ้านมีบ่อน้ำ ทำให้ช่วยระบายอากาศได้ดี การตกแต่ง ภายในบ้านชินประชาในปัจจุบันยังคงไว้ซึ่งการตกแต่งแบบดั้งเดิม เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษเมืองจีน  เช่น โต๊ะไม้และตู้ไม้ฝังมุก เตียงนอน และมีเฟอร์นิเจอร์และวัสดุอีกส่วนหนึ่งที่สั่งมาจากต่างประเทศผ่านทางปีนัง เนื่องจากการค้าขายทางเรือผ่านเกาะปีนังมายังภูเก็ตในสมัยนั้นเฟื่องฟู เช่น รั้วบ้านจากฮอลแลนด์ กระเบื้องปูพื้นจากอิตาลี 
 
กลางบ้านยังมีป้ายบูชาบรรพบุรุษ แสดงเอกลักษณ์ที่มาของแซ่ตันหรือสกุลตัณฑวนิชในปัจจุบัน ภาพวาดและภาพถ่ายเก่าของบรรพบุรุษรุ่นต่าง ๆ ประดับประดาไว้ตามฝาผนัง ภาพที่ผู้ชมดูจะสนใจเป็นพิเศษคือภาพเจ้าสาวเจ้าบ่าว ทายาทรุ่นที่ 3 ของตระกูล
 
  บ้านชินประชาเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมชมเมื่อครั้งที่คุณประชา ตัณฑวนิช ทายาทรุ่นที่ 4 บุตรคนโตของขุนชินสถานพิทักษ์ ยังมีชีวิต ปัจจุบันผู้ดูแลบ้านคือคุณจรูญรัตน์ ซึ่งเป็นภรรยา บ้านชินประชายังใช้เป็นสถานที่ในการทำกิจกรรมทางวัฒนธรรมของเมืองภูเก็ตหลายครั้ง เช่น เคยใช้เป็นบ้านเจ้าสาว เมื่อครั้งที่จังหวัดภูเก็ตจัดงานสมรสหมู่แบบวัฒนธรรมภูเก็ต  ปัจจุบัน บ้านชินประชา มีอายุกว่า 101 ปี มีลูกหลานนับเนื่องเป็นรุ่นที่ 6 แล้ว 
 
ข้อมูลจาก: การสำรวจเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550
ชื่อผู้แต่ง:
-

บ้านชินประชา อังม่อเหลาคู่เมืองภูเก็ต

สถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ตก็คือรูปแบบ “สถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส” ที่มีให้เห็นได้บริเวณถนนพังงา ถนนถลาง ถนนเยาวราช ถนนดีบุก และถนนกระบี่ มันเป็นการผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบจีนและแบบโปรตุกีสเข้าด้วยกัน สำหรับรายละเอียดของ “สถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส” ผมจะไม่ขอลงในรายละเอียด ท่านสามารถถามพี่กู๋ ได้เลย (www.google.com) มีคำตอบแน่นอน สำหรับวันนี้ผมจะพาทุกท่านไปเยี่ยมชมบ้านหลังแรกของภูเก็ตที่สร้างขึ้นตามแบบ “สถาปัตยกรรมชิโน-โปรตุกีส” หรือที่เรียกกันว่า “อังม่อเหลา” บ้านหลังนี้ชื่อว่า “บ้านชินประชา”
ชื่อผู้แต่ง:
-