มิวเซียมภูเก็ต


ที่อยู่:
34 อาคารชาร์เตอร์แบงค์เดิม ถนนภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
โทรศัพท์:
094-8077873
วันและเวลาทำการ:
อังคาร - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.30 น. (หยุดทุกวันจันทร์)
ค่าเข้าชม:
ไม่เสียค่าเข้าชม
อีเมล:
museumphuket@hotmail.com
ปีที่ก่อตั้ง:
2558
ของเด่น:
อาคารสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส, นิทรรศการประวัติศาสตร์เมืองภูเก็ตและชาวเพอรานากัน
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล

ไม่มีข้อมูล

มิวเซียมภูเก็ต

มิวเซียมภูเก็ต หน่วยงานในการบริหารของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ร่วมกับเทศบาลนครภูเก็ต เพื่อการยกระดับไปสู่การเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (DISCOVERY MUSEUM) ในระดับจังหวัด (City Museum) และขยายพื้นที่การเรียนรู้ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ไปสู่หน่วยงานในภูมิภาคซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการเชื่อมโยงกับหน่วยงาน สถาบันการศึกษา เครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในภูมิภาค

ประวัติความเป็นมา

การพัฒนาอาคารธนาคารชาร์เตอร์และอาคารสถานีตำรวจตำบลตลาดใหญ่ อาคารเก่า ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนโยบายของรัฐบาลไทยและพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตในขณะนั้น อาคารธนาคารชาร์เตอร์ยังเป็นธนาคารแห่งแรกที่ตั้งขึ้นในภูมิภาคและตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าที่ได้รับการประกาศให้เป็น “เขตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม” ตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเมื่อ พ.ศ.2537 และ ปีพ.ศ.2550 ซึ่งเทศบาลนครภูเก็ตได้รับมอบการดูแลจากสำนักงานธนารักษ์พื้นที่ภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2550 เป็นต้นมา

ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2556-2557 กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และคณะกรรมการกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ได้ร่วมปรับปรุงทั้งสองอาคารให้เป็น "พิพิธภัณฑ์บาบ๋าเมืองภูเก็ตเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี" เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางสถาปัตยกรรม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชาวบาบ๋าเมืองภูเก็ตให้แก่นักท่องเที่ยวและผู้สนใจทั่วไป

ในปี พ.ศ.2559 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อพิพิธภัณฑ์ว่า “เพอรานากันนิทัศน์” หมายถึง พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดง เรื่องราวเกี่ยวกับชาวเพอรานากันและพระราชทานพระราชานุญาตให้เชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ประดับป้ายชื่อพิพิธภัณฑ์ด้วย เทศบาลนครภูเก็ตจึงได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2560

ต่อมา พ.ศ. 2561 เทศบาลนครภูเก็ตและสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดำเนินโครงการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์เพอรานากันนิทัศน์ โดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติได้เข้าดำเนินการบริหารและยกระดับไปสู่การจัดตั้ง “มิวเซียมภูเก็ต” ให้เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในภูมิภาคภาคใต้ ที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ และเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อในการขยายองค์ความรู้จากต้นแบบพิพิธภัณฑ์ไปสู่แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ในภูมิภาค

ปัจจุบัน มิวเซียมภูเก็ต เป็นพื้นที่สร้างสรรค์การเรียนรู้สำหรับคนภูเก็ตและนักท่องเที่ยว ผ่านสื่อเทคโนโลยีและกิจกรรมสร้างสรรค์ โดยมีนิทรรศการหลัก 2 นิทรรศการ ได้แก่ ภูเก็ตนครา (PHUKETNAGARA) เล่าเรื่องราวการกำเนิดของนครภูเก็ต ผ่านพัฒนาการเมือง 4 ยุค (ป่า-เหมือง-เมือง-ท่องเที่ยว) ซึ่งมีดีบุก” เป็นส่วนสำคัญในการสร้างเมือง มีผู้คนต่างถิ่น ต่างชาติ ต่างภาษา ต่างมุ่งหน้ามาขุด “ความมั่งคั่ง” กันอย่างไม่ขาดสาย และเพอรานากันนิทัศน์ (PERANAKANNITAT) เล่าเรื่องราววิถีชีวิต วัฒนธรรมของชาวเพอรานากันในภูเก็ต ใครคือชาวเพอรานากัน ชาวเพอรานากันมาจากไหน พร้อมทั้งมีการจัดกิจกรรมเผยแพร่องค์ความรู้ไปสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของภูเก็ตที่หลากหลาย ไปสู่ประชาชน ชุมชน หน่วยงาน สถาบันการศึกษาและเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ให้ได้รับทราบและเกิดการสร้างสรรค์รูปแบบการเรียนรู้ได้อย่างบูรณาการต่อไป

ชื่อผู้แต่ง:
จอมนาง คงรัตน์

มิวเซียมภูเก็ต ภูเก็ตนครา•เพอรานากันนิทัศน์ (PHUKETNAGARA•PERANAKANNITAT)

มิวเซียมภูเก็ต  เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ประกอบด้วยอาคารพิพิธภัณฑ์สองส่วนคือ ภูเก็ตนครา และ เพอรานากันนิทัศน์  มิวเซียมภูเก็ตเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่มิวเซียมสยามได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร่วมกับเทศบาลนครภูเก็ต เพื่อให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์การเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมที่เป็นรากเหง้าของคนภูเก็ต  โดย

นิทรรศการ “ภูเก็ตนครา” จัดแสดงในอาคารสถานีตำรวจ(เก่า) เป็นอาคารสองชั้น ทรงชิโนโปรตุกีสที่มีอายุเก่าแก่กว่า 100 ปี  ถ่ายทอดเรื่องราวการกำเนิดและพัฒนาการของเมืองภูเก็ต ใน 4 ยุคคือ “ป่า - เหมือง - เมือง - ท่องเที่ยว” ผ่านสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยร่วมกับกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ อาทิ การอบรมการจัดเสวนา การประกวด รวมไปถึงนิทรรศการหมุนเวียน   แบ่งการ นำเสนอเนื้อหาเป็น 8 โซน ได้แก่

 

1. ภูเก็ตนครา ชมภาพเก่าเล่าเรื่องเมือง 4 ยุค (ป่า-เหมือง-เมือง-ท่องเที่ยวของนครภูเก็ต ในอดีต ซึ่งหาชมได้ยาก

2. สถาปนานคร ข้อความสาคัญ พระราชหัตถเลขาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นหลักฐานสาคัญในการย้ายศูนย์กลางการปกครองของภูเก็ต

3. ตำนานนคร  เลียงขนาดยักษ์ เล่าเรื่องราวการเกิดเมืองและเหตุของการย้ายเมือง 

4. ย้ายนคร ส้นลวดดัดเล่าเรื่องราวการย้ายนครสมัยธนบุรี สมัยรัชกาลท่ี 3 สมัยรัชกาลที่ 4 จนมาอยู่บ้านทุ่งคา “นครภูเก็ต” ในปัจจุบัน

5. นครบนเหมือง การปรับปรุงบ้านเมืองครั้งสาคัญด้วยการดาเนินงานของ พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) สมุหเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ต

6. นครรุ่งเรือง ชวนค้นหาคาตอบว่าทาไม “ดีบุก” จึงเป็นท่ีต้องการของโลกในขณะน้ัน และผลจากการค้นพบ “ดีบุก” ใต้ผืนดินได้นามาซึ่งวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม อาหาร และสิ่งต่างๆมากมาย จากกลุ่มคนที่หลากหลาย

7. อวสานดีบุก การสิ้นสุดและเริ่มต้นบทบาทใหม่ของนครภูเก็ต

8. มิวเซียมรีวิว รื่องลับๆ และอาจจะไม่ลับ ที่น่าสนใจบนพื้นที่ย่านเมืองเก่าภูเก็ต ถูกแนะนำโดยทีมงานมิวเซียมภูเก็ต

 

“เพอรานากันนิทัศน์” เป็นส่วนจัดแสดงที่ตั้งอยู่ในอาคารธนาคาชาร์เตอร์ เป็นธนาคารแห่งแรกที่ตั้งขึ้นในภูมิภาคนี้ประมาณปี พ.ศ.2450 สมัยรัชกาลที่ 5 โดยดำริของพระยารัษฎานุประดิษฐ์ มหิศรภักดีฯ เจ้าเมืองภูเก็ต  เป็นอาคารเก่าแก่อายุกว่า 100 ปี ที่อยู่ตรงกันข้ามกับภูเก็ตนครา เล่าเรื่องราววิถีชีวิต วัฒนธรรมของชาวเพอรานากัน ใครคือชาวเพอรานากัน ชาวเพอรานากันมาจากไหน  ประกอบด้วยห้องจัดแสดง 6 ห้อง ได้แก่

 

ห้องที่ 1 พลัดพราก 

นำเสนอเรื่องราวกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยนที่อพยพมาจากตอนใต้ของจีนเข้ามาสู่ไทย รับจ้างเป็นกุลีและก้าวขึ้นมาเป็นนายเหมืองที่มั่งคั่ง และมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ

 

ห้องที่ 2 รากใหม่ 

ที่มาของเพอรานากัน หรือ ภูเก็ตบางส่วนเรียกว่า “บาบ๋า” สถาปัตยกรรมชิโน – โปรตุกีส หรือ สถาปัตยกรรมแบบโคโรเนียนสไตล์ ที่พบกระจายทั่วไปในย่านเมืองเก่าภูเก็ต

 

ห้องที่ 3 ฉิมแจ้ 

ลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของอาคารสถาปัตยกรรมชิโน – โปรตุกีส การเจาะช่องอากาศกลางตัวบ้านเพื่อให้อากาศถ่ายเทและแสงส่องเข้าได้ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานระหว่างตะวันตกและตะวันออก

 

ห้องที่ 4 ผ้า 

เอกลักษณ์การแต่งกาย กลุ่มลูกครึ่งมลายู –จีน ผสมผสานและสร้างสรรค์วัฒนธรรมแบบใหม่ขึ้นโดยชื่อว่า “เปอรานากัน” ที่มีความหมายว่า “เกิดที่นี่”

 

ห้องที่ 5 อาหาร 

อาหาของชาวเพอรานากันในภูเก็ต เป็นอาหารที่เกิดจากการผสมผสานทางวัฒนธรรมของชาวจีนอกเกี้ยน มลายู และไทยถิ่นใต้ มีการใช้เครื่องเทศแบบท้องถิ่นใต้ ผสมกับเครื่องปรุงรสของอาหารจีนร่วมสมัย จึงทำให้มีรสชาติออกหวานแบบจีนแต่มีรสจัดของเครื่องเทศและคามเผ็ดเหมือนอาหารไทยมลายู

 

ห้องที่ 6 มั่นคง

เครื่องประดับของชาวเพอรานากัน เป็นสิ่งแสดงถึงฐานะ จะใช้ในงานสำคัญ เช่น งานแต่งงาน หรืองานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น เครื่องประดับแต่ละชิ้นจะจับเป็นชุดใช้เฉพาะกับเสื้อผ้าแต่ละชนิด

 

 

 

ทั้งนี้มิวเซียมภูเก็ตคาดหวังจะให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้ในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (DISCOVERY MUSEUM) เป็นแหล่งเรียนรู้รูปแบบใหม่ที่จะบ่มเพาะเยาวชน ช่วยสร้างการเชื่อมโยงกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ในภูมิภาค อันจะนำไปสู่การสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

 

ชื่อผู้แต่ง:
ปณิตา สระวาสี