บทความวิชาการ

บทความทั้งหมด 82 บทความ

การพัฒนาการจัดการและการมีส่วนร่วมในงานพิพิธภัณฑฯท้องถิ่น : ประสบการณ์จากการทำงานกับชุมชนคนชอง ในจังหวัดจันทบุรี

22 มีนาคม 2556

ศูนย์การเรียนรู้ฟื้นฟูภาษา-วัฒนธรรมชอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ต.คลองพลู กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2547 จาก ความร่วมมือระหว่างชาวชองในกิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฏ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (สกว.ภาค) โครงการ ดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาชอง โดยใช้อาคารศูนย์สาธิตตลาดของกลุ่มแม่บ้านตำบลคลองพลู สถานที่นั้นเคยเป็นที่พบปะเพื่อดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาชอง และเป็นที่เก็บเอกสารต่างๆ ของโครงการฯ ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ฟื้นฟูภาษา-วัฒนธรรม ชอง เพื่อเป็นสื่อกลางให้คนในชุมชนและประชาชนทั่วไปได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง ราวของชาวชอง ในระยะแรก ศูนย์ฯ ได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับกิจกรรมอนุรักษ์-ฟื้นฟูภาษาชอง และวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนชองประกอบกับสิ่งของเครื่องใช้ที่ได้รับมอบจากชาวบ้าน ต่อมาทางสกว.ได้ สนับสนุนงบประมาณการวิจัยแก่ชุมชนชอง รวม ๓ โครงการ คือ โครงการการสร้างหลักสูตรท้องถิ่นภาษาชอง ซึ่งเกี่ยวเนื่องมาจากโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษาชอง โครงการศึกษาความรู้เรื่องพืชคุ้ม-คล้า ซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นที่คนชองนำมาใช้ทำเครื่องจักสาน และโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชอง ซึ่งเดิมมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การปรับปรุงนิทรรศการภายในศูนย์ฯ เป็นหลัก   ผู้เขียนได้รับโอกาสให้เข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชอง ด้วยการเชื้อเชิญของคุณสิริรัตน์ สีสมบัติ นักศึกษาปริญญาโทสาขาวัฒนธรรมศึกษา วิชาเอกพิพิธภัณฑ์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นคนชองในพื้นที่ ตั้งแต่แรกผู้เขียนได้เสนอความเห็นแก่คุณสิริรัตน์ว่า การพัฒนาศูนย์ฯ ไม่ควรจะมุ่งไปที่การพัฒนาเนื้อหานิทรรศการเท่านั้น แต่ควรคิดเรื่องพัฒนาการจัดการด้านต่างๆ เช่น การจัดกิจกรรม การหารายได้ ที่จะช่วยให้ศูนย์ฯ อยู่ต่อไปได้ไปพร้อมกันด้วย เนื่องจากงานศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชองก็เช่นเดียวกับงานพิพิธภัณฑฯท้องถิ่นอื่นๆ ในประเทศไทยที่มักประสบปัญหาด้านการจัดการ ทำให้ไม่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งการเรียนรู้ชุมชนอย่างที่มุ่งหวังได้   การดำเนินงานโครงการในเบื้องต้นเป็นการพาคณะกรรมการศูนย์ฯไปศึกษาดูงานที่ตลาดร้อยปีสามชุก ศูนย์อนุรักษ์ควายไทย และพิพิธภัณฑสถานแห่งอื่นๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี หลังจากนั้นเป็นกิจกรรมชวนสนทนาในพื้นที่ เพื่อถามถึงมุมมองการดำเนินงานของตลาดสามชุกเปรียบเทียบกับการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชองที่ผ่านมา สิ่งที่ได้รับฟังในครั้งแรกก็คือ“ปัญหา” ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่คนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าศูนย์ฯ ทำอะไร? ทำเพื่ออะไร? เพราะที่ผ่านมาการเริ่มต้นและมีอยู่ของศูนย์ฯ เกิดจากคนและงบประมาณจากภายนอกเข้ามาริเริ่ม โดยมีคนในชุมชนเพียงกลุ่มเล็กๆ เท่านั้นที่มีส่วนร่วม และคนกลุ่มเล็กๆ นี้เองก็มีอาชีพและครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ ทำให้ไม่สามารถให้เวลาในการดูแลจัดการศูนย์ฯได้เท่าที่ควร หลายคนรู้สึกไปในทำนองเดียวกันว่า หากต่อไปไม่มีการสนับสนุนด้านงบประมาณจากภายนอกแล้ว อนาคตของศูนย์ฯ จะเป็นอย่างไร เพราะที่ผ่านมาศูนย์ฯ เองไม่มีรายได้จากทางใดเลย มีแต่รายจ่ายค่าน้ำค่าไฟที่กรรมการศูนย์ฯ บางคนช่วยออกให้บ้าง   ภายหลังจากรับฟังปัญหาต่างๆ แล้ว การชวนสนทนาได้พาย้อนกลับไปสู่ประสบการณ์การดูงานที่ตลาดสามชุก และวิธีการจัดการกับปัญหาซึ่งคล้ายคลึงกัน พร้อมกับนำเสนอตัวอย่างการจัดการที่เป็นไปได้ โดยนำตัวอย่างการจัดการพิพิธภัณฑฯท้องถิ่นในที่อื่นๆ มาเพิ่มเติมในการสนทนา เมื่อการชวนสนทนาในส่วนนี้จบลง หลายคนเริ่มเห็นวิธีการรับมือกับปัญหาที่มีอยู่ และเริ่มเสนอวิธีการจัดการกับปัญหาตามแนวทางของแต่ละคน และช่วยกันประเมินศักยภาพของกลุ่มและชุมชนว่าวิธีไหนจะเหมาะสมมากที่สุด ทำให้บรรยากาศที่อบอวลไปด้วยปัญหาเมื่อแรกชวนสนทนาค่อยๆ เจือจางลง หลายคนเริ่มมองเห็นทรัพยากรวัฒนธรรมที่มีอยู่ในชุมชนและศักยภาพของชุมชนที่ จะนำทรัพยากรเหล่านี้มาใช้มากขึ้น เช่น มีแนวคิดที่จะผสานโครงการศึกษาเรื่องพืชคุ้ม-คล้า เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของศูนย์ โดยใช้พื้นที่ศูนย์เป็นสถานที่จัดกิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ และจัดจำหน่ายเครื่องจักสานที่ทำจากคุ้ม-คล้า ด้วยเหตุผลที่ว่าเมื่อมีกิจกรรมรองรับ ศูนย์ฯ จะมีความเคลื่อนไหวและมีรายได้มาดำเนินงาน ชาวบ้านเองจะมีรายได้มากขึ้นและได้เป็นผู้มีส่วนในการอนุรักษ์งานหัตถกรรมพื้นบ้านไปพร้อมกัน นอกจากนี้ทางคุณสิริรัตน์ได้เสนอโครงการจัดทำสินค้าที่ระลึก เพื่อหารายได้เข้าศูนย์ฯ ด้วย   ด้วยทางโครงการเล็งเห็นว่าการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ชุมชนชองไม่ควรจำกัดอยู่แต่เพียงนิทรรศการภายในศูนย์ฯ เท่านั้น แต่ควรจะรวมพื้นที่ป่า นา สวน ที่คนชองผูกพันมาตั้งแต่อดีตเข้าไว้ด้วย จึงได้เชื้อเชิญผู้แทนคนชองจากหมู่บ้านตะเคียนทองมาเข้าร่วมกิจกรรมและร่วมทำแผนที่แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมชองของทั้งสองตำบล ผลที่ได้จากกิจกรรมทำแผนที่ คือ ข้อมูลแหล่งการเรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมคนชองในชุมชน รวมไปถึงชื่อผู้ที่จะให้ข้อมูลในแต่ละแหล่ง ที่จะใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในรายละเอียดต่อไป ในการดำเนินงาน โครงการได้ฝึกการเก็บข้อมูลแก่ชาวบ้าน เพื่อนำไปเป็นแนวทางการเก็บข้อมูลวัฒนธรรมชุมชนโดยชุมชนเองต่อไปด้วย   จากกิจกรรมการทำแผนที่ชุมชน นำไปสู่การทัศนศึกษาพื้นที่ป่าในตำบลตะเคียนทอง ซึ่งมีคนในชุมชนชองให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากเป็นพิเศษ หลายคนได้เรียนรู้วิถีชีวิตคนชองที่ผูกพันกับป่าจากพรานนำทางและจากผู้รู้ ที่ร่วมขบวนไปด้วย ด้วยศักยภาพการเป็นแหล่งเรียนรู้และการถ่ายทอดของผู้รู้ นำไปสู่ข้อเสนอในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วัฒนธรรมชองที่เรียกว่า“ห้องเรียนธรรมชาติ” ในพื้นที่เขาตะเคียนทอง ผู้แทนจากตำบลตะเคียนทองได้ให้ความสนใจที่จะพัฒนากิจกรรมดังกล่าวให้เป็น จริง เพื่อสร้างเครือข่ายแหล่งการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกับศูนย์การเรียนรู้ชุมชนชองในตำบลคลองพลู ส่วนปัญหาการขาดการสนับสนุนภายในท้องถิ่นโดยเฉพาะจากองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ทางโครงการได้พยายามประสานงานตัวแทนจาก อบต. เพื่อรับทราบแนวทางการสนับสนุนกิจกรรมแก่ศูนย์ฯ โครงการได้รับคำอธิบายถึงขั้นตอนการรับการสนับสนุนจาก อบต. ที่ ศูนย์ฯ ควรต้องเรียนรู้ เนื่องจากในไม่ช้าการสนับสนุนจากภายนอกคงจะหยุดลง การสนับสนุนจากองค์กรภายในท้องถิ่นจึงเป็นสิ่งจำเป็น ทาง อบต.ได้ เสนอความเห็นว่า ศูนย์ฯ มีศักยภาพในการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม และอาจจะเสนองบประมาณในการจัดกิจกรรมวัฒนธรรมต่างๆของศูนย์ฯ ผ่านทาง อบต.ได้ ในแต่ละปีได้ หากเป็นไปในทิศทางดังกล่าว ศูนย์ฯ จะมีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรมในชุมชนมากขึ้น และช่วยให้ชาวบ้านมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของศูนย์มากขึ้นด้วย   แม้ว่าโครงการการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ชุมชนชองจะดำเนินการแล้วเสร็จตาม เงื่อนไขของเวลา แต่กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนชอง และการพัฒนาการจัดการยังคงดำเนินต่อไป ความสำเร็จจะมากน้อยแค่ไหนคงขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในชุมชนเป็นสำคัญ ผู้เขียนเป็นเพียงคนนอกที่นำเครื่องมือการจัดการและประสบการณ์การจัดการเข้า ไปเสนอให้ชุมชนเรียนรู้และเลือกใช้ตามความพอใจของชุมชนเท่านั้น

การตอบโต้ของโลกตะวันออก การท่องเที่ยว เสน่ห์ตะวันออก และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์

20 มีนาคม 2556

บทคัดย่อ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวิพากษ์ ด้วยการใช้แนวคิด “แนวคิดนิยมตะวันออก” (Orientalism)1 ของ Edward Said บทความจะวิเคราะห์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ 3 แห่ง คือ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย ที่เชื่อมโยงกับตัวตนของความเป็นเอเชียนสิงคโปร์ สิงคโปร์กลายเป็นเมืองที่มีความทันสมัยและเป็นตะวันตกมากเกินไปสำหรับนัก ท่องเที่ยวชาวตะวันตกหลายๆ คน และทางการกำลังพัฒนาให้ประเทศมีความเป็นเอเชียมากขึ้น ในขณะที่งานการศึกษาจำนวนมากที่ใช้แนวคิดของซาอิดพยายามกล่าวถึงอิทธิพลของ ตะวันตกต่อตะวันออก แต่บทความนี้แย้งว่าโลกตะวันออกนั้นสามารถจะตอบโต้การมองอย่างผิวเผินของโลก ตะวันตกที่มีต่อพวกเขาได้ ในกรณีศึกษานี้ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้งสามแห่งได้ปรับตัว เลือกรับ และสร้างความเป็นตะวันออก เพื่อสร้างลักษณะเฉพาะและความเหนือกว่าของสิงคโปร์ในฐานะเมืองท่องเที่ยวและ ในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมเอเชีย วิธีการต่างๆ ที่สิงคโปร์เลือกใช้ในการสร้างตัวตนความเป็นเอเชีย ได้ตอบสนองต่อจุดมุ่งหมายในการสร้างชาติด้วยเช่นกัน   คำสำคัญ: การศึกษาการท่องเที่ยวเชิงวิพากษ์, มรดก,การสร้างชาติ,เสน่ห์ตะวันออก,วิศวกรรมทางสังคม   เกริ่นนำ นักวิจัยจำนวนมากให้ความสนใจกับผลกระทบทางสังคมของการท่องเที่ยว ทั้งนี้ ประกอบด้วยแนวทางการสิวิจัยกระแสหลักๆ มีอย่างน้อย3 แนว ได้แก่ แนวแรกซึ่งพบมากจะกล่าวถึงประเด็นที่สัมพันธ์กับปัญหาต่างๆ เช่น ปริมาณความหนาแน่นของแหล่งมรดก การลดคุณค่าของงานหัตถกรรมท้องถิ่น การขายวัฒนธรรมพื้นถิ่น การสร้างให้คติชนของชนพื้นถิ่นเป็นเรื่องน่าพิศมัย ไปจนถึงภาวะเงินเฟ้อและปัญหาการลักลอบขนถ่ายวัตถุวัฒนธรรม (Cohen 1988; Philo and Kearns 1993; Van der Borg, Costa and Gotti 1996; Watson and Kropachevsky 1994) หรือนักวิชาการบางคนถึงขนาดมองการท่องเที่ยวเป็นรูปแบบหนึ่งของการล่าอาณานิคมและ “การขายตัว” (Mathews 1975: 201)   แต่ใช่ว่าผลกระทบทางสังคมของการท่องเที่ยวจะเป็นไปในเชิงลบเสียทั้งหมด การศึกษาจำนวนหนึ่งแสดงให้เห็นว่าผลกระทบเชิงวัฒนธรรมที่เกิดจากการท่อง เที่ยวกลับได้รับความชื่นชมและการต้อนรับเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจุดหมายปลาย ทาง(Boissevain 1996; Erb 2000; Martinez 1996; Picard 1995) และนักวิจัยอีกหลายคนพยายามสร้างสรรค์แนวทางการจัดการที่สมดุลย์ในการพัฒนาการท่องเที่ยว (Chang 1997; Jenkins 1997; Newby 1994; Teo and Yeoh 1997)   งานวิจัยกระแสที่สองมองไปที่มิติทางการเมืองในการนิยามและจัดการสิ่งที่เรียก ว่าเป็นการพัฒนาการท่องเที่ยวที่สมดุลย์และให้ความเป็นธรรม ในขณะที่นักวิจัยและผู้ปฏิบัติบางคนกลับไม่เห็นด้วยกับความต้องการที่จะ พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสมดุลย์ เพราะคำถามอยู่ที่ว่าแล้วจะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างไร ตัวอย่างเช่นการใช้แนวคิด “ทางเลือกที่สาม” ของกิดเดน ในงานเขียนของเบิร์น (2004) ได้กล่าวถึงมุมมองแบบแยกขั้วของการท่องเที่ยว ในมุมมองหนึ่ง หากมองแบบ “ซ้ายจัด” การพัฒนาต้องมาก่อน (leftist development first) นั่น หมายความว่า “การพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืนเป็นเป้าหมายสำคัญ โดยจะต้องมาจากคนในท้องถิ่นและความรู้จากถิ่นที่นั้น” คำถามหลักของการพัฒนาต้องมองว่า “สิ่งใดบ้างที่การท่องเที่ยวให้กับเราได้โดยไม่ทำร้ายเรา” (Burn 2004: 6) ส่วนมุมมองที่สองมองจาก “ขวาจัด” ที่การท่องเที่ยวต้องมาก่อน (rightist tourism first) มุม มองที่เน้นว่าการตลาดต้องได้ผลประโยชน์อย่างสูงสุด และทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักแพร่หลายที่สุด ผลิตภัณฑ์จากทุกแหล่งทุกลักษณะขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดการท่องเที่ยว ซึ่งกำหนดโดยนักวางแผนภายนอกและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ (Burns 2004: 26)   ทางเลือกที่สามได้หาทางออกให้กับผลประโยชน์และเป้าหมายที่ต่างกันให้เป็น ฉันทามติร่วมกัน ทางเลือกที่สามของเบิร์นส์ยังคงเป็นแนวคิดที่ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติ สังคมที่เป็นเจ้าบ้านที่ต้อนรับนักท่องเที่ยว(host society) แต่ละแห่งได้พบทางออกของตนเองในการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่างเดนมาร์กกับสิงคโปร์ กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวของเดนมาร์กเน้นไปที่การป้องกันผลกระทบทาง สังคมอันเกิดจากการท่องเที่ยว ในขณะที่ สิงคโปร์กลับซึมซับผลกระทบและจัดการสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยโครงการวิศวกรรมทาง สังคม2 (Ooi 2002a) ทั้งทางการสิงคโปร์และเดนมาร์กกล่าวอ้างถึงโครงการต่างๆ ของตนว่าได้สร้างความสมดุลย์ ระหว่างการท่องเที่ยวและความต้องการของท้องถิ่น (Ooi 2002a) วิถี ทางที่สมดุลย์ขึ้นอยู่กับบริบททางสังคมและการเมืองของสังคมที่เป็นเจ้าบ้าน กระบวนการทางการเมืองเข้ามามีอิทธิพลต่อการกำหนดผลประโยชน์ว่าจะตกแก่กลุ่ม ใด   กระแสการวิจัยที่สามที่ศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวมองไปที่ว่า “ตะวันตก” จินตนาการอย่างไรถึงภาพของแหล่งการท่องเที่ยวที่ไม่ใช่ตะวันตกและที่มีว่า สภาพพัฒนาน้อยกว่า จินตนาการของสังคมตะวันตกส่งผลต่อสังคมเจ้าบ้านและกลายเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง การล่าอาณานิคม นอกไปจากงานเขียนจำนวนน้อยนิด เช่นงานของมอร์แกนและพริตชาร์ด (1998) อุย, คริสเตนเซน และพีเดอเซน (2004) เซวีน (1993) และซิลเวอร์ (1993) แนวทางการวิจัยแนวนี้ยังคงได้รับความสนใจอย่างจำกัด บทความนี้จัดวางตัวเองอยู่ในกระแสการวิจัยสายนี้ด้วยเช่นกัน   การศึกษาในกระแสดังกล่าวสนใจศึกษาผลกระทบที่ซับซ้อนของภาพลักษณ์แหล่งท่อง เที่ยวของสังคมเจ้าบ้าน ไม่ใช่เพียงภาพตื้นๆ และภาพที่มองอย่างล้อเล่น แต่เป็นภาพส่งอิทธิพลต่อสังคมเจ้าบ้าน และได้รับผลจากสิ่งที่เรียกว่าอิทธิพลตะวันตกต่อชุมชนเจ้าบ้านที่พัฒนาน้อย กว่า การศึกษาดังกล่าวนี้มาจากมุมมองเชิงวิพากษ์ของเอดเวิร์ด ดับเบิลยู. ซาอิด ที่กล่าวถึงแนวคิดนิยมตะวันออก (Orientalism) (Said 1979)   บทความชิ้นนี้จะเปรียบเทียบพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์3 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ (SHM) พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ (SAM) และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย (ACM) ทั้ง สามแห่งนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นเอเชียและแตกต่างกันไปในแต่ละทิศทาง ผู้เขียนขอกล่าวว่ากระบวนการนี้เป็นการสร้างภาพของความเป็นตะวันออกด้วยตนเอง (self-Orientalization) ใน สิงคโปร์ บทความจะแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวชาวตะวันตกเรียกร้องอย่างไรต่อแหล่ง ท่องเที่ยวอย่างสิงคโปร์ให้เป็นมากกว่าเอเชีย จุดเน้นของบทความจะอยู่ที่การพิจารณาว่าหน่วยงานการท่องเที่ยวสิงคโปร์และ รัฐบาลสร้างภาพความเป็นตะวันออกของสิงคโปร์ผ่านพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้ง สามแห่งอย่างไร เพื่อตอบสนองการท่องเที่ยวและการสร้างชาติสิงคโปร์ บทความจะย้อนกลับไปตั้งคำถามตามมุมมองของซาอิดเกี่ยวกับอิทธิพลตะวันตกต่อ ตะวันออกในประเด็นที่ว่า สังคมเจ้าบ้านได้ยอมรับและประดิษฐ์สร้างภาพความเป็นตะวันออกในโครงการสร้าง อัตลักษณ์ของตนเองอย่างไร การอภิปรายแนวคิดนิยมตะวันออกไม่ควรจำกัดอยู่เพียงการมองว่าตะวันตกส่ง อิทธิพลต่อตะวันออกที่ “อยู่ใต้อาณัติ” อย่างไร กลุ่มอำนาจในสังคมแหล่งท่องเที่ยวได้เลือกรับและปรับใช้ภาพความเป็นตะวันออก ที่จะยังประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการสร้างภาพอัตลักษณ์ท้อง ถิ่นขึ้นใหม่อย่างไร การสร้างภาพของความเป็นตะวันออกของสังคมเจ้าบ้านจะต้องได้รับการศึกษาและทำ ความเข้าใจจากบริบททางสังคมและการเมืองของท้องถิ่นแห่งนั้น   ในลำดับถัดไป ผู้เขียนจะกล่าวถึงการท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นรูปแบบของอิทธิพลภายในกรอบการ มองของซาอิด ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจะนำเสนอกรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์3 แห่งของสิงคโปร์ พิพิธภัณฑสถานสามแห่งนี้จัดตั้งขึ้นโดยคณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์ (STB) เพื่อ สร้างสิงคโปร์ให้เป็นเอเชียมากขึ้น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ได้สร้างให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความโดน เด่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พิพิธภัณฑ์ศิลปะสิงคโปร์ผลักดันให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางด้านศิลปะของเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชียได้ขุดรากเหง้าของบรรพชนสิงคโปร์ที่เชื่อมโยง กับจีน อินเดีย และตะวันออกกลาง   จากนั้น เป็นการสำรวจว่าพิพิธภัณฑ์แต่ละแห่งสร้างภาพความเป็นตะวันออกของสิงคโปร์ อย่างไร และแต่ละแห่งสร้างเรื่องเล่าใหม่เพื่อปั้นแต่งจินตนาการสนองการท่องเที่ยว และท้องถิ่นอย่างไร ในทำนองเดียวกัน การจะเข้าใจเรื่องเล่าเหล่านี้จะต้องคำนึงสภาพและเงื่อนไขทางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองของสิงคโปร์ ส่วนสุดท้ายจะสรุปข้อโต้แย้งและข้อสนับสนุนความเข้าใจที่คลุมเครือของการ ท่องเที่ยวในฐานะที่เป็นรูปแบบทรงอิทธิพลในการศึกษาการท่องเที่ยวเชิง วิพากษ์   การท่องเที่ยวและแนวคิดนิยมตะวันออก จากแนวทางการวิพากษ์ของฟูโกต์ ซาอิด(1979) ได้ ตั้งคำถามและท้าทายแนวคิดนิยมตะวันออก ซาอิดได้ควบเกลียวของจักรวรรดินิยมทั้งทางวัฒนธรรมและการเมืองเข้าด้วยกัน และได้กล่าวว่า ผู้ที่สร้างภาพของความเป็นตะวันออก ทั้งนักเขียนและนักวิชาการ ‘ตะวันตก’ ผู้ที่ศึกษาความเป็นตะวันออก ได้เคยเสนอภาพที่ผิดพลาด และยังคงนำเสนอภาพที่ผิดพลาดของโลกอิสลามในตะวันออกกลางในลักษณะที่ดูเหมือน ว่าตะวันตกจะครอบงำความเป็นตะวันออกได้ง่ายดาย ซาอิดเชื่อว่าความเป็นตะวันออกไม่ใช่เพียงสาขาวิชา แต่เป็นวาทกรรมเชิงอุดมการณ์ที่ยังคงพันเกี่ยวกับอำนาจของโลกตะวันตกอย่าง ไม่สิ้นสุด ซาอิดให้เหตุผลว่า นักวิชาการตะวันตกที่ศึกษาตะวันออกได้นำเสนอและแพร่ขยายภาพเฉพาะบางอย่างของ โลกตะวันออก โดยเน้นที่ความแตกต่างของจิตวิญญาณของโลกตะวันออกที่ต่างออกไปจากsinvตรง ข้ามกับจิตวิญญาณของโลกตะวันตก ภาพเช่นนั้นได้สร้าง คัดสรร และกล่าวถึงโลกตะวันออกในลักษณะที่เกินจริง และภาพต่างๆ ไม่ได้เป็นไปตามความจริงเชิงประจักษ์ และลดทอนความสำคัญของความหลากหลายทางภาษา วัฒนธรรม รูปแบบสังคม และโครงสร้างการเมืองในสิ่งที่เรียกว่าเป็นตะวันออก แนวคิดที่ซ่อนไว้เมื่อกล่าวถึงความเป็นตะวันออก จึงเป็นภาพของความต่ำต้อย การแสดงอำนาจบาทใหญ่ และไร้ซึ่งอารยธรรม   ตรรกะและหลักการที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีของซาอิดเกี่ยวกับความเป็นตะวันออก บันดาลใจให้นักวิชาการหลายคนได้ขบคิดเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับการที่ผู้คนคิดกับ สังคมอื่นอย่างไร และผู้คนเหล่านั้นจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจอย่างไรในกิจกรรมต่างๆ การอภิปรายด้วยแนวคิดนิยมตะวันออกได้จับประเด็นการศึกษาในพื้นที่ต่างๆ แอฟริกา(Jeyifo 2000; Mazuri 2000) เอเชียตะวันออก (Clarke 1997; Dirlik 1996; Hill 2000; Hung 2003) และยุโรปตะวันออก (Ash 1989; Kumar 1992; Ooi et al. 2004) การ วิเคราะห์ด้วยมุมมองนิยมตะวันออกยังผลักดันให้นักวิชาการกำหนดกรอบการนำเสนอ ความเป็นอื่นอย่างผิดพลาดและกล่าวอย่างกวาดรวมๆ ไป ทั้งเรื่องเพศและเพศสภาพ (ในงานของ Albet-Mas and Nogue-Font 1998; Lewis 1996; Mann 1997; Prasch 1996) เชื้อชาติและสำนึกชาติพันธุ์ (Jeyifo 2000; Mazrui 2000) และศาสนา (Amstutz 1997; Burke III 1998; Kahani-Hopkins and Hopkins 2002; Zubaida 1995) การ จัดแบ่งระหว่างความเป็นตะวันตกและตะวันออกไม่ได้แตกต่างไปจากการแยกขั้ว ระหว่างเหนือกับใต้และความจนกับความรวย ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการตอบโต้ต่อโลกาภิวัตน์ ทั้งอิทธิพลทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของโลกตะวันตก (Chua 2003; Klein 2000; Shipman 2002) นักวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเช่น Clifford (1997) Echtner และ Prasad (2003) Morgan และ Pritchard (1998) Ooi และคณะ (2004) และ Silver (1993) ล้วนได้แรงบันดาลใจมาจากแนวคิดของซาอิดทั้งสิ้น   ข้อท้าทายของซาอิดต่อแนวคิดนิยมตะวันออกมีความสำคัญและมีนัยทางการเมือง มุมมองเชิงวิพากษ์แสดงให้เห็นว่าใครได้ประโยชน์ ใครถูกทำลาย ใครเป็นผู้แพร่ภาพ/ แนว คิดเกี่ยวกับตะวันตก และผลจากการรับภาพนั้น แนวทางในการวิเคราะห์จึงเป็นการมองหาสารที่อยู่ในภาพจากการเผยแพร่และความ หมายเชิงอุดมการณ์ที่อยู่ในสารดังกล่าว สารทั้งหมดถูกพิจารณาในฐานะของความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียมกัน ระหว่างกลุ่มที่นำเสนอภาพความเป็นอื่นอย่างผิดพลาดและตัวผู้ที่ “เป็นอื่น” นั้นเอง คำบางคำจะถูกเลือกเพื่อนำเสนอในสาร ความหมายถูกทำให้เข้มข้นขึ้น แต่ขณะเดียวกันมีความหมายหลายอย่างที่ถูกเลือกทิ้งไป อย่างเช่นภาพของสิงคโปร์ที่ถูกกล่าวถึงในสถานีวิทยุอังกฤษเกี่ยวกับรายการ ท่องเที่ยวพักร้อน งานเขียนของ Morgan และ Pritchard (1998: 225-228) แสดงให้เห็นความน่าตื่นเต้นเกี่ยวกับว่าสิงคโปร์ถูกสร้างขึ้นอย่างไร ภาพอดีตอาณานิคม ยาแผนจีน (สัตว์เลื้อยคลาน ม้าน้ำ และแมงป่องตากแห้ง) และ กฎเกณฑ์ที่เด็ดขาดเข้มงวด วิทยุไม่ได้พูดถึงว่ารัฐบาลปัจจุบันเป็นหนึ่งในพรรคการเมืองที่ขับไล่เจ้า อาณานิคมอังกฤษออกไปในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ มีคนสิงคโปร์จำนวนน้อยมากที่ใช้แพทย์แผนจีนเพื่อการรักษาเป็นทางเลือกแรกใน ปัจจุบัน ส่วนกฎและระเบียบต่างๆ ที่เข้มงวดก็ปรากฏในทุกประเทศรวมทั้งอังกฤษด้วย ฉะนั้น ภาพที่ปรากฏในสื่อจึงเป็นการเสนอว่า สิงคโปร์คือความสำเร็จของอาณานิคมที่ชอบธรรม (ขอบคุณอังกฤษ) สิงคโปร์ ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่เปี่ยมด้วยเสนอเอเชียอย่างไม่เสื่อมคลาย และสิงคโปร์ไม่เป็นประชาธิปไตย คนที่มองภาพของสิงคโปร์จะเห็นถึงประสบการณ์ของมรดกอาณานิคมอังกฤษในสิงคโปร์ ได้มองเห็นการเยียวยารักษาของคนเอเชีย และชีวิตที่อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการ ภาพและสารประเภทนี้จะเร้าผู้ชม ขายจุดมุ่งหมายการท่องเที่ยว และให้ภาพของสังคมเจ้าบ้านอย่างดาดๆ   ภาพเช่นว่านี้มีลักษณะที่เป็นแนวคิดนิยมตะวันออก(การสร้างภาพของเสน่ห์ตะวันออก) ประการ แรกภาพดังกล่าวมีลักษณะที่ผิวเผินและมาจากการนำเสนอภาพที่ผิดพลาด แต่กลับถูกนำเสนอด้วยสื่อที่น่าเชื่อถือและปรากฏในลักษณะที่เป็นข้อเท็จจริง ประการที่สอง ภาพดาดๆ ดังกล่าวมุ่งหมายในการย้ำภาพกว้างๆ ของ “ความเป็นอื่น” อยู่แล้ว ในกรณีของสิงคโปร์ก็คือเป็นมรดกอาณานิคมที่ยังคงมีความเคลื่อนไหว ชาวสิงคโปร์ชอบการรักษา “แปลกๆ” และสิงคโปร์ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเสียทีเดียว ประการที่สาม การนำเสนอภาพที่ผิดพลาดกลับได้รับการเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวางและผ่านสถาบัน ต่างๆ รวมทั้งสื่อมวลชน กิจกรรมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และสิ่งที่ได้ยินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ประการที่สี่ สารที่สร้างความเป็นอื่นถูกสร้างผ่านมุมมองของสังคมตะวันตกสมัยใหม่ และอาจกล่าวได้ว่าเป็นการตัดสินคนอื่นจากสายตาของโลกตะวันตก ผู้เขียนขอชี้แจงดังนี้   สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศแล้ว การได้รู้จักกับสังคมที่พวกเขาจะเดินทางไปนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย ทั้งนี้เพราะการเดินทางมีระยะสั้น พวกเขาขาดความรู้ท้องถิ่น และได้รับข้อมูลที่ผ่านการกรองแล้วจากสื่อการท่องเที่ยวต่างๆ(Ooi 2002b) นัก ท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีภาพที่ฉาบฉวย ซ้ำซาก และคัดสรรมาแล้วเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวในต่างประเทศ เพราะภาพเหล่านั้นสร้างขึ้นจากแหล่งข้อมูลจำเพาะ จากบทความแนะนำการท่องเที่ยว เรื่องในข่าว หนังสือท่องเที่ยว และเรื่องเล่าจากครอบครัวและเพื่อน แหล่งข้อมูลเหล่านี้จำนวนมากไม่น่าเชื่อถือ เช่น ภาพยนตร์ที่สร้างความน่าสนใจและสร้างเรื่องเล่าต่างๆ เพื่อกระตุ้นความปรารถนาที่จะไปยังสถานที่นั้นๆ ภาพยนตร์อย่างเรื่อง Braveheart และ Lord of the Ring ทำ ให้สก็อตแลนด์และนิวซีแลนด์กลายเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยว แต่ใช่ว่าภาพยนตร์ทุกเรื่องจะสร้างเรื่องและภาพในเชิงบวกและถูกต้องตามที่ เป็นจริง ภาพยนตร์ทำเงินของฮอลลีวูด เช่น Tomb Raider ได้ใช้สถานที่บางส่วนของนครวัด (กัมพูชา) และนำไปเชื่อมโยงสถานที่ลึกลับ (ที่ไม่มีจริง) แต่กลับปรากฏอักษรภาพอียิปต์ (ในศาสนสถานทางพุทธศาสนา!) และเป็นสถานที่ของคนพื้นถิ่น (ที่ไปสัมพันธ์กับคนเลว) สำหรับ นักอนุรักษ์ การอ้างอิงเช่นนี้สร้างเรื่องเล่าใหม่สำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งความพยายามในการอนุรักษ์ศาสนสถานทางพุทธศาสนา และเป็นวิถีทางที่จะชักนำให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (Winter 2003)   ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกมุ่งมองหาภาพเสน่ห์ตะวันออก ภาพเหล่านี้ก็ได้การสร้างอย่างเป็นทางการและส่งเสริมโดยองค์กรในประเทศนั้นๆ เอง ส่วนหนึ่งเพราะจำนวนของนักท่องเที่ยวที่ร่ำรวยมีบทบาทสำคัญยิ่งกับ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวในท้องถิ่น และการที่นักท่องเที่ยวมีภาพฝังใจเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเป็นดังที่ว่านี้ จึงกลายเป็นปัจจัยหนึ่งในการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นไปในทิศทางดัง กล่าว เช่น สิงคโปร์มีความสะอาด ได้รับการพัฒนา และพร้อมที่จะต้อนรับนักท่องเที่ยว แต่การโฆษณาที่พูดถึงเฉพาะความทันสมัยกลับไม่เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ มาเยือนสิงคโปร์(Ooi 2002b) ทั้ง ที่ความสะดวกสบายทันสมัยเยี่ยงในทุกวันนี้ ยังมีความสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย คือ ภาพความเป็นเอเชียยังเป็นส่วนหนึ่งของการเสนอขายการท่องเที่ยวให้กับนักท่อง เที่ยวชาวตะวันตก แน่นอนว่าความทันเสมัยและความสะดวกสบายเป็นสิ่งสำคัญ แต่ไม่ใช่ปัจจัยเดียว (Ooi 2002b: 127) นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจำนวนมากที่สนใจไปเยือนสถานที่ที่แตกต่างและไม่ถูกปรับเปลี่ยนไปกับความเป็นสมัยใหม่ (Errington and Gewertz 1989; Jacobsen 2000; MacCannell 1976; Silver 1993; Srrensen 2003) และภาพที่ได้รับการเผยแพร่ยิ่งย้ำเข้าไปใน “ความสำนึกของตะวันตก” (Silver 1993:303)   นอกไปจากภาพนำเสนอตามที่นักท่องเที่ยวต้องการ ตัวแทนส่งเสริมการท่องเที่ยวเรียนรู้ภาพที่ตรึงอยู่ในความคิดของนักท่อง เที่ยวว่าส่งผลต่อประสบการณ์ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมองหาภาพในจินตนาการระหว่างการท่องเที่ยวของเขา(McLean and Cooke 2003; Prentice 2004; Prentice and Andersen 2000; Waller and Lea 1999) แต่ ภาพในจินตนาการของนักท่องเที่ยวไม่ได้เป็นไปแบบเดี่ยวหรือแข็งทื่อ ตัวแทนส่งเสริมการท่องเที่ยวจึงพยายามมองหาภาพในจินตนาการที่ชาวตะวันตกหวัง จากแหล่งท่องเที่ยวนั้น ตัวแทนเหล่านี้อาศัยความช่วยเหลือของบริษัทโฆษณาที่มีฐานอยู่ในประเทศตะวัน ตก ดังที่ Pritchard และ Morgan (2000) ได้สำรวจความต้องการที่หลากหลายของนักท่องเที่ยวตะวันตก (และมิใช่ตะวันตก) ตัว แทนเหล่านี้ไม่เพียงนำเสนอภาพของเสน่ห์ตะวันออก แต่ยังทำภาพเหล่านั้นให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น นั่นคือการสร้างผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็น “ความจริงแท้” เพื่อนักท่องเที่ยว ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีตั้งแต่การแสดง “วูดู” ในไฮติ (Goldberg 1983) จนถึงการขายวัตถุ “ทางศาสนา” ของยิว (เช่น หมวกครอบศีรษะและเทียน) ในอิสราเอล (Shenhav-Keller 1995) และการเยี่ยมเยือนหมู่บ้านมังกาไร “ดั้งเดิม” ในอินโดนีเซีย (Allerton 2003) ภาพลึกลับและน่าพิศมัย (exotic images) แช่ แข็งสังคมที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวไว้กับอดีต และไม่ได้สนใจความเปลี่ยนแปลงและสังคมที่เคลื่อนไปสู่การพัฒนา ภาพและการสร้างให้เป็นรูปธรรมเช่นนี้ได้ย้ำจินตนาการของนักท่องเที่ยวที่ใฝ่ หาเสน่ห์ตะวันออก ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยอย่าง Echter และ Prasad (2003) และ Silver (1993) วิเคราะห์ ให้เห็นว่าภาพตัวแทนที่นำเสนอเกี่ยวกับโลกที่สามในการท่องเที่ยวจัดช่วงชั้น ความสัมพันธ์ของประเทศกำลังพัฒนาไว้ในลักษณะที่ด้อยกว่า สถานที่ต่างๆ มีสภาพที่ล้าหลัง ผู้คนกระตือรือร้นที่จะให้บริการ และแหล่งท่องเที่ยวเช่นนั้นก็เป็นเพียงสนามเด็กเล่นทางวัฒนธรรม   แม้กระทั่งพิพิธภัณฑ์ ซึ่งถือเป็นสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นวิชาการ ยังคงตอกย้ำกับภาพจินตนาการเสน่ห์ตะวันออก พิพิธภัณฑ์ทำหน้าที่เป็น“บริเวณสัมพันธ์” (contact zones) (Clifford 1997: 188-219) บริเวณสัมพันธ์คือสถานที่ที่ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของกลุ่มถูกแยกออกไปจากกัน ทั้งๆ ที่ยังคงมีความสัมพันธ์กันต่อเนื่อง Clifford (1997) ได้ กล่าวถึงสังคม “ดั้งเดิม” ที่ถูกนำเสนอในพิพิธภัณฑ์ “อารยะ” การจัดแสดงได้ผลิตซ้ำภาพของชนเผ่า “ดั้งเดิม” ตามที่คนในสังคม “อารยะ” รับรู้ผ่านพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์สร้างภาพของความเป็นอื่นด้วยข้อสมมติฐานและโลกทัศน์ของตนเอง และความเป็นอื่นกลับสร้างภาพของตนเองตามสิ่งจัดแสดงนั้น และสนองตอบต่อการจัดแสดงเช่นนั้น พิพิธภัณฑ์กลายสภาพเป็นพื้นที่ที่ผู้คนสร้างจินตนาการว่าเขาเป็นใคร และแม่พิมพ์ที่อยู่เบื้องหลังตัวตนที่จัดแสดงนั้นมาจากจินตนาการที่มีต่อผู้ อื่น   โดยสรุปแล้ว นักวิจัยแสดงให้เห็นว่าการท่องเที่ยวเป็นรูปแบบของอิทธิพล ไม่ใช่เพียงแค่การปรากฏตัวของนักท่องเที่ยวหรือความต้องการต่างๆ แต่การท่องเที่ยวยังได้สืบทอดวาทกรรมที่ไม่เที่ยงตรงและการนำเสนอภาพที่ผิด เพี้ยนของประเทศด้อยพัฒนาและไม่ใช่ตะวันตก(Morgan and Pritchard 1998; Ooi et al. 2004; Selwyn 1993; Silver 1993)   ผลลัพธ์หนึ่งคือ“ตลาดการท่องเที่ยวกลายเป็นรูปแบบหนึ่งของการนำเสนอภาพของโลกที่สาม ซึ่งในบางครั้งเป็นไปอย่างซับซ้อน แต่ไม่จริงจัง ภาพที่สืบทอดและย้ำเน้นภาวะอาณานิคมและความสัมพันธ์เชิงอำนาจ” (Echtner and Prasad 2003: 672) ไม่ ทางใดก็ทางหนึ่ง ภาพที่นำเสนออย่างหยาบๆ สร้างแหล่งข้อมูลพื้นฐานให้แหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ใช่ตะวันตกได้จินตนาการ ประดิษฐ์สร้าง และเปลี่ยนแปรตัวพวกเขาเอง (Morgan and Pritchard 1998; Ooi et al. 2004)   เมื่อพิจารณาการท่องเที่ยวในรูปแบบของจักรวรรดินิยม แนวโน้มของการวิเคราะห์มักมองอิทธิพลของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อแหล่งท่อง เที่ยว ประหนึ่งว่าสังคมที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวเป็นฝ่ายตั้งรับและยอมจำนนแต่เพียง แง่เดียว การมองสังคมต้อนรับในลักษณะของฝ่ายตั้งรับและยอมจำนนอาจไม่ถูกต้องนัก ดังที่จะได้แสดงให้เห็นว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในสิงคโปร์ได้สร้างเสน่ห์ ตะวันออกให้กับรัฐเมือง(city-state) อย่างไร โลกตะวันออกตอบโต้ในเชิงรุกและเป็นไปอย่างสร้างสรรค์   การสร้างความเป็นเอเชียให้กับสิงคโปร์อย่างเป็นรูปธรรม ในปี1995 ขณะที่สิงคโปร์เผชิญหน้ากับการแข่งขันในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว3 คณะกรรมการสนับสนุนการท่องเที่ยวสิงคโปร์ (Singapore Tourist Promotion Board – STPB)4 และกระทรวงข่าวสารและศิลปะ (Ministry of Information and the Arts – MITA) แถลงแบบโครงร่างการพัฒนาสิงคโปร์ให้เป็น “นครแห่งศิลปะ” (Global City for the Arts) หนึ่งในโครงการต่างๆ คือ สิงคโปร์จะมีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์5 พิพิธภัณฑ์ศิลปะ สิงคโปร์6 และพิพิธภัณฑ์อารยธรรมเอเชีย7 (Chang 2000; Chang and Lee 2003; STPB and MITA 1995; STPB 1996) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้งสามแห่งจะแสดงอัตลักษณ์จำเพาะของรัฐเมืองที่ตั้งอยู่บนเกาะ ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1980 สิงคโปร์ ค้นพบว่าภาพของความทันสมัยลดความดึงดูดลง นักท่องเที่ยวกลับเดินทางไปดินแดนที่มีความน่าตื่นตาตื่นใจอื่นๆ ในภูมิภาคอุษาคเนย์ (National Tourism Plan Committees 1996) สิงคโปร์จึงกลายเป็นดินแดนที่เคยถูกมองและยังคงได้รับการพิจารณาว่าเป็นเมืองที่ทันสมัยเมืองหนึ่งเท่านั้น   แรงผลักของกลยุทธ์การท่องเที่ยวตั้งแต่กลางทศวรรษที่1990 คือการสื่อสารภาพของสิงคโปร์ในฐานะของแหล่งท่องเที่ยวที่ความทันสมัยคลุกเคล้าไปกับความเก่าแก่ ตะวันออกกลั้วไปกับตะวันตก (Ooi 2004) แม้ จะพบเห็นความทันสมัยอย่างดาดดื่นทั่วสิงคโปร์ แต่คณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์พยายามสร้างภาพของโลกตะวันออกที่น่าพิศ มัยและฝังอยู่ในการพัฒนาและความก้าวหน้าของสิงคโปร์ ตัวอย่างเช่น นักท่องเที่ยวจะได้รับการบอกเล่าถึงตึกระฟ้าในสิงคโปร์ในทำนองของการสร้าง ตามหลักฮวงจุ้ยของจีนโบราณ ร้านค้ามากมายที่ให้บริการอาหารตะวันตกกับเครื่องเทศเอเชีย และชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาอังกฤษในแบบฉบับของตนเอง (อย่างที่รู้จักกันว่า Singlish) นอกไปจากภาษาอังกฤษแบบมาตรฐาน ความพยายามอื่นๆ ที่ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเอเชียมากขึ้น ด้วยการอนุรักษ์และส่งเสริมเขตจีน (Chinatown) อินเดียน้อย (Little India) และ หมู่บ้านมาเลย์ รวมไปถึงการขายทัวร์นำเที่ยวไปสัมผัสกับวิญญาณเอเชียท่ามกลางเมืองที่ทัน สมัย รวมไปถึงการผลิตของที่ระลึกซึ่งตอกย้ำความเป็นเอเชีย (Chang and Teo 2001; Leong 1997; Ooi 2002b) การ สร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสามแห่งยังเป็นความพยายามในการสร้างสิงคโปร์ที่ มีความเฉพาะตัวและเป็นเอเชียมากขึ้น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติทั้งสามแห่งได้รับการจัดการโดยคณะกรรมการมรดกแห่งชาติ (National Heritage Board) พิพิธภัณฑ์ เหล่านี้จะกล่าวถึงคนท้องถิ่นและชาวต่างประเทศเกี่ยวกับ “ความเป็นเอเชีย” แบบสิงคโปร์ แต่ละพิพิธภัณฑ์ก่อร่าง ตีความ และสร้างความเฉพาะตัวของความเป็นเอเชียที่แตกต่างกันไปสำหรับสิงคโปร์   อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อคณะกรรมการมรดกแห่งชาติและพิพิธภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของคณะกรรมการมรดกแห่งชาติLim Siok Peng กล่าวในรายงานประจำปีขององค์กรของเธอ ดังนี้   ในเดือนพฤษภาคม2003 มีโรคซาร์ (Severe Acute Respiratory Syndrome) ระบาด จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงถึง 177,808 คน หรือมากกว่า 70% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนในปี 2002 สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์มีจำนวนลดลงตามไปด้วย คือมีจำนวนผู้เข้าชมเพียง 17,073 คนในเดือนพฤษภาคม จำนวนดังกล่าวน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้เข้าชมโดยเฉลี่ยต่อเดือน (NHB 2004: 4)   เธอยังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการตลาดของคณะกรรมการมรดกแห่งชาติและการประสานงาน กับกรมการคมนาคมสื่อสารที่ร่วมมือกับหน่วยงานการท่องเที่ยวอื่น ได้พยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้นในช่วงวิกฤต   เราได้ร่วมมือกับคณะกรรมการการท่องเที่ยวสิงคโปร์ด้วยโปรแกรม ก้าวสู่! สิงคโปร์ ได้รับการตอบรับอย่างดีจากองค์กรต่างๆ สายการบินสิงคโปร์มีข้อเสนอพิเศษสำหรับเที่ยวบิน เทศกาลสินค้าลดราคา และโปรแกรมการท่องเที่ยวต่างๆโดยสมาคมแหล่งท่องเที่ยวสิงคโปร์ (Association of Singapore Attractions - ASA) (NHB 2004: 4)   และนอกไปจากนี้คณะกรรมการมรดกแห่งชาติยังพยายามตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ เช่น ตลาดนักท่องเที่ยวจากเมืองจีน   เพื่อการทำตลาดกับนักท่องเที่ยวชาวจีน เราได้ผลิตแผ่นพับทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน เอกสารหนึ่งแสนชุดได้รับการจัดพิมพ์และแจกไปยังสมาคมแหล่งท่องเที่ยว ทั้งโรงแรม แหล่งท่องเที่ยวประเภทต่างๆ และศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยวสิงคโปร์ตามจุดต่างๆ แผ่นพับยังส่งไปยังศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวสิงคโปร์ทั่วทั้งทวีปเอเชีย(NHB 2004:4)   บททบทวนในรายงานประจำปีที่เขียนโดยเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงท่านนั้นยังเน้นถึงการท่องเที่ยวอย่างมาก(NHB 2004: 4-5) นอกจากนี้ยังมีเงินทุนสนับสนุนองค์กรต่างๆ สำหรับการจัดนิทรรศการด้วย   พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์เป็นอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแบบนีโอ-คลาสสิค พิพิธภัณฑ์มีประวัติที่ยาวนานต่อเนื่องตั้งแต่การเริ่มตั้งเมื่อปี 1887 และเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ภายใต้ชื่อพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเมื่อปี 1965 ภายหลังจากที่สิงคโปร์ได้รับอิสรภาพ ต่อมาจึงปรับเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ในปี 1996 และในปี 2006 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้รับการขนานนามอีกครั้งว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สิงคโปร์ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนและขยายรูปทรงอาคาร (SHM 2005)   พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์ตอบโต้ต่อภาพที่ผู้คนมักคิดถึงสิงคโปร์ในลักษณะที่ เหมือนๆ กับประเทศอื่นในเอเชีย พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์แสดงแนวโน้มและพัฒนาการสร้างบุคลิกภาพและ ส่งอิทธิพลต่อความเป็นสิงคโปร์ ด้วยการเน้นย้ำถึงสิงคโปร์ร่วมสมัย(STPB and MITA 1995: 17) อดีตอาณานิคมของสิงคโปร์ (ค.ศ. 1819 – ค.ศ. 1963) สงครามโลกครั้งที่ 2 และ การต่อสู้เพื่อการปกครองตนเองจากเจ้าปกครองอาณานิคมอังกฤษ ประวัติศาสตร์ที่ผันผวนกับประเทศมาเลเซียและการเรียกร้องอิสรภาพของสิงคโปร์ เมื่อปี 1965 เรื่อง ราวเหล่านี้เป็นจุดเน้นของพิพิธภัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบกับพิพิธภัณฑ์อีกสองแห่ง พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สิงคโปร์มีส่วนร่วมในโปรแกรมการศึกษาแห่งชาติมากที่ สุด พิพิธภัณฑ์ได้ต้อนรับกลุ่มนักเรียนจำนวนมาก นิทรรศการทำหน้าที่เป็นบทเรียนเสริมประวัติศาสตร์ที่สอนกันในโรงเรียน   อัตลักษณ์เฉพาะของสิงคโปร์ถูกไล่เรียงไปตามลำดับ ดังนี้ สิงคโปร์ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ แต่อังกฤษไม่สามารถปกป้องสิงคโปร์ได้ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่2 สิงคโปร์ ตกอยู่ในสภาพที่หดหู่ระหว่างการครอบงำของญี่ปุ่น และดิ้นรนเพื่อให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของอังกฤษ จนเปลี่ยนสถานภาพของตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์รัฐมาเลเซีย (1963-1965) แต่ การณ์กลับไม่ดีขึ้น ในท้ายที่สุด แนวคิดของการเป็นรัฐสิงคโปร์เบิกบาน และนำไปสู่การสร้างประเทศให้มีอำนาจอธิปไตยของตนเอง นี่เองแสดงให้เห็นว่า สิงคโปร์ไม่ใช่ทั้งของอังก

นิทรรศการที่บอกเล่าด้วยตนเอง ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าและพิพิธภัณฑ์

20 มีนาคม 2556

พิพิธภัณฑ์ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสะสมและนำเสนอคำพยานของบุคคลมากว่า20 ปี และพิพิธภัณฑ์บางแห่งได้วางนโยบายการจัดเก็บและกลยุทธ์นิทรรศการแห่งประวัติศาสตร์คำบอกเล่าอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวัตถุจัดแสดงนั้นขาดไปหรือเมื่อต้องการสร้างภาพที่ยุติธรรมในประวัติศาสตร์ของสาธารณชน ที่มักถูกบิดพลิ้วไปด้วยเรื่องของการก่อการร้ายและการกดดันจากรัฐ เรื่องราวในบทความนี้เกี่ยวข้องกับนิทรรศการที่มาจากการทำงานของชุมชน และจะแสดงให้เห็นอย่างกระชับและชัดเจนถึงผลกระทบของประวัติศาสตร์คำบอกเล่า Anna Green เป็นหัวหน้าสำนักสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ผู้เขียนเคยเสนอบทความนี้ในงานประชุมสมาคมประวัติศาสตร์คำบอกเล่า สหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนตุลาคม 1996 และเคยตีพิมพ์ในวารสาร Oral History Review, Winter 1997, vol. 24, no. 2, pp. 53-72.   เป็นไปได้หรือไม่ ที่จะสร้างนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ด้วยเสียงและการเล่าเรื่อง? นี่เป็นคำถามที่เราเผชิญในช่วงต้นปี 1995 ภายหลังจากที่โครงการขนาดใหญ่ว่าด้วยประวัติศาสตร์คำบอกเล่าของชุมชนที่ชุมทางรถไฟแฟรงก์ตัน (Frankton Junction) ประเทศนิวซีแลนด์เสร็จสิ้นลง ตลอดเวลากว่าสิบแปดเดือนก่อนหน้านั้น นักศึกษาของผู้เขียนในชั้นเรียนประวัติศาสตร์ระดับบัณฑิตศึกษาได้บันทึก เรื่องราวของชายและหญิงกว่าสองร้อยชีวิต ผู้เคยอาศัยและทำงานในชุมชนทางรถไฟ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นชุมชนรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในนิวซีแลนด์ นอกเหนือไปจากการสัมภาษณ์ เรายังได้รับอนุญาตให้ยืมและสำเนารูปถ่ายที่แสดงให้เห็นชีวิตประจำวันจาก อัลบั้มรูปถ่ายของครอบครัว แม้ว่ากลุ่มแรงงานสร้างทางรถไฟจะค่อยๆ แยกย้ายกันไปในหลายทศวรรษที่ผ่านไป แต่โครงการกลับได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้น และเมื่อนำคำพยานกับภาพถ่ายมาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน เรื่องราวชีวิตชนชั้นแรงงานของชุมชนทางรถไฟในช่วงทศวรรษที่ 1920 ถึง 1970 ก็ กลับมาได้อย่างสมบูรณ์ ทุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมและมรดกของคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลนิวซีแลนด์ ทำให้เรื่องราวของชุมชนกลับมาอีกครั้งในรูปของนิทรรศการ   ตามที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการนิทรรศการจากประวัติศาสตร์คำบอกเล่า แต่ไม่เคยมีประสบการณ์ทำงานในพิพิธภัณฑ์มาก่อน ผู้เขียนเริ่มต้นวิจัยด้วยกลุ่มทำงานเล็กๆ ที่ประกอบด้วยนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เราเริ่มต้นด้วยการสำรวจวารสารและคู่มือต่างๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สังคมในพิพิธภัณฑ์ มีนิทรรศการสักกี่มากน้อยที่ก่อร่างสร้างขึ้นจากคำพยานที่เป็นเสียงโดยตรง ไม่ใช่การถอดความจากเสียง? แต่เราไม่พบข้อมูลใดเลยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ความคิดเห็นของ Stuart Davie เมื่อปี 1994 ที่ว่า ‘ในพิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์คำบอกเล่ามีสถานภาพที่คลุมเครือ อึดอัด และเปราะบาง’ ดูจะเป็นคำกล่าวที่ไม่เกินจริงนัก1 ตัวอย่าง เช่น หนังสือคู่มือสำหรับวิชาชีพพิพิธภัณฑ์ที่มักอ้างอิงงานเขียนจากอังกฤษและ นิวซีแลนด์ ส่วนมากจะมีเนื้อหาเพียงสั้นๆ ในส่วนที่ว่าด้วยประวัติศาสตร์คำบอกเล่า และสองในสามของเนื้อหาส่วนนี้กลับกล่าวถึงธรรมชาติของความทรงจำที่บกพร่อง และไม่น่าเชื่อถือ และท้ายที่สุดคู่มือมักสรุปว่า ประวัติศาสตร์คำบอกเล่ามีคุณค่าที่จำกัด และควรที่จะได้รับการนำเสนอโดยกำหนดเนื้อหาอย่างเข้มงวดในพื้นที่ “ห้องสมุด” ที่แยกเฉพาะ2   บทความต่างๆ ในวารสารแสดงให้เห็นว่าภัณฑารักษ์ในพิพิธภัณฑ์ที่ทำงานเกี่ยวกับประวัติ ศาสตร์สังคมใช้ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าอย่างมากที่สุดก็เพียงในฐานะที่เป็น ข้อมูลเพิ่มเติมให้กับวัตถุพิพิธภัณฑ์‘สภาพการณ์ของประวัติศาสตร์ที่ปราศจากวัตถุนั้น อาจเป็นและยังคงเป็นสิ่งอื่น…วัตถุสร้างพิพิธภัณฑ์’ ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่งได้เขียนไว้เช่นนั้นเมื่อปี 19933 บทบาทของวัตถุในการกระตุ้นความหวนคำนึงของผู้ชมส่วนใหญ่ได้รับความชื่นชม4 แต่ เมื่อประวัติศาสตร์คำบอกเล่าถูกนำไปใช้ในนิทรรศการ ถ้อยคำที่มาจากคำพูดมักได้รับการถ่ายทอดในรูปของบทเขียนบนผนัง และยังผลให้คำพูดสูญเสียความซับซ้อนในมิติต่างๆ รวมถึงความมีชีวิตชีวาของการบอกเล่า ในอีกหลายวาระมีการใช้ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าด้วยเสียงจากการสัมภาษณ์ ในนิทรรศการที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตสังคมและการทำงาน แต่เสียงกลับถูกกดทับด้วยสิ่งจัดแสดงจำนวนมากๆ แล้วกลายเป็นเสียงจอแจอยู่เบื้องหลัง สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เสริมสถานภาพของประวัติศาสตร์คำบอกเล่า และไม่ได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของความทรงจำในฐานะตัวเชื่อมอดีตและ ปัจจุบันอย่างมีชีวิตชีวา ความทรงจำไม่ใช่เขม่าติดก้นหม้อหรือเศษเสี้ยวของอดีตที่ตายไปนานแล้ว อย่างที่ Michael Frisch ได้ แนะนำไว้ว่า เราต้องการ ‘ดึงให้ผู้คนเข้ามามีส่วนในการตรวจสอบว่าสิ่งใดที่มีความหมายต่อการจดจำ และสิ่งใดที่จะเสริมให้ความทรงจำนั้นมีชีวิตและยังดำรงชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นสภาวะที่ตรงข้ามกับวัตถุสะสม’5   เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ความทรงจำจักต้องเป็นแก่นแกนของนิทรรศการ ทีมงานนิทรรศการแฟรงก์ตันตัดสินใจใช้คำพยานในฐานะทรัพยากรคำบอกเล่า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง เสียงและการฟังต้องมีบทบาทนำหน้าสายตาและการมอง เราเห็นพ้องต้องกันว่าการจัดแสดงที่ประกอบด้วยรายละเอียดมากๆ จะทำให้ผู้ชมไม่สนใจฟังคำพยาน นอกจากนี้ เราไม่ต้องการให้วัตถุที่ตกทอดหรือภาพถ่าย มากำหนดทิศทางและเนื้อหาของนิทรรศการ คำพยานเน้นถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนทั้งที่บ้านและที่ทำงาน เพื่อวาดให้เห็นประสบการณ์ของผู้คนโดยรวม ในทางตรงข้าม ภาพถ่ายมักบันทึกโอกาสพิเศษหรือความสุขสันต์ของครอบครัว การทำงานของเพศชายหรือวัฒนธรรมกีฬา มีภาพเพียงชุดเดียวที่ช่างภาพมืออาชีพถ่ายภรรยาของตนเอง ได้บันทึกประสบการณ์ของผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว ซึ่งสัมพันธ์กับงานบ้าน ภาพถ่ายจึงมีลักษณะตรงข้ามกับพลังของความทรงจำจากคำบอกเล่า ในขณะที่มีภาพเด็กๆ กำลังเล่น เรากลับไม่เห็นภาพของการลงโทษ หรือ “การแซว” ระหว่างการเดินทางไปโรงเรียนของกลุ่มนักเรียนที่นับถือคาทอลิกและโปรแตส เตนท์ ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ ประเด็นต่างๆ ในนิทรรศการจึงมาจากคำบอกเล่า และมีคำอธิบายสั้นๆ ในคู่มือนำชมนิทรรศการ ที่ช่วยเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่ได้ยินกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ทางสายตา ในแต่ละส่วนของการจัดแสดง   นิทรรศการประวัติศาสตร์คำบอกเล่า นิทรรศการเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มทำงานของพิพิธภัณฑ์ศิลปะและประวัติศาสตร์ไวกาโต(Waikato Museum of Art and History) การออกแบบ ภาพถ่าย และเทคนิคต่างๆ ของพวกเขาเป็นสิ่งที่ประเมินค่ามิได้6 ผู้ เขียนขอขอบคุณนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษากลุ่มหนึ่งในการจัดทำนิทรรศการร่วมกับผู้เขียน บทบาทของพวกเขาในการทำงานของแต่ละคนและของกลุ่มต่อโครงการนั้นเป็นสิ่งที่มี ค่ายิ่ง7 ลักษณะของพื้นที่นิทรรศการ และการจัดแบ่งส่วนนิทรรศการต่างๆ ออกเป็น5 ส่วน ได้กำหนดแผนการดำเนินงานท้ายสุด ดังแสดงไว้ในแผนภาพที่ 1  ปัญหาเชิงเทคนิคปัญหา หลักเชิงเทคนิคที่เราต้องเผชิญคือ การทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงและได้ยินประวัติศาสตร์คำบอกเล่า ในขณะที่เสียงจะต้องไม่เล็ดลอดไปรบกวนบรรยากาศโดยรวมของนิทรรศการ และเราก็ไม่ต้องการให้อุปกรณ์อื่นใด เช่น หูฟัง มาขวางกั้นระหว่างผู้ชมและประวัติศาสตร์คำบอกเล่า ยิ่งกว่านั้น ผู้ชมควรรู้สึกผ่อนคลายในขณะฟัง เงื่อนไขที่กล่าวมานี้กำหนดให้นิทรรศการต้องมีพื้นที่สำหรับนั่ง เราโชคดีที่มีโอกาสยืมที่นั่งในรถไฟเก่าสีแดงจากสมาคมการรถไฟและรถจักรแห่ง นิวซีแลนด์ สาขาไวกาโต ซึ่งในขณะนั้น ที่นั่งถูกเคลื่อนย้ายเป็นการชั่วคราวจากตู้รถไฟเพื่อการซ่อมแซม เราได้ติดตั้งเครื่องเล่นซีดีไว้ใต้ที่นั่งแต่ละตัว เรื่องราวคำบอกเล่าได้รับการถ่ายทอดผ่านลำโพงที่มีเครื่องขยายเสียงภายใน เสียงจะดังในระดับของหูจากด้านหลังพนักที่นั่ง การวางตำแหน่งของลำโพงไว้ในบริเวณดังกล่าวช่วยลดระดับเสียงให้พอดีกับการฟัง อย่างสบายๆ และเสียงจะไม่ไปรบกวนส่วนอื่นของนิทรรศการ เพื่อเน้นเสียงบอกเล่า การจัดแสงจึงอยู่ในระดับจำกัด ผนังทาสีเขียวเข้ม และมีเพียงดวงไฟส่องเฉพาะจุดที่นั่งรถไฟและภาพถ่ายที่รายล้อม เป้าหมายของนิทรรศการเราเริ่มจากเป้าหมายสามประการสำหรับการทำนิทรรศการประวัติศาสตร์คำบอกเล่าเพื่อนำเสนอคำพยานให้หลากหลายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อผลักดันให้ผู้ชมย้อนกลับไประลึกถึงความทรงจำของตนเองเพื่อให้ผู้ชมบอกกล่าวถึงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นและความทรงจำของตนเองแต่ การที่จะไปถึงเป้าหมายเหล่านี้ได้ ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก การตัดต่อ และการจัดวางลำดับ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในระหว่างการทำงานกับคำบอกเล่าที่บันทึกในแถบบันทึก เสียง และจากคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ภัณฑารักษ์ เราได้ตกลงร่วมกันว่านิทรรศการควรใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงในการเยี่ยมชม นิทรรศการแต่ละส่วนจึงควรมีเสียงคำบอกเล่ายาวไม่เกินสิบนาที โดยสรุปแล้วเราต้องคัดเลือกประวัติศาสตร์คำบอกเล่าให้เหลือเพียงหกสิบนาที จากปริมาณคำสัมภาษณ์มากกว่าสามร้อยชั่วโมง! สำหรับ สี่ส่วนแรกของนิทรรศการที่ว่าด้วยเรื่องเด็ก วัยรุ่น ผู้หญิง ผู้ชาย เราตัดสินใจวางกรอบของเนื้อหาให้อยู่ในสามประเด็นกว้างๆ คือ ชีวิตครอบครัว การทำงาน และการพักผ่อน ด้วยเงื่อนไขเวลาเพียงสิบนาทีของเสียงในแต่ละส่วน จึงมีการอ้างอิงคำพูดเพียง 2 – 3 ชุด ในแต่ละหัวข้อ ตัวอย่างเช่นในส่วนที่ว่าด้วยเรื่องเด็ก ประกอบด้วยคำพูดจากคำบอกเล่าชุดย่อยยี่สิบชุด นั่นหมายถึงการได้ฟังเพียงครึ่งนาทีในแต่ละชุด การคัดเลือกความต้องการนำเสนอประสบการณ์จากประวัติศาสตร์คำบอกเล่าที่หลากหลายเป็นข้อปัญหา ใหญ่หลวงตั้งแต่เริ่มแรก ในเบื้องต้นเรากำหนดว่าจะรวบรวมประสบการณ์ตรงให้ได้มากที่สุด เงื่อนไขนี้จำกัดวงของข้อมูลให้แคบลงมาที่ประเภทของข้อมูลที่จัดการได้ คุณภาพของเสียงทำให้เราสามารถเลือกใช้เฉพาะแถบบันทึกเสียงบางส่วน และคุณภาพเสียงกลับเล่นบทบาทสำคัญในการคัดเลือกมากกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ เรายังพบด้วยว่าเสียงรบกวนจากภายนอกทำให้เรื่องราวจากการบันทึกบางส่วนไม่ สามารถนำมาใช้ได้ในนิทรรศการ เป็นต้นว่าเสียงหอบของสุนัข เสียงตีบอกเวลาของนาฬิกา และเสียงแทรกอื่นๆ ของผู้ให้สัมภาษณ์ แต่เรายังมีเรื่องราวอีกจำนวนมากพอที่จะนำมาใช้ในนิทรรศการ เรากำหนดเกณฑ์การเลือกเรื่องเล่าออกเป็นสองประเภท เกณฑ์แรกคือความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมในการจัดแสดงหรือนิทรรศการ และเป็นเนื้อหาที่ดึงดูดความสนใจของผู้คน เราพยายามเลือกเนื้อหาที่อยู่ในความสนใจของผู้เข้าเยี่ยมชม ด้วยเหตุนี้ เราจึงลงความเห็นร่วมกันในการใช้ประเด็นกว้างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ชีวิตครอบครัว และกิจกรรมการละเล่น/ ชุมชน เป็นแกนหลักของเนื้อหาในสี่ส่วนแรกของนิทรรศการ อย่างไรก็ดี เราต้องยอมรับว่ามีแง่มุมอื่นที่แตกต่างจากสิ่งที่เราเลือก การคัดเลือกเรื่องราวที่นำเสนอเหล่านี้มุ่งหมายให้เกิดความสัมพันธ์กับกลุ่ม ผู้เยี่ยมชมในปัจจุบันมากที่สุด นั่นคือเรื่องเล่าที่มีชีวิตชีวา ที่แสดงอารมณ์และความรู้สึก เกณฑ์ ที่สองของการเลือกเนื้อหาขึ้นอยู่กับน้ำหนักของหลักฐานเรื่องราวคำบอกเล่า เราตัดสินใจที่จะใช้เนื้อหาที่สามารถเป็นตัวแทนโดยรวมได้ เนื้อหาและมุมมองจากคำพยานได้รับการคัดเลือก(เชื่อมโยงด้วยการใช้คำบรรยายน้อยที่สุดที่ช่วยให้หัวข้อแต่ละประเด็นเกี่ยวเนื่องกันอย่างราบรื่น) แต่ การคัดเลือกแบบนี้ก็อาจเป็นที่กังขาได้ในโลกหลังสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม การทำงานเช่นนี้มีข้อดีอยู่ไม่น้อย ตัวเลือกของเรื่องราวที่จะเป็นภาพตัวแทนเสริมแกนหลักของนิทรรศการได้ดีขึ้น ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ ในส่วนนิทรรศการวัยเด็ก การสัมภาษณ์เกือบทุกชุดจะกล่าวถึงการลงโทษทางร่างกายอย่างรุนแรง ไม่ที่โรงเรียนก็ที่บ้าน เนื้อหาเหล่านี้สะเทือนใจลึกซึ้ง และบ่งชี้ให้เห็นประสบการณ์ของความรุนแรงทางร่างกายที่เป็นความทุกข์ที่ฝัง ใจลึกไปชั่วชีวิต แต่ก่อนผู้คนมักลงโทษทุบตีลูกๆ ของตนเอง ฉันหมายถึง...พระเจ้าช่วย...แม่ของฉันตีฉันจนได้เลือดและชีวิตของฉันเหมือนตกนรกทั้งเป็น ฉันหมายถึงอย่างนั้นจริงๆ... เพียงเพราะฉันไปเซ้าซี้กวนใจท่าน คุณก็คงรู้ แต่นั่นแหละคือสิ่งที่เกิดขึ้น8ฉันคิดว่าฉันเป็นคนหนึ่งที่ต้องคอยหาที่ซ่อน เพียงเพราะฉันเคยเถียงย้อนเขากลับไป...ฉันจำได้ว่าครั้งหนึ่งเมื่อฉันเล่นอยู่บนถนนที่เคยเล่นอยู่เป็นประจำในเลคโรด (Lake Road) ที่ อยู่ไม่ไกลบ้านเท่าไหร่ พอกลับมาบ้าน ตอนนั้นก็มืดแล้วละ พ่อเอ็ดตะโรฉันใหญ่เลย “เร็วๆ เข้า” ฉันก็ตอบกลับไปว่า “ก็มาแล้วนี่ไง” เมื่อฉันมาถึงประตูหลังบ้าน เขาก็รออยู่หลังประตู แล้วก็กระแทกบานประตูใส่ฉัน ฉันช้ำไปหมดทั้งตัวเลย9 ข้อด้อยของการเลือกเรื่องราวที่เป็นภาพตัวแทนอยู่ที่ว่าอาจกลายเป็นการสร้างภาพ ประสบการณ์ที่ตายตัว ประเด็นนี้เป็นข้อถกเถียงอย่างมากในส่วนที่ว่าด้วยผู้หญิง ซึ่งเนื้อหาที่พูดถึงงานบ้านและความเป็นแม่กลบประเด็นอื่นๆ ไปหมดGaby Porter เตือนเราได้อย่างถูกต้องเกี่ยวกับข้อเสี่ยงที่จะนำเสนอภาพแคบๆ ของผู้หญิงเฉพาะในครัวเรือน10 อัน ที่จริงนั้น เราไม่ต้องการที่จะย้ำความเชื่อเดิมๆ ที่ว่าสถานที่ของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วก็มีเพียงบ้าน แต่เราก็ต้องรักษาความสัตย์ตรงต่อข้อมูลประสบการณ์ที่กล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่า จากคำบอกเล่า ซึ่งพรรณนาถึงงานหนักแรงเกี่ยวกับการดูแลบ้านและครอบครัวที่มีเด็กๆ ห้าถึงหกคน ก่อนที่จะเริ่มมีการได้ครอบครองตู้เย็น เตาแก๊สหรือเตาไฟฟ้า และเครื่องซักผ้า เรื่องราวเช่นนี้เป็นกิจกรรมเศรษฐกิจของครัวเรือนที่ขาดเสียมิได้ของกลุ่ม ผู้หญิงชนชั้นแรงงานที่ต้องหลอมทองแดงและซักล้างทุกอย่างด้วยมือ รวมทั้งงานขัดถูพื้นและทำอาหารด้วยเตาฟืนหรือเตาถ่านในยามวิกาลสำหรับสมาชิก ในครัวเรือน ล้วนเป็นงานบ้านที่ต้องใช้ทั้งเวลาและแรงกาย นี่คือสภาพที่เกิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ผ่านมา11 และเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับงานบ้านในสังคมร่วมสมัย คำบอกเล่าเช่นนี้ท้าทายให้เกิดการเปรียบเทียบกับสถานการณ์ปัจจุบัน การตัดต่อการตัดต่อคำพยานต่างๆ จากแถบบันทึกเสียงเพื่อนำไปใช้ในนิทรรศการ เข้าไปสัมพันธ์กับเรื่องที่ต้องพิจารณาทั้งเชิงเทคนิคและเชิงจริยธรรม เราโชคดีที่ได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์Pro-Tools ในการตัดต่อบันทึกคำสัมภาษณ์ แต่กระบวนการนี้ใช้เวลามากและค่าใช้จ่ายสูงมากกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ เราใช้เวลาประมาณ 5 วัน ในการแปลงสัญญาณจากระบบอนาล็อกไปเป็นดิจิตอล และจะต้องตัดต่อคำสัมภาษณ์ทุกชุด ทั้งๆ ที่งบประมาณมีให้เพียง 5 ชั่วโมง การสัมภาษณ์ดำเนินไปภายในบ้านของผู้ให้สัมภาษณ์ โดยทั่วไปแล้วคุณภาพของเสียงใช้ได้ทีเดียว แต่ระดับเสียงของผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคนแตกต่างกันมาก เราจึงพยายามทำให้เสียงมีระดับใกล้เคียงกัน เพื่อให้ผู้ฟังนิทรรศการไม่ลำบากมากนักในการฟังเสียงดังและค่อย แต่ทำได้ในระดับที่จำกัดเท่านั้น อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นจะต้องตัดเสียงแทรกบางอย่างออกไป เสียงหัวเราะที่ดังหนวกหูและเสียงรบกวนอื่นๆ โดยระวังไม่ไปก้าวก่ายกับเสียงของผู้ให้สัมภาษณ์ ในขณะเดียวกันเราได้ขอให้นักศึกษาจำกัดการแสดงออกในการโต้ตอบกับผู้ให้ สัมภาษณ์ (หัวเราะ ผงกศีรษะ) แต่ บางคนไม่ได้ระวังในเรื่องนี้ นอกจากนี้ มีนักศึกษาบางคนร่วมสนทนาอย่างถึงอกถึงใจ ทั้งการแสดงอารมณ์และความสนใจร่วม ซึ่งเป็นการสร้างบรรยากาศการบอกเล่าเรื่องราวที่มีชีวิตชีวามากขึ้น ดังนั้น แม้เรื่องเล่าจะผ่านการตัดต่อมากมาย แต่กลายเป็นแก่นแกนหลักของนิทรรศการได้ในที่สุดขณะที่เราต้องใช้เสียงบันทึกในการจัดแสดง เราก็จำเป็นต้องคำนึงถึงการปกป้องความเป็นจริงส่วนบุคคลของความทรงจำของผู้ คน สิ่งสำคัญคือการไม่บิดเบือนความตั้งใจต่างๆ ของผู้ให้สัมภาษณ์และไม่ทำให้คำพยานผิดเพี้ยนไป การตัดต่อคำสัมภาษณ์เพื่อนำมาจัดแสดงกลายเป็นเรื่องของการสร้างความสมดุลย์ ระหว่างคำสัมภาษณ์ที่สั้น แต่สร้างความรู้สึกหรือส่งผลกระทบทางอารมณ์บางอย่าง กับความตั้งใจของผู้เล่าที่ต้องการอธิบายหรือสร้างข้อสรุปที่คลุมเครือของ เรื่องราวเหล่านั้น ตัวอย่างที่จะแสดงต่อไปนี้สะท้อนความคลุมเครือดังกล่าว คำพยานนี้เป็นส่วนหนึ่งของส่วนจัดแสดงเรื่องของผู้ชายMatt Andrew แสดงให้เห็นว่าแม้ผู้คนจำนวนหนึ่งจะยกย่องสรรเสริญวัฒนธรรมการทำงานของเพศชาย ขณะเดียวกันก็มีคนไม่ได้เห็นเป็นอย่างนั้นเสียทีเดียว แต่อีกนั่นแหละ มันถูกรวมเข้าไปในงานที่คุณทำอยู่ และขณะเดียวกัน ก็บอกถึงความโดดเดี่ยวของคุณในครอบครัว ในคืนหนึ่ง ผมนั่งทำเอกสารบางอย่างในห้องนั่งเล่น และได้ยินเสียงคุยดังมาจากห้องครัว ทั้งลูกชายลูกสาวและภรรยาของผม และผมได้ยินเรื่องราวอย่างชัดเจน ผมคิดว่าในขณะนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อมาน่าจะเป็นว่า เดี๋ยวต้องคุยกับพ่อด้วย แต่แล้วการพูดคุยถกเถียงก็ยังคงดำเนินต่อไปและลงเอยไปในที่สุด ทั้งๆ ที่ผมเองยังคงนั่งอยู่ตรงนั้น ผมตระหนักขึ้นมาทันทีว่าผมได้กลายเป็นส่วนเกินของครอบครัวไปแล้ว ผมไม่มีโอกาสเข้าร่วมตัดสินใจใดๆ อีกต่อไป ผมจะไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในโอกาสเช่นนั้นอีกต่อไป การตัดต่อคำสัมภาษณ์ในครั้งแรกจบลงตรงนี้ และเนื้อความของเรื่องราวก็ชัดเจน อย่างไรก็ตามผู้ให้สัมภาษณ์ได้กล่าวต่อว่าบางคนอาจไม่คิดอะไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น แต่สิ่งนั้นกลับกวนใจผมจนกระทั่งผมตัดสินใจที่จะลาออก ผมจะไม่รอจนกระทั่งถึงการเลือกตั้งที่ปรึกษาระดับประเทศครั้งต่อไป12 ส่วนท้ายของคำพยานอาจทำให้ไขว้เขวไปจากผลกระทบของเรื่อง แต่ก็ทำให้เข้าใจได้ว่าเหตุใดผู้เล่าจึงเลือกกล่าวถึงประสบการณ์นี้โดยเฉพาะ เจาะจง เขาตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งในสหพันธ์การรถไฟ เนื้อหาที่เพิ่มเข้าไปตรงนี้ส่งผลให้ผู้ฟังเข้าใจจุดประสงค์ของการบอกเล่า ซึ่งบ่อยครั้งเป็นการย้ำทวนเรื่องราวในอดีต การจัดลำดับการจัดลำดับบันทึกคำสัมภาษณ์แสดงถึงอิทธิพลการทำงานของภัณฑารักษ์ต่อการใช้ ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าในอีกแง่มุมหนึ่ง การจัดลำดับนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในส่วนสุดท้ายของนิทรรศการ – เรื่องเล่าและตำนาน – ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างมิติเชิงจินตนาการและอารมณ์ร่วมให้กับความทรงจำ หนึ่งในตำนานเกี่ยวข้องกับพายุทอร์นาโดในปี 1948 พายุครั้ง นั้นก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง รวมถึงคนตายจำนวนสามคน เหตุการณ์ดังกล่าวยังคงอยู่ในความทรงจำของผู้คน เรื่องราวเหล่านั้นผสมปนเประหว่างประสบการณ์ตรง สิ่งที่ได้ยินมา และจินตนาการ Jane Moodie ปรารถนา จะแสดงให้เห็นตำนานของชุมชนที่วิวัฒนาการไปตามช่วงเวลา ผ่านรายละเอียดเกี่ยวกับทอร์นาโดที่มีทั้งการเล่าซ้ำย้ำทวน ประกอบด้วยอารมณ์ขันและเนื้อหาที่ขยายเกินจริง จากเรื่องราวที่มีอยู่มากมาย เธอเลือกตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการจากเรื่องเล่าธรรมดาไปสู่เรื่อง ราวที่ผสมจินตนาการ เมื่อทอร์นาโดถล่ม เราตกอยู่ท่ามกลางพายุ หลังคาบ้านทั้งหลัง แม้แต่เพดานก็หลุดล่อนไปด้วย บ้านกลับปกคลุมไปด้วยเถ้าถ่านรถไฟหนาสี่ถึงห้านิ้ว แล้วฝนตกอย่างหนักตามมาเมื่อทอร์นาโดผ่านไป ฝนได้ชะล้างเถ้าถ่านที่หนาและสกปรกลงมาที่ผนังและเปรอะไปทั่วบ้าน ช่างไม่น่าเชื่อเลยจริงๆ13แต่คุณนายฮิลลงไปที่ถนน พวกเขามีราวเสื้อผ้าที่ม้วนได้ และสามีของเธอเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยทางรถไฟในขณะนั้น เธอได้ยินเสียงที่น่าสะพรึงกลัว เธอวิ่งออกไปข้างนอก และเห็น ราวเสื้อยาวกว่า50 ฟุต ลอยไปในอากาศ แล้วก็หมุนคว้างกลางอากาศ หมุนแล้วหมุนอีก เธอมีชุดฟอร์มการรถไฟติดไปกับราวตากเสื้อนั้น มันหมุนแล้วหมุนเล่า ชุดเหล่านั้นยืดตรงแน่วเลย14ใช่แล้ว ฉันอยู่ที่นั่น ตรงนั้น เรากำลังเล่นอยู่ที่สวนเซดดอน และเราลงไปที่แฟรงก์ตัน และมองดูบ้านที่ตั้งอยู่ใกล้ทางรถไฟตรงที่ตัดกับถนนเลค ทั้งน้องสาวและฉัน เราเห็นบ้านที่ถูกยกขึ้นมาลอยข้ามทางรถไฟ ทั้งๆ ที่คนยังนั่งดื่มชาอยู่ที่โต๊ะ15 ปฏิกิริยาในท้ายที่สุด เราหวังว่านิทรรศการทั้งชุดจะผลักดันให้ผู้ชมสะท้อนชีวิตและความทรงจำของตน เอง และเปรียบเทียบกับประสบการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เรายังสงสัยอยู่เสมอว่าคนรุ่นใหม่จะเปรียบเทียบประสบการณ์ของพวกเขากับความ ทรงจำของคนรุ่นก่อนๆ หรือไม่ รวมทั้งบัญญัติทางศาสนาที่เกี่ยวกับครอบครัวและชีวิตการทำงาน การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ต้องโยกย้ายเปลี่ยนที่ในยุคนี้มีส่วนที่คล้าย คลึงกับสถานการณ์ในอดีต นั่นคือ เพศชายมีบทบาทสำคัญในชีวิตครอบครัว คำถามทำนองนี้จะปรากฏอยู่ในคู่มือนำชมนิทรรศการ ซึ่งประกอบด้วยบทสรุปย่อของการจัดแสดงแต่ละส่วน พร้อมด้วยคำถามที่มุ่งหมายให้ผู้ชมได้คิดเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของตนเอง ตัวอย่างเช่นในส่วนจัดแสดงเรื่องของผู้ชาย งานที่ต้องเข้าเป็นกะส่งอิทธิพลต่อประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้ชายที่เคยทำ งานกับการรถไฟนิวซีแลนด์ ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานและไม่สม่ำเสมอส่งผลต่อชีวิตครอบครัวของพวกเขา อย่างไรก็ตาม การทำงานกับการรถไฟยังคงเป็นสิ่งพึงปรารถนา เพราะความมั่นคงในการจ้างงานและโอกาสความก้าวหน้าในการทำงาน ระดับชั้นงานที่จัดตามทักษะความสามารถทำให้เกิดการแบ่งกลุ่มคนทำงาน ขณะเดียวกันความเป็นสหายสนิทมิตรรักระหว่างเพื่อนร่วมงานยังดำรงอยู่เหนียว แน่น o    คุณจะให้นิยามบทบาทของสามีและพ่ออย่างไรในทุกวันนี้? บทบาทเหล่านั้นแตกต่างไปจากความทรงจำที่ปรากฏ ณ ที่นี้หรือไม่o    ชั่วโมงการทำงานที่ไม่สม่ำเสมอส่งผลต่อครอบครัวอย่างไร?เราคิดถึงคำถามที่จะกระตุ้นให้คนแสดงความคิดเห็นต่อนิทรรศการ แต่ด้วยข้อจำกัดต่างๆ เราจึงไม่สามารถบันทึกเรื่องราวคำบอกเล่าในพิพิธภัณฑ์ ดังนั้นเราจึงเลือกใช้สมุดสำหรับแสดงความคิดเห็นวางไว้ที่ส่วนสุดท้ายของ นิทรรศการ สมุดได้บันทึกทั้งความคิดเห็นและความทรงจำจากหน้าต่อหน้า จากผู้ชมรุ่นใหญ่สู่ผู้ชมวัยเยาว์ ความเห็นที่ปรากฏในสมุดไม่ได้ตอบคำถามที่เกริ่นไว้ในแต่ช่วงนิทรรศการ ตรงนี้อาจจะเป็นบทเรียนให้กับภัณฑารักษ์ที่มองทุกอย่างเป็นการถาม-ตอบ ข้อความในสมุดมักเริ่มต้นด้วย “ฉันจำได้ว่า” ซึ่งบอกเป็นนัยว่านิทรรศการได้กระตุ้นให้ผู้ชมสะท้อนความทรงจำของตนเองหรือ ความทรงจำของของพ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย ผู้ชมบางคนอธิบายถึงเนื้อหาที่สังเกตได้มาจากพื้นที่นิทรรศการ ความทรงจำร่วมกันระหว่างชายและหญิง หรือการนั่งฟังคำบอกเล่าบนที่นั่งรถไฟและได้ฟังคำบอกเล่าจากด้านเดียว บางคนเห็นว่านิทรรศการกระทบอารมณ์ได้อย่างลึกซึ้ง อย่างที่ผู้ชมคนหนึ่งได้เขียนประโยคง่ายๆ “ฉันร้องไห้ ความทรงจำของความรู้สึก” ในหน้าสมุดบันทึกมีความเห็นเพียงน้อยนิดเท่านั้นที่กล่าวถึงความรู้สึกอึด อัดของการไม่มีวัตถุจัดแสดง ในขณะที่มีความเห็นอีกมากมายที่ยินดีต่อการจัดนิทรรศการด้วยวิธีการดังกล่าว “เรื่องราวจริงๆ ดีใจที่ได้ฟังผู้คนบอกเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเขาด้วยตัวของเขาเอง” และ “นิทรรศการน่าสนใจอย่างมหัศจรรย์ ควรจะทำเรื่องราวประวัติศาสตร์คำบอกเล่าอย่างนี้ ให้มากขึ้นอีก” บทสรุปเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะสร้างนิทรรศการจากประวัติศาสตร์คำบอกเล่าในลักษณะของเสียง? นิทรรศการ ชุมทางรถไฟแฟรงก์ตันได้ให้คำตอบในทิศทางที่เห็นพ้องด้วย คำพยานได้สื่อสารกับผู้เข้าชมแต่ละคนโดยตรง และน้อมนำประสบการณ์อันมั่งคั่งและจินตนาการที่เพียบพร้อมมาตรึงความสนใจของ ผู้คน ประเด็นในนิทรรศการอันได้แก่ ชีวิตครอบครัว วัยเด็กและการทำงาน สะท้อนมาถึงพวกเราทั้งมวล ผู้คนจะนั่งและฟัง หากเรื่องราวเหล่านั้นน่าสนใจ และบรรยากาศโดยรอบสร้างความรู้สึกสบายและเชื้อเชิญ ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะกีดกั้นให้ประวัติศาสตร์คำบอกเล่าต้องไปประดับอยู่ที่ผนัง หรือจุดฟังเสียง แผงจัดแสดง หูฟัง หรือร้ายกว่านั้น คือ ในห้องสมุด!สำหรับพิพิธภัณฑ์เองนั้น นิทรรศการดึงดูดความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ และชักจูงใจผู้ชมที่ไม่เคยเข้ามาชมพิพิธภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม บุคลากรที่จะพัฒนานิทรรศการที่จะต้องใช้เวลาในการทำงานมากเช่นนี้เป็นเรื่อง ที่เป็นไปได้ยากสำหรับพิพิธภัณฑ์ การประสานโครงการดังกล่าวเข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และการหาทุนภายนอกมาสนับสนุน ได้ทำให้โครงการที่ต้องใช้ทั้งคน การลงแรงสัมภาษณ์และบันทึกคำบอกเล่า และสร้างนิทรรศการ ที่ใช้เวลาเบ็ดเสร็จถึงสองปีครึ่งนั้นเป็นไปได้ การนำเอาเรื่องราวประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปสู่ชุมชน จำเป็นต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้ให้สัมภาษณ์ยังคงมีชีวิตอยู่ที่จะฟังเรื่องเหล่านั้น ความรัก แรงงาน และตำนาน(Love, Labour and Legend) เป็น รางวัลจากความร่วมมือระหว่างนักวิชาการประวัติศาสตร์และเจ้าหน้าที่ พิพิธภัณฑ์ ในปริมณฑลแห่งประวัติศาสตร์ของสาธารณชน ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะมีนิทรรศการที่บอกเล่าด้วยตัวเองมากยิ่งขึ้นในอนาคต เชิงอรรถ1 S. Davies, ‘Falling on deaf ears? Oral history and strategy in Museums’, Oral History, Autumn 1994, vol. 22, no. 2, p. 74.2 G. Griffiths, ‘Oral History’, in D. Fleming, C. Paine and J. Rhodes (eds.), Social History in Museums: A Hand Book for Professionals, London: HMSO, 1993, pp. 111-116.3 G. Cavanagh, ‘The future of Museum social history collecting’, Social History in Museums, 1993 vol. 20, p.61.4 J. Urry, ‘How Societies remember the past’, in S. Macdonald and G. Fyfe (eds.), Theorizing Museums, Oxford: Blackwell/The Sociological Review, 1996, p. 50.5 M. Frisch, A Shared Authority: Essays on the Craft and Meaning of Oral and Public History, New York: State University of New York Press, 1990, p. 27.6 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Sally Parker (Senior Curator), Michele Orgad (Exhibitions Manager), Max Riksen (Designer), Stephie Leeves (Photographer), Kent Eriksen (Exhibition Preparator).7 สมาชิกของกลุ่มนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ร่วมจัดนิทรรศการ ได้แก่Matt Andrew, Chanel Clarke, Sue Garmonsway และ Jane Moodie.8 Frankton Oral History Project (FOHP) การสัมภาษณ์ 172, เทป 1, ด้าน บี, 39.4 นาที9 FOHP, การสัมภาษณ์ 157, เทป 1, ด้าน บี, 18.6 นาที.10 G. Porter, ‘Putting your house in order: representations of women and domestic life’, in R. Lumley (ed.), The Museum Time Machine, London: Routledge, 1988, pp. 102-127.11 See S. Garmonsway, ‘Just a wife and mother: the experiences of Frankton women, 1940-1960’, unpublished MA thesis, University of Waikato, 1996.12 FOHP, การสัมภาษณ์ 022, เทป 1, หน้า บี, 7.1 นาที.13 FOHP, การสัมภาษณ์ 014, เทป 1, หน้า บี, 17.6 นาที.14 FOHP, การสัมภาษณ์ 172, เทป 1, หน้า บี, 28.2 นาที.15 FOHP, การสัมภาษณ์ 187, เทป 1, หน้า บี, 6.0 นาที.แปลและเรียบเรียงจากAnna Green, “the Exhibition that Speaks for Itself”: Oral History and Museums. Robert Perks and Alistair Thompson (eds.), The Oral History Reader, 2nd edition, London; New York: Routledge, 2006, pp.416-424.

นักสะสมกับการสะสม (Collectors and Collecting)

20 มีนาคม 2556

          บทความนี้มุ่งไปยังกิจกรรมการสะสมส่วนบุคคล แม้จะเห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า  “การสะสมคือการบริโภค(consumption) นักสะสมมีความสุขตรงที่ได้แสวงหาสิ่งของเพื่อเติมเต็มคอลเล็กชั่นของตนให้สมบูรณ์ แม้ของเหล่านั้นเป็นของฟุ่มเฟือยที่หาประโยชน์อะไรไม่ได้”  แต่ในขณะเดียวกันข้าพเจ้า(ผู้เขียนบทความ) ก็ยังเชื่อด้วยว่า การสะสมอาจเป็นกิจกรรมที่ต่อต้านวัตถุนิยม (anti-materialistic)ได้ด้วยเช่นกัน          Abbas(1988) กับ Appadurai(1986) บอกว่า สำหรับนักสะสมแล้ว การเสาะหาวัตถุเพื่อเข้าสู่คอลเล็กชั่นเป็นการกระทำของการทำให้เกิดการโดดเด่นขึ้น(singularizing) กับเป็นการลดทอนการเป็นสินค้าทั่วไป(decommoditizing)โดยเมื่อวัตถุเข้าสู่คอลเล็กชั่น การเป็นสินค้าที่ซื้อมาขายไปแบบเดิมของมันจะยุติทันที และกลายเป็นของที่โดดเด่นที่ไม่ได้แลกเปลี่ยนอย่างเสรีกับสิ่งของที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเท่ากันอีกต่อไป มูลค่าของมันได้ไปผูกติดกับคอลเล็กชั่นทั้งหมด ซึ่งคอลเล็กชั่นก็คือ กลุ่มสิ่งของที่นักสะสมสร้างขึ้นมา บ่อยครั้งเป็นการนำวัตถุออกมาจากวงจรเศรษฐกิจเดิมของมัน หรือชุบตัวมันจากของไร้ค่ากลายเป็นของขึ้นหิ้งไป จะเห็นว่าการบูชา (ritual act) วัตถุแบบนี้ ได้แยกเรื่องประโยชน์ใช้สอยของวัตถุที่เป็นเพียงสินค้าที่สร้างขึ้นด้วยเป้าหมายที่ตายตัวออกไป นักสะสมถูกมองว่า เป็นผู้ขี่ม้าขาวและผู้ช่วยชีวิตวัตถุมากกว่า เป็นนักบริโภคที่เห็นแก่ตัวและละโมบ          มุมมองที่หลากหลายว่าด้วยเรื่องนักสะสมในฐานะผู้บริโภคที่เห็นแก่ตัว และนักสะสมในฐานะฮีโร่โรแมนติก ต่างก็มีปรากฏอยู่ในงานวิจัยและบทความเกี่ยวกับการสะสมดังที่จะกล่าวต่อไปจากนี้ในบทความจะทบทวนประเด็นต่างๆ  ดังนี้-       นิยามของการสะสมและความพิเศษของมันที่ทำให้ต่างกับกิจกรรมอื่น ๆ-       สถานภาพของการสะสมในมิติประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เน้นที่จุดกำเนิดและการแพร่หลาย-       ใครคือนักสะสม, การสะสมเกิดขึ้นได้อย่างไร และผลที่ตามมาของการสะสมทั้งในแง่ปัจเจกและสังคม-       ทบทวนงานวิจัยและทฤษฎีเกี่ยวกับการสะสม วีธีวิทยาและแนวคิดต่าง ๆ-       พื้นที่ที่จะต้องการการวิจัยเพิ่มเติม นิยามการสะสม            ถ้าการสะสมเป็นการบริโภค มันก็คือประเภทของการบริโภคที่พิเศษกว่าแบบอื่น ในทางภาษาการบริโภคหมายถึงการใช้ให้หมดไป การตะกลาม หรือการล้างผลาญ แต่ในทางกลับกัน การสะสมก็เกี่ยวกับการเก็บ(keeping)รักษา(preserving)และสะสม(accumulating)หรือแม้แต่การสะสมประสบการณ์ที่จับต้องไม่ได้(เช่น คอลเล็กชั่นรายชื่อประเทศที่เคยไปเที่ยวมาแล้ว, การดูนก หรือจำนวนการเปลี่ยนคู่นอน) มีความรู้สึกของการเก็บไว้ในความทรงจำเข้ามาเกี่ยว สำหรับบางคนมื้ออาหารอาจหมายถึงการได้กินดื่ม ในขณะที่อีกคนมื้ออาหารเป็นประสบการณ์ในเชิงสังคมและรสชาติที่ทำให้เจริญอาหารและติดอยู่ในความทรงจำ ยกตัวอย่างการสะสมไวน์ ไวน์เป็นทั้งของสะสมและการบริโภคด้วย ช่องว่างในตู้ไวน์อาจหมายถึงตัวแทนของวาระสำคัญ, อาหาร และการสังสรรค์กับคนรู้ใจ ดังนั้น คอลเล็กชั่นอาจจะเป็นลำดับเหตุการณ์ต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงวัตถุที่อยู่ในความครอบครองในปัจจุบัน แต่อาจเป็นสิ่งที่เคยอยู่ในการครอบครองด้วยก็ได้            เมื่อมีการสะสมสินค้าอุปโภคบริโภค เราต่างแยกการสะสมให้โดดเด่นออกจากการสะสมประเภทอื่นและกิจกรรมการบริโภคแบบอื่น ในที่นี้การสะสมจึงหมายถึง            “กระบวนการการได้มาและการครอบครองของวัตถุที่เต็มไปด้วยความกระตือรือล้น, การเลือกสรร  และความหลงไหล ที่เคลื่อนย้ายวัตถุออกจากประโยชน์การใช้สอยเดิม และวัตถุนั้นถูกรับรู้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุดของวัตถุหรือประสบการณ์ที่ไม่เหมือนกัน”            นิยามนี้แยกการสะสมออกจากการบริโภคธรรมดาทั่วไป ขึ้นกับนักสะสมที่เคลื่อนย้ายวัตถุออกจากการใช้งานเดิมและวางพวกมันอยู่ในชุดที่ตัวเองนิยามไว้ ในขณะที่บางคอลเล็กชั่นเป็นวัตถุที่มีประโยชน์ใช้สอยเช่น ที่ใส่เกลือกับพริกไทย แต่เมื่อของสิ่งนี้เข้าไปสู่คอลเล็กชั่น มันก็ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเครื่องปรุงรสอีกต่อไป การนิยามยังแยกการสะสมออกจากการรวบรวมหรือการกองระเกะระกะ แต่คอลเล็กชั่นต้องถูก “เลือก” อย่างน้อยอยู่บนฐานของขอบเขตชุดของวัตถุที่จะสร้างขึ้นเป็นคอลเล็กชั่น และการสะสมก็ต่างจากโกดัง(stock) ตรงที่จะไม่เก็บของที่ซ้ำกัน ตั้งอยู่บนกฎที่ว่าไม่เก็บของซ้ำกันสองชิ้น (no two alike)            จากนิยามข้างต้นคงจะช่วยให้แยกแยะได้ว่าของธรรมดาในบ้าน เช่น แผ่นเสียง หนังสือ หรือภาพถ่าย จะถือว่าเป็นการสะสมหรือไม่ ถ้าของเหล่านี้ถูกหยิบฟังได้อย่างเสรี ถูกหยิบมาอ่าน หรือภาพถ่ายที่เก็บไว้เป็นที่ระลึกเตือนความทรงจำ การใช้งานอย่างธรรมดานี้ไม่นับว่ามันคือส่วนหนึ่งของการสะสม แต่ถ้ามันถูกให้ค่าว่ามีการเก็บเป็นหมวดหมู่โดยไม่ว่าเป็นเกณฑ์ทางด้านความงามหรือวิทยาศาสตร์ นั่นแหละถึงจะเรียกว่าเป็นการสะสม(collecting)            นิยามของการสะสมที่จะใช้ในที่นี้อีกประการหนึ่งคือ การแยกออกจากกันระหว่างนักสะสมที่กระตือรือล้นในการแสวงหาวัตถุ กับภัณฑารักษ์ที่ไม่ได้ดิ้นรนในการหาของ ภัณฑารักษ์อาจจะเป็นนักสะสมที่เสาะแสวงหาวัตถุสำหรับคอลเล็กชั่นหนึ่ง แต่เมื่อการค้นหาสิ้นสุดลง การสะสมก็หยุดลงด้วย ในทำนองเดียวกัน ผู้รับมรดกบางคนหรือคนที่ซื้อคอลเล็กชั่นเข้ามาโดยปราศจากการหามาเพิ่ม หรือแทนที่วัตถุชิ้นหนึ่งด้วยวัตถุอีกชิ้น ก็เป็นได้เพียงภัณฑารักษ์ ไม่ใช่นักสะสม แต่นิยามนี้ยังชี้ให้เห็นอีกว่า คอลเล็กชั่นยังคงเป็นคอลเล็กชั่นต่อไปแม้นักสะสมสิ้นสุดการเป็นเจ้าของมันแล้ว ตราบใดที่วัตถุนั้นยังคงถูกแสวงหาอย่างเลือกสรร เพื่อที่จะถูกสร้างให้เป็นส่วนหนึ่งของชุดวัตถุที่ไม่เหมือนกัน คอลเล็กชั่นจึงสามารถอยู่คงทนกว่านักสะสม กล่าวได้ว่าการดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องของคอลเล็กชั่น เป็นสัญลักษณ์ของวัตถุซึ่งไม่มีวันตาย ถือเป้าหมายสูงสุดของนักสะสมหลายคน จุดกำเนิดและการแพร่หลายของการสะสม            เมื่อการสะสมเป็นกิจกรรมการบริโภคอย่างหนึ่ง จึงอาจคาดได้ว่าการสะสมอาจพัฒนาและเฟื่องฟูในยุคที่ลัทธิบริโภคนิยมเฟื่องฟูด้วย มีหลักฐานบางอย่างสนับสนุนสมมติฐานนี้ แต่ในขณะเดียวกันก็พบว่าราชสำนัก และวัด ก็มีคอลเล็กชั่น งานศิลปะ สรรพาวุธ และทรัพย์สินมีค่า อยู่ก่อนหน้านั้นแล้วจากงานวิจัยของ Rigby (1944) ชี้ให้เห็นว่าการสะสมเกิดขึ้นแพร่หลายหลังจากอาณาจักรกรีกถูกรวมเป็นปึกแผ่นโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล อันเนื่องมาจากการทะลักเข้ามาของสินค้าฟุ่มเฟือยจากตะวันออก โดยเฉพาะจากเปอร์เซีย วัตถุที่สะสมอาทิ ภาพเขียน ประติมากรรม งานเขียนต้นฉบับ อัญมณี เครื่องปั้นดินเผา พรม เครื่องแขวนผนัง และผ้าปัก เมือง Sicyon กลายเป็นศูนย์กลางในการผลิตและขายงานศิลปะ โดยอาศัยพวกดีลเลอร์เป็นผู้จัดหาของแก่พวกเศรษฐีใหม่เมื่อเมือง Pergamum ที่รุ่มรวยด้วยงานศิลปะ ตกอยู่ภายใต้อาณาจักรโรมันเมื่อ 133 ปี ก่อนคริสตกาล ยิ่งทำให้กระตุ้นความสนใจในการสะสมให้แพร่หลาย เกิดความสนใจใหม่ในศิลปะกรีกและเอเชียในกลุ่มเศรษฐีชาวโรมัน โดยเริ่มขึ้นในอาณาจักรโรมันช่วง 27 ปีก่อนคริสตกาล ดังที่ Rigby(1944) บอกไว้ว่า“ทุกวัน ผู้คนสามารถหาของสะสมได้ตลอดเวลา” ของที่ว่านี้รวมถึง งานศิลปะ, หนังสือ, ของเก่า, เหรียญ, รูปปั้น, เครื่องทองเหลือง, เซรามิก, พรม, เครื่องประดับ, อัญมณี, เฟอร์นิเจอร์, เครื่องเงิน, ฟอสซิล, แมลงในอำพัน ฯลฯ Sicyonยังคงเป็นเมืองศูนย์กลางนักท่องเที่ยวที่มักจะมีของติดไม้ติดมือกลับไปบ้านจำพัก เสื้อผ้าของOdysseusและเกราะของ Achillesระหว่างยุคกลางในยุโรป การสะสมเป็นกิมกรรมหลักของโบสถ์, ราชสำนัก และคนรวย เช่น Duke Jean de Berryและตระกูล  Medici อย่างไรก็ตามการขุดค้นสมบัติอาณาจักรโรมันในระหว่างปี ค.ศ. 1450 – 1550 ทำให้เกิดการสะสมเหรียญ, รูปปั้น และวัตถุโบราณอื่น ๆ แต่ยุคการสะสมเฟื่องฟูที่แท้จริงของคนธรรมดาทั่วไป ในยุโรปและจีนและญี่ปุ่น เริ่มในศตวรรษที่ 16 และ 17 ในแต่ละประเทศดังกล่าว การเติบโตของการสะสมสัมพันธ์กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ถ้าไม่ใช่การค้าในประเทศก็เป็นการค้าต่างประเทศในเอเชียมีความแตกต่างบ้างในชุดของการวัตถุสะสม ของที่นิยม ได้แก่ ชุดน้ำชา, เฟอร์นิเจอร์เครื่องเขิน, ศิลปะการคัดลายมือและหินฝนหมึก, ม้วนภาพวาด, หิน, พิณ, ผ้า, ไม้หายาก, ภาชนะเผาเครื่องหอม, และเครื่องทองเหลืองโบราณ ของสะสมอื่น ๆ อาทิ อัญมณี, เครื่องประดับ, อาวุธ และหนังสือ ซึ่งเหมือนกับพวกยุโรป สำหรับนักสะสมชาวญี่ปุ่นในช่วงยุคเอโดะ(ค.ศ. 1603-1868)ของจากจีนและเกาหลี (ชุดน้ำชา, เครื่องดนตรี, ศิลปะคัดลายมือและกลอน) เป็นของสะสมที่ได้รับความนิยม นักสะสมชาวจีนที่มีชื่อเสียงในยุคกลางราชวงศ์หมิง(1550-1650)คือพวกพ่อค้าเศรษฐีใหม่ ความนิยมที่มากขึ้นแต่งานฝีมือยังกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มชนชั้นสูงที่มีความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับพวกช่าง ทำให้เกิดการขาดแคลนงานศิลปะของแท้ ของเลียนแบบจึงเกิดขึ้น ว่ากันว่าเป็นธรรมดาที่ 1 ใน 10 ของภาพวาดที่มีทั้งหมดเท่านั้นที่จะเป็นของจริงแรงผลักสำคัญของการสะสมในยุโรปในช่วงเวลาเดียวกันคือ การเข้ามาของสิ่งมีค่าจากสหรัฐฯ และจากการค้ากับเอเชีย ระหว่างศตวรรษที่ 16-17 ชาวยุโรปหลายพันสร้างตู้ Wunderkammernที่ใส่ของสะสมที่มาจากดินแดนอื่น  โดยเป็นของจำพวก ฟันสัตว์ รองเท้า ขลุ่ย กระจก เรือแคน ตู้ Wunderkammernเป็นคอลเล็กชั่นของมหาชนที่เป็นต้นกำเนิดของสวนสัตว์และสวนพฤกษศาสตร์ขึ้น แสดงถึงความหลงใหลของชาวยุโรปต่อความเป็นอื่นที่แตกต่างจากตนเองทั่วทั้งยุโรปและอเมริกา การเติบโตของการสะสมมีแนวโน้มที่เป็นผลมาจากการพัฒนาวัฒนธรรมการบริโภค เช่น การแพร่หลายของการสะสมภาพวาดสีน้ำมัน, งานแกะสลัก, หัวทิวลิป, เปลือกหอย, เหรียญ, ก้อนแร่ และวัตถุอื่น ๆ การสะสมกลายเป็นที่นิยมสำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การสะสมกลายเป็นสิ่งเฉพาะมากขึ้น ไม่เพียงแค่ประเภทของวัตถุสะสม แต่ยังรวมถึงช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์, เพศ, ชนิด, ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และการแยกประเภทแบบอื่น ๆที่ถูกกำหนดเข้ามา แม้แต่คอลเล็กชั่นของตุ๊กตา หนังสือการ์ตูน กระป๋องเบียร์หากจะบอกว่าการสะสมเป็นเพียงการแสดงออกถึงวัฒนธรรมบริโภคก็คงจะไม่ถูกซะเดียวที เพราะมีหลักฐานว่าการสะสมเกิดขึ้นก่อนยุคประวัติศาสตร์เสียอีก โดยพบการสะสมก้อนกรวดเมื่อ 8000 ปีที่แล้วในถ้ำของฝรั่งเศส นอกจากนี้ก็ยังพบของสะสมอื่น เช่น ฟอสซิล ควอตซ์  หอยทะเล ในถ้ำอื่น  ๆด้วย นอกจากนี้ชุดของวัตถุเหล่านี้สามารถถูกมองได้ว่าเป็นคอลเล็กชั่นของส่วนบุคคลหรือกลุ่ม แนวโน้มที่ของการเกิดการสะสมจึงชัดเจนว่ามีมาก่อนวัฒนธรรมบริโภคนิยม และก็ไม่ได้ปฏิเสธด้วยว่านักสะสมยุคก่อนประวัติศาสตร์มีความรู้สึกถึงการเสาะแสวงหาและการเป็นเจ้าของ ที่จริงแล้ว ความเชื่อที่ว่าเมื่อคนตายแล้วควรถูกฝังไปพร้อมกับสิ่งของของเขาทำให้เห็นว่าการผูกติดของคนกับวัตถุยังคงมีต่อเนื่องไปถึงโลกหลังความตาย  วัตถุสะสมต่าง ๆ จึงอาจจะรับบางสิ่งบางอย่างมาจากต้นกำเนิดของมัน เหมือนกับที่Miller(2001)บอกว่าบ้านเก่าอาจจะมีผีอยู่ด้วยการแพร่หลายของการสะสมส่วนบุคคลส่วนหนึ่งเกิดมาจากการที่คอลเล็กชั่นที่มักจะอยู่ทนกว่าเจ้าของ นอกจากนี้ยังมีเหตุมาจากคอลเล็กชั่นที่ดีในพิพิธภัณฑ์ ก็มาจากคอลเล็กชั่นส่วนบุคคลที่ดีที่สุดด้วย พิพิธภัณฑ์ได้ให้รูปแบบว่าอะไรคือคอลเล็กชั่นที่ดี ซึ่งเป็นการให้ความชอบธรรมต่อการสะสม คอลเล็กชั่นเหล่านี้นอกจากถูก “บูชา” ในพิพิธภัณฑ์ ยังช่วยนิยามความรู้สึกของอัตลักษณ์ท้องถิ่น, ภูมิภาค และชาติด้วย เมื่อการสะสมของส่วนบุคคลเติบโตขึ้น บางครั้งพิพิธภัณฑ์จึงโตขึ้นตามไปด้วย แม้การสะสมจะแพร่หลายและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ  แต่งานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการสะสมกับมีจำกัดมาก งานวิจัยที่สำคัญเรื่องการสะสม            งานวิจัยส่วนใหญ่ก่อนหน้านี้เรื่องการสะสมคือ งานเชิงประวัติศาสตร์และเน้นไปที่กิจกรรมการสะสมของวัฒนธรรมชนชั้นสูง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานศิลปะ Rigby(1944) ได้ทบทวนกว้าง ๆ เกี่ยวกับงานวิจัยดังกล่าวและยังอธิบายแรงจูงใจของนักสะสมด้วย และมีงานศึกษาที่น่าสนใจด้านอื่น ๆ ในเชิงประวัติศาสตร์ของนักสะสม(ทั้งชีวประวัติ และอัตชีวประวัติ) เช่น Walter Benjamin, Sigmund Freud, Engelman และ Andy Warhol            มีงานวิจัยจำนวนน้อยที่ตรวจสอบการสะสมในแง่กิจกรรมเชิงเศรษฐกิจ ในขณะที่พ่อค้าคนกลางและผู้ผลิตของสะสมอาจจะมองการสะสมในเชิงเศรษฐกิจ แต่นักสะสมส่วนใหญ่ไม่ใช่ นักสะสมดูเหมือนว่าจะได้ประโยชน์แบบอื่นจากกิจกรรมการสะสมของพวกเขา บางครั้งทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวกับการสะสมที่เยี่ยมที่สุดคือ การพยายามเข้าใจว่าประโยชน์ที่ว่านั้นคืออะไร คำถามเรื่องแรงผลักดันของนักสะสมที่ถูกพูดถึงมักจะบอกว่า นักสะสมเป็นคนแปลก, หมกหมุ่น, ต่อต้านสังคม หรือบางคนชอบวัตถุมากกว่าคน ดังที่ Jean Baudrillard (1994)บอกว่า ลักษณะของนักสะสมเหมือนทารกและเป็นพวกขาดบุคลิกภาพ ส่วน Muensterberger (1994)  บอกว่า การสะสมกับอำนาจไสยศาสตร์ของสังคมมนุษย์ที่ยังไม่มีการศึกษา เดินคู่ขนานไปด้วยกัน และมีบางคนก็บอกว่า การสะสมเป็นธรรมชาติที่เลี่ยงไม่ได้ซึ่งมาจากมรดกวิวัฒนาการของมนุษย์ ข้อเสนอเหล่านี้บ่อยครั้งมองว่าการสะสมคล้ายคลึงกับพฤติกรรมของเก็บสะสมของสัตว์ แต่จะเห็นว่านิยามของการสะสมที่เราพูดถึงก่อนหน้านี้ ไม่เหมือนการเก็บสะสม(เชิงหวง/ซ่อน)ของสัตว์ ยิ่งกว่านั้น ความโดดเด่นของนักสะสมคือ เขาจะมีความต้องการที่จะสะสม และมีความปรารถนาอันแรงกล้า การสะสมของพวกเขาจึงน่าจะแตกต่างจากพฤติกรรมของสัตว์ นักเขียนในนิตยสารไทม์ของลอนดอน นำจดหมายถึงบรรณาธิการที่พูดถึงเรื่องนี้ว่า            “หมาที่เก็บกระดูกเก่า ซึ่งเกือบจะไม่มีเนื้อติดเอาไว้ ก็เหมือนกับนักสะสมที่เก็บของที่ล้าสมัยแล้วไว้ แสตมป์ที่ใช้แล้วสำหรับคนแล้วก็เหมือนกระดูกที่ไม่มีเนื้อติดของหมา แต่นักสะสมแสตมป์ก้าวไปไกลยิ่งกว่าหมาตรงที่ชอบแสตมป์เก่ามากกว่าใหม่ ในขณะที่หมาไม่ใช่ นักสะสมมีอะไรซับซ้อนมากกว่า เนื่องจากเขามักมีจินตนาการอยู่ก่อนแล้วเกี่ยวกับคอลเล็กชั่นที่สมบูรณ์แบบ แต่ไม่มีหมาที่ไหนจะฝันถึงการได้มาของกระดูกแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลก”            Clifford(1985) บอกว่า เมื่อเราสอนเด็กถึงกฎของการเลือกเฟ้นและระบบการตั้งชื่อ เพื่อแนะแนวทางการสะสมให้พวกเขา ในขณะเดียวกันเราก็กระตุ้นให้เขาเสาะหาและเกิดความต้องการในการเป็นเจ้าของในสิ่งที่สะสมด้วย            แนวคิดอื่น ๆ เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักสะสมเป็นเรื่องเชิงจิตวิทยามากขึ้น มีผู้เสนอว่าการสะสมเกิดมาจากความต้องการทางเพศและความหมกหมุ่นของนักสะสมที่ชอบการมอง การได้มา และหลงใหลในวัตถุที่สะสม โดยเป็นรูปแบบหนึ่งของความรู้สึกทางเพศก่อนการร่วมสังวาสและการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังมีคนอธิบายว่าการสะสมเหมือนกับกิจกรรมการแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย เหมือนกับการล่าหรืออยู่ในสมรภูมิ บางคนบอกว่าการสะสมคือโรคหรือภาวะที่ถูกครอบงำอย่างหนึ่ง และบางคนบอกว่านักสะสมพยายามที่จะเติมเต็มสิ่งที่เขารักที่เขารู้สึกว่าขาดหายใจในวัยเด็ก            นักจิตวิทยาการศึกษาได้ศึกษาถึงพฤติกรรมการสะสมของเด็กในระหว่างครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 การศึกษาในปี 1900 พบว่านักเรียนมีคอลเล็กชั่นโดยเฉลี่ยระหว่าง 3-4 อย่าง มีมากสุดในเด็กอายุ 8-11 ปี การสะสมเริ่มลดน้อยลงในปี 1927 ในระหว่างเศรษฐกิจขาลงในทศวรรษที่ 1930 โดยพบกว่าเด็กอายุ 10 ปี มีคอลเล็กชั่น 12.7 อย่าง ซึ่งการสะสมนี้เกิดจากการว่างงานและขาดความหวัง และถูกมองว่าเป็นในเชิงการผลิตมากกว่าการบริโภค บางคนเรียกว่าเป็น “ความบันเทิงที่เอาจริงเอาจัง” (serious leisure)            อย่างไรก็ตามในสังคมบริโภคนิยม ก็มีการบริโภคในแง่มุมของการสะสมเช่นกัน อาทิ การสะสมตุ๊กตา, การ์ด,โปเกม่อน, เครื่องบินจำลอง แม้แต่ศาสนาก็ถูกทำให้เป็นสินค้า เมื่อเด็กอิสราเอลสะสมการ์ดRabbiอย่างไรก็ดีการสะสมก็มีขึ้นได้ในสังคมที่ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบตลาด อย่างในโซเวียตและโรมาเนีย การสะสมแสตมป์, ป้ายรูปประธานเหมา และแผนที่ ก็มีให้เห็นทั่วไป            Campbell (1987) บอกว่าการพัฒนาของวัฒนธรรมการบริโภคนำไปสู่การทำให้โรแมนติก ทำให้เกิดความหลงใหล วัตถุในคอลเล็กชั่นที่ไม่มีราคาเป็นเรื่องของเศรษฐกิจโรแมนซ์มากกว่าเศรษฐกิจสินค้าเงินตรา วัตถุกลายเป็นของพิเศษ การสะสมคืออาณาจักรของตำนานที่เกี่ยวกับวัตถุจำพวกที่น่าศรัทธา เชิงพิธีกรรม และมีความศักดิ์สิทธิ์ ด้วยตำนานแบบนี้ บางครั้งนักสะสมมักมองว่าตัวเองเป็นผู้ชุบชีวิตทรัพย์สินที่ใช้การไม่ได้ให้กลับมามีคุณค่า ซึ่งเขามองว่าตนเองต่างกับพ่อค้าคนกลาง ด้วยกิจกรรมการสะสมที่ถูกทำให้โรแมนติกและวัตถุที่ถูกทำให้ศักดิ์สิทธิ์ ทำให้นักสะสมปฏิเสธได้ว่าพวกเขาไม่ได้เป็นพวกวัตถุนิยม            หลังจากจุดสูงสุดของการสะสมในวัยเด็ก เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นการสะสมจะน้อยลง แม้ว่าเด็กไม่ทั้งหมดจะทิ้งคอลเล็กชั่นของตน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเช่นนั้น กิจกรรมการสะสมจะเกิดอีกครั้งในช่วงวัยกลางคน โดยเฉพาะในผู้ชาย ซึ่งอาจสะท้อนถึงอำนาจทางเศรษฐกิจที่มากกว่าผู้หญิง, การแข่งขัน หรือการอำนาจในการตัดสินใจ  แม้ว่าการสะสมจะถูกมองว่าเป็นแบบฉบับที่มีในผู้หญิง แต่ความแตกต่างในเพศสภาพ(gender)ไม่ค่อยมีอิทธิพลมากต่อการสะสม ร้อยละ41 ของคนอเมริกันที่เป็นนักสะสมเหรียญคือผู้หญิง และเกือบครึ่งหนึ่งของพวกนี้ก็เป็นนักสะสมแสตมป์ด้วย ในอังกฤษนักสะสมหญิงมีพอ ๆ กับชาย แต่นักสะสมหญิงมักจะถูกมองว่าสะสมเพียง “งานฝีมือกระจุกกระจิก” (bibelot) อย่างไรก็ดีชนิดของสะสมของหญิงและชายยังคงแตกต่างกัน ของสะสมผู้ชายเช่น กลไกต่าง ๆ, เครื่องใช้, อาวุธ ส่วนของผู้หญิง อาทิ ของตกแต่ง, ของใช้ในบ้าน, ของสวยงาม การวิพากษ์เกี่ยวกับงานสะสม            ท่ามกลางการวิจารณ์ต่าง ๆ ประเด็นหนึ่งคือ มองว่าคอลเล็กชั่นคือ วัตถุเล่นๆไม่จริงจังของการบริโภค(consumption)มากกว่าจะเป็นวัตถุที่สร้างสรรค์ของงานผลิต (production) การวิพากษ์ทำนองนี้มุ่งตรงไปยังนักสะสมผู้หญิง Saiselin (1984) ตั้งข้อสังเกตว่า ฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 19 ตามแบบฉบับ(stereotype)ผู้ชายถูกมองว่าเป็นนักสะสมที่เอาจริงเอาจัง ในขณะที่ผู้หญิงถูกมองเชิงเหยียดว่าเป็น “เพียงคนซื้อของกระจุกกระจิก” มีงานศึกษาเกี่ยวกับคู่สามีภรรยาของ Belk et. al. (1991)พบว่ามีความแตกต่างอย่างเป็นระบบของคอลเล็กชั่นระหว่างชายและหญิง คอลเล็กชั่นผู้ชายจะถูกมองว่าเป็นของจำพวก ขนาดใหญ่, แข็งแรง, โลกียวิสัย, กลไก, หายาก, เป็นวิทยาศาสตร์, จริงจัง, มีประโยชน์ใช้สอย, เตะตา, และไม่สดใส ในขณะที่ของผู้หญิงจะถูกมองว่าเป็นของที่ เล็ก, อ่อนแอ, อบอุ่น, เป็นธรรมชาติ, น่าทะนุถนอม, ดูเป็นงานศิลปะ, สนุกสนาน, ประดับประดา, สงบเสงี่ยม และสดใส จะเห็นว่าการวิพากษ์เช่นนี้ที่มีอคติในเพศสภาพ ไม่ต่างอะไรไปจากขบวนการทำให้โรแมนติกที่ Campbell(1987) บอกไว้ว่ามันเป็นแรงผลักดันในวัฒนธรรมการบริโภค เราอาจจัดคุณลักษณะของการวิพากษ์แบบนี้ว่า เป็นความเกินพอดีของการทำให้โรแมนติกท่ามกลางนักสะสม            การวิพากษ์แบบอื่นๆ ในการสะสม ได้แก่ การเผยให้เห็นว่าบุคลิกภาพในของหมกหมุ่นของคน ๆ หนึ่ง ซึ่งสูญเสียการควบคุม และเสพติดกับการเสาะแสวงหาและความต้องการเป็นเจ้าของ แม้ว่ามีนักสะสมจำนวนน้อยที่อาจจะเป็นพวกหมกหมุ่น แต่ก็ยังมีคนที่สามารถควบคุมกิจกรรมการสะสมของตนเองได้ ซึ่งตรงจุดนี้เราสามารถเห็นความเชื่อมโยงของรูปแบบที่โรแมนติก(romanticism) กับศิลปินแบบอุดมการณ์แบบโรแมนติก แม้ว่าอาจจะถูกแย้งว่า ศิลปินเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตผลงานมากกว่าการบริโภค แต่ดังที่เคยกล่าวไว้ข้างต้นว่า แท้จริงแล้วมีความเป็นไปได้ที่จะเห็นนักสะสมเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิตผลงานที่สร้างสรรค์ได้ด้วยเช่นกัน            ส่วนหนึ่งที่ยุ่งยากเกี่ยวกับการวิพากษ์งานสะสม เนื่องจากมีนักสะสมที่หลากหลาย และมีเหตุผลมากมายในการสะสม งานวิพากษ์หนึ่งที่เด่นคือ Danet and Katriel(1989) พวกเขาแยกประเภทนักสะสมเป็นแบบ A ที่มุ่งมั่นสะสมให้ครบคอลเล็กชั่น และแบบ Bที่เห็นความงามเป็นสำคัญ ไม่จำเป็นต้องเป็นคอลเล็กชั่นสมบูรณ์ก็ได้ ซึ่งมีผู้วิพากษ์นักสะสมแบบ A ว่าอยู่ในพวกหมกหมุ่น ในขณะที่การวิพากษ์ในแบบ B มองว่าเป็นพวกโรแมนติก มูลเหตุ, การใช้เหตุผลตัดสิน และความพอใจในการสะสม            การวิพากษ์โดยตรงในการสะสมส่วนใหญ่ละเลยเรื่องคำถามว่า ทำไมนักสะสมจำนวนมากเลือกสะสมสิ่งของบางอย่าง และเราจะอธิบายกิจกรรมการสะสมนี้อย่างไร วัตถุบางอย่างไม่ได้ตั้งใจที่จะสะสม นักสะสมบางคนสะสมเพราะมีสิ่งเฉพาะตัวที่ไปเชื่อมโยงกับ ชื่อเล่นตัวเอง, มรดกของชาติหรือชาติพันธุ์, อาชีพ, หรือประสบการณ์ แต่บางครั้งการสะสมเริ่มจากการได้ “ของขวัญ” จากเพื่อนหรือครอบครัว ยิ่งไปกว่านั้น การที่เราตะหนักว่าเรามีของชนิดหนึ่งสองหรือสามชิ้น ก็เป็นจุดเริ่มของคอลเล็กชั่น งานศึกษาของ Belk (1995)พบว่าประโยชน์ที่ได้มาจากการสะสมคือ ความรู้สึกถึงการมีอำนาจและการเป็นผู้เชี่ยวชาญ            สำหรับการสะสมแล้ว วัตถุที่สะสมก่อให้เกิดโลกใบเล็กที่ซึ่งนักสะสมตั้งกฎเกณฑ์ของตนเองได้ นอกจากนี้ยังมีความรู้สึกถึงชัยชนะในอาณาจักรที่นิยามไว้แคบ ๆ ของวัตถุที่หายาก ก่อให้เกิดทั้งความเชื่อมั่นในทักษะของตน, การติดตามต่อเนื่อง และความเชี่ยวชาญ และจะเพิ่มความรู้สึกตื่นเต้นไปด้วยเมื่อโชคดีที่มีโอกาสพบวัตถุที่ต้องการในราคาที่ต่อรองได้ เรามักได้ยินเรื่องเล่าเกี่ยวกับการค้นหาของได้โดยบังเอิญอยู่เสมอ งานศึกษาของ Denefer (1980)บอกไว้ว่า ความรู้และความเชี่ยวชาญของนักสะสม เป็นแหล่งที่มาของสถานะภายในกลุ่มเพื่อนนักสะสมด้วยกันเอง บางคนถูกให้ความสำคัญว่ามีคุณูปการต่อวงการประวัติศาสตร์, วิทยาศาสตร์ และศิลปะ(แม้แต่คอลเล็กชั่นวัตถุที่ถูกมองว่าต่ำต้อย เช่นกระป๋องเบียร์ หรือ หุ่นจำลองช้าง) การรวบรวมและจัดประเภทสิ่งของเป็นสิ่งที่สนุกในตัวของมันเอง และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในกลุ่มคนที่สนใจเหมือนกัน การได้สังคมกับเพื่อนนักสะสมก็อาจก็สร้างความเพลิดเพลินทางสังคมและมีความรู้สึกของชุมชนเกิดขึ้นด้วย            คอลเล็กชั่นอาจสะท้อนความโหยหาอดีตของความสนุกและอิสระในวัยเด็ก นักสะสมบางคนพยายามหาความสำราญกับคอลเล็กชั่นที่สูญหายไปนานในวัยเด็ก เพราะนักสะสมวัยผู้ใหญ่มักเป็นอยู่ในช่วงเวลาที่ลูกหลานแยกตัวออกไป พวกเขาจึงมีทั้งช่องว่างที่จะเติมเต็มความเป็นครอบครัวอบอุ่นที่เคยมีก่อนหน้านี้ และมีเงินเหลือเฟือพอที่จะอุทิศให้กับคอลเล็กชั่น แต่ในขณะที่บางครั้งสมาชิกในครอบครัวก็เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการสะสม และบ่อยครั้งที่สมาชิกในครอบครัวก็เริ่มขุ่นเคืองที่นักสะสมอุทิศเวลา, ความรัก, ความพยายาม และเงิน ให้กับงานสะสม คอลเล็กชั่นจึงกลายเป็นคู่ปรับ หรือ “เมียเก็บ” ของนักสะสม บรรดาสมาชิกในครอบครัวจึงไม่เต็มใจที่จะเก็บคอลเล็กชั่นพวกนี้ไว้เมื่อเจ้าของเสียชีวิต (ดังนั้นความหวังของการไม่มีวันตายของคอลเล็กชั่นที่นักสะสมแสวงหาก็เป็นอันจบสิ้น) ด้วยมูลเหตุนี้นักสะสมบางคนจึงพยายามหาทายาทส่งต่อคอลเล็กชั่นนอกจากคนในครอบครัว            แม้ว่านักสะสมอาจมีมูลเหตุการตัดสินใจสะสมว่า คอลเล็กชั่นของพวกเขาคือ การลงทุนทางเศรษฐกิจแบบหนึ่ง อย่างไรก็ดี ยังมีการอ้างว่าคอลเล็กชั่นของพวกเขาก็คือ บ้านสำคัญหลังการเกษียณ หรือเป็นมรดกสำหรับลูกหลาน เหล่านี้เป็นความพยายามของนักสะสมที่จะสร้างความชอบธรรมในการสะสมของพวกเขาว่าป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีเหตุผลมากกว่าการทำสิ่งที่ประหลาด นอกจากนี้ตลาดงานศิลปะ, การมีคอลเล็กชั่นของพิพิธภัณฑ์ และสื่อมวลชนที่สนใจต่อคอลเล็กชั่นที่โด่งดัง ก็ช่วยสร้างความชอบธรรมแก่การสะสมด้วย            การสะสมบางอย่างยังสร้าง “ความศักดิ์สิทธิ์” ให้ตัวมันเองด้วย และกลายเป็นของที่ “ราคาสูงจนหาค่าไม่ได้” Belk (1995b) ยกตัวอย่างว่า  ฟรอย์(Freud) กล่าวอรุณสวัสดิ์กับวัตถุโบราณของเขา และ Jungเห็นว่าหนังสือในคอลเล็กชั่นของเขามีชีวิตจิตใจเหมือนคน ก่อนหน้านี้ที่เรากล่าวถึงการสะสมที่อยู่บนฐานของความโรแมนติก และการเปรียบเทียบวัตถุนิยมกับการต่อต้านวัตถุนิยม และการอธิบายการสะสมในฐานะกิจกรรมที่ทำให้สินค้าหมดสิ้นความเป็นสินค้า(decommoditization)เป็นการย้ายวัตถุออกจากวงจรการตลาดและบูชามันในคอลเล็กชั่น วัตถุที่สะสมจึงไม่ใช่สิ่งที่แลกเปลี่ยนได้อีกต่อไป เมื่อมันเข้ามาอยู่ในคอลเล็กชั่น มันมักจะกลายเป็นของที่ได้รับการยกเว้นจากการตีค่าในเชิงตัวเงิน เนื่องจากนักสะสมให้ค่ามันในลักษณะมันเป็นส่วนหนึ่งที่สนับสนุนคอลเล็กชั่น วัตถุสะสมที่เคยมีประโยชน์ในเชิงใช้สอยก็จะไม่ได้เป็นเช่นนั้นอีกต่อไป คุณค่าในการใช้งานของวัตถุถูกจัดการใหม่และเปลี่ยนไปสู่คุณค่าเชิงสัญลักษณ์มากขึ้น การสะสมสามารถถูกมองว่าเป็นเครื่องบูชาที่เชื่อมต่อกับความศักดิ์สิทธิ์ เหมือนกับของขวัญที่ได้จากคนรักก็ทำให้มันเปลี่ยนรูปไปในเชิงพิธีกรรม จากของตลาดทั่วไปกลายเป็นสมบัติส่วนตัว ดังนั้นวัตถุที่อยู่ในคอลเล็กชั่นจึงถูกสร้างบริบทใหม่และเลื่อนไหลไปสู่สถานที่ของการเทิดทูน การเคลื่อนของวัตถุตลาด ๆ ไปสู่ตำแหน่งใหม่ดังกล่าว เป็นทั้งการเชิดชูและปฏิเสธวัฒนธรรมบริโภคไปในขณะเดียวกัน  ทิศทางการวิจัยในอนาคต            การสะสมไม่ว่าจะโดยบุคคลและพิพิธภัณฑ์เป็นงานสมัยใหม่ที่สำคัญในแง่ การรวบรวม, จัดการ และควบคุมกองสมบัติของโลก ไม่ใช่แค่การล่าและเก็บหาของ สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนไปจากการสะสมในยุคแรกคือ การที่คอลเล็กชั่นถูกทำให้กลายเป็นสินค้าในตลาดของสะสมหลายแห่ง และการเกิดขึ้นของ “คอลเล็กชั่นสำเร็จรูป” (instant collections) ที่สำหรับขายล็อตใหญ่แก่สาธารณชน ในยุคอาหารสำเร็จรูป,uอินเตอร์เนตพร้อมใช้ และความพอใจสำเร็จรูปที่มีมากขึ้นในทุกวันนี้ ความเชื่อเกี่ยวกับคอลเล็กชั่นสำเร็จรูป ถูกมองว่าไม่ได้เกิดจากความพอใจในการสะสมอีกต่อไป  ไม่มีการเสาะแสวงหาและการตามล่าของหายาก   รวมไปถึงไม่มีการได้ลองใช้ทักษะและโชคในการเสาะหาของ และเกิดความยินดีที่ได้คิดและเห็นคอลเล็กชั่นที่เกิดขึ้น คอลเล็กชั่นสำเร็จรูปจากบริษัทอย่าง Franklin Mint,Danbury Mint, Lenox Collectionsและ Bradford Exchange  อาจจะมีเสน่ห์ต่อพวกภัณฑารักษ์ แต่ถ้าไม่มีการเสาะแสวงหาของอื่นในชุดสะสมจากบริษัทเหล่านี้ การเป็นผู้ซื้อแบบนั้นคงจะไม่เรียกว่านักสะสม อย่างไรก็ตาม กระบวนการทำให้กลายเป็นสินค้า, โลกาภิวัตน์ และการทำให้เป็นธุรกิจของงานสะสม สมควรได้รับความสนใจเพิ่มขึ้น เช่น ผลกระทบการของประมูลใน eBay  บริษัทที่อำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการสะสมจะเห็นได้ว่าพ่อค้าคนกลางในตลาดของสะสมมีมาตั้งแต่สมัยกรีกและโรมันโบราณ และศิลปินที่มีชื่อเสียงก็มักได้รับการอุปถัมภ์จากนักสะสม แต่ในปัจจุบันเรื่องของพ่อค้าคนกลางหรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการสะสมอาจไม่เพียงแค่เรื่องความรู้และทุนที่จะสร้างการสะสมขึ้น หากแต่เป็นเรื่องของการโปรโมชั่น และแฟชั่นด้วย            นอกจากนี้การเกิดขึ้นของความต้องการในการสะสมสิ่งของ อาจจะต้องดูเพิ่มเติมในเรื่องขอบเขตหรือเส้นแบ่งระหว่างการสะสมและการบริโภค ดูวิธีการสร้างสินค้าธรรมดาให้กลายเป็นของศักดิ์สิทธิ์หรือของควรค่าแก่การสะสมได้อย่างไร  บางทีก็น่าขำ เมื่อ Walter Benjamin(1968) เป็นกังวลเกี่ยวกับงานศิลปะในยุคที่เกิดการทำของเลียนแบบ ในขณะเดียวกันเขากลับบูชากลไกการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคที่ได้ครั้งละมาก ๆ อย่างไรก็ดี ขั้วตรงกันข้ามที่เห็นได้ชัดนี้ทำให้เห็นความซับซ้อนในความสัมพันธ์ของเรากับเรื่องวัฒนธรรมวัตถุ (material culture)ในสังคม ในแง่การอุทิศตนและความชำนาญเรื่องวัตถุของนักสะสมช่วยสร้างความชอบธรรมให้กับการสะสม แม้ในวรรณกรรม นักสะสมมักถูกมองในแง่ลบว่าเป็นคนสันโดษที่ตระหนี่ก็ตาม  อย่างไรก็ดีถ้าอย่างน้อยการสะสมถูกมองว่าคือการบริโภคอย่างหนึ่ง ธรรมชาติคู่กันของมันก็คือเป็นได้ทั้งวัตถุนิยมหรือตรงกันข้าม และเนื่องจากวัฒนธรรมวัตถุนิยมที่อยู่ในสังคมบริโภคนิยมเป็นพื้นที่ที่ซับซ้อนของการแสดงตัวตน เต็มไปด้วยการย้อนแย้งต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นการสะสมอาจถูกมองว่าเป็นการหมกหมุ่นที่ไม่มีสาระ และก็ไม่แน่อีกเหมือนกันว่า มันก็อาจถูกมองว่าเป็นความลึกซึ้งได้เช่นเดียวกัน สรุปความจาก Russell Belk. (2006) “Collectors and Collecting” in Handbook of Material Culture/ edited by Christopher Tilley. London : Sage Publications. โดยปณิตา สระวาสี   รายชื่อหนังสืออ้างอิง(เฉพาะที่ปรากฏในบทความแปล)Abbas, Acbar(1988)‘Walter Benjamin’s collector; the fate of modern experience’, New Literary History,20(autumn): 217-38.Appadurai, Arjun(1986) ‘Introduction: commodities and the politics of value’, in Arjun Appadurai(ed.),The Social Life of Things: Commodities in Cultural Perspective. Cambridge: Cambridge University Press,pp. 3-63.Baudrillard, Jean(1994)‘The system of collecting’, in John Elsner and Roger Cardinal(eds), The Cultures of Collection. Cambridge. MA: Harvard University Press,pp. 7-24.Belk et. al. (1991)‘Collection in a consumer culture’, in Highways and Buyways: Naturalistic Research from the Consumer Behavior Odyssey. Provo, UT: Association for Consumer Research, pp.178-215.Belk, Russell W. (1995a)‘Collecting as luxury consumption: effects on individuals and households’,Journal of Economic Psychology, 16(February): 477-90.Belk, Russell W. (1995b)Collecting in a Consumer Society. London; Routledge.Benjamin, Walter(1968)‘The work of art in the Age of Mechanical Reproduction’, in Hannah Arendt (ed.),trans. Harry Zohn, Illuminations. New York: Harcourt Brace, pp. 291-53.Campbell, Colin (1987) The Romantic Ethic and the Spirit of Modern Consumerism. Oxford: Blackwell.CliffordJames (1985)‘Objects and selves: an after word’, in Goerge W. Stocking,Jr(ed.), Objects and Others: Essays on Museums and Material Culture. Madison, WI: University of Wisconsin Press, pp.236-46.Danet, Brenda and Katriel, Tamar(1989)‘No two alike: the esthetics of collecting’, Play and Culture, 2(3): 253-77.Denefer, Dale (1980)‘rationality and passion in private experience: modern consciousness and the socialworld of old-car collections’, Social Problems, 22(April): 392-412.Miller, Daniel (2001) ‘Possessions’, in Daniel Miller(ed.), Home Possessions. Oxford:Berg, pp. 107-21.Muensterberger, Werner (1994) Collecting: an Unruly Passion: Psychological Perspectives. Princeton,NJ: Princeton University Press.Rigby, Douglas and Rigby, Elizabeth (1944)Lock, Stock and Barrel: the Story of Collecting.Philadelphia, PA: Lippincott.Saiselin, Remy G. (1984) Bricobracomania: The Bourgeois and the Bebelot. New Brunswick, NJ: RutgersUniversity Press.

ประวัติศาสตร์ สำนักชาติพันธุ์ และพลเมือง บทความของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ในประเทศพหุชาติพันธุ์

20 มีนาคม 2556

ในปี 2005 พิพิธภัณฑ์แมคคอร์ดได้รับการมอบหมายจากสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและการสื่อสาร เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับสัมพันธภาพระหว่างพิพิธภัณฑ์ ชุมชนชาติพันธุ์ และมรดกทางวัฒนธรรมในมอนทริออล การศึกษานี้แสดงให้เห็นอย่างประหลาดใจว่า เป็นสิ่งที่ยากที่จะทำให้สำเร็จลุล่วง และยังขีดให้เราจะต้องทบทวนกับสัมพันธภาพที่ซับซ้อนระหว่างสำนึกชาติพันธุ์ เรื่องราวของวัตถุ และการทำงานของพิพิธภัณฑ์สาธารณะ ให้ลึกมากยิ่งขึ้น  แมคคอร์ดเป็นพิพิธภัณฑสถานสาธารณะแห่งหนึ่งตั้งอยู่ที่ควิเบก จังหวัดหนึ่งที่มีความสำนึกชาติในการเป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาฝรั่งเศส (francophone) ทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมที่ต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของประเทศ ในปี 1971 แคนาดาได้แถลงนโยบาย “พหุวัฒนธรรม” อย่างเป็นทางการ และในปี1988 สภาประกาศใช้รัฐบัญญัติพหุวัฒนธรรมคานาดา ซึ่งหมายรวมถึง “การยอมรับในความหลากหลายของชาวแคนาดา ทั้งที่สัมพันธ์กับเชื้อชาติรากเหง้าของชาติหรือชาติพันธุ์ สีผิว และศาสนา เสมือนฐานรากของสังคมแคนาดา” และส่งเสริมการสงวนรักษามรดกพหุวัฒนธรรม ควิเบกซึ่งมีสถานภาพพิเศษภายในสมาพันธ์แคนาดา ยังได้เผยแพร่นโยบายสหสัมพันธ์วัฒนธรรม (interculturalisme) เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้กับผู้ที่อพยพเข้ามาใหม่ในสังคมที่พูดภาษาฝรั่งเศส บทความจะสำรวจเห็นวิถีทางในอันที่สำนึกชาติพันธุ์ได้รับการนิยามและแสดงออกทั้งความเป็นแคนาดาและควิเบก วิเคราะห์ข้อท้าทายต่างๆ ที่พิพิธภัณฑ์เผชิญในการสร้างคลังสะสมและการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาวแคนาดา ในแนวการสรรเสริญความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์และทิศทางทางการเมืองที่หลากหลาย และจะสรุปให้เห็นความพยายามในการทำความเข้าใจกับบทบาทของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สาธารณะในการสร้างช่องทางให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับประวัติศาสตร์ของสถานที่แห่งนี้ รวมถึงสัมพันธภาพระหว่างการมีส่วนร่วมและการพัฒนาความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม(sentiment d’appartenance/ sense of belonging) และความเป็นพลเมืองร่วม   ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชาติพันธุ์ของคานาดา                 แคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากที่สุดในโลก และความหลากหลายเป็นผลจากการอพยพขนานใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 20 คานาดาได้ต้อนรับคนอพยพ 13.4 ล้านคนในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา และในปี 2002 หนึ่งในสี่ของประชากรเกิดในต่างแดน ภายในบริบทของคานาดาความหลากหลายเป็นนิยามที่เกิดขึ้นจากงานสำรวจความหลากหลายทางชาติพันธุ์ (Ethnic Diversity Survey)(ซึ่งเป็นการศึกษาต่อเนื่องจนถึงปี 2001) งานศึกษาดังกล่าวเป็นการสำรวจประชากรตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่รวมตัวเป็นแคนาดา ด้วยการพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ “สิ่งแสดง” (markers)สำนึกชาติพันธุ์ เชื้อชาติ และศาสนา  ในปี 1931 สิ่งแสดงเหล่านี้จะหมายถึงผู้คนที่มาจากยุโรปในช่วงแรกๆ แต่ทุกวันนี้สิ่งแสดงหมายรวมถึงสเปกตรัมของคนที่ใหญ่กว่า ผู้มาจากทุกๆ ส่วนของโลก และเป็นผู้ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นภาษาหรือศาสนา ตั้งแต่กลุ่มประชาการที่เก่าแก่ที่สุด                 ความหลากหลายทางชาติพันธ์ที่กำหนดใหม่นี้เป็นลักษณะเฉพาะของศูนย์กลางเมืองต่างๆ โดยเฉพาะตัวอย่างเช่น ประชากรกว่า 50% ของเมืองโตรอนโตเกิดนอกประเทศแคนาดา และอีกกว่า 40% ของชาวโตรอนโตประกาศตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของ “ชนกลุ่มน้อยที่ปรากฏชัด” (visible minority)2  ในการสำรวจเมื่อปี 2001 กว่า 30% ของคนที่อาศัยในแวนคูเวอร์มองตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของสำนึกชาติพันธุ์เอเชีย โดยมีชาวแคนาดา เชื้อสายจีนถึง 17.7% ของจำนวนประชากรที่อยู่ในเมืองทั้งหมด3    ในเมืองมอนเทรออล เมืองใหญ่ที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นอันดับสองของโลก สำนึกชาติพันธุ์สัมพันธ์ไปกับความซับซ้อนของสายสัมพันธ์ทางภาษา ด้วยประชากรกว่า 29% จัดแบ่งตนเองเป็น “allophones” ชาวคานาดาที่มีภาษาแม่ไม่ใช่ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรัง่เศส4  และในขณะที่มอนทริออลเป็นเมืองที่มีผู้นับถือโรมันคาทอลิกเป็นจำนวนมาก แต่อิสลามกำลังขายตัวมากขึ้น และยังเป็นความเชื่อสำคัญเป็นอันดับสามในควิเบก ด้วยจำนวนชาวมุสลิมประมาณ 3%ของประชากรที่อยู่ในเมืองมอนทริออล5   นโยบายของการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน                 แคนาดาจะตั้งรับกับความหลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา สำนึกชาติพันธุ์ และภาษาอย่างไร? ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยพหุวัฒนธรรมคานาดา ค.ศ. 1988 กล่าว ไว้ว่ารัฐบาลแคนาดารับรองความหลากหลายของชาวแคนาดา ทั้งที่เกี่ยวข้องกับเชื้อชาติ ความเป็นมาชาติหรือชาติพันธุ์ สีผิว และศาสนา ซึ่งเป็นฐานรากของสังคมแคนาดา และรัฐบาลมีส่วนรับผิดชอบต่อการสร้างนโยบายพหุวัฒนธรรม ในอันที่จะสงวนรักษาและเสริมให้มรดกความหลากหลายทางวัฒนธรรม พร้อมๆ ไปกับการสร้างความเท่าเทียมให้กับชาวคานาดาทุกคน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองของแคนาดา6                 สำหรับวิลล์ คิมลิคกา (Will Kymlicka) มหาวิทยาลัยควีนกล่าวไว้ว่า หลักของพหุวัฒนธรรมนิยมคือการดำเนินการให้ได้มาซึ่ง “ข้อตกลงของความเป็นหนึ่งเดียวกันที่ยุติธรรม” ขณะที่ยังมีเสียงวิพากษ์ภายในที่มองว่ารัฐบัญญัติกลับจะส่งเสริมให้สังคมแบ่งแยกเป็นเสี่ยงตามแต่ละชาติพันธุ์ 7 คิมลิคกากลับยืนยันถึงแนวคิดข้อตกลงของความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างยุติธรรมว่า มีความชัดเจนเพียงพอที่จะนำไปสู่การสร้างสถาบันและคุณค่าร่วมกัน เขาเล็งเห็นสิ่งที่ปรากฏชัดในควิเบก นั่นคือ ความเป็นสังคมอยู่รวมในสมาพันธ์แคนาดา ในควิเบก นโยบาย สหสัมพันธ์วัฒนธรรมนิยม (interculturalisme) เรียกร้องให้ผู้อพยพเข้ามาใหม่ในพื้นที่และสมาชิกของสิ่งที่เรียกว่า ‘ชุมชนวัฒนธรรม’ (communautées culturelles) ดำรงอยู่ภายใต้หลักการสามประการ ซึ่งเป็นฐานของ “สัญญาจริยธรรม” (moral contract) ระหว่างควิเบกและพลเมืองใหม่ (ก) รับรองภาษาฝรัง่เศสเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตสาธารณะ (ข) ให้ความเคารพต่อคุณค่าประชาธิปไตย รวมไปถึงสิทธิพลเรือนและการเมืองและความเท่าเทียมกันในโอกาส และ (ค) ความเคารพในพหุลักษณ์นิยม รวมถึงการเปิดใจและยอมรับ“ความแตกต่าง” ของผู้อื่น9                 สหสัมพันธ์วัฒนธรรม อาจพิจารณาว่าเป็นปฏิกิริยาของการไม่มีสิ่งที่เรียกว่า“วัฒนธรรมแห่งชาติ” ด้วยเหตุที่แคนาดาต้องเผชิญกับหินผาทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมตามภูมิภาค และอัตลักษณ์ภาษา10 การมีอยู่ของรัฐชาติที่ก่อตัง้ 2 ชาติ ที่แตกต่างไปตามภาษา วัฒนธรรม และศาสนา รวมไปถึงการรับรองกลุ่มที่สามในคานาดาตามกฏบัตร อันได้แก่ ชนพื้นเมืองหรืออะบอริจิน เหล่านี้ดูจะเป็นเหตุผลเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าชาตินิยมชาติพันธุ์เป็นเรื่องที่ฟงัไม่ขึ้นแต่อย่างใดทั้งในควิเบกเองและในคานาดา   ความเข้าใจในสำนึกชาติพันธุ์                 แล้วสำนึกชาติพันธุ์ได้รับการตีความอย่างไรในบริบทความหลากหลายและความเป็น พลเมืองของแคนาดา สำนึกชาติพันธุ์สามารถพิจารณาในฐานะที่เป็นคุณค่าทางสังคม เป็นความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่ง(sentiment d’appartenance หรือ feeling of belonging) ปัจเจกบุคคลอาจรู้สึกว่าเขาหรือเธอเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบางกลุ่ม และความรู้สึกนี้อาจคงอยู่หลายชั่วอายุคน ตัวอย่างเช่น กรณีของกลุ่ม Scots หรือกลุ่มประชากรหลักของแคนาดาที่สืบทอดหลายชั่วอายุคน หลายคนยังคงความรู้สึกของการ “เป็นสกอต”อย่างเหนียวแน่นดังจะเห็นได้จาการเป็นสมาชิกของสมาคมวัฒนธรรม เช่น สมาคมเชนต์แอนดรู(St. Andrew’s Society) สมาชิกยังคงปฏิบัติ วัฒนธรรมที่แสดงเอกลักษณ์ของความเป็นสก็อต เช่น การเต้นรำประจำชาติ การใส่กระโปรงสก็อต อาหารแบบฮากีส์ ในขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาสมาชิกภาพขององค์กร “สก็อต” หลายแห่งสะท้อนให้เห็นว่าลักษณะที่สัมพันธ์ของสมาคมกับความเป็นชาติพันธุ์เฉพาะกลุ่ม ก็ยากที่จะนิยาม ลองดูตัวอย่างกกลุ่ม Black Watch ที่เป็นคนบนพื้นที่สูงกลุ่มใหญ่ในแคนาดา และสมาชิกในปัจจุบันมีความหลากหลายทั้งทางชาติพันธุ์และเชื้อชาติ อย่างน้อยๆ ก็เห็นได้จากเว็บไซต์ของสมาคม11                 สำนึกชาติพันธุ์อาจต้องทำความเข้าใจในบริบทของมานุษยวิทยา ซึ่งหมายถึงคนรุ่นหลังที่มีสายสัมพันธ์ทางพันธุ์กรรมเฉพาะกลุ่ม คนๆ หนึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งเพราะสืบสายมาจากพ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคนกลุ่มนั้นๆ สำนึกชาติพันธุ์มักได้รับการธำรงไว้ด้วยการแต่งงานภายในกลุ่ม (in-marriage) ส่วนการแต่งงานนอกกลุ่ม (out-marriage) มักถือเป็นการปฏิเสธสำนึกชาติพันธุ์จากสมาชิกคนอื่นๆใน สังคม ดังจะเห็นได้จากการแจ้งชาติพันธุ์ของประชาการว่ามีบรรพบุรุษมากกว่า ชาติพันธุ์เดียว นั่นเป็นเพราะการแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ (intermarriage) ในปี 2001 จำนวนประชากร 11.3ล้านคน หรือ 38 % ของประชากร รายงานตนเองว่ามีบรรพบุรุษจากกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่ม ซึ่งมากขึ้นกว่าการสำรวจประชากรครั้งที่ผ่านมา การสำรวจความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่าการนิยามกลุ่มชาติพันธุ์  (selfcharacterization) อาจ เหมือนหรือแตกต่างไปจากบรรพบุรุษตั้งแต่รุ่นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย สมาชิกในรุ่นที่สองและสาม ซึ่งอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันจะกล่าวว่าตนเองเป็นชาวคานาดา หรือจะกล่าวว่าเป็นสมาชิกในระดับภูมิภาคลงไปคือ กลุ่มชนตะวันตก (Westerner) หรือกลุ่มผู้พบดินแดนใหม่ (Newfoundlander)12             สำนึกชาติพันธุ์สามารถอ้างอิงกับกลุ่มทางศาสนาหรือเชื้อชาติ (race) ชุมชน ชาวยิว ซึ่งถึงแม้จะเป็นสมาชิกของคนที่มาจากสัญชาติ ชาติพันธุ์ หรือบรรพบุรุษต่างเชื้อชาติ แต่กลับมีสายสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอย่างแน่นแฟ้น ด้วยการนับถือศาสนาร่วมกันและมีแบบแผนทางศาสนาอย่างเดียวกัน (และรวมถึงประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ร่วมกัน) หรือชุมชนชนคนดำ ซึ่งมักถูกมองจากคนภายนอกว่าเป็นกลุ่มแปลกแยกด้วยสีผิว ก็มาจากสมาชิกที่แตกต่างกันทัง้ทางสัญชาติ วัฒนธรรม และภาษา ฉะนั้นการกล่าวถึงสำนึกชาติพันธุ์ของคนกลุ่มต่างๆ เหล่านี้มีความซับซ้อนอย่างมาก เพราะสมาชิกแต่ละคนที่มีสายสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งๆ ย่อมมีระดับความเข้มข้น จากมากไปถึงน้อยต่างกันไป และสำนึกชาติพันธุ์ยังไปสัมพันธ์กับชุมชนภายนอกที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอีกเช่นกัน   วัฒนธรรมวัตถุ สำนึกชาติพันธุ์ และพิพิธภัณฑ์                 อย่างนั้นแล้ว อะไรคือบทบาทของพิพิธภัณฑ์สาธารณะ และที่สำคัญที่สุดพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ในประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมอย่างแคนาดา และในกรณีของเมืองที่เป็นใช้สองภาษาและ เป็นพหุวัฒนธรรมอย่างกรณีมอนเทรออล แล้วชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆ จะเข้ามาสัมพันธ์กับสถาบันพิพิธภัณฑ์อย่างไร และเมื่อชุมชนต่างๆ เข้ามาสัมพันธ์กับพิพิธภัณฑ์ สถานที่ใดในชุมชนนี้จะเอื้อให้กับพิพิธภัณฑ์ ตามการ ศึกษาของพิพิธภัณฑ์แมคคอร์ด เราได้ทบทวนบทความทั้งในภาษาอังกฤษและฝรัง่เศสที่เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ ชาติพันธุ์ และความหลากหลาย เราได้รวบรวมสิ่งที่ค้นพบจากการศึกษาก่อนหน้านั้น และได้สัมภาษณ์กลุ่มเฉพาะ และสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบกับสมาชิกกลุ่มวัฒนธรรมในมอนเทรออล สิ่งที่ได้จากความพยายามในการศึกษาครั้งนี้คือความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ ระหว่างพิพิธภัณฑ์สาธารณะกับชุมชนวัฒนธรรม อย่างน้อยในมอนเทรออล และอาจหมายถึงแคนาดาในภาพที่กว้างออกไปนั้น มีความสำคัญอย่างมากทั้งต่อการวิเคราะห์และการลงมือปฏิบัติการ                 พิพิธภัณฑ์สาธารณะในสังคมตะวันตกมีพันธกิจสำคัญสองประการคือ การรักษาอนุรักษ์และการเข้าถึงการรักษาอนุรักษ์หมายถึงการอนุรักษ์วัตถุไว้ ในคลังวัตถุที่ปลอดภัยและการอนุรักษ์ความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ วัตถุด้วยการจัดเก็บเอกสารและการจัดพิมพ์เผยแพร่ ส่วนการเข้าถึงหมายรวมทัง้สิ่งที่เป็นกึ่งสาธารณะและสาธารณะ คำวิจารณ์สุดที่กล่าวถึงพิพิธภัณฑ์วนอยู่กับปัญหาของความใส่ใจและความรับผิดชอบต่อสังคมพิพิธภัณฑ์ ในสายตาของนักวิชาการและสมาชิกของสังคมจำนวนมากเห็นตรงกันว่า พิพิธภัณฑ์กีดกันหรือละเลยประวัติศาสตร์บางส่วน การสร้างสรรค์ทางศิลปะ และเพิกเฉยต่อความรับผิดชอบต่อสาธารณะอย่างไรก็ตาม หน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่เรื่องของการสะสม “อดีต” หรือ บอกเล่าเรื่องราวด้วยการจัดแสดง แต่เป็นการสะสมและอนุรักษ์วัตถุบางอย่างด้วยกรอบการคัดสรร และการเปิดโอกาสให้เข้าถึงสิ่งเหล่านั้นนี่คือการนิยามพิพิธภัณฑ์ที่แคบ ผู้เขียนจะย้อนกลับไปที่วาระของพิพิธภัณฑ์ต่อสังคมที่กว้างมากกว่า เพื่อแสดงให้ฃเห็นวิถีทางที่คลังสะสมอันเป็นรากฐานของพิพิธภัณฑ์ ได้รับการนิยามและพัฒนาการต่อมา กรอบของการจัดการและการคัดเลือกวัตถุสะสมที่ใช้โดยพิพิธภัณฑ์สะท้อนให้เห็นความสนใจของสังคมใน ขณะนั้นๆ ความสนใจของสังคมย่อมส่งผลต่อการจัดประเภทของพิพิธภัณฑ์ และในขณะเดียวกัน ก็เป็นการกีดกันบางอย่างออกไป จนวัตถุนั้นๆ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบันทึกประวัติศาสตร์ จึงส่งผลให้วัตถุเหล่านั้นไม่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกเชิงวัตถุ ของอดีต และยงิ่ ดูลดความสำคัญลงไปในสายตาของนักประวัติศาสตร์ในฐานะของ “เอกสาร” ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์หรือนิทรรศการสาธารณะ ช่องว่างของคลังสะสมที่เกิดขึ้นต้องอาศัยเวลาหลายชั่วอายุคนในการเติมเต็ม ส่วนที่ขาดไป ดังนั้นสำนึกชาติพันธุ์จะได้รับการถ่ายทอดลงไปในวัฒนธรรมทางวัตถุ หรืออีกนัยหนึ่งคลังของพิพิธภัณฑ์                 สำหรับวัตถุแล้ว สำนึกชาติพันธุ์เป็นเรื่องที่ยากนักสำหรับการพรรณนา รูปแบบที่ง่ายที่สุด วัตถุ “ชาติพันธุ์” มักสัมพันธ์กับวัฒนธรรมชีวิตชาวบ้านหรือวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์เฉพาะและบ่อยครั้งเป็นกลุ่มที่สัมพันธ์กับความเป็นชาติ จนกลายเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกชาติพันธุ์ไปในตัว (ธรรมเนียมการร่ายรำของยูเครน กระเบื้องแบบโปรตุเกส ถ้วยชาหรือตะเกียบแบบจีน ceitnture fléchée (เข็มขัดที่ทำจากขนแกะพื้นสีแดงและมีลายลูกศร พบในคานาดา) วัตถุ เหล่านี้ถูกใช้อธิบายความเป็นชาติพันธุ์และอัตลักษณ์ง่ายๆ ทั้งภายในกลุ่มวัฒนธรรมเอง และคนนอกชุมชนชน และบ่อยครั้งทีเดียวที่ชนอพยพจะนำวัตถุเหล่านี้มาจากประเทศของตนเองหรือประดิษฐ์สิ่งเหล่านี้ขึ้นในประเทศที่ตนอพยพเข้าไปอยู่ตามคำสอนของธรรมเนียมประเพณี(ชุมชนผู้อพยพอนุรักษ์ธรรมเนียมประเพณีที่ได้ปฏิบัติกันแล้วในประเทศที่ตนจากมา) สิ่งที่ซับซ้อนมาขึ้นไปอีกคือ วัตถุที่ถูกกลืนกลายเข้าไปสู่กระแสวัฒนธรรมหลัก และถูกดัดแปลงเพื่อการใช้ภายในชุมชนชาติพันธุ์ เช่น กระดุมหรือเสื้อยืดที่มีคำโปรย “หอมซิ ฉันคือชาวยูเครน” สิ่งที่ซับซ้อนเหนืออื่นใด การบ่งชี้ว่าวัตถุนั้นๆ เป็นตัวแทนความเป็นชาติพันธุ์ วัตถุในกระแสหลักที่รับใช้ชุมชนวัฒนธรรม และบ่งชี้ความเป็นชุมชนและประวัติศาสตร์ (ดังจะเห็นได้จากการกล่าวถึงลักษณะที่พักอาศัยแรกๆ ในมอนเทรออลที่สร้างขึ้นโดยคนอพยพชาวโปรตุเกส ชุดแต่งกายจากปารีสในพิธีแต่งงานที่นิยมกันในมอนเทรออล เพื่อบ่งบอกการแต่งงานตามประเพณีของยิว) หากปราศจากความรู้เกี่ยวกับที่มาที่ไปและประวัติศาสตร์ของสิ่งของ วัตถุเหล่านี้ก็มาได้สัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นผู้สร้างสรรค์แต่อย่างใด                 ท้ายที่สุด คำถามที่เราควรตัง้ขื้นต่อไปก็คือ เมื่อวัตถุที่เชื่อมโยงโดยตรงกับชุมชนชาติพันธุ์ใดก็ตาม ได้เปลี่ยนสถานภาพเข้าไปอยู่ในกระแสหลัก ก็ควรได้รับการตรวจสอบด้วยเช่นกัน (ในแคนาดา กะทะแบบเอเชีย จานใส่พาสต้าแบบอตาลี เสื้อปักลายแบบจีน และแหวนรูปหัวใจแบบเซลติก) ปัญหาของการนิยามความเป็นชาติพันธุ์เช่นนี้สะท้อนได้อย่างชัดเจนในการจัดแบ่งประเภทวัตถุในพิพิธภัณฑ์ที่ปรากฏในฐานของมูลคลังสะสม ตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ของเราไม่รวมการจัดประเภท “ความเป็นชาติพันธุ์”เข้าไปกับผู้บริจาค นอกเสียจากว่าชื่อของผู้บริจาคเองที่บ่งชี้ความเป็นชาติพันธุ์ เช่น วัตถุกระแสหลัก (ของที่พบอย่างดาดๆ) เช่นตุ๊กตาบาร์บี้ที่บริจาคโดยสมาชิกชุมชนชาติพันธุ์ ย่อมกลายเป็นหลักฐานของการพูดถึงสิ่งของนั้นๆ ที่สัมพันธ์กับความเป็นชาติพันธุ์โดยปริยาย   ความคาดหวังของชุมชน                 สิ่งที่จะแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างเล็กโดยกลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาควิเบก และด้วยการสนทนา แสดงให้เห็นมุมมองที่จำกัดของชุมชนภายนอกหรือ “สาธารณะ” ที่มีต่อ พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์มักถูกมองจากเลนส์ของนิทรรศการ คือเป็นสถานที่สำหรับการจัดแสดง หรือการเยี่ยมชมของครอบครัวและโรงเรียน การพูดคุยกับชุมชนวัฒนธรรมต่างๆ เผยให้เห็นถึงความไม่เข้าใจในบทบาทสำคัญพื้นฐานของหน้าที่ในการสะสม สงวนรักษา และวิจัย ในขณะที่มีคนอีกหลายกลุ่มที่ชื่นชมกับคุณค่าของจดหมายเหตุ โดยเฉพาะจดหมาย อนุทิน และภาพถ่ายซึ่งถือเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกอัตลักษณ์ของชุมชน พิพิธภัณฑ์ในฐานะสถาบันจัดเก็บอนุรักษ์รักษาวัตถุ เพื่อชนรุ่นหลัง มักมีการตั้งข้อกังขา เช่น ในระหว่างการสัมภาษณ์กลุ่ม สมาชิกของชุมชนคนดำมอนเทรออล โยงให้เห็นว่า คนจากพิพิธภัณฑ์แมคคอร์ดอาจไม่ได้ตระหนักถึงทาสที่มีอยู่ในควิเบกช่วงศตวรรษ ที่ 18 และเขาเข้าใจเองว่าพิพิธภัณฑ์คงไม่ได้สะสมวัตถุที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ที่ไม่มี ใครกล่าวถึง จริงๆ แล้วพิพิธภัณฑ์แมคคอร์ดเหมือนกับพิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่ง ที่พยายามจัดหาวัตถุที่เกี่ยวข้องกับชนชั้น แรงงานและกลุ่ม “ชายขอบ” ไม่ใช่เพียงว่าเจ้าหน้าที่จะตระหนักสิ่ง เหล่านี้ แต่เราได้จัดหาภาพสีน้ำในยุคแรกๆ ที่แสดงให้เห็นถึงบทบาคนดำในการเป็นคนรับใช้ และบางครั้งเป็นทาส (ด้วยเหตุนี้ สถานภาพก็ยากที่จะตัดสินจากภาพภายนอกเพียงอย่างเดียว)                 เมื่อพิพิธภัณฑ์เริ่มหันมาใส่ใจต่อสิ่ง ทีเคยมองข้ามและจัดเก็บสิ่ง ต่างๆ ในชุมชนวัฒนธรรมแห่งนั้นพิพิธภัณฑ์ต้องเผชิญกับความเข้าใจผิด และลักษณะร่วมสมัยของการเก็บสะสมสิ่งของ ในบางกรณีเจ้าของวัฒนธรรมแสดงความกังวลที่ “คนอื่น” กำลัง ครอบครองมรดกของพวกเขา แล้วซ่อนเร้นไว้ ในหลายๆ กรณีก็อาจกล่าวได้ในทำนองนั้น สำหรับพิพิธภัณฑ์ใหญ่ๆ ที่เก็บของที่จัดแสดงของเพียงเล็กน้อยในนิทรรศการ สมาชิกหลาย คนของชุมชนชาติพันธุ์และวัฒนธรรมคงสบายใจมากกว่าที่จะเก็บของเหล่านั้นไว้ใน ชุมชนของตนเอง ที่ซึ่งแม้จะมีความเสี่ยงต่อการสูญหายและทำลาย แต่พวกเขายังคงเห็นสิ่ง เหล่านั้น และเข้าไปอยู่ในประวัติศาสตร์ของชุมชน ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่ง ที่น่ากังวลใจมากไปกว่าเรื่องการครอบครองและการสูญหาย คือความไม่สอดคล้องของการให้คุณค่าและการนำเสนอวัตถุ สิ่งที่ภัณฑารักษ์ได้เรียนรู้อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่กลุ่มวัฒนธรรมหรือสมาชิกในสังคมใหญ่ให้คุณค่า ตัวอย่างเช่น ภัณฑารักษ์เชื้อสายอิตาลี-แคนาดาที่จัดนิทรรศการล่าสุดที่พิพิธภัณฑ์อารยธรรมแคนาดา เกี่ยวกับชาวแคนาดาเชื้อสายอิตาลีได้เลือกที่จะกล่าวถึง ฟิล เอสโปซิโตนักเล่นฮอกกีชาวแคนาดาที่มีเชื้อเสียงเชื้อสายอิตาลี ไม้ฮอกกี้ไม่ได้มีความหมายสัมพันธ์กับความเป็นอิตาลี แต่ดูจะเป็นสิ่ง ที่แสดงถึงการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมใหญ่และความสำเร็จในการเป็นสมาชิก ของชุมชนวัฒนธรรมในสิ่งที่เรียกว่า “เกมแคนาดา” คำวิจารณ์ที่เกิดขึ้นตั้งประเด็นต่อ “วัฒนธรรมระดับสูง” ที่สัมพันธ์กับอิตาลี บรรดาศิลปินอิตาลีผู้มีชื่อเสียง ลีโอนาโดหรือกาลิเลโอที่มีส่วนในการสร้างสังคมอิตาลี-แคนาดา ไม่ใช่อิตาลีที่อพยพนำพาสิ่ง เหล่านั้นมาสู่แคนาคาหรอกหรือ? (ชื่อศูนย์วัฒนธรรมอิตาลีในมอนเทรออลได้รับการขนานนามตามชื่อของลีโอนาโด ดา วินชี) ใน อีกทางหนึ่งผู้หญิงในชุมชนอิตาลีกล่าวอย่างชัดเจนว่าข้อมูลในนิทรรศการที่ กล่าวถึงความรุนแรงที่มีต่อสตรี เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ชุมชน ซึ่งร่องรอยดังกล่าวกลับปรากฏไม่มากนักในบันทึกต่างๆ   คุณค่าและภารกิจ                 ความยุ่งยากที่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของ “วัตถุพิพิธภัณฑ์” วัตถุที่มีคุณค่าเพียงพอที่จะเข้าไปอยู่ในคลังของพิพิธภัณฑ์ ดังได้แสดงไว้ข้างต้น สำหรับผู้เขียนแล้ว เหล่านี้เป็นผลมาจากพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ในสังคม พิพิธภัณฑ์ในโลกตะวันตกมีชื่อเสียงและประวัติศาสตร์ไปในทิศทางที่เป็นสถาบัน ที่มีอำนาจเต็ม ทัง้ในกำหนดว่าสิ่งใดเป็นที่ควรเก็บสะสมไว้เป็นสมบัติแห่งชาติ และจัดแสดงนิทรรศการเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่เป็นมาตรฐาน ดังนั้น พิพิธภัณฑ์จึงมีลักษณะที่คลุมเครือต่อการเผชิญกับสังคมสมัยใหม่ พิพิธภัณฑ์ดูจะไม่ให้ความใส่ใจต่อชุมชนเฉพาะที่มีความต่างออกไปจาก “มาตรฐาน” และหลีกเลี่ยงที่จะไม่กล่าวถึง ทัง้ที่ในความเป็นจริงพิพิธภัณฑ์สามารถนิยามคุณค่าของของมรดกชุมชนด้วยสมบัติของแต่ละแห่ง สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์อาจมองพิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่เก็บและแสดงวัฒนธรรมวัตถุของตนที่นิยามโดยชุมชนเอง และเล่าเรื่องที่ชุมชน ปรารถนาจะเล่า เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สาธารณะในอีกทางหนึ่ง ผู้ซึ่งต้องการแบ่งปันความคิดเกี่ยวกับคุณค่าที่สัมพันธ์กับการทำงานทางวิชาการและพิพิธภัณฑ์ปฏิบัติการ การเก็บวัตถุที่สัมพันธ์กับเนื้อหาประวัติศาสตร์ การจัดลำดับความสำคัญของวัตถุจากวัตถุธรรมาสามัญจนถึงของหายาก เช่น ชุดในของคนงานระดับแรงงานกับชุดต่างงานที่เป็นสมบัติสืบทอด พิพิธภัณฑ์นำเสนอสิ่งเหล่านี้ในนิทรรศการ ซึ่ง“เสียง” ได้เผยออกและนำไปสู่การถกเถียง การนำเสนอมุมมองหนึ่งของประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ของกลุ่มหนึ่ง แต่อาจจะไม่ตรงต่อตัวตนของอีกกลุ่มหนึ่ง                 ในส่วนของการจัดแบ่งระหว่างมรดกและประวัติศาสตร์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ David Lowenthal ได้แสดงให้เห็นไว้ในหนังสือของเขาเรื่อง The heritage Crusade and the Spoils of History (1998) เขาได้มองว่าขณะที่มรดกสามารถย้ำและร่างตัวตน หากมองไปในเนื้อแล้วจะพบลักษณะของการกีดกันมรดกของคนๆ หนึ่งมีความเฉพาะและไม่สามารถมีความหมายหรือคุณค่ากับคนภายนอกกลุ่ม มรดกใช้ตัวเองเพื่อการสรรเสริญมากกว่าเพื่อการตรวจสอบ และเมื่อพิจารณาเช่นนี้แล้ว ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้ ความขัดแย้งที่มาจากเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์สาธารณะ และเป้าหมายของกลุ่มที่ใช้มรดกเพื่อการยืนยันถึงตัวตนและการสรรเสริญพื้นฐานงานพิพิธภัณฑ์มีแนวคิดของการเข้าถึง ก็คือการเข้าถึงวัตถุและข้อมูล ซึ่งตีกรอบความเข้าใจในประวัตถุและถือเป็นสาระสำคัญของประวัติศาสตร์ของ สาธารณชน ประวัติศาสตร์ที่พิพิธภัณฑ์สาธารณะบอกเล่าอาจไปไม่ใช่เรื่องราวที่ชุมชนของวัฒนธรรมหนึ่งต้องการฟัง หรือกลุ่มมรดกต้องการที่จะได้ยิน ชาวอเมริกันอาจจดจำเรื่องราวเกี่ยวกับ Enola Gay (เครื่องบินทิ้งระเบิดปรมาณูสมัยสงครามโลกครัง้ที่ 2 – ผู้แปล) แม้เรื่องราวของEnola Gay ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเป็นชาติพันธุ์ แต่การซ่อมแซมและจัดนิทรรศการกลับสร้างความขัดแย้งระหว่างชุมชนที่ชื่นชมกับมรดกของการทหารที่แสดงให้เห็นแสนยานุภาพของระเบิดและภารกิจที่เกี่ยวข้องกับนักประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ ที่ต้องการสำรวจและตั้งคำถามกับบทบาทของสหรัฐอเมริกาและปฏิบัติการระเบิดปรมาณู หลังจากที่มีการประท้วงจากกลุ่มทหารที่ร่วมสงครามและผู้สนับสนุน นิทรรศการถูกยกเลิกไปและผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ขอลาออก Sam Johnson ในฐานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกาและคณะกรรมการคนหนึ่งของสถาบันสมิธโซเนียนได้ประกาศว่า อเมริกันชน “ต้องการให้สถาบันสมิธโซเนียนสะท้อนความเป็นอเมริกันจริงๆ และไม่ใช้บางสิ่งที่นักประวัติศาสตร์ฝันขึ้น”13 แรงกดดันระหว่างมรดกและประวัติศาสตร์มักไม่ได้รับการตีแผ่อย่างตรงไปตรงมามากนัก   บทบาทของพิพิธภัณฑ์สาธารณะ                 ผู้เขียนคิดว่าความแตกต่างที่ Lowenthal ได้ กล่าวไว้มีความสำคัญอย่างมากในบริบทของประเทศที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย อย่างประเทศคานาดา ข้อชี้แจงดังกล่าวกระเทาะถึงหัวใจของบทบาทพิพิธภัณฑ์สาธารณะและหน้าที่ในฐานะสถาบันทางสังคม งานเขียนล่าสุดของ Stephen Weil เป็นผู้ที่ย้ำถึงการ “ประเมินที่มีผลลัพธ์เป็นที่ตั้ง” (outcome-base evaluation) สำหรับพิพิธภัณฑ์ ในปาฐกถางานประชุมประจำปีพิพิธภัณฑ์ในอังกฤษเมื่อปี 1999 เขาได้กล่าวไว้ว่า “ถ้า พิพิธภัณฑ์ของเราไม่ดำเนินการด้วยเป้าหมายปลายทางคือเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้คน แล้วเราสามารถเรียกร้องการสนับสนุนจากสาธารณะเพื่อสิ่งใด?” เขาได้ปิดท้ายปาฐากถาด้วย คำยืนยันต่อความภาคภูมิใจของคนทำงานในพิพิธภัณฑ์ทีที่ควรจะเป็น ควรเป็นความภาคภูมิใจที่เชื่อมโยงกับความแตกต่างของคุณภาพชีวิตของผู้คนที่ดีขึ้น ซึ่งมีได้หลายทิศทางและหลายแบบ เพื่อสร้างสภาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในชุมชนของเรา”14                 แนวคิดของ Weil ที่มองว่าพิพิธภัณฑ์จะได้ความสนับสนุนจากสาธารณะก็ต่อเมื่อพิพิธภัณฑ์ได้ทำงานเพื่อ “ความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกัน” ของผู้คน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ แต่ Weilไม่ได้นิยามคำว่าความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกัน แต่ผู้เขียนประสงค์ที่จะสานต่อความคิดของเขาเข้ากับความคิดต่างๆ ที่นักเศรษฐศาสตร์ชาวแคนาดา John Helliwell ได้กล่าวถึงผลกระทบของทุนทางสังคมกับความเป็นอยู่ที่ดี Helliwellได้ตั้งข้อสังเกตในงานเขียนล่าสุดว่า “ผู้ คนดูจะให้ความใส่ใจต่อบริบทสังคม ซึ่งพวกเขาเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ว่าพวกเขาจะเล่นอยู่ในบทบาทใดพวกเขาให้คุณค่าและความไว้วางใจต่อเพื่อน บ้าน สถานที่ทำงาน บริการสาธารณะ และข้ารัฐการ”15นโยบายการอพยพและการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของควิเบก (1991) ทั้งที่ปฏิบัติอยู่ในสถาบันเอกชนและสาธารณะ จะต้องปรับให้เข้ากับความจริงที่เป็นพหุวัฒนธรรม เพื่อช่วยให้คนอพยพและลูกหลานของพวกเขาได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมควิเบก16 ผู้ เขียนอยากจะเสนอแนะให้พิพิธภัณฑ์ทำหน้าที่ทางสังคมกับผู้คนมากกว่าที่จะเป็น สถานที่ทำงานหรือสำนักงานรัฐบาล และด้วยความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของพิพิธภัณฑ์นี่เองที่จะทำให้ผู้คนมีความรู้สึกของความเป็นอยู่ที่ดีและความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม นั่นคือความรู้สึกถึงความเป็นพลเมือง17 ความรู้สึกเช่นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพิพิธภัณฑ์อย่างเช่นแมคคอร์ด ซึ่งมีคลังสะสมวัฒนธรรมวัตถุของคานาดา และนำเสนอนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์และบนเว็บไซต์ทั้งภาษาฝรัง่เศสและภาษาอังกฤษ ผู้เขียนขอย้ำ ถึงว่าเราได้สร้างความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยใช้วัตถุในคลังสะสมและการนำเสนอเรื่องราวผ่าประวัติศาสตร์วัตถุของประเทศ ของเรา ผู้เขียนใช้คำว่า “ประวัติศาสตร์” อย่างระมัดระวังด้วยคำอธิบายความแตกต่างของ Lowenthal ระหว่างมรดก ซึงมีการกีดกันบางสิ่งบางอย่างออกไป และแก่นแกนของประวัติศาสตร์ที่เปิดรับและมีลักษณะที่ให้พื้นที่การเข้ามามีส่วนร่วม พิพิธภัณฑ์ของเราปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะดึงเอาคลังวัตถุมาสะท้อนประวัติศาสตร์ของสถานที่นี้ สถานที่ของเรามีตัง้แต่ต้นศตวรรษที่ 20 ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แมคคอร์ด David Ross McCord เชื่อว่าประวัติศาสตร์คานาดา หากกล่าวอย่างกว้าง สามารถเชื่อมให้พลเมืองของประเทศมองเห็นอัตลักษณ์แห่งชาติที่พัมนามาจากอารยธรรมฝรัง่เศสและอังกฤษ และเสริมความเป็นอินเดียนเข้าไปในฐานะ “เจ้าของดัง้เดิมบนแผ่นดิน” ชาวคานาดายอมรับอย่างเต็มภาคภูมิ

ถอดรหัสงานอนุรักษ์

22 มีนาคม 2556

บทบาทของนักอนุรักษ์กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จากนักอนุรักษ์ที่อยู่หลังห้องก้าวมาเป็นนักเคลื่อนไหวที่กล้ามีปากมีเสียง เรียกร้องในเรื่องการปกป้องคุ้มครองและอนุรักษ์มรดกวัตถุของมนุษยชาติ ขณะเดียวกันก็เป็นนักสืบผู้ไขข้อมูลด้านใหม่ๆ ของชนิดวัสดุและความหมายของวัตถุ   แม้ว่าพิพิธภัณฑ์จะเป็นจุดหมายลำดับท้ายๆ ในวิถีการดำเนินชีวิต แต่ผู้คนก็ยังคงไปพิพิธภัณฑ์ด้วยเพียงเหตุผลง่ายๆ อย่างเดียวคือเพื่อศึกษาเรียนรู้ เมื่อใดก็ตามที่ผู้ชมได้เห็นนิทรรศการก็มักชื่นชมทึ่งกับความชาญฉลาดในการ สรรสร้างวัตถุและความสวยงามของการจัดแสดง น้อยคนนักที่จะตระหนักถึงทีมงานมืออาชีพทั้งหมดที่ร่วมกันทำงานอย่างพิถี พิถันเพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่น่ารื่นรมย์ให้แก่ผู้ชม   นอกจากภัณฑารักษ์แล้ว นักออกแบบภาพกราฟฟิคและนิทรรศการยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างอารมณ์ ความรู้สึกและดึงความงามจากวัตถุให้เผยออกมา มีนักออกแบบแสงและช่างเทคนิครวมทั้งนักการศึกษาเป็นผู้สร้างชีวิตชีวาให้กับ นิทรรศการผ่านงานสื่อสิ่งพิมพ์ โปรแกรมและกิจกรรมต่างๆ ท้ายที่สุดคือนักอนุรักษ์ที่มีบทบาทสำคัญมิใช่น้อย ทั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นผู้ออกมายืนยันรับรองสถานภาพของวัตถุว่าอยู่ในสภาพดี เท่านั้น หากแต่ยังต้องให้คำแนะนำแก่ผู้ร่วมทีมที่เหลือทั้งหมดถึงวิธีการที่ดีที่สุด ในการจัดวางและแสดงวัตถุ ปัจจุบันนักอนุรักษ์แสดงบทบาทสำคัญเป็นนักสืบผู้ช่วยภัณฑารักษ์ในการไข ปริศนาเจาะลึกเรื่องวัสดุและความหมายของการสร้างวัตถุ บทบาทที่เพิ่มขึ้นของนักอนุรักษ์ช่วยเปิดโอกาสใหม่ๆ ให้เหล่าภัณฑารักษ์และนักวิชาการได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลสืบต่อจากงานวิจัย ที่มีอยู่เดิม   โดยสามัญสำนึกแล้ว งานอนุรักษ์เป็นงานที่ต้องอุทิศตนอย่างอดทนในการสร้างความมั่นใจว่าวัตถุ มรดกทางวัฒนธรรมได้รับการปกป้องอย่างดีเพื่อเป็นประโยชน์แก่คนรุ่นต่อไปใน อนาคตซึ่งวัตถุเหล่านี้มีมากหลากประเภท ได้แก่ ภาพเขียนจิตรกรรม เอกสารสิ่งพิมพ์หรือต้นฉบับลายมือเขียน ผ้าทอ เครื่องแต่งกาย วัตถุชาติพันธุ์ วัตถุจากการขุดค้นทางโบราณคดี ชิ้นส่วนโครงสร้างสถาปัตยกรรม สถานที่ทางประวัติศาสตร์ และอื่นๆ อีกมากมาย   งานป้องกันมรดกและวัตถุทางวัฒนธรรมทั้งหมดเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจคุ้นเคย กับปัจจัยสำคัญของการทำให้วัตถุต่างๆ เสื่อมสลายอันมีหลายเหตุปัจจัยบังคับ เช่น แสงสว่าง ความชื้น มลพิษ สัตว์แมลง และการหยิบจับ ซึ่งล้วนแล้วแต่เร่งให้วัสดุเกิดการชำรุดเสียหาย ในพิพิธภัณฑ์การควบคุมที่เหมาะสมและการหมุนเวียนวัตถุจัดแสดง ตลอดจนการจัดเก็บในห้องคลังเป็นตัวแปรเสริมที่สำคัญ กิจกรรมดังกล่าวเป็นงานในลักษณะป้องกันความเสื่อมสลายของวัตถุที่ผู้เยี่ยม ชมมักไม่เห็นหรือสังเกตได้ในทันที อีกนัยหนึ่งคือ “การทำให้มองไม่เห็น” เป็น ภารกิจงานหลังฉากที่ต้องปิดซ่อนทำให้มองไม่เห็นร่องรอยการบำรุงรักษาเพื่อ ซ่อมแซมหรือฟื้นฟูวัตถุที่ชำรุดเสียหาย และประเด็นปัญหาที่สามของงานอนุรักษ์ คือ การปลูกจิตสำนึกและตระหนักรู้ถึงหลักการป้องกันรักษาและงานอนุรักษ์ให้ขยาย วงกว้างออกไปอย่างไม่ย่อท้อแม้จะบรรลุผลช้าแต่มั่นคง อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการอนุรักษ์ ทั้งนี้ด้วยมีความตระหนักมากขึ้นว่ามรดกทางวัฒนธรรมมิใช่แค่วัตถุที่มีอยู่ ในรั้วพิพิธภัณฑ์เพียงสองสามแห่งเท่านั้นแต่ยังหมายรวมถึงวัตถุที่เป็นมรดก สะสมส่วนบุคคลด้วย และในแง่มุมสุดท้ายนี้เองที่สร้างเวทีให้กับงานด้านอนุรักษ์ภายใต้กรอบการทำ งานที่กว้างและครอบคลุมงานทุกด้านของการสงวนรักษาเพื่อสรรหาวิธีการที่ดีและ เหมาะสมกลมกลืนที่สุดมาใช้ดูแลรักษาวัตถุ(รูปธรรม) เหล่า นั้นให้ดำรงคงอยู่ยาวนานขึ้นเพื่อบอกเล่าความหมายต่อให้กับคนรุ่นถัดไป งานสงวนรักษาจึงไม่เพียงเฉพาะการเสริมโครงสร้างกายภาพของวัตถุและการบำรุง ป้องกันซึ่งเป็นงานอนุรักษ์ หากแต่ยังรวมถึงงานด้านแผนนโยบาย ปรัชญาและการสนับสนุนส่งเสริมซึ่งเน้นย้ำและนำไปสู่พันธหน้าที่อันดับแรกของ นักอนุรักษ์   มีผู้คนและองค์กรที่เสียสละและใช้ความพยายามทั้งหมดในการปกป้องและ(แง่มุม)การ นำเสนอวัฒนธรรมและมรดกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ ดังที่พวกเขาได้เสาะแสวงหาวัตถุทางประวัติศาสตร์ที่ครบสมบูรณ์ทั้งในฐานะ วัตถุสะสมส่วนบุคคลและส่วนรวม โดยมีความเข้าใจอย่างละเอียดถี่ถ้วนเกี่ยวกับหลักการอนุรักษ์ไม่ให้วัตถุ เกิดความเสียหาย นับเป็นพัฒนาการที่ดีในระยะยาวของการสงวนรักษาวัสดุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม   การฉายแสงอินฟราเรดบนมรดกวัตถุ             ก่อนลงมือปฏิบัติการซ่อมสงวนเป็นเรื่องสำคัญมากที่นักอนุรักษ์และภัณฑารักษ์ต้อง เข้าใจลักษณะธรรมชาติและประวัติความเป็นมาของชนิดวัสดุที่ต้องการอนุรักษ์ เพื่อการจัดเก็บรักษาและจัดแสดงในระยะยาวซึ่งจำเป็นต้องใช้บุคลากร พิพิธภัณฑ์ที่มีประสาทสัมผัสไว โดยพวกเขาจะสนทนาแลกเปลี่ยน ถกเถียงและอภิปรายให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ผลลัพท์เป็นที่ยอมรับสำหรับแนวทาง ปฏิบัติที่เหมาะสมที่สุดในตอนท้าย               วิธีการทางตรงที่จะสกัดให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับมรดกวัตถุทางวัฒนธรรมคือการ วิเคราะห์รายละเอียดของเทคนิคและการพิสูจน์ทดสอบวัสดุนั้นๆ ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบของชนิดวัสดุรวมทั้งลักษณะสภาพของวัตถุ ในทางกายภาพ นักอนุรักษ์และนักวิทยาศาสตร์ได้นำกระบวนการวิเคราะห์และแนวคิดนอกกรอบการ อนุรักษ์ที่หลากหลายมาพัฒนาประยุกต์เป็นผลสำเร็จเพื่อใช้ในการศึกษาและทำ ความเข้าใจวัตถุสะสมของพิพิธภัณฑ์             มีบางเทคนิคที่ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายถูกนำมาใช้ทดสอบและวิเคราะห์วัตถุ ได้แก่ การส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตอริโอ (Stereo-Microscopy) เทคนิคฉายเรืองแสงรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต (Ultra-Violet Radiation Fluorescence) รังสีเอ็กซ์ (X-Radiography) การวัดค่าความยาวคลื่นรังสีอินฟราเรดของอะตอมในอนินทรีย์วัตถุ (in-situ Fourier-Transform Infra-Red Spectrometry) และการวัดค่าความยาวคลื่นรังสีเอ็กซ์ (X- Ray Fluorescence Spectrometry) ด้วยขนาดอนุภาคเล็กจิ๋วจากชิ้นส่วนของวัสดุสามารถใช้วิเคราะห์แสดงผลคุณลักษณะสีในแนวตัดขวาง(Paint cross-section analysis) วิเคราะห์อนุภาคเม็ดสี (Pigment particle analysis) และวิเคราะห์องค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐาน (Fibre analysis) ยิ่ง ไปกว่านั้นยังสามารถขยายใหญ่ขึ้นได้ด้วย เราสามารถดูพื้นผิวในจุดที่เล็กขนาดเท่านาโนได้โดยการใช้กล้องสแกนอิเล็ค ตรอน และวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุด้วยการใช้วิธีการวัดค่าคลื่นกระจายพลังงาน (Energy Dispersive Spectrometry) การวิเคราะห์ทางเคมีช่วยให้การระบุชนิดวัสดุของมรดกวัตถุทางวัฒนธรรมได้เป็นผลสำเร็จ ประกอบด้วยการแยกองค์ประกอบของสาร (Gas Chromatography) การแยกองค์ประกอบส่วนผสมทางเคมี (High Performance Liquid Chromatography) การวัดค่าอนุภาคมวลโมเลกุลจากอะตอมที่มีประจุไฟฟ้า (Mass Spectrometry) และการวัดหาค่าที่สองของอะตอมที่มีประจุไฟฟ้า (Second Ion Mass Spectrometry)                 ภัณฑารักษ์และนักประวัติศาสตร์ศิลปะจะเป็นผู้ใช้ข้อมูลในเรื่องรายละเอียดจากเครื่อง ตรวจจับความไวสูงรังสีอินฟราเรดบนแถบสเป็กตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งแทรกซึมผ่าน ชั้นสีได้มากกว่าลำแสงที่ตามองเห็น ขณะที่วัสดุต่างชนิดจะดูดซับ สะท้อนและเป็นสื่อตัวกลางให้ระดับค่ารังสีอินฟราเรดที่ผันแปร เครื่องตรวจจะจับภาพที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าซึ่งเผยให้เห็นการ เปลี่ยนแปลงแก้ไขที่ศิลปินทำขึ้นก่อนหลายครั้งเพื่อจัดวางองค์ประกอบของภาพ เขียน               ข้อมูลที่ได้มานั้นทำให้ได้มุมมองใหม่ว่าการสร้างงานศิลปะค่อยๆ พัฒนาขึ้นอย่างไรทั้งยังเอื้อประโยชน์ให้แอบดูกระบวนการทางความคิดของศิลปิน ได้ด้วย นอกจากนี้เรายังได้ข้อมูลเกี่ยวกับสี เม็ดสีและเทคนิคที่ศิลปินใช้ซึ่งเป็นประโยชน์มากสำหรับกระบวนการอนุรักษ์ใน คราวต่อไป   ภาพเหมือนของศิลปิน กรณีศึกษาทางเทคนิคในประวัติศาสตร์ศิลปะ             ในปี ค.ศ. 2006 ศูนย์อนุรักษ์มรดก (Heritage Conservation Centre) ได้ทำการศึกษาภาพเขียนชุดหนึ่งของศิลปินชาวสิงคโปร์นามว่า ‘หว่อง ซิน โยว’ (Wong Shih Yaw) ด้วย เทคนิคฉายอินฟราเรดและเป็นส่วนหนึ่งของงานโครงการวิจัยการอนุรักษ์ การฉายอินฟราเรดเป็นเทคนิคที่เชื่อว่าเหมาะสมที่สุดด้วยเป็นเครื่องมือที่ ไม่ต้องใช้ชิ้นส่วน ตัวอย่างจากภาพเขียนดังนั้นจึงไม่เป็นการทำลายใดๆ ซึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากในงานอนุรักษ์เพื่อให้มั่นใจได้ว่าไม่ กระทำอันตรายต่อวัตถุที่นำมาทดสอบและปฏิบัติ   จาก การศึกษาภาพเขียนของหว่องด้วยการฉายอินฟราเรด ทำให้เราสามารถสรุปได้ว่าศิลปินนั้นค่อนข้างพิถีพิถันเป็นอย่างมากในการทำ ให้แน่ใจว่าภาพร่างองค์ประกอบของเขานั้นจัดวางได้อย่างเที่ยงตรงแม่นยำบนผืน ผ้าใบหรือแผ่นป้ายก่อนที่เขาจะลงสีต่อให้เสร็จ หลักฐานที่สำคัญคือหว่องใช้เส้นตีตาราง (Grid line) ในการสร้างรูปวัตถุทรงกลม ได้แก่ จาน ชาม ในงานชุดภาพเขียนหุ่นนิ่ง (Still life) ที่สวยงามละเอียดลออของเขา และผลงานชิ้นใหญ่ของเขาภายใต้ชื่อ ‘การฟื้นคืนชีพของพระคริสต์’ (The Resurrection of Christ) เราสามารถแยกแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลง 2 แห่ง ที่แตกต่างกันในบริเวณที่มองเห็นได้ไม่ชัดเจนนักซึ่งทำขึ้นเพื่อสร้างองค์ ประกอบรวมของภาพ อีกทั้งยังสามารถค้นหาแยกพื้นผิวบนภาพเขียนที่ศิลปินใช้สีเข้มข้นเมื่อเรานำ อินฟราเรดไปส่องด้านหลังของผืนผ้าใบเพื่อฉายและถ่ายออกมาเป็นภาพอินฟราเรด   ภาพอินฟราเรดขององค์ประกอบภาพและผลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการกระทำของ หว่องช่วยให้เราเข้าใจมากขึ้นในการลอกเลียนกระบวนการทำงานของเขาได้โดยตลอด ข้อมูลการสัมภาษณ์ศิลปินอย่างไม่เป็นทางการในช่วงต้นปี ค.ศ. 2007 ช่วย ยืนยันข้อค้นพบและทำให้เกิดการถกเถียงมากขึ้น ซึ่งการแลกเปลี่ยนนี้ยังเปิดวงกว้างให้กับการศึกษาโดยเฉพาะในประเด็นที่ ศิลปินตัดสินใจใช้ภาพแบบร่างและนำมาประกอบรวมกันเป็นภาพสุดท้ายเมื่อวาด เสร็จได้อย่างไร   ในส่วนข้อมูลวัสดุและโครงสร้างของภาพเขียนมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการสืบเสาะ หาความหมายและตีความผลงานทางศิลปะของตัวศิลปิน เช่นเดียวกันกับเทคนิคการทดสอบและวิเคราะห์ที่เผยให้เห็นมูลค่าของข้อมูล อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากวัตถุนั้นมิได้อยู่ในความดูแลครอบครองของพิพิธภัณฑ์ การประสมประสานเทคนิคการทดสอบและระเบียบวิธีการวิเคราะห์ที่หลากหลายสามารถ นำเสนอมุมมองพิเศษที่ขยายเพิ่มองค์ความรู้ที่มีอยู่จากบันทึกหน้าประวัติ ศาสตร์ และเอื้อประโยชน์ให้เกิดการตีความสังคมและมรดกวัตถุได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น   หลักปฏิบัติของการอนุรักษ์ เทคนิคการทดสอบที่มีรายละเอียดสมบูรณ์อาจเพียงพอสำหรับการลงมือปฏิบัติงานอนุรักษ์ หากแต่นักอนุรักษ์นั้นหวังที่จะเข้าใจเกี่ยวกับตัววัตถุให้ได้มากที่สุดเท่า ที่จะทำได้จนกว่าจะตัดสินใจเลือกวิธีการและวัสดุใดที่นำมาใช้ป้องกันรักษา ให้ได้ผลอย่างเต็มที่ในระยะยาว   นักอนุรักษ์ยึดมั่นแนวทางหลักปฏิบัติ 3 ประการเพื่อที่จะลดผลกระทบความเสียหายใดๆ ในระยะยาวที่ก่อเกิดจากการกระทำของตน หลัก 3 ประการนี้ ได้แก่ 1)       เสริมเติมให้น้อยที่สุด 2)       แข็งแรงมั่นคง และ 3)       กลับคืนสู่สภาพเดิมได้   หลักปฏิบัติของการเสริมเติมให้น้อยที่สุดเป็นผลมาจากจิตสำนึกที่ว่างานอนุรักษ์ และฟื้นฟูนั้นสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการมองและรู้สึกต่อวัตถุได้อย่างมีนัย สำคัญ ดังนั้นเพื่อที่จะคงไว้ซึ่งรูปร่างลักษณะและวัสดุดั้งเดิมของวัตถุไว้ให้ได้ มากที่สุดการสงวนบำรุงรักษาจึงลงมือปฏิบัติเฉพาะบริเวณที่ชำรุดเสียหายเท่า นั้น ไม่มากและไม่น้อยไปกว่านี้ ซึ่งสิ่งนี้เรียกได้ว่าเป็นการตัดสินที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกใช้ วัสดุและเทคนิคในสัดส่วนที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดในการรับมือกับปัญหาตรง หน้า   การสงวนบำรุงรักษาและความพยายามทั้งหมดนั้นก็เพื่อแสวงหาผลสำเร็จสูงสุดในการปก ป้องวัตถุระยะยาว ดังนั้นวัสดุใหม่ชิ้นใดก็ตามที่เติมเสริมลงไปเพื่อซ่อมแซมหรือเสริมความแข็ง แรงให้กับวัตถุจะต้องมีลักษณะโครงสร้างทางกายภาพและทางเคมีคงที่ในระยะยาว เช่นเดียวกัน ทั้งยังไม่ควรมีความเสี่ยงต่อผลกระทบข้างเคียงที่ทำอันตรายซึ่งอาจจะเกิด ขึ้นได้จากการใช้วัสดุไม่คงที่หรือมีคุณสมบัติต่ำกว่าของเดิม หลักปฏิบัติในขั้นตอนสุดท้ายคือการทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้นั้นเป็นอีก หนึ่งข้อที่ต้องเข้มงวด ซึ่งแนวคิดนี้เป็นอุดมคติมากกว่าจะใช้ปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้เป็นเพราะนักอนุรักษ์คาดหวังว่าวัสดุชนิดใดก็ตามที่ใช้เติมเพิ่ม เพื่อซ่อมแซมวัตถุจะต้องปรับเปลี่ยนได้หากในอนาคตมีวัสดุหรือเทคนิควิธีการ ที่ดีกว่า อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่กรณีที่จะเกิดขึ้นเพราะเทคโนโลยีที่จำกัดเสมอไป จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการปะทะกันระหว่างการหยุดยั้งเวลาไว้ด้วยการใช้ วัสดุซึ่งปกติคงที่อยู่แล้วแต่ลอกออกไม่ได้ง่ายกับความต้องการมั่นใจว่า งานอนุรักษ์ในวันนี้จะไม่เป็นอุปสรรคของการพยายามอนุรักษ์วัตถุชิ้นเดิมใน อนาคต   บทบาทของนักอนุรักษ์ในพิพิธภัณฑ์นั้นทั้งท้าทายและหลากหลายมากขึ้น ในอดีตพวกเขาทำงานอนุรักษ์ฟื้นฟูอยู่หลังห้องมาเป็นเวลานานโดยไม่มีใคร สังเกตเห็นเพื่อช่วยกอบกู้ความงดงามของวัตถุกลับคืนมา ปัจจุบันนักอนุรักษ์ถูกคาดหวังให้เป็นมากกว่านักเทคนิคผู้เชี่ยวชาญ ต้องค่อนข้างมีความมั่นใจกล้าพูดอธิบายความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ได้อย่าง ชัดเจน มีทัศนคติที่เห็นความสำคัญทั้งกับผู้ที่ถือประโยชน์ร่วมกันและผู้ร่วมงานใน สาขาวิชา เดี๋ยวนี้นักอนุรักษ์ต้องเป็นผู้สนับสนุนงานป้องกันรักษาที่จำเป็นสำหรับ วัฒนธรรมและมรดกของเราในระยะยาวมากพอๆ กับที่นักอนุรักษ์พยายามที่จะบรรลุเป้าหมายกระตุ้นให้คนรุ่นหนุ่มสาวยุค ปัจจุบันมองเห็นความสำคัญและสนใจอดีตความเป็นมาของชาติเพิ่มมากขึ้น และเพื่อสิ่งที่ดีกว่าสำหรับทุกคนด้วยเช่นกัน   คำอธิบายเพิ่มโดยผู้แปล 1) รังสีอินฟราเรด (IR radiation)ดูด กลืนวัสดุสีดำได้เป็นอย่างดี เช่น ดินสอ สีชอล์ก หรือหมึกสีดำ และผ่านทะลุผ่านชั้นสีหรือชั้นเคลือบบางๆ ได้ จึงสามารถใช้ตรวจสอบภาพสเกตซ์ที่อยู่ภายใต้ภาพเขียนสีได้ โดยใช้กล้องอินฟราเรดช่วยจับภาพ 2) กล้องจุลทรรศน์ชนิดสเตริโอ เป็นกล้องที่ให้กำลังขยายต่ำกว่าปกติ 10-50 เท่า โดยสามารถใช้ทดสอบตัวอย่างที่เป็นสามมิติได้  3) รังสีอัลตราไวโอเลต (UV radiation)ใช้ ตรวจสอบและกำหนดอายุของวัสดุที่มีสารอินทรีย์เป็นองค์ประกอบ ทั้งนี้เพราะวัสดุหลายชนิดเรืองแสงภายใต้รังสียูวี ซึ่งลักษณะการเรืองแสงขึ้นอยู่กับชนิดและความเก่าแก่ของวัสดุนั้นๆ เช่น หินอ่อนโบราณเรืองแสงเป็นจุดสีเหลืองและฟ้า ขณะที่หินอ่อนยุคใหม่ปรากฏเป็นสีแดงอมม่วงภายใต้แสงยูวี หรือในภาพเขียนที่มีอายุนาน สารอินทรีย์ในภาพนั้นจะทำให้เห็นการเรืองแสงชัดเจน ในขณะที่สีที่ถูกระบายตกแต่งขึ้นใหม่นั้นจะไม่เกิดการเรืองแสง 4) รังสีเอ็กซ์ (X-radiography) เป็น รังสีที่สามารถทะลุผ่านวัสดุได้ดีที่สุดกับวัสดุที่ประกอบด้วยธาตุเบา ได้แก่ ไม้ กระดูก เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น เช่น การฉายรังสีเอกซ์กับตัวอย่างมัมมี่ทำให้เราเห็นภาพภายในได้โดยไม่ต้องแกะผ้า พันศพ 5) XRF (X-ray Fluorescence) เมื่ออะตอมของธาตุใดธาตุหนึ่งในวัสดุ (ยกเว้นธาตุที่เบาเกินไป เช่น ต่ำกว่าโซเดียม) ถูกกระตุ้น โดยการฉายรังสีเอ็กซ์ หรือการระดมยิงด้วยอิเล็กตรอนพลังงานสูงจะทำให้เกิดการปล่อยรังสีเอกซ์ที่มี ค่าความยาวคลื่นหรือพลังงานเฉพาะตัวออกมา โดยที่ความยาวคลื่นหรือพลังงานที่ปล่อยออกมาจากแต่ละธาตุจะไม่ตรงกัน ทำให้เราระบุได้ว่าในตัวอย่างมีธาตุอะไรอยู่บ้าง 6) Gas Chromatographyเป็น การแยกสารที่เป็นองค์ประกอบในตัวอย่างที่เป็นของเหลวหรือก๊าซ โดยอาศัยหลักการที่ว่า สารแต่ละชนิดเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางในอัตราเร็วที่ไม่เท่ากัน ทำให้สามารถแยกออกจากกัน จากนั้นเมื่อเทียบกับสารมาตรฐานก็จะทราบว่าในตัวอย่างมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ที่มา: คำบรรยายเรื่องการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์กับงานอนุรักษ์โบราณวัตถุ โดยมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ในการฝึกอบรมความรู้การ การอนุรักษ์เชิงป้องกัน จัดโดย สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ปี 2550   แปลและเรียบเรียง จาก Lawrence Chin . Behind The Scenes: Conservation Decoded. BeMUSE. Vol.01 Issue.02 (Jan-March 2008)   หมายเหตุ ลอว์เรน เฉิน ดำรงตำแหน่งหัวหน้างานอนุรักษ์ (ภาพเขียน) ศูนย์อนุรักษ์มรดกสิงคโปร์ (Heritage Conservation Centre, Singapore)  

บทบาทของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในการรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

20 มีนาคม 2556

ยูเนสโก(UNESCO) เป็นองค์กรแรกๆ ที่นำเสนอเรื่องของการปกป้องมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้(intangible culture heritage: ICH) และได้นิยามความหมายของ ICH ว่า หมายถึง วิถีปฏิบัติ  การแสดงออก  การแสดงความคิด ความรู้  ทักษะ  ของชุมชน กลุ่มคน หรือแม้กระทั่งบุคคล ที่ตระหนักว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของมรดกวัฒนธรรมนั้น  และมีการส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น  มีการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม  ธรรมชาติ และประวัติศาสตร์ของพวกเขา  นำไปสู่อัตลักษณ์และความสืบเนื่องของวัฒนธรรม  ซึ่งเป็นแนวทางที่สนับสนุนการเคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการสร้างสรรค์ของมนุษย์[1]      ตัวอย่าง ของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ได้แก่ ประวัติศาสตร์คำบอกเล่า เช่น บทกวี นิทาน  วรรณกรรม   การแสดง เช่น การเล่นดนตรี การร้องเพลง การเต้นรำ การเชิดหุ่น และการละคร   พิธีกรรมและงานเฉลิมฉลอง  งานช่าง งานฝีมือ  ระบบความรู้พื้นบ้านเกี่ยวกับยารักษาโรค ดาราศาสตร์  และโลกธรรมชาติ  รวมไปถึงแหล่งและเพื้นที่ที่ใช้จัดกิจกรรมและเหตุการณ์สำคัญทางวัฒนธรรม[2]   ทราบกันดีว่าพิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่เก็บรักษา อนุรักษ์ และจัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ  วัตถุชาติพันธุ์  วัตถุร่วมสมัย ฯลฯ ซึ่งรวมเรียกว่าเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องได้ (tangible heritage)  อย่าง ไรก็ดีปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์มีแนวโน้มพยายามขยายวงหน้าที่ของตนเองไปสู่การนำเสนอเรื่อง ของมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ด้วยเจตนารมณ์อันดีในการจะปกป้องหรืออนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเหล่านั้นที่กำลัง จะสูญหาย   ในกรณีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทย ที่มีราว 700 แห่งในปัจจุบัน[3] ดำเนิน การโดยชาวบ้าน ชุมชน วัด หรือแม้แต่เอกชน  มีเนื้อหาการจัดแสดงที่หลากหลายมาก  จำนวนกว่าครึ่งจัดแสดงข้าวของและเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีชีวิตท้องถิ่น  ภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น งานฝีมือ จึงไม่น่าแปลกใจว่าเมื่อสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ(สวช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับนโยบายและแนวคิดของยูเนสโกในการทำคลังข้อมูล(inventory) ของมรดก วัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้  ในชื่อโครงการภูมิบ้านภูมิเมือง ให้สำนักงานวัฒนธรรมประจำจังหวัดเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลและคัดเลือกมรดก วัฒนธรรมวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ในจังหวัดของตนเอง  ซึ่งหลายจังหวัดก็เข้ามาเก็บข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหลายแห่ง   อย่างไรก็ดีบรรดาชาวพิพิธภัณฑ์ที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมเหล่านั้นคงไม่ทราบว่า ICH หมายถึงอะไร (และอาจไม่จำเป็นต้องรู้) เนื่อง ด้วยการที่วัฒนธรรมใดจะอยู่รอด  มีชีวิตชีวา และสืบทอดอย่างยั่งยืนในสังคมนั้นไม่ใช่เพราะการได้เข้าไปอยู่ในบัญชีราย ชื่อขององค์กรใด แต่ประกอบไปด้วยหลายปัจจัย อาทิ การตัดสินใจของชุมชนเองว่าอะไรคือวัฒนธรรมของพวกเขา และวัฒนธรรมอะไรที่พวกเขาต้องการรักษา รวมไปถึงสภาพแวดล้อม  ระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน  บริบททางสังคมและการเมืองที่เข้มแข็ง    ในที่นี้ผู้เขียนจะขอยกตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่มีคุณลักษณะบางประการที่ ทำให้เห็นประเด็นของการปกป้องและอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ด้วย ตัวเองอย่างชัดเจน ลองมาพิจารณาร่วมกันว่าพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจะเป็นเครื่องมือที่จะปกป้องและ อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม รวมถึงจะถ่ายทอดความรู้กันได้อย่างไร   พิพิธภัณฑ์ผ้า : การสร้างสรรค์ที่ไม่เคยหยุดนิ่งของชุมชน             การทอผ้าถือเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ในแต่ละท้องถิ่นจะมีความแตกต่างกันไปทั้งในด้าน วัตถุดิบ สี ลวดลาย เทคนิคการทอ ขึ้นกับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนการผสมผสานค่านิยมในสังคม ผ้าทอผืนหนึ่งเกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างความสามารถ จินตนาการ เวลา และความอดทนของผู้ทอ  ผ้าทอผืนหนึ่งจึงเป็นแหล่งรวบรวมสรรพวิทยาสาขาต่างๆ มากมายเข้าด้วยกัน ทั้งศิลปะ วิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ ฯลฯ ผ้าทอแต่ละผืนจึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกัน   โกมล พานิชพันธ์  เจ้าของพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ จ.แพร่ เคยกล่าวไว้ในคราวงานประชุมพิพิธภัณฑ์ในศตวรรษหน้า ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรว่า “ผ้าที่ทำขึ้นมาร้อยชิ้นพันชิ้นไม่มีวันเหมือนกัน โดยที่โลโก้ไม่เหมือนกัน เหมือนลายเซ็นต์แต่เซ็นต์ด้วยเส้นใยผ้า” [4]   ความงดงามของผ้าผืนหนึ่งที่เกิดจากการฝีมือและความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ของ คนๆ หนึ่ง อันเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้   ช่างทอคนหนึ่งมิได้มีชีวิตยาวนานตราบชั่วฟ้าดินสลาย แม้ลวดลายดั้งเดิมที่เคยทำไว้จะเลียนแบบกันได้ แต่ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ที่ประกอบกันอยู่ในหัวของช่างทอที่จะสามารถคิดค้นลวดลายต่างๆ ได้อีกมากนั้นเลียนแบบกันลำบาก     อย่างไรก็ดี การทอผ้าตามครัวเรือนในหมู่บ้านของไทยอยู่ในสถานการณ์ที่เริ่มลดน้อยลง ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา เมื่อระบบเงินตราเข้ามาแทนที่ระบบการค้าแบบดั้งเดิม โรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตได้ครั้งละมาก ๆ และมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเข้ามาแทนที่หัตถกรรมที่ผลิตได้ช้ากว่า  นอกจากนี้ประเพณีบางอย่างที่สัมพันธ์กับการทอผ้าเปลี่ยนไปหรือสูญหายไปทำ ให้การทอผ้าสูญหายตาม เช่น การถวายผ้าห่มพระธาตุ ผ้าห่มพระพุทธรูป และผ้ากฐิน และที่สำคัญในยุคโลกาภิวัตน์ เมื่อโลกกลายเป็นหนึ่งเดียว วัฒนธรรมท้องถิ่นหลายอย่างปรับเปลี่ยน ผสมผสานกับวัฒนธรรมที่เข้ามาจากข้างนอก  ชีวิตประจำวันของคนในสังคมส่วนใหญ่เป็นแบบสมัยใหม่ที่ต้องการความสะดวกสบาย ประหยัดเวลา การนุ่งห่มเสื้อผ้าที่ผลิตจากโรงงาน ราคาไม่แพง ซื้อหาได้ง่ายตามท้องตลาดเป็นที่นิยม  ทำให้ดูเหมือนว่าผ้าทอแบบดั้งเดิมอยู่ในภาวะที่เสียงต่อการสูญหาย  แต่ท่ามกลางความทันสมัยก็เกิดปรากฏการณ์ท้องถิ่นนิยม และอีกหลายปัจจัยที่ทำให้ผ้าไทยหรือผ้าทอมือได้รับความนิยม[5]  หัตถกรรม การทอผ้าที่อาศัยภูมิปัญญาดั้งเดิมในบางชุมชน จึงสามารถดำรงอยู่และสืบต่อมาได้   โดยการปรับเปลี่ยนวิธีการ  รูปแบบ หน้าที่การใช้งานกันขนานใหญ่  โดยการตลาดได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกกระบวนการตั้งแต่การผลิต  เริ่มจากวัสดุ  สี  ลวดลาย เทคนิค   พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงผ้าและสิ่งทอมีเกือบ 30 แห่งกระจาย อยู่ทั่วประเทศ พิพิธภัณฑ์ผ้าหลายแห่งเกิดขึ้นภายใต้แนวคิดการฟื้นฟู ปกป้อง และอนุรักษ์ ภูมิปัญญาแขนงนี้เอาไว้ เช่น พิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสน  ที่ ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยการนำของพระครูไพศาลพัฒนาภิรัต และคณะศรัทธาที่ห่วงใยว่าการทอผ้าลายพื้นเมืองเชียงแสนกำลังจะหมดไป จึงสร้างพิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสนขึ้น  ใช้เป็นที่จัดแสดงและบอกเล่ากระบวนการทอผ้า ลวดลาย และเทคนิคต่างๆ พิพิธภัณฑ์ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2539อาคาร พิพิธภัณฑ์เป็นเรือนไม้สองชั้นใต้ถุนโล่ง ชั้นบนจัดแสดง ผ้าทอลวดลายแบบต่าง ๆ อาทิ ผ้าลายน้ำไหล ผ้าลายดอกผักแว่น ผ้าลายขวางดำแดง กี่ทอผ้าที่ใช้ในสมัยโบราณเป็นกี่ทอมือ 4 ไม้ ผ้าปักพระเวสสันดร  ที่นอนของชาวไทยวน ตุง  วัตถุจัดแสดงที่มีตัวตนต่าง ๆ เหล่านี้คือ รูปธรรมที่เกิดจากความรู้และทักษะของช่างทอผ้าในอดีต นิทรรศการและข้าวของที่จัดแสดงอยู่ในอาคารพิพิธภัณฑ์ผ้าทอล้านนาเชียงแสนแต่เพียง อย่างเดียว คงไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการอนุรักษ์ ส่งผ่านความรู้ ภูมิปัญญา ตามวัตถุประสงค์ของผู้ก่อตั้งได้  กิจกรรมและการทอผ้าที่เกิดขึ้นบริเวณใต้ถุนของอาคารด้านล่าง ของกลุ่มแม่บ้านชาวสบคำ ที่รวมตัวกันทอผ้าแบบดั้งเดิม เป็นกิจกรรมสำคัญที่เสริมสร้างกระบวนการอนุรักษ์มรดกดังกล่าว แม้เป็นการทอเพื่อขาย  แต่การแลกเปลี่ยน ถ่ายทอด เทคนิค ลวดลาย ระหว่างช่างทอรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ยังคงปรากฏให้เห็น  และการที่นักท่องเที่ยวซึ่งเป็นคนนอก เข้ามาชื่นชมและเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาแขนงนี้ เป็นสิ่งค้ำจุนภายนอกส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงการทอผ้าและฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ ทอให้มีชีวิตอยู่ได้   การอนุรักษ์และฟื้นฟูการทอผ้าที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้ภูมิปัญญาการทอผ้าลวดลายและเทคนิคแบบดั้งเดิมยังดำรงอยู่ได้  แต่ต้องกล่าวไว้ด้วยว่าการทอผ้าของที่นี่ไม่ได้เป็นการรับใช้หรือมีหน้าที่ เฉพาะในประเพณีหรือสังคมเจ้าของวัฒนธรรมเหมือนเดิมอีกต่อไป  ชาวบ้านไม่ได้ทอผ้าไว้สวมใส่เองในชีวิตประจำ หรือในงานบุญ หากแต่ถูกเน้นและพัฒนาไปไปสู่การพาณิชย์ในรูปแบบต่าง ๆ      พิพิธภัณฑ์ ก็เช่นเดียวกับการทอผ้า ทำอย่างไรพิพิธภัณฑ์จึงจะอยู่รอดและยั่งยืน  ทางหนึ่งดังที่กล่าวข้างต้นคือ การหารายได้เข้ามาจุนเจือการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ด้วย  พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ จ.แพร่ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และปรับเปลี่ยนหน้าที่ของผ้าที่มีต่อสังคม   หน้าที่ของพิพิธภัณฑ์นี้จึงไม่เพียงแต่เก็บรักษาของเก่า  ของโบราณ  แต่นำความรู้ที่คนรุ่นหนึ่งสั่งสมมาแล้วนำมาประยุกต์รับใช้คนปัจจุบัน  โดยเจ้าของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นคนในชุมชนและเป็นนักสะสมผ้าด้วย  และต้องการที่จะอนุรักษ์ลายผ้าโบราณของอ.ลอง จ.แพร่ ไม่สูญหาย รวมถึงการทอด้วย โดยใช้วิธีการลอกแบบลายผ้าโบราณทั้งหมด แล้วนำกลับไปให้ชาวบ้านแกะลายเดิมขึ้นมา นำเอาลายผ้าเก่ามาทำซ้ำ แต่อาจจะพัฒนาในแง่  สีใหม่  เปลี่ยนฟืมและเทคนิคการทอให้แน่นขึ้นกว่าเดิม แต่ยังคงไว้ซึ่งลวดลายและฟอร์มจังหวะของผ้าคือ  หัวซิ่น  ตัวซิ่น  และตีนซิ่น นำขายออกสู่ตลาดในกรุงเทพฯ และผู้ที่สนใจผ้าทอลายโบราณ   พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ หนังตะลุง : สถาบันสืบทอดความรู้และภูมิปัญญา หนังใหญ่ มหรสพชั้นครู เป็นการผสมผสานศิลปะหลายแขนงทั้งการออกแบบลวดลาย การฉลุลาย ที่ก่อให้เกิดความอ่อนช้อยงดงาม เสมือนหนึ่งมีชีวิตยามผสมผสานกับลีลาการเชิดที่เข้มแข็งและอ่อนช้อยการแสดง หนังใหญ่ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนสะท้อนถึงจิตวิญญาณของผู้เชิดที่ ผูกพันลึกซึ้งกับศิลปะการแสดงแขนงนี้   หนังใหญ่ก็ประสบภาวะการณ์เช่นเดียวกับศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิมหลายแขนงที่ กำลังสูญหาย เมื่อเผชิญหน้ากับคู่แข่งที่ทรงพลังในโลกสมัยใหม่อย่าง รายการทางโทรทัศน์  ละคร  และภาพยนตร์   ปัจจุบันในประเทศไทย การแสดงหนังใหญ่เหลือเพียงสามคณะเท่านั้นที่ยังคงสืบสานการแกะสลักตัวหนัง และการเชิดหนังใหญ่เอาไว้ ได้แก่ หนังใหญ่วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดสิงห์บุรี  หนังใหญ่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง และหนังใหญ่วัดขนอน จังหวัดราชบุรี หนังใหญ่ทั้งสามคณะ สร้างพิพิธภัณฑ์ของตนเองขึ้น เพื่อจัดแสดงตัวหนังโบราณอายุหลายร้อยปี พร้อมๆ ไปกับสืบทอดการเชิด และการแกะสลักตัวหนัง   พิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้านดอน จังหวัดระยอง ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2542 จัดแสดงตัวหนังใหญ่ที่มีอายุยาวนานกว่า 200 ปี ตามประวัติหนังชุดนี้รับงานแสดงอยู่ทางภาคใต้ จนกระทั่งพระยาศรีสมุทรโภคชัยโชคชิตสงคราม(เกตุ ยมจินดา) เจ้าเมืองระยองในสมัยนั้น ได้ทราบกิตติศัพท์ของหนังใหญ่ชุดนี้ จึงได้ติดต่อซื้อมาทั้งชุดประมาณ 200 ตัว และจ้างครูหนังหรือนายโรงนี้มาเป็นครูฝึกถ่ายทอดให้กับคนในปกครองของพระยาศรีสมุทรฯ ราว พ.ศ. 2430  เมื่อ วัดบ้านดอนสร้างเสร็จ จึงมีการนำหนังใหญ่ชุดดังกล่าวมาถวายวัดบ้านดอน เพื่อง่ายต่อการนัดฝึกซ้อมของครูหนังและวงปี่พาทย์ ภายหลังเมื่อความบันเทิงสมัยใหม่เข้ามาแทนที่ความบันเทิงแบบโบราณ การเล่นหนังใหญ่ค่อยๆ ซบเซาลง เมื่อตัวหนังไม่ได้ถูกนำออกมาเล่นและขาดการจัดเก็บอย่างถูกต้อง ตัวหนังและตัวคาบที่ทำด้วยไม้จึงผุกร่อนไปตามเวลา พร้อมๆ กับคนเชิดรุ่นเก่าที่ค่อย ๆ ทยอยเสียชีวิตไป   หนังใหญ่วัดบ้านดอนกลับฟื้นคืนชีวิตอีกครั้งราวปี พ.ศ. 2523 ใน คราวประกวดหมู่บ้านดีเด่น เมื่อชาวบ้านนึกถึงหนังใหญ่ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เด่นของบ้านดอน จึงร่วมกันฟื้นฟูศิลปะการแสดงแขนงนี้ขึ้นมาอีกครั้ง และในครั้งนั้นทางคณะได้รับรางวัลรวมถึงการแสดงเป็นที่ถูกอกถูใจของผู้ดู  ทำให้คณะหนังใหญ่มีกำลังใจในการพลิกฟื้นตำนานหนังใหญ่และออกแสดงตามงาน ต่างๆ  การพลิกฟื้นของหนังใหญ่ทำให้ทางวัดบ้านดอน สร้างพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ขึ้น พร้อมกับทำห้องประชุมเพื่อให้ผู้มาเยี่ยมชมได้รับฟังบรรยายสรุปและชมวิดี ทัศน์การแสดงหนังใหญ่  นอกจากนี้ยังอนุรักษ์ตัวหนังชุดเก่าเบื้องต้นโดยการจัดทำตู้เก็บตัวหนัง และเปลี่ยนตับหนังทั้งหมดและจัดทำตัวหนังใหม่เพิ่มเติมอีก 77 ตัว เพื่อใช้แสดงร่วมกับตัวหนังเก่า ซึ่งยังคงใช้แสดงอยู่ในปัจจุบัน   ปัจจุบัน ผู้เชิดหนังใหญ่วัดบ้านดอนเป็นเยาวชนบ้านดอนที่รักและสนใจศิลปะพื้นบ้านเก่า แก่แขนงนี้  อย่างไรก็ดีแม้การแกะสลักตัวหนังใหญ่มิได้เป็นความรู้ดั้งเดิมในหมู่บ้าน แต่ชาวบ้านดอนเห็นว่าการแกะสลักหนังใหญ่เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การ อนุรักษ์และสืบทอดการแสดงหนังใหญ่จะดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน จึงริเริ่มโครงการอนุรักษ์หนังใหญ่วัดบ้านดอนในรูปแบบของการสอนแกะสลักตัว หนังและการลอกลายขึ้น  โดยเป็นความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดบ้าน คนในชุมชน ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร และตัวแทนจากพิพิธภัณฑ์หนังตะลุงสุชาติ ทรัพย์สิน ที่มาสอนให้ชาวบ้านได้รู้จักวิธีการแกะสลักหนังใหญ่ การลงสี การลอกลายด้วยกระดาษไข และการทำสำเนาพิมพ์เขียวเพื่อเก็บไว้ใช้ในการแกะสลักหนังใหญ๋ในอนาคร กิจกรรมที่เกิดขึ้น ทำให้เด็กๆ ผู้ปกครอง ครู และผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนใช้เวลาว่างวันเสาร์อาทิตย์มาฝึกฝน ทำให้ความสนใจในมรดกท้องถิ่นของคนในชุมชนเริ่มขยายวงกว้างมากขึ้นไม่เฉพาะ แต่คนในคณะหนังใหญ่ นอกจากนี้ยังทำให้การแกะหนังกลายเป็นหลักสูตรท้องถิ่นของโรงเรียนวัดบ้านดอน ในปัจจุบันด้วย   การเกิดขึ้นของพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่วัดขนอน จ.ราชบุรี เป็นไปในลักษณะเดียวกัน คือมีคอลเล็กชั่นหนังใหญ่โบราณอยู่แต่ถูกทิ้งร้างเอาไว้โดยไม่ได้ถูกหยิบมา แสดงเป็นเวลานาน กว่าหนังใหญ่วัดขนอนจะเป็นที่รู้จักในปัจจุบัน ทางคณะล้วนเผชิญกับปัญหานานับประการ เริ่มจากความนิยมในเล่นหนังใหญ่ที่ซบเซาลง เนื่องจากการเข้ามาทดแทนของสื่อบันเทิงสมัยใหม่ ทำให้ตัวหนังถูกทอดทิ้งและอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม ปรากฏการณ์การร่วมกันอนุรักษ์ศิลปะการแสดงแขนงนี้ของทั้งวัดที่นำโดยพระครู พิทักษ์ศิลปาคม ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ชาวบ้าน หน่วยงานราชการในจังหวัด เริ่มขึ้นในปี 2532  เมื่อ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้จัดทำหนังใหญ่ชุดใหม่ทดแทนชุดเก่าที่ชำรุด ทำให้คณะหนังใหญ่วัดขนอนกลับมามีชีวิตอีกครั้ง กลายเป็นแหล่งอนุรักษ์และเรียนรู้ฝึกฝนศิลปะการทำตัวหนัง การเชิดหนัง การบรรเลงปี่พาทย์ประกอบการแสดงหนัง รวมถึงสร้างพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่ โดยปรับปรุงบูรณะหมู่เรือนไทยที่เป็นกุฏิสงฆ์และศาลาการเปรียญ ดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์หนังใหญ่เพื่อใช้เป็นสถานที่เก็บรักษาตัวหนังใหญ่ชุด เก่าที่ล้ำค่าอย่างถูกวิธี สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าวิทยาการแขนงนี้แก่ผู้สนใจได้โดยทั่วไป   ปัจจุบัน หนังใหญ่วัดขนอน อยู่ภายใต้การดูแลของท่านเจ้าอาวาส ที่มีการบริหารจัดการและพัฒนาหนังใหญ่วัดขนอนให้เป็นที่รู้จัก วิธีการหนึ่งที่ท่านเจ้าอาวาสนำมาใช้ จนทำให้หนังใหญ่วัดขนอนมีการอนุรักษ์และสืบทอดอย่างต่อเนื่อง ใช้แนวคิดที่เริ่มจากการมองว่า ถ้าจะอนุรักษ์หนังใหญ่ให้ยั่งยืนสืบไปต้องสร้างองค์ความรู้ให้กับคนในมิใช่ พึ่งพาความช่วยเหลือจากภายนอกแต่เพียงอย่างเดียว ทางวัดจึงส่งลูกศิษย์ที่มีแววและสนใจศิลปะแขนงนี้อยู่แล้วศึกษาต่อด้านการ เขียนลายไทยที่วิทยาลัยเพาะช่าง เมื่อจบการศึกษาแล้วจะได้กลับมาลอกลายหนังชุดเก่าและพัฒนาหนังชุดใหม่ได้ ด้วยตนเอง จากวันนั้นจนถึงวันนี้ลูกศิษย์ผู้นี้เป็นผู้จัดการคณะหนังใหญ่ นำคณะออกแสดงตามงานต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ   วิธีการอีกทางหนึ่งที่ทำให้การแสดงหนังใหญ่สืบทอดอย่างไม่ขาดตอน คือ เปิดการแสดงหนังใหญ่และเผยแพร่มหรสพแขนงนี้อย่างต่อเนื่อง  ซึ่งทางวัดร่วมกับบริษัททัวร์ ให้นำนักท่องเที่ยวเข้ามาชมการแสดงหนังใหญ่ และเปิดแสดงหนังใหญ่อย่างต่อเนื่องทุกวันเสาร์ นอกจากเยาวชนนักแสดงจะได้ฝึกฝนวิชา ยังเป็นการเผยแพร่ศิลปะแขนงนี้ออกสู่สายตาประชาชนทั่วไปด้วย ความพยายามของวัดขนอนในการสืบทอดและฟื้นฟูมรดกแขนงนี้มาอย่างยาวนานและต่อเนื่อง ทำให้คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทางวัฒนธรรมขององค์การยูเนสโก ประกาศให้การสืบทอดและฟื้นฟูหนังใหญ่วัดขนอน ได้รับรางวัลจากองค์กรการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO)ยกย่องให้เป็น 1 ใน 6 ชุมชนดีเด่นของโลกที่มีผลงานในการอนุรักษ์ฟื้นฟูมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (The Safeguarding of Intangible Cultural Heritage: ICH) เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 ที่ผ่านมา   อย่างไรก็ดี สื่อพื้นบ้านอย่างการแสดงหนังตะลุงของทางภาคใต้ กำลังเสื่อมความนิยมในหมู่คนดู ด้วยเหตุผลเดียวกับมหรสพแบบดั้งเดิมแขนงอื่น ๆ คือ การเข้ามาของสื่อบันเทิงสมัยใหม่ เสน่ห์ที่แท้ของหนังตะลุงคือ ลีลาการเชิดและเล่าเรื่องที่นำเหตุการณ์ร่วมสมัยเข้ามาสอดแทรกและมีมุขตลก เป็นระยะ  หนังตะลุงในปัจจุบันพยายามรักษาการแสดงของตัวให้อยู่รอดด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งปรับเปลี่ยนวิธีการเล่น ใช้การร้องและดนตรีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสาน  บางคณะแสดงแบบสองภาษาไทยอังกฤษเพื่อให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้าใจ  มีนายหนังที่มีชื่อบางคนเปิดบ้านตัวเอง ถ่ายทอดวิธีการเชิด การพากษ์ และ ประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน ให้แก่คนรุ่นใหม่ที่สนใจ อาทิ หนังฉิ้น อรรถโฆษิต นายหนังชื่อดังแห่งสงขลา  และหนังสุชาติ ทรัพย์สิน นายหนังชาวนครศรีธรรมราช   สุชาติ ทรัพย์สิน เป็นนายหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในภาคใต้ ความพิเศษของหนังสุชาติ คือ นอกเหนือจากความสามารถในการแสดงที่มีอยู่อย่างครบถ้วนแล้ว ยังมีฝีมือเชิงช่างในการแกะตัวหนัง  อาชีพการเป็นช่างแกะหนังนี้เองเป็นจุดเริ่มของการสะสมตัวหนังตะลุงของหนัง สุชาติ เพราะจำเป็นต้องสะสมตัวหนังเพื่อใช้เป็นตัวอย่าง ง่ายต่อการออกแบบรูปภาพหนังตะลุง ความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสม ถ่ายทอดไปสู่คนในครอบครัวคือบุตรชายทั้งสองคน รวมถึงลูกศิษย์ลูกหาที่สนใจที่ขอเข้ามาฝึกฝน   แรงบันดาลใจในการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านหนังตะลุง สุชาติ ทรัพย์สิน เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2528  เมื่อ ได้มีโอกาสถวายการแสดงหนังตะลุงต่อหน้าพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว และพระองค์ท่านทรงตรัสกับนายหนังสุชาติว่า ขอบใจมากที่รักษาศิลปะการแสดงแขนงนี้ไว้ จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดังกล่าวจึงกลายเป็นแรงบันดาล ใจให้นายหนังสุชาติเปิดบ้านของตัวเองเป็นพิพิธภัณฑ์ โดยมุ่งหวังที่จะถ่ายทอดศิลปะการแสดงหนังตะลุงสูญหายไป    พิพิธภัณฑ์แห่งนี้รวบรวมหนังตะลุงไว้ของหลายชาติหลายภาษา ทั้งตัวหนังตะลุงเก่าที่หาดูได้ยากอายุกว่า 200 ปี เป็นรูปเกี่ยวกับรามเกียรติ์ ตัวหนังจากประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และตุรกี เป็นต้น ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่มีป้ายคำบรรยาย เพราะเจ้าของต้องการให้ผู้ชมเข้ามาพูดคุยและซักถามด้วยตนเองซึ่งจะได้ความ รู้ติดตัวไป โดยทั้งนายหนังสุชาติ ภรรยา และบุตร สามารถให้ความรู้และตอบข้อซักถามของผู้ชมได้ทุกคน   นอก เหนือจากการจัดแสดงและให้ความรู้ในพิพิธภัณฑ์แล้ว ที่นี่ถือเป็นขุมความรู้ใหญ่ในการถ่ายทอดวิชาการแกะตัวหนังให้แก่ผู้สนใจ เสมือนเป็นโรงเรียนนอกระบบ ที่เปิดให้ผู้คนทั่วไปสนใจเข้ามาหาความรู้ หรือแม้กระทั่งนำไปเป็นวิชาชีพเลี้ยงตัวเอง พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชิงช่าง: ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ           พิพิธภัณฑ์ สองแห่งที่จะกล่าวถึงต่อไป แห่งแรกเกิดขึ้นจากความพยายามของช่างแกะสลักหินคนหนึ่งที่ต้องการเผยแพร่ ความรู้ในการทำประมงในท้องทะเล และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ให้กับผู้ชมและคนในสังคม ส่วนพิพิธภัณฑ์แห่งที่สองเกิดขึ้นจากความต้องการหันกลับไปนำของเด็กเล่นท้อง ถิ่นในอดีตที่เกิดจากภูมิปัญญาของปู่ย่าตายายในหมู่บ้าน มาให้เด็กในยุคปัจจุบันได้รู้จัก องค์ความรู้ที่มีอยู่ในทั้งสองพิพิธภัณฑ์ที่นำเสนอผ่านข้าวของที่เป็น รูปธรรมอันเกิดจากการผสมผสานของ จินตนาการ ประสบการณ์ ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ที่ได้สั่งสมเข้ามาอยู่ในตัวช่างและได้ถ่ายทอดให้คนรุ่นใหม่และสังคมได้ รู้จักและเรียนรู้             พิพิธภัณฑ์ปลาหิน จ.สุ ราษฏร์ธานี เกิดขึ้นด้วยฝีมือ และความวิริยะอุตสาหะของคุณลุงกิตติ สินอุดม ที่นำหินมาแกะสลักเป็นรูปปลาและสัตว์น้ำต่างๆ ได้อย่างสวยงามและเหมือนจริง เดิมคุณลุงกิตติทำอาชีพประมงและทำแพปลา เมื่ออายุมากขึ้นจึงเกษียณตัวเอง แต่ชีวิตยังผูกพันอยู่กับท้องทะเล ในปี พ.ศ.2533 จึง เริ่มใช้เวลาว่างนำหินมาแกะสลักเป็นรูปปลาต่างๆ ทั้งๆ ที่ไม่เคยมีความรู้ในศิลปะการแกะสลักมาก่อน  เวลาร่วมสิบปีที่ทำงานนี้ด้วยใจรัก จำนวนปลาที่แกะสลักด้วยสองมือของคุณลุง เพิ่มจำนวนมากขึ้น  คุณลุงจึงคิดก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ขึ้น เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นและชื่นชมปลาทะเลสวยงามที่หลากหลายพันธุ์  โดยเฉพาะปลาที่หายากหรือสูญพันธุ์ไปแล้ว               ด้วย ประสบการณ์ยาวนานในการทำอาชีพประมง ใช้ชีวิตออกทะเลหาปลา ความผูกพันอย่างลึกซึ้งต่ออาชีพและท้องทะเลของลุงกิตติ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จึงทำหน้าที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ เหล่านั้นไว้ โดยมีก้อนหิน ที่แกะสลักเป็นปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นสื่อในการบอกเล่า ปลาบางตัวหาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน  นอกจากนี้ในพิพิธภัณฑ์ยังจัดแสดงภาพที่วาดด้วยฝีมือของคุณลุงเอง บอกเล่าวิธีการทำประมงแบบต่างๆ ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นดั้งเดิมจนถึงวิธีการสมัยใหม่ อาทิ การวางลอบ วางอวน การทำโพงพาง การวางเบ็ดราว การยกยอ ทอดแห การทำโป๊ะ กระชังปลา การทำนากุ้ง นอกเหนือจากจะบอกเล่าเรื่องราวชีวิตในท้องทะเลแล้ว พิพิธภัณฑ์ยังเล่าอดีตของดอนสักและอ่าวสุราษฎร์ที่แม้กระทั่งปัจจุบันคนใน พื้นที่เองก็เกือบจะหลงลืมไปหมดแล้ว     ปัจจุบันคุณลุงกิตติยังสละเวลาส่วนหนึ่งเป็นอาจารย์พิเศษ ส่งผ่านความรู้วิธีการแกะสลักปลาให้กับเด็กๆ ในโรงเรียนในท้องถิ่นอีกด้วย  อย่าง ไรก็ดีเป็นที่น่าเสียดายว่าปัจจุบันพิพิธภัณฑ์กำลังประสบปัญหาเรื่องสถานที่ และเงินทุนในการเลี้ยงตัวเอง เนื่องจากเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชน การขอรับความสนับสนุนจากภาครัฐจึงทำได้ยาก จึงยังไม่แน่นอนว่าในวันข้างหน้าความรู้และภูมิปัญญาทั้งเรื่องการแกะสลัก หิน และการประมงพื้นบ้านที่สั่งสมอยู่ในตัวคุณลุงกิตติจะเป็นอย่างไร หากทั้งชุมชนและรัฐไม่ได้มองว่านี่เป็นมรดกวัฒนธรรมหนึ่งของชุมชนที่ควรช่วย กันรักษาไว้   พิพิธภัณฑ์เล่นได้ จ.เชียงราย เป็นการรวมตัวกันของคนสามวัย คือผู้เฒ่าผู้แก่ คนหนุ่มสาว และเด็ก ๆ ที่บ้านป่าแดด อ.แม่สรวย จ.เชียงราย โดยการสนับสนุนจากนักพัฒนาและองค์กรทางสังคมเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิต โดยเริ่มจากการใช้การฟื้นการประดิษฐ์ของเล่นพื้นบ้านขึ้นเป็นตัวแทนของการ ฟื้นฟูวิถีชิวตท้องถิ่น กระตุ้นให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ก่อให้เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มอาชีพทำของเล่นส่งขาย และสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อแสดงตัวตนของกลุ่ม   พิพิธภัณฑ์ หลายแห่งมักจะห้ามจับสิ่งของ ห้ามนำอาหารเข้าไป แต่พิพิธภัณฑ์เล่นได้ถอดกติกาเหล่านั้นหมดสิ้น ให้ทุกคนได้เรียนรู้ผ่านการเล่นทางรูป รส กลิ่น สี เสียง และการสัมผัส ภายในพิพิธภัณฑ์มีของเล่นพื้นบ้านโบราณที่ใครหลายๆ คนไม่เคยเล่น เช่น ลูกข่าง กำหมุน กังหันลม และของเล่นที่คิดประดิษฐ์ใหม่มากมายจัดแสดง และสามารถหยิบจับทดลองเล่นได้ทุกชิ้น บริเวณตู้ที่จัดแสดงจะมีป้ายชื่อเรียกและคำอธิบายแบบง่าย อ่านสนุก บอกที่มาที่ไป วิธีการใช้ และแฝงความหมายที่มากกว่าของเล่น ที่ล้วนสะท้อนถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงในสังคม อาทิ ลูกข่างสตางค์ ที่มีคำอธิบายว่า "สมัยที่สตางค์มีรู ปู่ย่านำเหรียญมามัดกันทำเป็นลูกข่าง สมัยนี้ไม่มีสตางค์รู ก็เหลาไม้ใส่แทน?" นอก จากนี้ยังมี สัตว์ล้อต่างๆ สัตว์ชัก พญาลืมแลง พญาลืมงาย เต่ากระต่ายวิ่ง จานบิน โหวด อมรเทพ ครกมอง ควายกินหญ้า งู คนตำข้าว ถึ่มถึ้ม เป็นต้น ของเล่นเหล่านี้เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่ดัดแปลง พลิกแพลง วัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในหมู่บ้าน ให้กลายเป็นของเล่น ที่เล่นสนุกไม่ว่าจะเป็นเด็กยุคไหนก็ตาม   พิพิธภัณฑ์ แห่งนี้นอกจากจะจัดแสดงของเล่นพื้นบ้านแล้ว  จึงยังเป็นสถานที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์คนต่างรุ่นที่แทบจะเลือนหายไปจาก สังคม โดยใช้ของเล่นโบราณเป็น ตัวเชื่อมโยงคนระหว่างรุ่น สร้างบทบาทให้ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ผ่านการถ่ายทอดประดิษฐ์ของเล่นแก่เด็กๆ และผู้ที่สนใจ กระตุ้นให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ก่อให้เกิดการรวมตัวเป็นกลุ่มอาชีพผลิตของเล่น ของเล่นพื้นบ้านจากป่าแดดกลายเป็นที่รู้จักและส่งขายไปยังที่ต่าง ๆ สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน   ส่งท้าย ความ รู้สึกว่าวัฒนธรรมหรือประเพณี หรือสิ่งที่เรานิยามว่าเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ กำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการที่วัฒนธรรมเหล่านั้นจะสูญสลายไป ทำให้เกิดความพยายามในการที่จะปกป้อง รักษา อนุรักษ์ มรดกวัฒนธรรมต่างๆ เหล่านั้นไว้ ความรู้สึกและการตระหนักและเห็นความสำคัญ กระจายออกไปตั้งแต่ระดับนานาชาติที่วางกรอบนโยบาย นิยาม ความหมาย และแนวคิด อย่างองค์การยูเนสโก(UNESCO) ระดับ ประเทศ ภูมิภาค และตัวเจ้าของวัฒนธรรมเอง พิพิธภัณฑ์เป็นความพยายามหนึ่งของเจ้าของวัฒนธรรม ที่ใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการที่จะช่วยปกป้อง อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมที่กำลังเผชิญหน้าอยู่กับภาวะการสูญสลายนั้น ในขณะเดียวกันก็ส่งผ่านและถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คน อีกรุ่นหนึ่ง   เป็น ธรรมดาที่วัฒนธรรมต้องมีการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒน์ไปตามกาลเวลา  วัฒนธรรมประเพณีในอดีตที่ไม่มีประโยชน์ในเชิงหน้าที่การใช้งานก็ค่อยๆ สูญสลายไป  การปกป้องและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะการแสดง ที่เราเห็นจากพิพิธภัณฑ์ข้างต้น ไม่ใช่การแช่แข็งมรดกวัฒนธรรมที่ไม่มีหน้าที่ต่อสังคมแล้ว  เหมือนกับที่เราเห็นจากพิพิธภัณฑ์ของรัฐตามหน่วยงานราชการหรือที่จัดสร้าง โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งที่อาคารใหญ่โตหรูหรา   หากแต่เนื้อในไร้ชีวิตชีวา  จัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในท้องถิ่นอย่างแข็งทื่อไม่ตรงกับ สภาพความเป็นจริง  ขาดการต่อยอดองค์ความรู้จากข้าวของที่จัดแสดง และที่สำคัญคือขาดการเชื่อมโยงกับชุมชนหรือการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน     อย่าง ไรก็ดีมรดกวัฒนธรรมบางอย่างที่แม้จะอยู่ในภาวะอันตราย แต่ยังมีศักยภาพที่จะมีชีวิตต่อไปได้ด้วยตัวของมันเองเช่นกัน เราเห็นพลวัต การปรับตัว การพัฒนา การนำการตลาดเข้ามาช่วย ทำให้มรดกเหล่านั้นยังคงมีชีวิตต่อไป บางอย่างก็เฟื่องฟูขึ้นมาทันตาเช่น การทอผ้าที่สุโขทัย หรือการทำของเล่นที่เชียงราย ควรกล่าวด้วยว่าการอนุรักษ์และปกป้องมรดกวัฒนธรรมเหล่านั้นจะยั่งยืนได้ก็ ต่อเมื่อเริ่มมาจากฐานความรู้ของคนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง และที่สำคัญคือมาจากพื้นฐานความต้องการของเจ้าของวัฒนธรรมเอง ชุมชนมีส่วนร่วมในการพยายามปกปักรักษา เป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์ที่ตรงกับความ

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านริมแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลก: จากของเก่า-ของโบราณสู่การบูรณาการองค์ความรู้เพื่อชุมชน

22 มีนาคม 2556

แม่ น้ำน่านเป็นแม่น้ำสาขาสายสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยา มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาในเขตจังหวัดน่าน แล้วไหลผ่านจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร และไหลมาบรรจบกับแม่น้ำยมและแม่น้ำปิงที่จังหวัดนครสวรรค์จนกลายแม่น้ำเจ้า พระยา สองฝั่งแม่น้ำน่านช่วงที่ไหลผ่านจังหวัดพิษณุโลกเต็มไปด้วยเรื่องราวทางด้าน ประวัติศาสตร์ การตั้งถิ่นฐาน เศรษฐกิจ ความเชื่อและวัฒนธรรมที่น่าสนใจซ่อนอยู่มากมายอย่างที่เราไม่เคยทราบมาก่อน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นข้อมูลเบื้องต้นหรือข้อมูลพื้นฐานที่ชุมชนสามารถนำ มาบูรณาการหรือประยุกต์ใช้ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์และคุณค่าได้ ตลอด ความยาวกว่า 130 กิโลเมตรที่แม่น้ำน่านในเขตจังหวัดพิษณุโลก พบว่ามีหลายชุมชนที่มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมหรือนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมา ประยุกต์ใช้และสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรวบรวมโบราณวัตถุ ข้าวของเครื่องมือเครื่องใช้ในอดีตมาจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน การนำเรือเอี่ยมจุ๊นที่เลิกใช้แล้วขึ้นบกมาทำเป็นห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้ ของชุมชน สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดทางด้านการอนุรักษ์และ บูรณาการองค์ความรู้ท้องถิ่นของผู้คนริมฝั่งแม่น้ำน่าน จังหวัดพิษณุโลกได้เป็นอย่างดี ผู้เขียนจึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่มีอยู่ริมฝั่งแม่ น้ำน่านในปัจจุบัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการบูรณาการวัฒนธรรมริมน้ำเพื่อให้เกิด ประโยชน์สูงสุด นอกเหนือจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระพุทธชินราช ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พิพิธภัณฑ์เมืองพิษณุโลก ที่ตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนวังจันทน์)และพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน จ่าทวี ซึ่ง รวบรวมโบราณวัตถุและข้าวของเครื่องใช้ของชาวพิษณุโลกในอดีตมาจัดแสดงแล้ว ในชุมชนริมฝั่งแม่น้ำน่านยังมีพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่ชุมชนท้องถิ่นร่วมกัน สร้างสรรค์ขึ้นอีกหลายแห่ง ล้วนแล้วแต่มีสิ่งของที่น่าสนใจไม่แพ้พิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่เลยทีเดียว 1. พิพิธภัณฑ์วัดท่าตะเคียน ตั้ง อยู่ภายในวิหารหลวงพ่อทองสุข วัดท่าตะเคียน ตำบลจอมทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก วัดท่าตะเคียนเป็นวัดโบราณแต่ไม่ปรากฏร่องรอยโบราณสถานแล้ว เนื่องจากว่ามีการสร้างโบสถ์หลังใหม่ทับ แต่ยังปรากฏใบเสมาหินชนวนศิลปะอยุธยาตอนกลางหลายใบปักอยู่รอบโบสถ์ วัดนี้ยังมีพระพุทธรูปปูนปั้นเก่าแก่อยู่ในวิหารชื่อว่าหลวงพ่อทองสุข ภายในวิหารนี้ยังถูกจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นด้วยภายในวิหารมีการจัดแสดง พระพุทธรูปโบราณศิลปะพื้นบ้าน เครื่องถ้วยลายคราม ตู้พระธรรมลายรดน้ำ คัมภีร์ใบลาน สมุดข่อยและผ้าห่อคัมภีร์ ซึ่งเป็นฝีมือของชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาตั้งถิ่นฐานในสมัยรัชกาลที่ 3 2. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบางทราย ตั้ง อยู่ในวัดบางทราย ตำบลวังน้ำคู้ อำเภอเมืองพิษณุโลก บ้านบางทรายเป็นชุมชนโบราณเก่าแก่ปรากฏชื่อในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีว่า เป็นที่ตั้งทัพริมแม่น้ำน่านแห่งหนึ่งของพระเจ้ากรุงธนบุรีคราวศึกอะแซหวุ่น กี้ พ.ศ.2318 ภายในวัดบางทรายยังมีพระพุทธรูปปูนปั้นเก่าแก่เหลืออยู่เป็นหลัก ฐาน ในอดีตเคยมีใบเสมาเก่าและเครื่องสังคโลกจำนวนมากแต่ถูกโจรกรรมไป ต่อมาจึงได้มีการจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดบางทรายขึ้นเพื่อเก็บรักษาข้าว ของเครื่องใช้ที่เหลืออยู่โดยได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลบ้านใหม่เมื่อ ปี พ.ศ.2548 เป็นอาคารเรือนไทยสามหลังติดกัน ภายในจัดแสดงโบราณวัตถุต่างๆ ที่วัดเก็บรักษาไว้ เช่น เครื่องถ้วย พระพุทธรูป ตาลปัตร ถ้วยรางวัลที่ทางวัดได้รับในการแข่งเรือยาวประเพณี 3. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดสว่างอารมณ์ ตั้ง อยู่ในวัดสว่างอารมณ์ ตำบลท่าทอง อำเภอเมืองพิษณุโลก วัดสว่างอารมณ์เป็นวัดโบราณมีการพบซากโบสถ์ซึ่งเป็นโบราณสถานสมัยอยุธยาตอน ต้น ขณะนี้กำลังได้รับการบูรณะโดยชาวบ้านซึ่งมีการดัดแปลงเพื่อให้ใช้ประโยชน์ ได้ รอบโบสถ์มีใบเสมาหินทรายสมัยอยุธยาปักอยู่หลายใบ ภายในวัดมีการจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านตามโครงการศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย สายใยชุมชนของกระทรวงวัฒนธรรม พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเป็นอาคารสองชั้น ภายในจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของชาวบ้านในอดีตและ โบราณวัตถุที่วัดเก็บรักษาไว้ นอกจากนี้ยังมีอาคารจัดแสดงด้านนอกที่จำลองวิธีการทำนาและการเดินทางในอดีต ด้วย 4. พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดกำแพงมณี ตั้ง อยู่บนศาลาการเปรียญหลังเก่า วัดกำแพงมณี (วัดกำแพงดินนอกเดิม)ตำบลโคกสลุด อำเภอบางกระทุ่ม ซึ่งมีการดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์ ภายในจัดแสดงคัมภีร์โบราณ อาวุธ ข้าวของเครื่องใช้และเครื่องมือประกอบอาชีพของชาวบ้านในอดีต ด้านนอกศาลายังมีการจัดแสดงเรือพื้นบ้าน เกวียน และวิธีการทอผ้าด้วย พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแห่งนี้เกิดขึ้นจากดำริของพระครูผาสุกิจวิจารณ์ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ในภายหลังจึงได้รับการส่งเสริมตามโครงการศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยสายใย ชุมชนของกระทรวงวัฒนธรรม นอกจากนี้ที่ริมแม่น้ำน่านด้านหน้าวัด ยังมีศูนย์การเรียนรู้และห้องสมุดเรือ ซึ่ง เป็นเรือเอี้ยมจุ๊นที่พบจมอยู่ในแม่น้ำยมบริเวณบ้านกำแพงดินห่างจากวัดกำแพง มณีไปทางตะวันตกราว 2 กิโลเมตร ทางวัดจึงได้ให้ช่างไปชักลากขึ้นมาบูรณะแล้วดัดแปลงเป็นห้องสมุด เป็นห้องเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านการศึกษา ของชุมชน   พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่กล่าวมานี้ ล้วนแล้วแต่เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เกิดจากความร่วมมือกันของชุมชน ทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา วัดและประชาชนที่ร่วมกันสืบค้นข้อมูลในท้องถิ่น เพื่อความสามัคคีและความภาคภูมิใจของท้องถิ่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการทำประวัติท้องถิ่น ทำพิพิธภัณฑ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม และสร้างแหล่งท่องเที่ยวภายในชุมชนที่พร้อมจะต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้มา เยือนด้วยความภาคภูมิใจ นอกจากพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านทั้งสี่แห่งที่ผู้เขียนได้นำเสมอมาข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายชุมชนที่กำลังพยายามจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้นมา เพื่อเป็นศูนย์กลางแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชน ตนเอง เช่น การโครงการจัดทำพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดไผ่ขอน้ำ โครงการจัดทำพิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาวัดตาปะขาวหาย โครงการจัดทำพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์บ้านปากพิงและโครงการจัดทำพิพิธภัณฑ์ พื้นบ้านวัดโพธิญาณ ซึ่งวัดทุกแห่งล้วนแล้วแต่เป็นวัดประจำชุมชนริมแม่น้ำน่านในเขตจังหวัด พิษณุโลกทั้งสิ้น ตลอดสายน้ำน่านที่ไหลผ่านจังหวัดพิษณุโลก จะเห็นได้ว่ามีแหล่งทรัพยากรทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปวัฒนธรรมต่างๆ มากมายที่สามารถบูรณาการเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนริมน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโบราณสถาน การจัดทำพิพิธภัณฑ์ การสืบค้นข้อมูลท้องถิ่น ซึ่งสิ่งที่ชุมชนเหล่านี้กำลังจะดำเนินการก็คือ การส่งเสริมให้เยาวชนเข้ามามีบทบาทในการเป็นอาสาสมัครยุวมัคคุเทศก์ประจำ พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน โดยความร่วมมือกันระหว่างชุมชนกับกลุ่มประวัติศาสตร์สองข้างทาง ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งมีรองศาสตราจารย์ ดร.จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ แห่งภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นประธานที่ปรึกษาในการจัดกิจกรรมต่างๆ กับชุมชน เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังเกิดความรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น ทั้งนี้ก็เพราะว่า ชุมชนริมแม่น้ำน่านทั้งหมดต่างก็ตระหนักดีว่าการพัฒนาคนนั้นสำคัญกว่าการ พัฒนาสิ่งใด *นัก ศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และที่ปรึกษากลุ่มประวัติศาสตร์สองข้างทาง ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประวัติศาสตร์แห่งชาติสนทนากับเรื่องราวการอพยพ

20 มีนาคม 2556

เรื่องราวที่จะได้กล่าวถึงต่อไปนี้ ดัดแปลงมาจากการบรรยายของผู้เขียน เรื่อง ฝรั่งเศสร่วมสมัยในกระแสธารวัฒนธรรมคนอพยพ ซึ่งเป็นการบรรยายในหัวเรื่อง ยลพหุวัฒนธรรม ที่จัดขึ้นที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เมื่อวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม 2554 ในวันนั้น มีวิทยากรที่ร่วมสนทนาด้วยอีก 2 ท่าน คือ อาจารย์สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และชวนถกโดย ดร.ยุกติ มุกดาวิจิตร แต่ในบทความนี้ ผู้เขียนเลือกประเด็นที่อยู่ในการบรรยายของตนเองมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน โดยไม่ได้หยิบยกเนื้อหาและข้ออภิปรายของวิทยากรอีกสองท่านเข้ามาไว้ในบทความ โครงการพิพิธภัณฑ์เพื่อบอกเล่าประวัติศาสตร์การอพยพ                  คำว่า “ประวัติศาสตร์แห่งชาติ” ในที่นี้ มุ่งที่จะกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐฝรั่งเศสในการบอกเล่าเรื่องราวการอพยพของผู้คนในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การอพยพ หรือ Cité nationale de l’histoire de l’immigration (ต่อไปจะใช้คำว่า CNHI เมื่อกล่าวถึงพิพิธภัณฑ์แห่งนี้)                   โครงการพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่แห่งนี้ เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ. 2001 โดยการทำรายงานการศึกษาให้กับรัฐบาล ลิโอเนล โจสแปง ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และได้รับการอนุมัติเป็นโครงการของรัฐบาล เมื่อ ฌาร์ค ชิรัค ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีอีกสมัยหนึ่ง เมื่อ ค.ศ. 2002 จากนั้น ในปี 2003 ได้มีการประชุมทางวิชาการเพื่อระดมความคิดเห็นในการบอกเล่าประวัติศาสตร์การอพยพของสาธารณรัฐ เพราะการจะหยิบยกปัญหาเรื่องการอพยพมากล่าวถึงในสังคมร่วมสมัย เพื่อจะสร้างความเข้าใจและความเป็นมาของเรื่องราว                    เรื่องราวของการอพยพหมายถึงการกล่าวถึงบาดแผลและการเจ็บปวดของคนที่ย้ายถิ่นด้วยเหตุต่างๆ นานา และเมื่อมาพำนักอาศัยในแผ่นดินแห่งนี้ ย่อมต้องเกิดช่องว่างในการปรับตัว หรือการยอมหรือไม่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ ดังนั้น เมื่อประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมเช่นนี้กลายเป็นแก่นแกนของพิพิธภัณฑ์ วาระของการบอกเล่าควรเป็นการบอกเล่าที่ทำให้สังคมก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับความเข้าใจในประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ ฐานคิดในการบอกเล่าประวัติศาสตร์การอพยพของพิพิธภัณฑ์ อาจแสดงจุดมุ่งหมายใน 3 ลักษณะ อันได้แก่                    หนึ่ง “Being French differently” หรือการเป็นฝรั่งเศสในแบบที่แตกต่างออกไป นั่นหมายความว่า พิพิธภัณฑ์พยายามแสดงให้เห็นว่า ผู้คนที่เคลื่อนย้ายเข้ามาในประเทศนั่นเหตุและปัจจัยในการอพยพแตกต่างกัน คนเหล่านี้มาพร้อมกับ “วัฒนธรรมต้นทาง” หรือวัฒนธรรมที่ติดตามมากับชาติภูมิของตนเอง ดังนั้น การมาลงรากปักฐานในสาธารณรัฐย่อมมีความแตกต่างกัน หรือต่างไปจากสิ่งที่เชื่อว่า “เป็นฝรั่งเศส” ของชนส่วนใหญ่ นั่นรวมถึงสิทธิพหุลักษณ์ (plural rights) ของการเป็นพลเมือง และต่อต้านการเลือกปฏิบัติไปพร้อมกัน                     สอง หลีกเลี่ยงการ “ประทับตรา” (stigmatization) เพราะเมื่อใดก็ตามที่มีการบอกเล่าเรื่องราวทางวัฒนธรรมกับสาธารณะ เมื่อนั้นจะเกิดภาพสถิต นั่นคือ การตรึงภาพลักษณะของคนจากวัฒนธรรมอื่น ที่นิ่งและไม่เปลี่ยนแปลง เช่น คนอัลจีเรีย ต้องเป็นคนมุสลิม พูดภาษาอาหรับ และจะต้องเผชิญกับปัญหาในการอพยพแบบนี้ ดังนั้น จึงนำไปสู่แกนของการเล่าเรื่องที่จะต้อง “ไปและกลับ” ระหว่างประวัติศาสตร์ในภาพใหญ่และประวัติชีวิตของปัจเจกบุคคล เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะ “ร่วม” และ “เฉพาะ” ของประวัติศาสตร์ (histories)                       สาม ลักษณะพลวัต (dynamism) ทำอย่างไรให้สาธารณะเข้าใจประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมในลักษณะที่ไม่หยุดนิ่ง หรือongoing history การอพยพข้ามรัฐชาติยังคงดำเนินต่อไปในปัจจุบัน เหตุและปัจจัยต่างๆ เปลี่ยนแปลงจากที่กล่าวถึงในพิพิธภัณฑ์ ชีวิตของคนอพยพก็เปลี่ยนแปลงเช่นกัน การพัฒนาเรื่องราว                       จากฐานคิดในการสร้างสรรค์พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการเพื่อบอกเล่าประวัติการอพยพ CNHI แจงให้เห็นองค์ประกอบที่เข้ามาเกี่ยวข้องการทำงานอีกสองสามส่วนหลักๆ เรื่องราวที่เป็นเนื้อหาหลักของนิทรรศการครอบคลุม ประวัติศาสตร์ของการอพยพที่ย้อนหลังในช่วง 200 ปี จนถึงปัจจุบัน เหตุการณ์ทางการเมืองเกี่ยวกับข้องกับคนอพยพ คนเหล่านี้ลุกฮือขึ้นทำไม? เพื่อเรียกร้องอะไร? รวมถึงเรื่องราวของคนอพยพในแต่ละช่วงประวัติศาสตร์สาธารณะ กลุ่มเนื้อหาในส่วนนี้ แสดงเรื่องราวในลักษณะที่เป็นประวัติศาสตร์ที่เป็นหมุดหมายของเวลา หรือที่เรียกว่า “Landmarks” หรือ Repères ในภาษาฝรั่งเศส โดยแบ่งเนื้อหาได้ 10 ประเด็น อันได้แก่             1. การอพยพ ที่มีช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ 4 ระยะ คือตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19-1914, ค.ศ. 1914-1944, ค.ศ. 1945-1975 และ 1975-ปัจจุบัน โดยบอกเล่าถึงกลุ่มชนและเส้นทางที่พวกเขาในเดินทางจนถึงประเทศแห่งนี้             2. การเผชิญหน้ากับรัฐ แสดงให้เห็นถึงบทบาทของรัฐในการจัดการกับคนอพยพที่เริ่มเห็นเด่นชัดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ทั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าในแต่ละช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ รัฐบาลฝรั่งเศสมีนโยบายในการจัดการที่แตกต่างกัน เช่น ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 กระแสของการต่อต้านคนต่างชาติที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุของการว่างงานและความวุ่นวายทางการเมือง นำไปสู่นโยบายการควบคุมและติดตาม และการส่งกลับบ้านเกิด             3. “แผ่นดินที่ยินดี ฝรั่งเศสที่ยินร้าย” สภาพของสังคมโดยภาพรวมในแต่ละช่วงเวลา ตัวอย่างเช่นในช่วง ค.ศ. 1945-1974คนอพยพถูกมองว่าเป็นประโยชน์ในการเชิงเศรษฐกิจ ด้วยการขยายตัวของระบบอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภค แต่สังคมกลับเพิกเฉย นอกจากนี้ ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นยุคที่ระบบอาณานิคมล่มสลาย สงครามในอัลจีเรียที่เป็นการต่อสู้กับเจ้าอาณานิคมอย่างฝรั่งเศส ได้ทิ้งรอยแผลหรือตราบาปให้กับกลุ่มชน สังคมมองคนอัลจีเรียในเชิงลบ ดูหมิ่น และต้องสงสัย             4. ที่นี่และที่โน้น มีเนื้อหาที่กล่าวถึงคนอพยพตั้งแต่ 1974 จนถึงปัจจุบัน กล่าวถึงชีวิตของคนอพยพที่ต้องอยู่ในแผ่นดินใหม่ แต่ยังผูกพันกับวัฒนธรรมของบ้านเกิด และสายสัมพันธ์นี้เองที่ก่อสร้างสร้างตัวเป็นชีวิตในฝรั่งเศส             5. พื้นที่ชีวิต จากศตวรรษที่แล้วจวบจนปัจจุบัน สถานที่ต่างๆ ทั้งเพื่อการพักอาศัยและทำมาหากินของคนอพยพ เรียกได้ว่า เป็นไปตามอัตภาพ ผู้คนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน และตั้งแต่ ค.ศ. 1945 เป็นต้นมา รัฐบาลฝรั่งเศสหันมาให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับสภาพความเป็นอยู่ Cité กลายเป็นย่านที่อยู่ของคนอพยพในเมืองใหญ่ๆ ในทางหนึ่งสถานที่ดังกล่าวดำรงความเป็นที่พักอาศัย แต่ในอีกทางหนึ่ง เป็นคำเรียก “ย่านคนอพยพ” ที่มีที่มาต่างทิศต่างทาง และกลายเป็นพื้นที่ผสมผสานทางวัฒนธรรม             6. ลงมือทำงาน คนงานต่างชาติและคนจากประเทศในอาณานิคม เป็นทั้งตัวละครที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ และข้อท้าทายในการต่อสู้ทางสังคมตลอดระยะเวลาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 เพื่อค่าตอบแทนที่เหมาะสม ประกันสังคม การลดระยะเวลาการทำงาน ไม่ต่างจากคนงานฝรั่งเศส             7. ลงรากปักฐาน แสดงให้เห็นบทบาทของสถาบันทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา การเมือง ที่เปิดโอกาสให้คนอพยพเหล่านี้ลงรากปักฐานบนผืนดินที่รองรับการอพยพ และแน่นอน การมีส่วนร่วมของคนอพยพในสถาบันต่างๆ คือหนทางในการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมทางสังคม             8. การกีฬา ที่กลายเป็นหนทางหนึ่งของการรวมกลุ่มและอัตลักษณ์ร่วมระหว่างคนอพยพด้วยกัน ในไม่ช้า การเล่นและนักกีฬาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกกีฬาของชนชาวฝรั่งเศส             9. ศาสนา ทุกวันนี้ นอกจากคริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก อิสลามเป็นศาสนาที่นับถือในหมู่ชนฝรั่งเศสเป็นอันดับรองลงมา โดยผู้คนที่นับถือมาจากชาติกำเนิดที่แตกต่าง ทั้งผู้คนที่มีรากเหล้าในกลุ่มประเทศมาเกรบ (อัลจีเรีย ตูนีเซีย โมรอคโค) จากตุรกีและตะวันออกกลาง ส่วนพุทธศาสนาประดิษฐานเมื่อราวคริสต์ทศวรรษ 1970 จากการอพยพของผู้คนจากตะวันออกไกล และยังมีศาสนามาพร้อมกับผู้คนจากทวีปอเมริกา             10. ศิลปวัฒนธรรม ศิลปินจำนวนไม่น้อยที่เป็นคนอพยพและสร้างคุณูปการในการสร้างสรรค์ทางศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นทัศนศิลป์ การแสดง หรือดนตรี              ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวอย่างย่นย่อของสิ่งที่บอกเล่าในนิทรรศการถาวรของ CNHI โดยจะต้องไม่ลืมว่า หมุดหมายทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ ได้ควบรวมการบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดกับปัจเจกบุคคลหรือที่เรียกว่า living memory หรือความทรงจำที่ไหลเวียนอยู่ในหมู่ชนของคนอพยพ ฉะนั้น CNHI สะท้อนให้เห็นว่า การทำงานพิพิธภัณฑ์ทางชาติพันธุ์ร่วมสมัย มิใช่เรื่องที่ผูกไว้กับผู้เชี่ยวชาญ ไมว่าจะเป็นนักมานุษยวิทยาหรือนักประวัติศาสตร์ แต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นกับเจ้าของวัฒนธรรม                           นัยสำคัญของการบอกเล่าเรื่องราวของการอพยพ ไว้ในพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่เช่นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การอพยพดังที่กล่าวมา คงมิใช่ “การอวด” (showcases) หรือการจัดแสดง (displays) เพียงเพื่อความหฤหรรษ์ในความเป็นอื่น (exotism) หรือรู้เพียงว่าพวกเขาแปลก (แยก) จากพวกเราอย่างไร หากควรเป็นการเรียนรู้ความแตกต่างที่สร้างความเป็นเราและเขาไปพร้อมๆ กัน ดังที่ การ์ติกา นาอีร์ นักการศึกษาของ CNHI ได้กล่าวไว้ในบทความของเธอ “เราไปเยี่ยมชมสถานที่แห่งนี้ มิใช่เพื่อการเรียนรู้คนอื่นและความแปลกแยกของพวกเขา หากเป็นการทำความรู้จัก ‘ความเป็นอื่น’ ที่อยู่ในตัวเรา ...เราเติบโตมาจากคนอื่นเช่นใด” บรรณานุกรม บทความต่างๆ ในวารสาร Museum international, No. 233/234, Vol.59, No. 1/2, 2007. ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.histoire-immigration.fr  

สรุปงานสัมมนา “คลังโบราณวัตถุ: เบื้องหลังที่ถูกลืม”

20 มีนาคม 2556

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2554 ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดโครงการให้ความร่วมมือและสนับสนุนการจัดทำพิพิธภัณฑสถาน “โครงการจัดสัมมนา เรื่อง คลังโบราณวัตถุ: เบื้องหลังที่ถูกลืม” ขึ้น ที่ห้องประชุม 304 มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เนื่องจากการจัดเก็บโบราณวัตถุในคลัง เปรียบเสมือนหลังบ้านที่คอยดูแลวัตถุพิพิธภัณฑ์ เพื่อใช้หมุนเวียนในการจัดนิทรรศการ และใช้ในการศึกษาค้นคว้าด้านต่างๆ จึงได้เห็นความสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ และสร้างเครือข่ายของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของบุคลากรที่ทำงานด้านพิพิธภัณฑ์ให้แก่สาธารณชนทั่วไป   การสัมมนาในครั้งนี้ ได้แบ่งออกเป็น 3 หัวข้อ ดังนี้ 1.   “ความสำคัญของการจัดการคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เพ็ญพรรณ เจริญพร 2.   “ระบบฐานข้อมูลดิจิตอลเพื่อการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลภายในพิพิธภัณฑ์” โดย คุณพัชรินทร์ ศุขประมูลภัณฑารักษ์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มทะเบียนโบราณวัตถุศิลปวัตถุ สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และ คุณวัญญา ประคำ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ 3.   “คลังโบราณวัตถุ: มุมมองจากต่างแดน” โดย ดร.ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันกูล นักวิชาการอิสระ และ คุณประภัสสร โพธิ์สีทอง นักวิชาการอิสระ   “ความสำคัญของการจัดการคลังวัตถุพิพิธภัณฑ์” “คลังพิพิธภัณฑ์” เป็นที่เก็บวัตถุสะสมที่ไม่อยู่ระหว่างในการจัดแสดง ซึ่งอาจอยู่ระหว่างรอการจัดแสดง หรือเหลือจากการจัดแสดง หรือที่ไม่ได้มีไว้จัดแสดง   อ.เพ็ญพรรณ กล่าวว่า ในสมัยก่อน การเก็บสะสมของพิพิธภัณฑ์หลายๆแห่งยังไม่มีนโยบายที่ชัดเจน มีการรับรับวัตถุเข้ามาเก็บอย่างหลากหลาย และสะสมอยู่ในความครอบครองเป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ถูกปล่อยให้รกและเต็มไปด้วยฝุ่น ทำให้ไม่สามารถนำมาจัดแสดงได้ทั้งหมด สภาพของคลังพิพิธภัณฑ์จึงไม่ได้สะท้อนให้เห็นความเป็นคลัง   แต่ในปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เห็นความสำคัญของคลังวัตถุมากขึ้น วัตถุที่หลากหลายนั้นก็มีการจัดการที่เป็นระเบียบ ปลอดภัย สามารถค้นหาและจัดเก็บได้ง่าย เช่น นำชั้น/ตู้หมุนมาใช้สำหรับเก็บวัตถุที่หลากหลาย ให้เหมาะสำหรับวัตถุแต่ละประเภท มีการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นตลอด 24 ชั่วโมง มีอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ และการเก็บวัตถุต้องเก็บไว้อย่างปลอดภัยในสภาพที่เป็นธรรมชาติของวัตถุ เนื่องจากเป็นการเก็บที่อาจใช้ระยะเวลานาน นอกจากนี้ ควรมีระบบรักษาความปลอดภัย ที่จำกัดจำนวนผู้เข้าถึงในคลัง มีระบบควบคุมการรับเข้าและนำออก มีอุปกรณ์เตือนและป้องกันภัยทั้งโจรภัย อัคคีภัย รวมถึงแผนการป้องกันและรับมือกับภัยที่เกิดขึ้น   “คลังพิพิธภัณฑ์” เป็นที่สำหรับศึกาษค้นคว้า คลังที่เป็นระบบจึงทำให้พิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สมบูรณ์ คลังที่สามารถเปิดให้เข้าไปค้นคว้าได้ เรียกว่า “คลังเปิด” (open storage) คลังบางส่วนอาจจัดไว้ เพื่อการค้นคว้าโดยเฉพาะ เรียกว่า “ของสะสมเพื่อการค้นคว้า”(Study collection) คลังบางแห่งเปิดให้เข้าชม เหมือนห้องจัดแสดง เรียกว่า “คลังที่มองเห็นได้” (Visible storage) ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับพิพิธภัณฑ์   สุดท้าย อ.เพ็ญพรรณ ได้ทิ้งท้ายว่า “คลังที่เป็นระบบจะช่วยปกป้องรักษา (Protect and Preserve) ที่เป็นเป็นสมบัติอันล้ำค่าของพิพิธภัณฑ์(Museum treasure) ให้เป็นมรดกตกทอดให้กับคนรุ่นหลังต่อไป (as heritage for our younger generations)”   “ระบบฐานข้อมูลดิจิตอลเพื่อการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูลภายในพิพิธภัณฑ์” คุณพัชรินทร์ได้เริ่มการบรรยายถึงพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นสถานที่จัดเก็บแสดงโบราณสถาน โบราณวัตถุ ซึ่งมีคลังพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (คลังกลาง) เป็นศูนย์กลางเก็บรวบรวมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ไม่ได้จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต่างมาสงวนรักษา จัดเก็บโดยยึดหลักการจำแนกตามประเภทของวัตถึ และแสดงไว้ในลักษณะ “คลังเปิด” (Visible storage) สามารถให้บริการความรู้และเชื่อมโยงเครือข่ายได้ ซึ่งวัตถุที่จัดเก็บในคลังกลางได้มาจาก การสำรวจและการขุดค้นทางโบราณคดี การรับมอบจากหน่วยงานราชการและเอกชน และสิ่งเทียมโบราณวัตถุและสิ่งเทียมศิลปวัตถุ อายัดและยึด ในคดีลักลอบค้าและลักลอบนำเข้าหรือส่งออก   และคุณพัชรินทร์ได้เล่าถึงการจัดองค์ความรู้ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติว่า มีหน้าที่การรับวัตถุ การศึกษาจำแนกประเภท การบันทึกข้อมูลวัตถุ/การจัดทำทะเบียนวัตถุพิพิธภัณฑ์ การสงวนรักษา การจัดเก็บวัตถุในคลังที่แบ่งตามประเภท การดูแลรักษาความปลอดภัย และการให้บริการ การบริการแบ่งได้ 3 ประเภท   การศึกษาค้นคว้าทั่วไป เช่น ใช้บริการสืบค้นข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาในการค้นคว้า ศึกษาหรือชมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ จากมุมมองภายนอกห้องคลังต่างๆ การศึกษาค้นคว้าเฉพาะเรื่อง เช่น ขอศึกษารายละเอียดโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ที่ต้องการได้ โดยแจ้งความประสงค์และขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ในห้องให้บริการที่จัดไว้โดยเฉพาะ และให้คำปรึกษาในด้านวิชาการที่เกี่ยวข้อง การให้ยืมโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุชั่วคราว เพื่อนำไปจัดแสดง ในอนาคต คุณพัชรินทร์กล่าวว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจะสร้างศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งติดตามได้ที่www.nationalmuseums.finearts.go.th   ต่อมา คุณวัญญา ได้บรรยายถึงเรื่องฐานข้อมูลว่า ฐานข้อมูล คือ การรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน มีการกำหนดรูปแบบ การจัดเก็บอย่างเป็นระบบเก็บรวมไว้ด้วย   เราจำเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลในระบบฐานข้อมูล เพราะลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล หลีกเหลี่ยงความขัดแย้ง สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน รักษาความถูกต้องเชื่อถือได้ กำหนดความเป็นมาตรฐานเดียวกัน สามารถกำหนดระบบความปลอดภัยและความเป็นอิสระของข้อมูลและโปรแกรม   และควรพิจารณาถึงการจัดเก็บข้อมูลว่า ประเภทของข้อมูล ที่ประกอบไปด้วย อักขระ/ข้อความ เชิงจำนวน กราฟฟิก ภาพลักษณ์ เสียง นั้นเป็นแบบไหน ส่วนโปรแกรมที่ใช้ในระบบฐานข้อมูลดิจิตอลของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ คือ   โปรแกรมประยุกต์ (Application Program) เช่น โปรแกรมCOBOL, Cเป็นต้น เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาโดยใช้ภาษาระดับสูง เพื่อทำงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ   และโปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ใช้งานฐานข้อมูล และผู้เขียนโปรแกรมในการจัดการข้อมูลใดๆในฐานข้อมูล เช่น โปรแกรม MS, ACCESS, ORACLE, MySQL เป็นต้น   “คลังโบราณวัตถุ: มุมมองจากต่างแดน” เสวนาในช่วงนี้ เริ่มต้นด้วย อ.ปริตตา และได้ขอใช้ชื่อเรื่องว่า “คลังโบราณวัตถุและวัตถุสะสมที่มีชีวิตและมีคน” โดยใช้การเล่าเรื่องพิพิธภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกาแห่งหนึ่งที่อาจารย์ชื่นชอบ ยกตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยที่สามารถทำตามกำลังและบริบท และทำอย่างไรให้วัตถุในพิพิธภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับคน อ.ปริตตา เล่าว่า แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงความคิดเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ เดิมรัฐ/หน่วยงานของรัฐเป็นเจ้าของ ที่เน้นการแสดงวัตถุและศิลปะเป็นหลัก มีหน้าที่หลัก คือ การจัดเก็บทำประเภท การทำทะเบียน การเผยแพร่ และการให้การศึกษา โดยอาศัยความรู้จากผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการ นักพิพิธภัณฑ์ แต่ในปัจจุบันเจ้าของพิพิธภัณฑ์นั้นล้วนมีความหลากหลายมากขึ้น เช่น บุคคล คณะบุคคล โรงเรียน วัด ชุมชน เอกชน เน้นเรื่องที่หลากหลายและร่วมสมัยมากขึ้น บางแห่งทำเป็นเว็บไซต์ เช่น วัดประตูป่า จ.ลำพูน นอกจากนี้ชาวบ้าน/ชุมชนที่เป็นเจ้าของวัตถุได้เข้ามามีส่วนร่วม และทางพิพิธภัณฑ์ได้อาศัยความรู้ต่างๆจากคนเหล่านี้   ส่วนพิพิธภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกาอาจารย์ชื่นชอบนั้น คือ พิพิธภัณฑ์อเมริกันอินเดียนแห่งชาติ สถาบันสมิธโซเนียน สหรัฐอเมริกา ได้เปิดทำการมา5 ปีแล้ว โดย Gustav Hayeมีดูและสะสมของวัตถุของชาวอเมริกันอินเดียนตั้งแต่คริสตวรรษที่ 19 จำนวนประมาณ 800,000 ชิ้น ซึ่งเป็นวัตถุที่กำลังสูญหายไปจากสหรัฐอเมริกา พิพิธภัณฑ์นี้ต้องการให้เกียรติและให้เจ้าของวัฒนธรรมเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในกระบวนการตามแนวคิดสิทธิของชนพื้นเมือง และมีรูปแบบสถาปัตยกรรมของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้สื่อถึงสายลมและสายน้ำ อันเป็นธรรมชาติที่ผูกพันกับชีวิตของชาวอเมริกันอินเดียน มีการจัดแสดงตามแนวเรื่องที่ชุมชนอเมริกันอินเดียนต้องการ และมีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครส่วนใหญ่เป็นชาวอเมริกันอินเดียน   อ.ปริตตาเล่าต่ออีกว่า พิพิธภัณฑ์อเมริกันอินเดียนมีศูนย์ทรัพยากรวัฒนธรรม ชื่อว่า “The cultural Resource Center, Maryland” ทำหน้าที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุจากชาวอเมริกันอินเดียน โดยชุมชนอเมริกันอินเดียนจะมีส่วนร่วมตัดสินใจในทุกขั้นตอน ศูนย์แห่งนี้เป็นคลังเก็บวัตถุที่ไม่ได้ใช้ในการจัดแสดง มีการดูแลรักษา ซ่อมแซม และเป็นคลังเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาค้นคว้าได้ นอกจากนี้ มีพื้นที่ให้เจ้าของวัฒนธรรมเข้ามาใช้ประโยชน์จากวัตถุที่สะสมไว้ โดยมีการจัดเนื้อที่ไว้เป็นห้องทำพิธีของชนพื้นเมืองที่ใช้วัตถุจากคลัง และยังคืนวัตถุบางส่วนให้ชุมชนที่เป็นเจ้าของ   “พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดท่าพูด จ.นครปฐม” เป็นพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยที่อ.ปริตตาได้ยกตัวอย่างขึ้นมา เนื่องจากมีการทำคลังวัตถุอย่างง่ายๆ โดยใช้เหล็กฉาบมาทำเป็นหิ้งในการเก็บวัตถุพิพิธภัณฑ์ และมีการเชิญชวนเด็กๆในชุมชนมาช่วยทำทะเบียนวัตถุ ซึ่งทำให้เด็กๆ ได้รู้จักวัตถุสิ่งของเหล่านั้นไปด้วย และสอนเด็กๆเก็บข้อมูลจากผู้อาวุโส ผลลัพธ์ในทางอ้อมก็คือ ทางวัดได้มีทะเบียนวัตถุเก็บไว้ด้วย   คลังวัตถุจะมีชีวิตได้อย่างไร เป็นประเด็นสุดท้าย ที่อ.ปริตตาได้กล่าวไว้ ซึ่งเราควรให้พื้นที่และการดูแล เพื่อให้คนภายนอกสามารถเข้าไปใช้ได้ ให้การสนับสนุน อำนวยความสะดวก ให้ข้อมูลเพิ่มเติม แก่นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจศึกษา ในกรณีที่เป็นวัตถุวัฒนธรรม ควรให้เจ้าของวัฒนธรรมได้มาร่วมตัดสินใจ ร่วมช่วยงาน และร่วมเป็นเจ้าของ และควรให้พื้นที่สำหรับความรู้และประสบการณ์ของเจ้าของวัฒนธรรม ชุมชน หรือผู้อื่นที่มีประสบการณ์กับวัตถุสะสม โดยให้ชุมชนสามารถเข้าถึงวัตถุสะสม และใช้ประโยชน์ได้ตามสมควร ช่วงต่อมา อ.ประภัสสรนั้น เปิดประเด็นมาพร้อมกับความรู้สึกหนักใจเรื่องคลังวัตถุในประเทศไทย แต่อ.ประภัสสรได้ให้ความเห็นว่า ประเทศไทยก็มีคลังที่ใช้ได้ และสามารถเติบโตได้ ถ้าจัดการทำทะเบียนให้เป็นระบบและตรงประเด็น   “คลัง” งานเก็บรวบรวมหรือจัดหาวัตถุต่างๆ (collection acquisition) ซึ่งอาจจะการการสำรวจภาคสนาม การขุดค้นทางโบราณคดี การรับบริจาค การจัดซื้อ การแลกเปลี่ยน การยืม แต่คลังมักมีไม่มีนโยบายในการจัดเก็บที่ถูกต้อง เนื่องจากเก็บวัตถุทุกอย่าง จึงทำให้ประเทศไทยไม่มีความชัดเจนว่าจะทำอะไร เก็บอย่างไร และมีพื้นที่ในการจัดเก็บพอไหม หลักการง่ายๆในการจัดเก็บ ถ้ามีของซ้ำๆกันมากๆ อาจจะต้องเลือกเก็บ เพื่อให้มีการจัดการคลังที่ง่ายขึ้น แต่พิพิธภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังไม่กล้าจัดการ การเก็บวัตถุแบบนั้น   และ อ.ประภัสสร ได้ยกตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศที่มีระดับใกล้เคียงกับพิพิธภัณฑ์ของไทย ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ซานตาบาร์บารา รัฐแคลิฟอเนียร์ พิพิธภัณฑ์นี้มีระบบคลังที่มาตรฐาน มีความยืดหยุ่นในการออกแบบเรื่องการจัดเก็บของขนาดวัตถุที่มีความหลากหลาย โดยสามารถปรับระดับชั้นต่างๆได้ มีเจ้าหน้าที่จัดทำฐานข้อมูลทะเบียนในคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ มีตู้เก็บแฟ้มบันทึกรายงานการสำรวจ มีระบบทะเบียนหรือระบบคลังที่ดี ซึ่งทั้งหมดล้วนทำให้คนในพิพิธภัณฑ์ทำงานง่ายขึ้น ฉะนั้น สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงระบบคลัง คือ พื้นที่ภาพรวม สามารถขยายหรือยืดหยุ่นได้ไหม และคลังที่ดี ควรต้องควบคู่ไปกับการดูแลรักษาและการอนุรักษ์ ตู้ที่ใช้ควรไม่ติดพื้น เพราะฝุ่นอาจจะเข้าไปได้ง่าย ส่วนการจัดแสดงแบบคลังเพื่อการเรียนรู้ (Study Collection) นั้น ควรมีชั้นกั้นไม่ให้ผู้ชมเข้าใกล้วัตถุมากเกินไป   นอกจากนี้ มีตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศอื่นๆที่น่าสนใจที่ประเทศไทยสามารถนำไปปรับใช้ได้ เช่น San Diego Museum of Arts มีห้องให้บริการภาพถ่ายงานศิลปะของพิพิธภัณฑ์ในรูปแบบของ Photo Bank พิพิธภัณฑ์ในเมือง Christchurch, New Zealandมีห้องสมุดเพื่อการค้นคว้าข้อมูลวัตุพิพิธภัณฑ์ Australia Museum, Sydney มีมุมเรียนรู้สำหรับเด็ก   ส่วนตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยนั้น อ.ประภัสสรยกตัวอย่าง พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดคงคาราม จ.ราชบุรี ที่ได้ลงพื้นที่ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อ.ประภัสสรเล่าถึง วิธีการทำคลังผ้าแบบง่ายและประหยัด โดยใช้อุปกรณ์ที่สามารถหาได้ทั่วไปตามท้องตลาด   ก่อนปิดท้ายสัมมนาในครั้งนี้ อ.ประภัสสรได้ฝาก “เวทีพิพิธภัณฑ์” ในเฟชบุ๊ก Social network ที่ได้รับกระแสนิยมอย่างมากในปัจจุบัน เพื่อไว้เป็นการรวมตัวแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็นของชาวพิพิธภัณฑ์และผู้ที่สนใจ ซึ่งในอนาคตอาจสามารถสร้างอำนาจต่อรองเรื่องพิพิธภัณฑ์ในสังคมไทยได้ และอ.ปริตตาได้ให้ความหวังกับพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย ที่มีก้าวหน้าขึ้น จากสมัยที่อ.ปริตตาทำงานอยู่ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรช่วงแรก พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยมีจำนวนประมาณ 300-400 แห่ง แต่ปัจจุบันในฐานข้อมูลของศูนย์ฯมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 1,200 กว่าแห่ง ฉะนั้นเราควรมีพัฒนาการหลายๆด้าน เพราะการพัฒนาทำให้พิพิธภัณฑ์ต่างๆสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ในสังคม