ประวัติศาสตร์ สำนักชาติพันธุ์ และพลเมือง บทความของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ในประเทศพหุชาติพันธุ์

ในปี 2005 พิพิธภัณฑ์แมคคอร์ดได้รับการมอบหมายจากสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรมและการสื่อสาร เพื่อทำการศึกษาเกี่ยวกับสัมพันธภาพระหว่างพิพิธภัณฑ์ ชุมชนชาติพันธุ์ และมรดกทางวัฒนธรรมในมอนทริออล การศึกษานี้แสดงให้เห็นอย่างประหลาดใจว่า เป็นสิ่งที่ยากที่จะทำให้สำเร็จลุล่วง และยังขีดให้เราจะต้องทบทวนกับสัมพันธภาพที่ซับซ้อนระหว่างสำนึกชาติพันธุ์ เรื่องราวของวัตถุ และการทำงานของพิพิธภัณฑ์สาธารณะ ให้ลึกมากยิ่งขึ้น 

แมคคอร์ดเป็นพิพิธภัณฑสถานสาธารณะแห่งหนึ่งตั้งอยู่ที่ควิเบก จังหวัดหนึ่งที่มีความสำนึกชาติในการเป็นกลุ่มคนที่พูดภาษาฝรั่งเศส (francophone) ทั้งทางการเมืองและวัฒนธรรมที่ต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของประเทศ ในปี 1971 แคนาดาได้แถลงนโยบาย “พหุวัฒนธรรม” อย่างเป็นทางการ และในปี1988 สภาประกาศใช้รัฐบัญญัติพหุวัฒนธรรมคานาดา ซึ่งหมายรวมถึง “การยอมรับในความหลากหลายของชาวแคนาดา ทั้งที่สัมพันธ์กับเชื้อชาติรากเหง้าของชาติหรือชาติพันธุ์ สีผิว และศาสนา เสมือนฐานรากของสังคมแคนาดา” และส่งเสริมการสงวนรักษามรดกพหุวัฒนธรรม ควิเบกซึ่งมีสถานภาพพิเศษภายในสมาพันธ์แคนาดา ยังได้เผยแพร่นโยบายสหสัมพันธ์วัฒนธรรม (interculturalisme) เพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้กับผู้ที่อพยพเข้ามาใหม่ในสังคมที่พูดภาษาฝรั่งเศส

บทความจะสำรวจเห็นวิถีทางในอันที่สำนึกชาติพันธุ์ได้รับการนิยามและแสดงออกทั้งความเป็นแคนาดาและควิเบก วิเคราะห์ข้อท้าทายต่างๆ ที่พิพิธภัณฑ์เผชิญในการสร้างคลังสะสมและการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมของชาวแคนาดา ในแนวการสรรเสริญความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์และทิศทางทางการเมืองที่หลากหลาย และจะสรุปให้เห็นความพยายามในการทำความเข้าใจกับบทบาทของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์สาธารณะในการสร้างช่องทางให้ชุมชนมีส่วนร่วมกับประวัติศาสตร์ของสถานที่แห่งนี้ รวมถึงสัมพันธภาพระหว่างการมีส่วนร่วมและการพัฒนาความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม(sentiment d’appartenance/ sense of belonging) และความเป็นพลเมืองร่วม
 
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมชาติพันธุ์ของคานาดา
                แคนาดาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากที่สุดในโลก และความหลากหลายเป็นผลจากการอพยพขนานใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 20 คานาดาได้ต้อนรับคนอพยพ 13.4 ล้านคนในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา และในปี 2002 หนึ่งในสี่ของประชากรเกิดในต่างแดน ภายในบริบทของคานาดาความหลากหลายเป็นนิยามที่เกิดขึ้นจากงานสำรวจความหลากหลายทางชาติพันธุ์ (Ethnic Diversity Survey)(ซึ่งเป็นการศึกษาต่อเนื่องจนถึงปี 2001) งานศึกษาดังกล่าวเป็นการสำรวจประชากรตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่รวมตัวเป็นแคนาดา ด้วยการพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ “สิ่งแสดง” (markers)สำนึกชาติพันธุ์ เชื้อชาติ และศาสนา  ในปี 1931 สิ่งแสดงเหล่านี้จะหมายถึงผู้คนที่มาจากยุโรปในช่วงแรกๆ แต่ทุกวันนี้สิ่งแสดงหมายรวมถึงสเปกตรัมของคนที่ใหญ่กว่า ผู้มาจากทุกๆ ส่วนของโลก และเป็นผู้ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นภาษาหรือศาสนา ตั้งแต่กลุ่มประชาการที่เก่าแก่ที่สุด
                ความหลากหลายทางชาติพันธ์ที่กำหนดใหม่นี้เป็นลักษณะเฉพาะของศูนย์กลางเมืองต่างๆ โดยเฉพาะตัวอย่างเช่น ประชากรกว่า 50% ของเมืองโตรอนโตเกิดนอกประเทศแคนาดา และอีกกว่า 40% ของชาวโตรอนโตประกาศตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของ “ชนกลุ่มน้อยที่ปรากฏชัด” (visible minority)2  ในการสำรวจเมื่อปี 2001 กว่า 30% ของคนที่อาศัยในแวนคูเวอร์มองตนเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของสำนึกชาติพันธุ์เอเชีย โดยมีชาวแคนาดา เชื้อสายจีนถึง 17.7% ของจำนวนประชากรที่อยู่ในเมืองทั้งหมด3    ในเมืองมอนเทรออล เมืองใหญ่ที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นอันดับสองของโลก สำนึกชาติพันธุ์สัมพันธ์ไปกับความซับซ้อนของสายสัมพันธ์ทางภาษา ด้วยประชากรกว่า 29% จัดแบ่งตนเองเป็น “allophones” ชาวคานาดาที่มีภาษาแม่ไม่ใช่ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรัง่เศส4  และในขณะที่มอนทริออลเป็นเมืองที่มีผู้นับถือโรมันคาทอลิกเป็นจำนวนมาก แต่อิสลามกำลังขายตัวมากขึ้น และยังเป็นความเชื่อสำคัญเป็นอันดับสามในควิเบก ด้วยจำนวนชาวมุสลิมประมาณ 3%ของประชากรที่อยู่ในเมืองมอนทริออล5
 
นโยบายของการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
                แคนาดาจะตั้งรับกับความหลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา สำนึกชาติพันธุ์ และภาษาอย่างไร? ตามรัฐบัญญัติว่าด้วยพหุวัฒนธรรมคานาดา ค.ศ. 1988 กล่าว ไว้ว่ารัฐบาลแคนาดารับรองความหลากหลายของชาวแคนาดา ทั้งที่เกี่ยวข้องกับเชื้อชาติ ความเป็นมาชาติหรือชาติพันธุ์ สีผิว และศาสนา ซึ่งเป็นฐานรากของสังคมแคนาดา และรัฐบาลมีส่วนรับผิดชอบต่อการสร้างนโยบายพหุวัฒนธรรม ในอันที่จะสงวนรักษาและเสริมให้มรดกความหลากหลายทางวัฒนธรรม พร้อมๆ ไปกับการสร้างความเท่าเทียมให้กับชาวคานาดาทุกคน ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองของแคนาดา6
                สำหรับวิลล์ คิมลิคกา (Will Kymlicka) มหาวิทยาลัยควีนกล่าวไว้ว่า หลักของพหุวัฒนธรรมนิยมคือการดำเนินการให้ได้มาซึ่ง “ข้อตกลงของความเป็นหนึ่งเดียวกันที่ยุติธรรม” ขณะที่ยังมีเสียงวิพากษ์ภายในที่มองว่ารัฐบัญญัติกลับจะส่งเสริมให้สังคมแบ่งแยกเป็นเสี่ยงตามแต่ละชาติพันธุ์ คิมลิคกากลับยืนยันถึงแนวคิดข้อตกลงของความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างยุติธรรมว่า มีความชัดเจนเพียงพอที่จะนำไปสู่การสร้างสถาบันและคุณค่าร่วมกัน เขาเล็งเห็นสิ่งที่ปรากฏชัดในควิเบก นั่นคือ ความเป็นสังคมอยู่รวมในสมาพันธ์แคนาดา ในควิเบก นโยบาย สหสัมพันธ์วัฒนธรรมนิยม (interculturalisme) เรียกร้องให้ผู้อพยพเข้ามาใหม่ในพื้นที่และสมาชิกของสิ่งที่เรียกว่า ‘ชุมชนวัฒนธรรม’ (communautées culturelles) ดำรงอยู่ภายใต้หลักการสามประการ ซึ่งเป็นฐานของ “สัญญาจริยธรรม” (moral contract) ระหว่างควิเบกและพลเมืองใหม่ (ก) รับรองภาษาฝรัง่เศสเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารในชีวิตสาธารณะ (ข) ให้ความเคารพต่อคุณค่าประชาธิปไตย รวมไปถึงสิทธิพลเรือนและการเมืองและความเท่าเทียมกันในโอกาส และ (ค) ความเคารพในพหุลักษณ์นิยม รวมถึงการเปิดใจและยอมรับ“ความแตกต่าง” ของผู้อื่น9
                สหสัมพันธ์วัฒนธรรม อาจพิจารณาว่าเป็นปฏิกิริยาของการไม่มีสิ่งที่เรียกว่า“วัฒนธรรมแห่งชาติ” ด้วยเหตุที่แคนาดาต้องเผชิญกับหินผาทางภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมตามภูมิภาค และอัตลักษณ์ภาษา10 การมีอยู่ของรัฐชาติที่ก่อตัง้ 2 ชาติ ที่แตกต่างไปตามภาษา วัฒนธรรม และศาสนา รวมไปถึงการรับรองกลุ่มที่สามในคานาดาตามกฏบัตร อันได้แก่ ชนพื้นเมืองหรืออะบอริจิน เหล่านี้ดูจะเป็นเหตุผลเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าชาตินิยมชาติพันธุ์เป็นเรื่องที่ฟงัไม่ขึ้นแต่อย่างใดทั้งในควิเบกเองและในคานาดา
 
ความเข้าใจในสำนึกชาติพันธุ์
                แล้วสำนึกชาติพันธุ์ได้รับการตีความอย่างไรในบริบทความหลากหลายและความเป็น พลเมืองของแคนาดา สำนึกชาติพันธุ์สามารถพิจารณาในฐานะที่เป็นคุณค่าทางสังคม เป็นความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่ง(sentiment d’appartenance หรือ feeling of belonging) ปัจเจกบุคคลอาจรู้สึกว่าเขาหรือเธอเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบางกลุ่ม และความรู้สึกนี้อาจคงอยู่หลายชั่วอายุคน ตัวอย่างเช่น กรณีของกลุ่ม Scots หรือกลุ่มประชากรหลักของแคนาดาที่สืบทอดหลายชั่วอายุคน หลายคนยังคงความรู้สึกของการ “เป็นสกอต”อย่างเหนียวแน่นดังจะเห็นได้จาการเป็นสมาชิกของสมาคมวัฒนธรรม เช่น สมาคมเชนต์แอนดรู(St. Andrew’s Society) สมาชิกยังคงปฏิบัติ วัฒนธรรมที่แสดงเอกลักษณ์ของความเป็นสก็อต เช่น การเต้นรำประจำชาติ การใส่กระโปรงสก็อต อาหารแบบฮากีส์ ในขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาสมาชิกภาพขององค์กร “สก็อต” หลายแห่งสะท้อนให้เห็นว่าลักษณะที่สัมพันธ์ของสมาคมกับความเป็นชาติพันธุ์เฉพาะกลุ่ม ก็ยากที่จะนิยาม ลองดูตัวอย่างกกลุ่ม Black Watch ที่เป็นคนบนพื้นที่สูงกลุ่มใหญ่ในแคนาดา และสมาชิกในปัจจุบันมีความหลากหลายทั้งทางชาติพันธุ์และเชื้อชาติ อย่างน้อยๆ ก็เห็นได้จากเว็บไซต์ของสมาคม11
                สำนึกชาติพันธุ์อาจต้องทำความเข้าใจในบริบทของมานุษยวิทยา ซึ่งหมายถึงคนรุ่นหลังที่มีสายสัมพันธ์ทางพันธุ์กรรมเฉพาะกลุ่ม คนๆ หนึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งเพราะสืบสายมาจากพ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคนกลุ่มนั้นๆ สำนึกชาติพันธุ์มักได้รับการธำรงไว้ด้วยการแต่งงานภายในกลุ่ม (in-marriage) ส่วนการแต่งงานนอกกลุ่ม (out-marriage) มักถือเป็นการปฏิเสธสำนึกชาติพันธุ์จากสมาชิกคนอื่นๆใน สังคม ดังจะเห็นได้จากการแจ้งชาติพันธุ์ของประชาการว่ามีบรรพบุรุษมากกว่า ชาติพันธุ์เดียว นั่นเป็นเพราะการแต่งงานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์ (intermarriage) ในปี 2001 จำนวนประชากร 11.3ล้านคน หรือ 38 % ของประชากร รายงานตนเองว่ามีบรรพบุรุษจากกลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่ม ซึ่งมากขึ้นกว่าการสำรวจประชากรครั้งที่ผ่านมา การสำรวจความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่าการนิยามกลุ่มชาติพันธุ์  (selfcharacterization) อาจ เหมือนหรือแตกต่างไปจากบรรพบุรุษตั้งแต่รุ่นพ่อแม่หรือปู่ย่าตายาย สมาชิกในรุ่นที่สองและสาม ซึ่งอยู่ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันจะกล่าวว่าตนเองเป็นชาวคานาดา หรือจะกล่าวว่าเป็นสมาชิกในระดับภูมิภาคลงไปคือ กลุ่มชนตะวันตก (Westerner) หรือกลุ่มผู้พบดินแดนใหม่ (Newfoundlander)12
            สำนึกชาติพันธุ์สามารถอ้างอิงกับกลุ่มทางศาสนาหรือเชื้อชาติ (race) ชุมชน ชาวยิว ซึ่งถึงแม้จะเป็นสมาชิกของคนที่มาจากสัญชาติ ชาติพันธุ์ หรือบรรพบุรุษต่างเชื้อชาติ แต่กลับมีสายสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอย่างแน่นแฟ้น ด้วยการนับถือศาสนาร่วมกันและมีแบบแผนทางศาสนาอย่างเดียวกัน (และรวมถึงประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ร่วมกัน) หรือชุมชนชนคนดำ ซึ่งมักถูกมองจากคนภายนอกว่าเป็นกลุ่มแปลกแยกด้วยสีผิว ก็มาจากสมาชิกที่แตกต่างกันทัง้ทางสัญชาติ วัฒนธรรม และภาษา ฉะนั้นการกล่าวถึงสำนึกชาติพันธุ์ของคนกลุ่มต่างๆ เหล่านี้มีความซับซ้อนอย่างมาก เพราะสมาชิกแต่ละคนที่มีสายสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งๆ ย่อมมีระดับความเข้มข้น
จากมากไปถึงน้อยต่างกันไป และสำนึกชาติพันธุ์ยังไปสัมพันธ์กับชุมชนภายนอกที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนอีกเช่นกัน
 
วัฒนธรรมวัตถุ สำนึกชาติพันธุ์ และพิพิธภัณฑ์
                อย่างนั้นแล้ว อะไรคือบทบาทของพิพิธภัณฑ์สาธารณะ และที่สำคัญที่สุดพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ ในประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมอย่างแคนาดา และในกรณีของเมืองที่เป็นใช้สองภาษาและ เป็นพหุวัฒนธรรมอย่างกรณีมอนเทรออล แล้วชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆ จะเข้ามาสัมพันธ์กับสถาบันพิพิธภัณฑ์อย่างไร และเมื่อชุมชนต่างๆ เข้ามาสัมพันธ์กับพิพิธภัณฑ์ สถานที่ใดในชุมชนนี้จะเอื้อให้กับพิพิธภัณฑ์ ตามการ ศึกษาของพิพิธภัณฑ์แมคคอร์ด เราได้ทบทวนบทความทั้งในภาษาอังกฤษและฝรัง่เศสที่เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ ชาติพันธุ์ และความหลากหลาย เราได้รวบรวมสิ่งที่ค้นพบจากการศึกษาก่อนหน้านั้น และได้สัมภาษณ์กลุ่มเฉพาะ และสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบกับสมาชิกกลุ่มวัฒนธรรมในมอนเทรออล สิ่งที่ได้จากความพยายามในการศึกษาครั้งนี้คือความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ ระหว่างพิพิธภัณฑ์สาธารณะกับชุมชนวัฒนธรรม อย่างน้อยในมอนเทรออล และอาจหมายถึงแคนาดาในภาพที่กว้างออกไปนั้น มีความสำคัญอย่างมากทั้งต่อการวิเคราะห์และการลงมือปฏิบัติการ
                พิพิธภัณฑ์สาธารณะในสังคมตะวันตกมีพันธกิจสำคัญสองประการคือ การรักษาอนุรักษ์และการเข้าถึงการรักษาอนุรักษ์หมายถึงการอนุรักษ์วัตถุไว้ ในคลังวัตถุที่ปลอดภัยและการอนุรักษ์ความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ วัตถุด้วยการจัดเก็บเอกสารและการจัดพิมพ์เผยแพร่ ส่วนการเข้าถึงหมายรวมทัง้สิ่งที่เป็นกึ่งสาธารณะและสาธารณะ คำวิจารณ์สุดที่กล่าวถึงพิพิธภัณฑ์วนอยู่กับปัญหาของความใส่ใจและความรับผิดชอบต่อสังคมพิพิธภัณฑ์ ในสายตาของนักวิชาการและสมาชิกของสังคมจำนวนมากเห็นตรงกันว่า พิพิธภัณฑ์กีดกันหรือละเลยประวัติศาสตร์บางส่วน การสร้างสรรค์ทางศิลปะ และเพิกเฉยต่อความรับผิดชอบต่อสาธารณะอย่างไรก็ตาม หน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่เรื่องของการสะสม “อดีต” หรือ บอกเล่าเรื่องราวด้วยการจัดแสดง แต่เป็นการสะสมและอนุรักษ์วัตถุบางอย่างด้วยกรอบการคัดสรร และการเปิดโอกาสให้เข้าถึงสิ่งเหล่านั้นนี่คือการนิยามพิพิธภัณฑ์ที่แคบ ผู้เขียนจะย้อนกลับไปที่วาระของพิพิธภัณฑ์ต่อสังคมที่กว้างมากกว่า เพื่อแสดงให้ฃเห็นวิถีทางที่คลังสะสมอันเป็นรากฐานของพิพิธภัณฑ์ ได้รับการนิยามและพัฒนาการต่อมา กรอบของการจัดการและการคัดเลือกวัตถุสะสมที่ใช้โดยพิพิธภัณฑ์สะท้อนให้เห็นความสนใจของสังคมใน ขณะนั้นๆ ความสนใจของสังคมย่อมส่งผลต่อการจัดประเภทของพิพิธภัณฑ์ และในขณะเดียวกัน ก็เป็นการกีดกันบางอย่างออกไป จนวัตถุนั้นๆ ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของบันทึกประวัติศาสตร์ จึงส่งผลให้วัตถุเหล่านั้นไม่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบันทึกเชิงวัตถุ ของอดีต และยงิ่ ดูลดความสำคัญลงไปในสายตาของนักประวัติศาสตร์ในฐานะของ “เอกสาร” ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประวัติศาสตร์หรือนิทรรศการสาธารณะ ช่องว่างของคลังสะสมที่เกิดขึ้นต้องอาศัยเวลาหลายชั่วอายุคนในการเติมเต็ม ส่วนที่ขาดไป ดังนั้นสำนึกชาติพันธุ์จะได้รับการถ่ายทอดลงไปในวัฒนธรรมทางวัตถุ หรืออีกนัยหนึ่งคลังของพิพิธภัณฑ์
                สำหรับวัตถุแล้ว สำนึกชาติพันธุ์เป็นเรื่องที่ยากนักสำหรับการพรรณนา รูปแบบที่ง่ายที่สุด วัตถุ “ชาติพันธุ์” มักสัมพันธ์กับวัฒนธรรมชีวิตชาวบ้านหรือวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์เฉพาะและบ่อยครั้งเป็นกลุ่มที่สัมพันธ์กับความเป็นชาติ จนกลายเป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกชาติพันธุ์ไปในตัว (ธรรมเนียมการร่ายรำของยูเครน กระเบื้องแบบโปรตุเกส ถ้วยชาหรือตะเกียบแบบจีน ceitnture fléchée (เข็มขัดที่ทำจากขนแกะพื้นสีแดงและมีลายลูกศร พบในคานาดา) วัตถุ เหล่านี้ถูกใช้อธิบายความเป็นชาติพันธุ์และอัตลักษณ์ง่ายๆ ทั้งภายในกลุ่มวัฒนธรรมเอง และคนนอกชุมชนชน และบ่อยครั้งทีเดียวที่ชนอพยพจะนำวัตถุเหล่านี้มาจากประเทศของตนเองหรือประดิษฐ์สิ่งเหล่านี้ขึ้นในประเทศที่ตนอพยพเข้าไปอยู่ตามคำสอนของธรรมเนียมประเพณี(ชุมชนผู้อพยพอนุรักษ์ธรรมเนียมประเพณีที่ได้ปฏิบัติกันแล้วในประเทศที่ตนจากมา) สิ่งที่ซับซ้อนมาขึ้นไปอีกคือ วัตถุที่ถูกกลืนกลายเข้าไปสู่กระแสวัฒนธรรมหลัก และถูกดัดแปลงเพื่อการใช้ภายในชุมชนชาติพันธุ์ เช่น กระดุมหรือเสื้อยืดที่มีคำโปรย “หอมซิ ฉันคือชาวยูเครน” สิ่งที่ซับซ้อนเหนืออื่นใด การบ่งชี้ว่าวัตถุนั้นๆ เป็นตัวแทนความเป็นชาติพันธุ์ วัตถุในกระแสหลักที่รับใช้ชุมชนวัฒนธรรม และบ่งชี้ความเป็นชุมชนและประวัติศาสตร์ (ดังจะเห็นได้จากการกล่าวถึงลักษณะที่พักอาศัยแรกๆ ในมอนเทรออลที่สร้างขึ้นโดยคนอพยพชาวโปรตุเกส ชุดแต่งกายจากปารีสในพิธีแต่งงานที่นิยมกันในมอนเทรออล เพื่อบ่งบอกการแต่งงานตามประเพณีของยิว) หากปราศจากความรู้เกี่ยวกับที่มาที่ไปและประวัติศาสตร์ของสิ่งของ วัตถุเหล่านี้ก็มาได้สัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นผู้สร้างสรรค์แต่อย่างใด
                ท้ายที่สุด คำถามที่เราควรตัง้ขื้นต่อไปก็คือ เมื่อวัตถุที่เชื่อมโยงโดยตรงกับชุมชนชาติพันธุ์ใดก็ตาม ได้เปลี่ยนสถานภาพเข้าไปอยู่ในกระแสหลัก ก็ควรได้รับการตรวจสอบด้วยเช่นกัน (ในแคนาดา กะทะแบบเอเชีย จานใส่พาสต้าแบบอตาลี เสื้อปักลายแบบจีน และแหวนรูปหัวใจแบบเซลติก) ปัญหาของการนิยามความเป็นชาติพันธุ์เช่นนี้สะท้อนได้อย่างชัดเจนในการจัดแบ่งประเภทวัตถุในพิพิธภัณฑ์ที่ปรากฏในฐานของมูลคลังสะสม ตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ของเราไม่รวมการจัดประเภท “ความเป็นชาติพันธุ์”เข้าไปกับผู้บริจาค นอกเสียจากว่าชื่อของผู้บริจาคเองที่บ่งชี้ความเป็นชาติพันธุ์ เช่น วัตถุกระแสหลัก (ของที่พบอย่างดาดๆ) เช่นตุ๊กตาบาร์บี้ที่บริจาคโดยสมาชิกชุมชนชาติพันธุ์ ย่อมกลายเป็นหลักฐานของการพูดถึงสิ่งของนั้นๆ ที่สัมพันธ์กับความเป็นชาติพันธุ์โดยปริยาย
 
ความคาดหวังของชุมชน
                สิ่งที่จะแสดงให้เห็นเป็นตัวอย่างเล็กโดยกลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาควิเบก และด้วยการสนทนา แสดงให้เห็นมุมมองที่จำกัดของชุมชนภายนอกหรือ “สาธารณะ” ที่มีต่อ พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์มักถูกมองจากเลนส์ของนิทรรศการ คือเป็นสถานที่สำหรับการจัดแสดง หรือการเยี่ยมชมของครอบครัวและโรงเรียน การพูดคุยกับชุมชนวัฒนธรรมต่างๆ เผยให้เห็นถึงความไม่เข้าใจในบทบาทสำคัญพื้นฐานของหน้าที่ในการสะสม สงวนรักษา และวิจัย ในขณะที่มีคนอีกหลายกลุ่มที่ชื่นชมกับคุณค่าของจดหมายเหตุ โดยเฉพาะจดหมาย อนุทิน และภาพถ่ายซึ่งถือเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกอัตลักษณ์ของชุมชน พิพิธภัณฑ์ในฐานะสถาบันจัดเก็บอนุรักษ์รักษาวัตถุ เพื่อชนรุ่นหลัง มักมีการตั้งข้อกังขา เช่น ในระหว่างการสัมภาษณ์กลุ่ม สมาชิกของชุมชนคนดำมอนเทรออล โยงให้เห็นว่า คนจากพิพิธภัณฑ์แมคคอร์ดอาจไม่ได้ตระหนักถึงทาสที่มีอยู่ในควิเบกช่วงศตวรรษ ที่ 18 และเขาเข้าใจเองว่าพิพิธภัณฑ์คงไม่ได้สะสมวัตถุที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ที่ไม่มี ใครกล่าวถึง จริงๆ แล้วพิพิธภัณฑ์แมคคอร์ดเหมือนกับพิพิธภัณฑ์อีกหลายแห่ง ที่พยายามจัดหาวัตถุที่เกี่ยวข้องกับชนชั้น แรงงานและกลุ่ม “ชายขอบ” ไม่ใช่เพียงว่าเจ้าหน้าที่จะตระหนักสิ่ง เหล่านี้ แต่เราได้จัดหาภาพสีน้ำในยุคแรกๆ ที่แสดงให้เห็นถึงบทบาคนดำในการเป็นคนรับใช้ และบางครั้งเป็นทาส (ด้วยเหตุนี้ สถานภาพก็ยากที่จะตัดสินจากภาพภายนอกเพียงอย่างเดียว)
                เมื่อพิพิธภัณฑ์เริ่มหันมาใส่ใจต่อสิ่ง ทีเคยมองข้ามและจัดเก็บสิ่ง ต่างๆ ในชุมชนวัฒนธรรมแห่งนั้นพิพิธภัณฑ์ต้องเผชิญกับความเข้าใจผิด และลักษณะร่วมสมัยของการเก็บสะสมสิ่งของ ในบางกรณีเจ้าของวัฒนธรรมแสดงความกังวลที่ “คนอื่น” กำลัง ครอบครองมรดกของพวกเขา แล้วซ่อนเร้นไว้ ในหลายๆ กรณีก็อาจกล่าวได้ในทำนองนั้น สำหรับพิพิธภัณฑ์ใหญ่ๆ ที่เก็บของที่จัดแสดงของเพียงเล็กน้อยในนิทรรศการ สมาชิกหลาย คนของชุมชนชาติพันธุ์และวัฒนธรรมคงสบายใจมากกว่าที่จะเก็บของเหล่านั้นไว้ใน ชุมชนของตนเอง ที่ซึ่งแม้จะมีความเสี่ยงต่อการสูญหายและทำลาย แต่พวกเขายังคงเห็นสิ่ง เหล่านั้น และเข้าไปอยู่ในประวัติศาสตร์ของชุมชน ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่ง ที่น่ากังวลใจมากไปกว่าเรื่องการครอบครองและการสูญหาย คือความไม่สอดคล้องของการให้คุณค่าและการนำเสนอวัตถุ สิ่งที่ภัณฑารักษ์ได้เรียนรู้อาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่กลุ่มวัฒนธรรมหรือสมาชิกในสังคมใหญ่ให้คุณค่า ตัวอย่างเช่น ภัณฑารักษ์เชื้อสายอิตาลี-แคนาดาที่จัดนิทรรศการล่าสุดที่พิพิธภัณฑ์อารยธรรมแคนาดา เกี่ยวกับชาวแคนาดาเชื้อสายอิตาลีได้เลือกที่จะกล่าวถึง ฟิล เอสโปซิโตนักเล่นฮอกกีชาวแคนาดาที่มีเชื้อเสียงเชื้อสายอิตาลี ไม้ฮอกกี้ไม่ได้มีความหมายสัมพันธ์กับความเป็นอิตาลี แต่ดูจะเป็นสิ่ง ที่แสดงถึงการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสังคมใหญ่และความสำเร็จในการเป็นสมาชิก ของชุมชนวัฒนธรรมในสิ่งที่เรียกว่า “เกมแคนาดา” คำวิจารณ์ที่เกิดขึ้นตั้งประเด็นต่อ “วัฒนธรรมระดับสูง” ที่สัมพันธ์กับอิตาลี บรรดาศิลปินอิตาลีผู้มีชื่อเสียง ลีโอนาโดหรือกาลิเลโอที่มีส่วนในการสร้างสังคมอิตาลี-แคนาดา ไม่ใช่อิตาลีที่อพยพนำพาสิ่ง เหล่านั้นมาสู่แคนาคาหรอกหรือ? (ชื่อศูนย์วัฒนธรรมอิตาลีในมอนเทรออลได้รับการขนานนามตามชื่อของลีโอนาโด ดา วินชี) ใน อีกทางหนึ่งผู้หญิงในชุมชนอิตาลีกล่าวอย่างชัดเจนว่าข้อมูลในนิทรรศการที่ กล่าวถึงความรุนแรงที่มีต่อสตรี เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ชุมชน ซึ่งร่องรอยดังกล่าวกลับปรากฏไม่มากนักในบันทึกต่างๆ
 
คุณค่าและภารกิจ
                ความยุ่งยากที่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของ “วัตถุพิพิธภัณฑ์” วัตถุที่มีคุณค่าเพียงพอที่จะเข้าไปอยู่ในคลังของพิพิธภัณฑ์ ดังได้แสดงไว้ข้างต้น สำหรับผู้เขียนแล้ว เหล่านี้เป็นผลมาจากพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์ในสังคม พิพิธภัณฑ์ในโลกตะวันตกมีชื่อเสียงและประวัติศาสตร์ไปในทิศทางที่เป็นสถาบัน ที่มีอำนาจเต็ม ทัง้ในกำหนดว่าสิ่งใดเป็นที่ควรเก็บสะสมไว้เป็นสมบัติแห่งชาติ และจัดแสดงนิทรรศการเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่เป็นมาตรฐาน ดังนั้น พิพิธภัณฑ์จึงมีลักษณะที่คลุมเครือต่อการเผชิญกับสังคมสมัยใหม่ พิพิธภัณฑ์ดูจะไม่ให้ความใส่ใจต่อชุมชนเฉพาะที่มีความต่างออกไปจาก “มาตรฐาน” และหลีกเลี่ยงที่จะไม่กล่าวถึง ทัง้ที่ในความเป็นจริงพิพิธภัณฑ์สามารถนิยามคุณค่าของของมรดกชุมชนด้วยสมบัติของแต่ละแห่ง สมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์อาจมองพิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่เก็บและแสดงวัฒนธรรมวัตถุของตนที่นิยามโดยชุมชนเอง และเล่าเรื่องที่ชุมชน ปรารถนาจะเล่า เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สาธารณะในอีกทางหนึ่ง ผู้ซึ่งต้องการแบ่งปันความคิดเกี่ยวกับคุณค่าที่สัมพันธ์กับการทำงานทางวิชาการและพิพิธภัณฑ์ปฏิบัติการ การเก็บวัตถุที่สัมพันธ์กับเนื้อหาประวัติศาสตร์ การจัดลำดับความสำคัญของวัตถุจากวัตถุธรรมาสามัญจนถึงของหายาก เช่น ชุดในของคนงานระดับแรงงานกับชุดต่างงานที่เป็นสมบัติสืบทอด พิพิธภัณฑ์นำเสนอสิ่งเหล่านี้ในนิทรรศการ ซึ่ง“เสียง” ได้เผยออกและนำไปสู่การถกเถียง การนำเสนอมุมมองหนึ่งของประวัติศาสตร์และอัตลักษณ์ของกลุ่มหนึ่ง แต่อาจจะไม่ตรงต่อตัวตนของอีกกลุ่มหนึ่ง
                ในส่วนของการจัดแบ่งระหว่างมรดกและประวัติศาสตร์ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ David Lowenthal ได้แสดงให้เห็นไว้ในหนังสือของเขาเรื่อง The heritage Crusade and the Spoils of History (1998) เขาได้มองว่าขณะที่มรดกสามารถย้ำและร่างตัวตน หากมองไปในเนื้อแล้วจะพบลักษณะของการกีดกันมรดกของคนๆ หนึ่งมีความเฉพาะและไม่สามารถมีความหมายหรือคุณค่ากับคนภายนอกกลุ่ม มรดกใช้ตัวเองเพื่อการสรรเสริญมากกว่าเพื่อการตรวจสอบ และเมื่อพิจารณาเช่นนี้แล้ว ความขัดแย้งอาจเกิดขึ้นได้ ความขัดแย้งที่มาจากเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์สาธารณะ และเป้าหมายของกลุ่มที่ใช้มรดกเพื่อการยืนยันถึงตัวตนและการสรรเสริญพื้นฐานงานพิพิธภัณฑ์มีแนวคิดของการเข้าถึง ก็คือการเข้าถึงวัตถุและข้อมูล ซึ่งตีกรอบความเข้าใจในประวัตถุและถือเป็นสาระสำคัญของประวัติศาสตร์ของ สาธารณชน ประวัติศาสตร์ที่พิพิธภัณฑ์สาธารณะบอกเล่าอาจไปไม่ใช่เรื่องราวที่ชุมชนของวัฒนธรรมหนึ่งต้องการฟัง หรือกลุ่มมรดกต้องการที่จะได้ยิน ชาวอเมริกันอาจจดจำเรื่องราวเกี่ยวกับ Enola Gay (เครื่องบินทิ้งระเบิดปรมาณูสมัยสงครามโลกครัง้ที่ 2 – ผู้แปล) แม้เรื่องราวของEnola Gay ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเป็นชาติพันธุ์ แต่การซ่อมแซมและจัดนิทรรศการกลับสร้างความขัดแย้งระหว่างชุมชนที่ชื่นชมกับมรดกของการทหารที่แสดงให้เห็นแสนยานุภาพของระเบิดและภารกิจที่เกี่ยวข้องกับนักประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์ ที่ต้องการสำรวจและตั้งคำถามกับบทบาทของสหรัฐอเมริกาและปฏิบัติการระเบิดปรมาณู หลังจากที่มีการประท้วงจากกลุ่มทหารที่ร่วมสงครามและผู้สนับสนุน นิทรรศการถูกยกเลิกไปและผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ขอลาออก Sam Johnson ในฐานะของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกาและคณะกรรมการคนหนึ่งของสถาบันสมิธโซเนียนได้ประกาศว่า อเมริกันชน “ต้องการให้สถาบันสมิธโซเนียนสะท้อนความเป็นอเมริกันจริงๆ และไม่ใช้บางสิ่งที่นักประวัติศาสตร์ฝันขึ้น”13 แรงกดดันระหว่างมรดกและประวัติศาสตร์มักไม่ได้รับการตีแผ่อย่างตรงไปตรงมามากนัก
 
บทบาทของพิพิธภัณฑ์สาธารณะ
                ผู้เขียนคิดว่าความแตกต่างที่ Lowenthal ได้ กล่าวไว้มีความสำคัญอย่างมากในบริบทของประเทศที่มีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย อย่างประเทศคานาดา ข้อชี้แจงดังกล่าวกระเทาะถึงหัวใจของบทบาทพิพิธภัณฑ์สาธารณะและหน้าที่ในฐานะสถาบันทางสังคม งานเขียนล่าสุดของ Stephen Weil เป็นผู้ที่ย้ำถึงการ “ประเมินที่มีผลลัพธ์เป็นที่ตั้ง” (outcome-base evaluation) สำหรับพิพิธภัณฑ์ ในปาฐกถางานประชุมประจำปีพิพิธภัณฑ์ในอังกฤษเมื่อปี 1999 เขาได้กล่าวไว้ว่า “ถ้า พิพิธภัณฑ์ของเราไม่ดำเนินการด้วยเป้าหมายปลายทางคือเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ของผู้คน แล้วเราสามารถเรียกร้องการสนับสนุนจากสาธารณะเพื่อสิ่งใด?” เขาได้ปิดท้ายปาฐากถาด้วย คำยืนยันต่อความภาคภูมิใจของคนทำงานในพิพิธภัณฑ์ทีที่ควรจะเป็น ควรเป็นความภาคภูมิใจที่เชื่อมโยงกับความแตกต่างของคุณภาพชีวิตของผู้คนที่ดีขึ้น ซึ่งมีได้หลายทิศทางและหลายแบบ เพื่อสร้างสภาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในชุมชนของเรา”14
                แนวคิดของ Weil ที่มองว่าพิพิธภัณฑ์จะได้ความสนับสนุนจากสาธารณะก็ต่อเมื่อพิพิธภัณฑ์ได้ทำงานเพื่อ “ความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกัน” ของผู้คน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ แต่ Weilไม่ได้นิยามคำว่าความเป็นอยู่ที่ดีร่วมกัน แต่ผู้เขียนประสงค์ที่จะสานต่อความคิดของเขาเข้ากับความคิดต่างๆ ที่นักเศรษฐศาสตร์ชาวแคนาดา John Helliwell ได้กล่าวถึงผลกระทบของทุนทางสังคมกับความเป็นอยู่ที่ดี Helliwellได้ตั้งข้อสังเกตในงานเขียนล่าสุดว่า “ผู้ คนดูจะให้ความใส่ใจต่อบริบทสังคม ซึ่งพวกเขาเข้าไปเกี่ยวข้อง ไม่ว่าพวกเขาจะเล่นอยู่ในบทบาทใดพวกเขาให้คุณค่าและความไว้วางใจต่อเพื่อน บ้าน สถานที่ทำงาน บริการสาธารณะ และข้ารัฐการ”15นโยบายการอพยพและการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวของควิเบก (1991) ทั้งที่ปฏิบัติอยู่ในสถาบันเอกชนและสาธารณะ จะต้องปรับให้เข้ากับความจริงที่เป็นพหุวัฒนธรรม เพื่อช่วยให้คนอพยพและลูกหลานของพวกเขาได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสังคมควิเบก16 ผู้ เขียนอยากจะเสนอแนะให้พิพิธภัณฑ์ทำหน้าที่ทางสังคมกับผู้คนมากกว่าที่จะเป็น สถานที่ทำงานหรือสำนักงานรัฐบาล และด้วยความน่าเชื่อถือและประสิทธิภาพของพิพิธภัณฑ์นี่เองที่จะทำให้ผู้คนมีความรู้สึกของความเป็นอยู่ที่ดีและความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม นั่นคือความรู้สึกถึงความเป็นพลเมือง17 ความรู้สึกเช่นนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อพิพิธภัณฑ์อย่างเช่นแมคคอร์ด ซึ่งมีคลังสะสมวัฒนธรรมวัตถุของคานาดา และนำเสนอนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์และบนเว็บไซต์ทั้งภาษาฝรัง่เศสและภาษาอังกฤษ ผู้เขียนขอย้ำ ถึงว่าเราได้สร้างความรู้สึกร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยใช้วัตถุในคลังสะสมและการนำเสนอเรื่องราวผ่าประวัติศาสตร์วัตถุของประเทศ ของเรา ผู้เขียนใช้คำว่า “ประวัติศาสตร์” อย่างระมัดระวังด้วยคำอธิบายความแตกต่างของ Lowenthal ระหว่างมรดก ซึงมีการกีดกันบางสิ่งบางอย่างออกไป และแก่นแกนของประวัติศาสตร์ที่เปิดรับและมีลักษณะที่ให้พื้นที่การเข้ามามีส่วนร่วม พิพิธภัณฑ์ของเราปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะดึงเอาคลังวัตถุมาสะท้อนประวัติศาสตร์ของสถานที่นี้ สถานที่ของเรามีตัง้แต่ต้นศตวรรษที่ 20 ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แมคคอร์ด David Ross McCord เชื่อว่าประวัติศาสตร์คานาดา หากกล่าวอย่างกว้าง สามารถเชื่อมให้พลเมืองของประเทศมองเห็นอัตลักษณ์แห่งชาติที่พัมนามาจากอารยธรรมฝรัง่เศสและอังกฤษ และเสริมความเป็นอินเดียนเข้าไปในฐานะ “เจ้าของดัง้เดิมบนแผ่นดิน” ชาวคานาดายอมรับอย่างเต็มภาคภูมิ
วันที่เผยแพร่ครั้งแรก: 29 ธันวาคม 2554
วันที่แก้ไข: 20 มีนาคม 2556