จารึกหลังพระพุทธรูปนาคปรก

จารึก

จารึกหลังพระพุทธรูปนาคปรก

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 17 เม.ย. 2567 11:28:07 )

ชื่อจารึก

จารึกหลังพระพุทธรูปนาคปรก

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Lop’ buri (K. 995), หลักที่ 36 จารึกด้านหลังพระพุทธรูปนาคปรก, ลบ. 13

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1756

ภาษา

สันสกฤต, เขมร, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

พระปฤษฎางค์พระพุทธรูปนาคปรกไม่มีพระเศียร

ขนาดวัตถุ

กว้าง 40 ซม. สูง 55 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลบ. 13”
2) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge vol. VIII กำหนดเป็น “Lop’ buri (K. 995)”
3) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 36 จารึกด้านหลังพระพุทธรูปนาคปรก”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 กำหนดเป็น “จารึกหลังพระพุทธรูปนาคปรก”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

บริเวณศูนย์การทหารราบ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่ทหารในศูนย์การทหารราบ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจังหวัดลพบุรี

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ตำบลท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี (สำรวจเมื่อ 17-20 มีนาคม 2560)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 19-22.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 140-143.

ประวัติ

จารึกนี้ปรากฏอยู่ที่เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระพุทธรูปนาคปรกไม่มีพระเศียร ในบริเวณศูนย์การทหารราบ ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี เมื่อพิมพ์ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 ใช้ชื่อเรื่องว่า “หลักที่ 36 จารึกด้านหลังพระพุทธรูปนาคปรก” อาจารย์ก่องแก้ว วีระประจักษ์ ได้กล่าวในบทความเรื่อง“พบภาษาไทยในจารึกก่อนมีลายสือไทย” ใน วารสารศิลปากร ปีที่ 27 ฉบับที่ 5 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2526 หน้า 76-83 ว่าข้อความในจารึกนี้มีภาษาไทยปรากฏอยู่ด้วย เช่นคำว่า คิด และ เอง เป็นต้น

เนื้อหาโดยสังเขป

บันทึกไว้ว่าศรจมัทยาหินได้เป็นผู้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิไว้ที่ต้นโพธิ์ (พระศรีมหาโพธิ)

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกบรรทัดที่ 1 บอกมหาศักราช 135 ซึ่งศาสตราจารย์ ฉ่ำ ทองคำวรรณ ได้อธิบายไว้ว่า เลข 135 นี้ น่าจะละมาจากมหาศักราช 1135 (พ.ศ. 1756)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ก่องแก้ว วีระประจักษ์, “จารึกหลังพระพุทธรูปนาคปรก,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17-18 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 140-143.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ, “หลักที่ 36 จารึกด้านหลังพระพุทธรูปนาคปรก,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 19-22.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-19, ไฟล์; LB_014)