มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง 2563

คลิกชมนิทรรศการออนไลน์


มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง “วิถีวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ ประตูสู่สยามประเทศ” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ณ วัดขนอน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี   โดยเป็นความร่วมมือของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ภาคกลาง จัดงานขึ้นเป็นครั้งแรกของภาคกลาง โดยมีพิพิธภัณฑ์ในภาคกลางที่เป็นเครือข่ายจำนวน 30 แห่ง ในพื้นที่ 14 จังหวัด ได้ร่วมกันศึกษา สืบค้นเรื่องราวพิพิธภัณฑ์และชุมชนของตน เพื่อนำเสนอต่อสาธารณะชนในรูปแบบของการจัดนิทรรศการและกิจกรรม ที่เล่าเรื่องราวของวิถีชีวิตและสังคมวัฒนธรรมของชุมชนใน 5 ลุ่มน้ำภาคกลาง คือ เจ้าพระยา  ป่าสัก-ลพบุรี  ท่าจี  แม่กลอง  และเพชรบุรี  ภายใต้การนำเสนอจัดแสดงนิทรรศการ  การสาธิต และการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของพิพิธภัณฑ์และขุมชนท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์

การจัดงานในครั้งนี้เป็นการแสดงศักยภาพของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง ในการสร้างพื้นที่ให้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ ได้นำเสนอเรื่องราวมรดกวัฒนธรรมในฐานะที่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นพื้นที่สำคัญในการบันทึกเรื่องราวทางสังคมวัฒนธรรมไว้ ทั้งเรื่องราวที่มีในวัตถุสิ่งของในพิพิธภัณฑ์ และเรื่องราวความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล  เพื่อให้ชุมชนในพื้นที่ นักท่องเที่ยว ประชาชนทั่วไป และคนรุ่นใหม่ ได้มาสัมผัสเรื่องราวที่ก่อกำเนิดจากความตั้งใจของคนทำพิพิธภัณฑ์ที่ใช้ความรัก และเวลาในการสั่งสม ไม่ว่าจะเป็นศิลปวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ วัตถุวัฒนธรรม การละเล่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย


    facebook  มหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง


  คลิกชมวิดีโอเสวนาภายในงาน


หลังจากจบงานมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง  พวกเราทำอะไรต่อ?

วันที่ 31 มีนาคา 2564  ศมส.และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง จัดงานประชุมเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เพื่อถอดบทเรียนในการจัดงานโครงการมหกรรมพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง                วิถีวัฒนธรรมแห่งสายน้ำ ประตูสู่สยามประเทศ

หลังการจัดงานพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง โดยเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นภาคกลาง ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)(ศมส.) เมื่อพฤศจิกายนที่ผ่านมา  เพื่อเป็นการทบทวนและเรียนรู้กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างศมส.และชาวพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น   วันที่ 31 มีนาคม 2564  ศมส.และเครือข่ายได้ร่วมกันถอดบทเรียน เพื่อทบทวนการทำงานตั้งแต่ต้นทาง จากการเริ่มสร้างเครือข่าย จนมีกระบวนการทำงานสู่การเป็นงานมหกรรม ชวนคิด ชวนคุย สะท้อนความประทับใจ อุปสรรค การเรียนรู้ รวมถึงการทำงานต่อไปในอนาคต           

เนื่องจาก ศมส. มุ่งหวังจะส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น และผู้ปฏิบัติงานทางวัฒนธรรม ให้สามารถจัดเก็บ จัดการ และเผยแพร่ข้อมูลด้านมรดกวัฒนธรรมของตนเองได้อย่างเป็นระบบ ความรู้ดังกล่าวเป็นความรู้ที่สร้างโดยคนท้องถิ่น/เจ้าของวัฒนธรรม สามารถนำไปใช้อ้างอิงได้ เพราะเป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ของคนท้องถิ่น กระบวนการจัดการความรู้เหล่านี้ยังเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมศักยภาพให้กับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในการจัดการวัตถุและพิพิธภัณฑ์ของตนได้           

การถอดบทเรียนเป็นส่วนสำคัญของการทำงาน ที่จะส่งเสริมทั้ง "คนทำพิพิธภัณฑ์" และ "การจัดการงานพิพิธภัณฑ์" ไปพร้อมๆกัน

คลิกอ่านรายละเอียด



เผยแพร่เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2564