จารึกคำนมัสการพระมหากัสสปะ 2

จารึก

จารึกคำนมัสการพระมหากัสสปะ 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2567 09:21:59 )

ชื่อจารึก

จารึกคำนมัสการพระมหากัสสปะ 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 264 จารึกบนหินอ่อน, อย. 58

อักษรที่มีในจารึก

ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์, ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์

ศักราช

ไม่ปรากฏศักราช

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 10 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินอ่อน สีขาว

ลักษณะวัตถุ

แผ่นคล้ายรูปดาว

ขนาดวัตถุ

กว้าง 21 ซม. สูง 21 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “อย. 58”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 6 ตอนที่ 2 กำหนดเป็น “หลักที่ 264 จารึกบนหินอ่อน”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ผนังด้านขวาในพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

ผนังด้านขวาในพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (สำรวจ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565)

พิมพ์เผยแพร่

ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 183-184.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 ใน พ.ศ. 2521 โดยเรียกว่า “หลักที่ 264 จารึกบนหินอ่อน” ปัจจุบันอยู่ที่ผนังพระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดนิเวศธรรมประวัติ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับพระราชวังบางปะอิน ร. 5 โปรดให้สร้างพระอุโบสถตามแบบโบสถ์คริสต์ ในศิลปะโกธิค (Gothic) ยุคกลางของยุโรป ประตู, หน้าต่างประดับด้วยกระจกสี เหนือประตูพระอุโบสถมีพระบรมรูป ร. 5 ทรงเครื่องต้น ทำจากกระจกสีเช่นเดียวกัน ส่วนพระประธานเป็นฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ได้รับพระราชทานนามว่า “พระพุทธนฤมลธรรโมภาส” วัดแห่งนี้สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2421 ร. 5 โปรดให้เป็นวัดฝ่ายธรรมยุติกนิกาย จารึกที่กล่าวนมัสการพระอรหันต์ ในวัดนิเวศธรรมประวัตินี้ มีจำนวน 16 หลัก นมัสการพระอรหันต์ 8 องค์ ได้แก่ พระอัญญาโกณฑัญญะ พระมหากัสสปะ พระสารีบุตร พระอุบาลี พระอานนท์ พระกัจจายนะ พระโมคคัลลานะ และพระราหุล โดยแต่ละองค์มีจารึกที่กล่าวถึงองค์ละ 2 หลัก

เนื้อหาโดยสังเขป

กล่าวนมัสการพระมหากัสสปะ ยอดแห่งภิกษุผู้ถือธุดงค์

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รศ. ดร. สุภาพรรณ ณ บางช้าง กล่าวถึงจารึกหลักนี้ในหนังสือ “วิวัฒนาการงานเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย : จารึก ตำนาน พงศาวดาร สาส์น ประกาศ” โดยสันนิษฐานว่า น่าจะถูกสร้างขึ้นในคราวเดียวกับการสร้างพระนฤมลธรรโมภาสเมื่อ พ.ศ. 2421 (สมัยรัชกาลที่ 5)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย: พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก:
1) ประสาร บุญประคอง, “หลักที่ 264 จารึกบนหินอ่อน,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 6 ตอนที่ 2 : ประมวลจารึกสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 183-184.
2) เสฐียรพงษ์ วรรณปก, “พระมหากัสสปะเถระ พระเถระผู้เฒ่าผู้จรรโลงพระพุทธศาสนา,” ใน พุทธสาวก พุทธสาวิกา : ประมวลประวัติพระเถระพระเถรี สมัยพุทธกาล (กรุงเทพฯ : สถาบันบันลือธรรมและธรรมสภา, 2544), 43-46.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายจารึกจาก : โครงการพัฒนาฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 26-28 มิถุนายน 2550