จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกหลังพระพุทธรูปนาคปรก

จารึก

จารึกหลังพระพุทธรูปนาคปรก ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2564 เวลา 20:43:14

ชื่อจารึก

จารึกหลังพระพุทธรูปนาคปรก

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Lop’ buri (K. 995), หลักที่ 36 จารึกด้านหลังพระพุทธรูปนาคปรก, ลบ. 13

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1756

ภาษา

สันสกฤต, เขมร, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 7 บรรทัด

ผู้อ่าน

ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (พ.ศ. 2526)

ผู้แปล

ก่องแก้ว วีระประจักษ์ (พ.ศ. 2526)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : ศาสตราจารย์ ฉ่ำ ทองคำวรรณ อธิบายไว้ว่า 135 ศก น่าจะมาจากศักราช 1135 ตรงกับพุทธศักราช 1756
2. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ในคำอ่านจารึกหลักนี้ที่พิมพ์เผยแพร่ใน “จารึกในประเทศไทย เล่ม 4” อ่านเป็น “ศฺรจฺมทฺยาะหินฺ” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) ได้พิจารณาจากอักษรในจารึกแล้วพบว่าคำนี้น่าจะอ่านเป็น “ศฺรจฺมทฺยาะหฺนิ” มากกว่า เพราะตัว “น” เป็นตัวเชิงซ้อนอยูใต้ตัว “ห” จึงน่าจะใส่จุดที่ตัว “ห” มากกว่า ตัว “น”
3. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : อาจารย์ ก่องแก้ว วีระประจักษ์ สันนิษฐานว่า ข้อความ “คิต” นี้เป็นคำไทยคือคำว่า “คิด” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) ได้พิจารณาจากอักษรในจารึกแล้วพบว่าข้อความนี้น่าจะอ่านเป็น “คิ” ที่แปลว่า “คือ, เป็น” คำหนึ่ง และ “ต” ที่แปลว่า “ผู้, ซึ่ง” คำหนึ่ง เพราะไม่พบเครื่องหมายวิรามเหนือตัว “ต” ดังนั้น “ต” จึงไม่ได้เป็นตัวสะกด นอกจากนั้นแม้คำนี้จะอ่านเป็น “คิตฺ” ซึ่งแปลว่า “คิด” คำนี้ก็ไม่ได้เป็นคำไทย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อุไรศรี วรศะริน ได้ระบุไว้ใน “Les elements Khmers dans la formation de la langue Siamoise” ว่า “คิตฺ” เป็นคำที่ไทยยืมมาจากเขมร
4. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : “ศรจมัทยาหิน” สันนิษฐานว่าเป็นชื่อบุคคล
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : อันเนื่องมาจากคำอธิบายข้อ 2 เมื่อคำนี้อ่านเป็น “ศฺรจฺมทฺยาะหฺนิ” แล้ว คำนี้ก็น่าจะปริวรรตเป็นคำปัจจุบันคือ “ศรจมัทยาหนิ”
6. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : อาจารย์ ก่องแก้ว วีระประจักษ์ สันนิษฐานว่า คำนี้ อ่านเป็น “ใต” และตรงกับคำว่า “ใต้” ซึ่งเป็นคำไทย แต่คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) ได้พิจารณาจากอักษรในจารึกแล้วพบว่าคำนี้น่าจะอ่านเป็น “เตํ” (คำเขมร) ที่แปลว่า “ต้น” มากกว่า เพราะเครื่องหมายที่อยู่เหนือตัว “ต” นั้น มีรูปเหมือนนิคหิต มากกว่าที่จะเป็นสระเออีกตัวหนึ่ง (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสระไอ) ประกอบกับเมื่อคำนี้อ่านเป็น “เตํ” ที่แปลว่า “ต้น” แล้วทำให้ความหมายสอดคล้องกับคำ “วฺระสฺรีมหาโวธิ” มากกว่า
7. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ในคำอ่านจารึกหลักนี้ที่พิมพ์เผยแพร่ใน “จารึกในประเทศไทย เล่ม 4” อ่านเป็น “วฺร” แต่คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) ได้พิจารณาจากอักษรในจารึกแล้วพบว่าคำนี้น่าจะอ่านเป็น “วฺระ” มากกว่า เพราะพบเส้นตั้งหนึ่งเส้นที่ประกอบไปด้วยขีดเล็กๆ ซ้อนกัน 2 หรือ 3 ขีด อยู่ด้านหลังตัว “วฺร” ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าน่าจะเป็นรูปของเครื่องหมายวิสรคะ ซึ่งประกอบไปด้วยจุด 2 หรือ 3 จุด เรียงกันในแนวตั้ง
8. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : อาจารย์ ก่องแก้ว วีระประจักษ์ สันนิษฐานว่า คำนี้ ที่อ่านเป็น “อายฺ” ตรงกับคำว่า “อ้าย” ซึ่งเป็นคำไทย ซึ่งจริงๆ แล้ว คำเขมรก็มี “อายฺ” เหมือนกัน แต่แปลว่า “ที่” ซึ่งก็น่าที่จะพิจารณากันต่อไปว่าคำว่า “อายฺ” ในจารึกหลักนี้ถูกใช้ในความหมายใด
9. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ดูคำอธิบาย ข้อ 3
10. ก่องแก้ว วีระประจักษ์ : “อ้ายพระศกจันทสวารัตน์” สันนิษฐานว่าเป็นชื่อบุคคล
11. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : อาจารย์ ก่องแก้ว วีระประจักษ์ สันนิษฐานว่า คำว่า “เองฺ” นี้เป็นคำไทย แต่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อุไรศรี วรศะริน ได้ระบุไว้ใน “Les éléments Khmers dans la formation de la langue Siamoise” ว่า “เองฺ” เป็นคำที่ไทยยืมมาจากเขมร