โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
โดย:
วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2555
ชื่อผู้แต่ง: ประชุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ | ปีที่พิมพ์: 2545
ที่มา: กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
แหล่งค้นคว้า: ศมส.
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: ปิ่น บุตรี | ปีที่พิมพ์: 24 มิถุนายน 2552
ที่มา: ผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 3 สิงหาคม 2552
ที่มา: ผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
ชื่อผู้แต่ง: วินิจ รังผึ้ง | ปีที่พิมพ์: 2 กุมภาพันธ์ 2553
ที่มา: ผู้จัดการ
แหล่งค้นคว้า:
โดย: ศมส.
วันที่: 13 มีนาคม 2555
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยทีมงานและสมาชิก
ความเก่าเล่าฟัง เหมืองแร่ภูเก็ต อำเภอกระทู้
“อย่างน้อยในพงศาวดารที่เจอนะ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ชัดเจนที่สุด ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นเราส่งแร่ดีบุกให้กับต่างประเทศแล้ว” ความเป็นมาแรกเริ่มเดิมทีของการทำเหมืองแร่ดีบุกที่อาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ นักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้กล่าวไว้ ระหว่างที่นำชมและบอกเล่าความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ต พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงและจำลองภาพอดีตกาลในการทำเหมืองแร่ ก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและประวัติศาสตร์ชุมชนอีกทั้งยังเป็นแหล่งเรียนรู้แก่คนทั่วไปด้วยเหมืองแร่ในอดีต
ในสมัยอดีตกาลเชื่อกันว่า การทำเหมืองแร่เกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชประมาณ 300 กว่าปีได้ อาจารย์สมหมายเล่าว่าในสมัยก่อนนั้นคนที่เข้ามาทำเหมืองแร่ส่วนใหญ่แล้วเป็นคนจีนฮกเกี้ยน ที่อพยพมาขายแรงงาน ในเหมืองหาบ ทำงานเป็นผลัดหรือกะ ผลัด(กะ)ละ 8 ชั่วโมง วันละ 3 กะ คนงานประมาณ 70-80 คน และยังมีฝรั่งที่มาทำงานอีกส่วนหนึ่ง เวลาหุงข้าวกหุงข้าวด้วยกระทะใบบัวขนาดใหญ่ เพื่อที่คนงานจะกินได้ครบทุกคน ในเรื่องของค่าแรงนั้นจะได้ค่าแรงที่ไม่ใช่ตัวเงินโดยตรง แต่จะได้ค่าแรงอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “เคี่ยง” ทำจากสังกะสีหรือไม่ก็ไม้ แล้วจะมีคนที่ลงบัญชีเอาไว้ และสะสมค่าแรงไปเรื่อยๆ ในการลงบัญชีค่าแรงทำอย่างเป็นความลับ คนที่อ่านเข้าใจมีเพียงแต่คนที่ลงบัญชีเท่านั้น ในส่วนของนายเหมืองนั้นนอกจากต้องลงทุนในการทำเหมืองมากแล้ว ยังต้องจัดการเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ สิ่งอุปโภคบริโภคให้กับคนงานด้วย
การทำเหมืองแร่นั้นได้เริ่มหยุดการทำเหมืองมาไม่กี่ปีนี้เอง คือเริ่มหยุดในปี พ.ศ.2528 เหตุที่ได้มีการหยุดทำเหมืองแร่นั้น อาจารย์สมหมายเล่าให้ฟังว่า เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเข้ามา และสังคมตระหนักถึงเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น กระแสสังคมและเหตุการณ์ต่างๆจึงบีบบังคับการทำเหมืองแร่ขึ้นมาเรื่อยๆ เพราะการทำเหมืองแร่ทำให้เกิดการทำลายทรัพยากร ทั้งทำลายทรัพยากรน้ำและทรัพยากรพื้นดิน เช่นในทะเลเรือขุดก็จะขุดทำลายปะการังไปด้วย ด้วยเหตุดังกล่าวนี้จึงทำให้การทำเหมืองแร่ที่ภูเก็ตหมดลงไปเรื่อยๆ
ภาพจำลองนิทรรศการ
ในส่วนของอาคารของพิพิธภัณฑ์สร้างใหม่ตามรูปแบบของศิลปะชิโนโปรตุกีส สูง 1 ชั้นครึ่ง ประดับตกแต่งด้วยลายปูนปั้นอย่างกลมกลืนและงดงาม จึงมีการเรียกอาคารนี้ว่า “อังมอเหลานายหัวเหมือง” ภายในจัดนิทรรศการเล่าเรื่องแบบกึ่งมีชีวิต แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือภายนอกอาคารประกอบด้วยรางเหมืองแร่,หน้าผาเหมืองแร่, ขุมเหมือง, เครื่องมืออุปกรณ์ ส่วนที่สอง คือภายในอาคาร มีการจัดแสดงนิทรรศการประวัติความเป็นมาของการทำเหมืองแร่ดีบุก และวิถีชีวิตชาวเหมือง
นิทรรศการพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตแห่งนี้จัดแสดงการจำลองรูปแบบการทำเหมืองต่างๆไว้เพื่อให้บุคคลทั่วไปได้เข้ามาชม นิทรรศการ เหมืองนั้นมีหลายรูปแบบมีทั้งเหมืองแล่น เหมืองรูหรือเหมืองปล่อง เหมืองฉีด เหมืองหาบ เหมืองสูบ และเหมืองเรือขุด
จากคำบอกเล่าของอาจารย์ สมหมาย เหมืองแร่แต่ละเหมืองนั้น มีลักษณะสำคัญแตกต่างกัน อย่างเหมืองแล่นนั้นมีวิธีการทำเหมืองแร่เปิดในแหล่งแร่ชนิดลานแร่ แร่บริเวณเชิงเขา โดยใช้แรงงานคนหรือการสูบน้ำส่งผ่านกระบอกฉีด นิยมทำในช่วงฤดูฝน
เหมืองรู (ปล่อง) เป็นวิธีการทำเหมืองใต้ดินที่ใช้ในแหล่งแร่ชนิดลานแร่ ที่มีเปลือกดินหนามากและไม่มีแร่ใต้ดินจะทำเป็นอุโมงค์และมีการเว้นปล่องเพื่อระบายอากาศ คนงานเหมืองจะจุดเทียนไขไว้ในอุโมงค์เพื่อใช้วัดปริมาณออกซิเจน ป้องกันคนงานไม่ให้ขาดอากาศหายใจ ถ้าเกิดว่าเทียนไขดับต้องรีบขึ้นจากเหมืองทันที
ส่วนวิธีการทำเหมืองเปิดในแหล่งแร่ชนิดลานแร่บริเวณไหล่เขา โดยการเปิดหน้าดินด้วยการขุดเจาะหรือการใช้ระเบิดให้เป็นบ่อกว้างจนถึงชั้นดินที่มีแร่ แล้วใช้แรงงานคนนั้นในการหาบก็คือ เหมืองหาบ
และอีกเหมืองหนึ่งก็คือ เหมืองเรือขุด การทำเหมืองเรือขุดเป็นวิธีการทำเหมืองที่ต้องลงทุนสูงและสามารถดำเนินการในที่ราบลานแร่ขนาดใหญ่ซึ่งขุดตักดินได้ในปริมาณที่มากทั้งบนบกและในทะเล
เหมืองฉีด การทำเหมืองฉีดเป็นวิธีการทำเหมืองที่กระทำต่อหินผุที่มีความสมบูรณ์ของแร่ดีบุกสูง ด้วยพลังน้ำพังทลายหน้าดินแล้วสูบดินขึ้นรางกู้แร่แล้วกู้แร่จากรางกู้แร่ด้วยแรงคนประมาณ 15-20 คน
นิทรรศการจำลองอีกเรื่องก็คือ นิทรรศการ เรือขุดแร่ลำแรกของโลกซึ่งเป็นเรือขุดชาวออสเตรเลียได้ดัดแปลงเรือขุดร่องน้ำมาเป็นเรือขุดแร่ดีบุก มีลูกเชอ (Bucket) เป็นที่ตักแร่ เมื่อพ.ศ.2512 นายหัวเหมืองได้สร้างเรือแพดูดแร่ขึ้นแทนเรือขุดที่เคยใช้มาแต่เดิมที่มันไหลเป็นสายพานผุดขึ้นมา มันเป็นเหมือนสายโซ่ที่อยู่ในรถจักรยานยนตร์ต่อกันประมาณ 128 ลูก ซึ่งหนักลูกละประมาณ 1ตัน เรือลำหนึ่งมี128ลูก ลองคิดดูว่าจะหนักแค่ไหน นั่นคือเรือขุดลำหนึ่งหนักประมาณ 3,500 ตัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การทำเหมืองเรือขุดที่ความทันสมัยมากขึ้นกว่าเดิม
ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้นั้นเป็นการจำลองภาพของเหมืองแร่ในสมัยอดีต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการทำเหมืองแร่ในรูปแบบต่างๆ และยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การทำเหมืองแร่ ที่เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาจนถึงในปัจจุบัน เพื่อที่จะเป็นสถานที่เล่าเรื่องในอดีตเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ ไม่ให้ลบหายไปจากความทรงจำ
ธนวัฒน์ สิงโหพล / เขียน
อ้างอิง:
สัมภาษณ์อาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2550.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กระทู้. เข้าถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2557, http://th.wikipedia.org.
แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสื่อออนไลน์
มหา’ลัยชีวิต พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(ภูเก็ต)
“ภูเก็ต” วันนี้มีฐานะเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังติดอันดับโลก เป็น“ไข่มุกแห่งอันดามัน”ที่นักท่องเที่ยวถวิลหา แต่ก่อนที่จะมีวันนี้ ภูเก็ตได้ผ่านยุคสมัยแห่งความรุ่งโรจน์ของการเหมืองแร่มายาวนาน ดังที่ปรากฏในเอกสาร พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ว่า...ภูเก็ตเป็นเมืองที่เติบโตมาจากการทำเหมืองแร่ดีบุก ซึ่งต้องใช้ดีบุกเคลือบโลหะกันสนิม และผสมทองแดงเป็นสำริดมากว่า 500 ปี จึงทำให้ชาวยุโรป(โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศสและอังกฤษ) และชาวจีนฮกเกี้ยน(ทั้งที่ผ่านมาจากสิงคโปร์และปีนังหรือมาจากจีนโดยตรง)หลั่งไหลเข้ามาทำเหมืองและตั้งหลักแหล่งในภูเก็ต(ชาย)ผู้เติมชีวิต ให้พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ภูเก็ต
“...ฟ้าสวย ทะเลใส โรงแรมใหญ่ สรรพอาหาร สถานบันเทิง สำหรับเมืองท่องเที่ยวที่โลกคุ้นเคยแห่งนี้คงจะไม่พอเสียแล้ว การที่ภูเก็ตจะเป็นเมืองท่องเที่ยวนานาชาติ เป็นเมืองนานาชาติ หรือกระทั่งเป็นเมืองสามัญที่มีความปกติสุขโดยไม่ต้องยึดโยงขึ้นกับนานาชาติอย่างมากนั้น เราต้องเร่งสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นรากเหง้าที่มีคุณค่าของเราเองให้ปรากฏ จำเป็นต้องกลับไปเรียนรู้จากอดีตก็ต้องทำพร้อมไปกับแสดงให้อาคันตุกะที่มาจากต่างแดนได้รู้จักเนื้อหาสาระของความเป็นภูเก็ต ในส่วนของแหล่งการเรียนรู้และสถานที่แสดงกิจกรรมของท้องถิ่นที่มีคุณค่านั้น นิมิตหมายก็คือ ภูเก็ตกำลังสร้างพิพิธภัณฑ์ใหม่ๆขึ้น มีการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เดิม เริ่มมีการรวมตัวกันเป็นเครือข่าย รวมไปถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่มีกิจกรรมหรือข้อมูลความรู้ประกอบ ทั้งภาครัฐและเอกชน นั่นก็คือ ภูเก็ตกำลังขยับตัวไปสู่เมืองแห่งการเรียนรู้และการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโดยมีพิพิธภัณฑ์เป็นทัพหน้า...”แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยบล็อก
รีวิวของพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่
“ภูเก็ต” วันนี้มีฐานะเป็นเมืองท่องเที่ยวชื่อดังติดอันดับโลก เป็น“ไข่มุกแห่งอันดามัน”ที่นักท่องเที่ยวถวิลหา แต่ก่อนที่จะมีวันนี้ ภูเก็ตได้ผ่านยุคสมัยแห่งความรุ่งโรจน์ของการเหมืองแร่มายาวนาน ดังที่ปรากฏในเอกสาร พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ ว่า ...ภูเก็ตเป็นเมืองที่เติบโตมาจากการทำเหมืองแร่ดีบุก ซึ่งต้องใช้ดีบุกเคลือบโลหะกันสนิม และผสมทองแดงเป็นสำริดมากว่า 500 ปี จึงทำให้ชาวยุโรป(โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศสและอังกฤษ) และชาวจีนฮกเกี้ยน(ทั้งที่ผ่านมาจากสิงคโปร์และปีนังหรือมาจากจีนโดยตรง)หลั่งไหลเข้ามาทำเหมืองและตั้งหลักแหล่งในภูเก็ต มีวัฒนธรรมผสมผสานไทย ยุโรปและจีน ทำให้มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น อาทิ สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส อาหารพื้นเมือง ภาษา การบูชาเทพเจ้า การแต่งกาย การแต่งงาน รวมไปถึงน้ำทะเลใสสีคราม หาดทรายสะอาดและแดดเมืองร้อน จนกลายเป็นมนต์เสน่ห์ ไข่มุกแห่งอันดามันเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงก้องโลก...แนะนำพิพิธภัณฑ์โดยสารานุกรมไทย
วิถีชีวิตท้องถิ่นและภูมิปัญญา เหมืองแร่ ภูเก็ต กะทู้
บ้านเหมืองแร่
จ. ภูเก็ต
หอวัฒนธรรมภูเก็ต มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต
จ. ภูเก็ต
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต
จ. ภูเก็ต