จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images
  • images
  • images

ชุดคำค้น 18 คำ

อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 18, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนหลักสี่เหลี่ยม, ลักษณะ-จารึกบนหลักสี่เหลี่ยมทรงกระโจม, ที่อยู่ปัจจุบัน-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ปทุมธานี, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-สร้างอโรคยาศาลา, เรื่อง-การเมืองการปกครอง-ลงโทษ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2, บุคคล-พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, บุคคล-พระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2,

จารึกปราสาท

จารึก

จารึกปราสาท

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 19:52:05 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาท

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ศิลาจารึกปราสาท, สร. 4, K.1115, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 99/49/2560

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 18

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 4 ด้าน มี 98 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 3 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 4 มี 26 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทราย

ลักษณะวัตถุ

แท่งสี่เหลี่ยม ยอดทรงกระโจม หรือทรงยอ

ขนาดวัตถุ

กว้าง 31.5 ซม. สูง 78 ซม. หนา 30.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สร. 4”
2) ในหนังสือ จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กำหนดเป็น “ศิลาจารึกปราสาท”
3) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 กำหนดเป็น “จารึกปราสาท”
4) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น "99/49/2560"

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2528), 10-18.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 229-243.

ประวัติ

กรมศิลปากร ได้รับศิลาจารึกปราสาทหลักนี้ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2526 จากนายดำรง ลัทธพิพัฒน์ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ จากคำบอกเล่าทราบว่า พบจารึกหลักนี้ที่อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ข้อความของจารึกก็เหมือนหรือคล้ายกันกับจารึกเมืองพิมาย จารึกด่านประคำ และจารึกปราสาทตาเมียนโตจ ด้านที่หนึ่งของจารึกทั้งสี่หลักจะเหมือนกันทุกประการ นอกจากการใช้หลักภาษา และการจารึกอักษรบกพร่องไปบ้างเป็นบางหลัก ด้านที่สองตั้งแต่บรรทัดที่ 1-14 จะเหมือนกันทั้งสี่หลัก แต่บรรทัดที่ 15-24 ข้อความส่วนใหญ่จะเหมือนกัน จะต่างกันบ้างก็แต่จำนวนบุคคลและสิ่งของที่ระบุในจารึก หลักภาษาจะมีการวางตำแหน่งของคำสลับกันบ้าง แต่จารึกปราสาท กับจารึกด่านประคำเฉพาะด้านที่สองนี้จะเหมือนกันทุกประการ ด้านที่สามจะพบความแตกต่างกันมาก ทั้งข้อความจารึกหลักภาษา การตัดออกบางโศลกและเพิ่มเติมบางโศลก เฉพาะจารึกเมืองพิมาย ด้านที่สามมีถึงยี่สิบหกบรรทัด ซึ่งจารึกอื่นมีเพียงยี่สิบสี่บรรทัด ด้านที่สี่มีการเปลี่ยนแปลงข้อความเฉพาะส่วนบนของจารึก นอกนั้นเหมือนกันทั้งสี่หลัก ยกเว้นหลักภาษา อาจจะมีการจารึกบกพร่องไปบ้าง ส่วนจารึกปราสาทนี้มี 26 บรรทัด ซึ่งจารึกอื่นมีเพียง 24 บรรทัด

เนื้อหาโดยสังเขป

ด้านที่ 1 เริ่มต้นด้วยการกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า แล้วกล่าวสรรเสริญพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ด้านที่ 2 กล่าวถึงพระราชภารกิจของพระองค์ในการสร้างโรงพยาบาล (อโรคยาศาลา) สร้างพระพุทธรูปไวโรจนชินเจ้า และจัดเจ้าหน้าที่เพื่อทำหน้าที่ประจำในโรงพยาบาล ด้านที่ 3 กล่าวถึงรายการสิ่งของที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประทานเป็นเครื่องพลีทาน ส่วนใหญ่เป็นรายชื่อสมุนไพร ด้านที่ 4 กล่าวถึงสิ่งของที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ประทานเป็นเครื่องพลีทาน ต่อจากด้านที่ 3 จากนั้นมีการกล่าวห้ามไม่ให้มีการทำร้ายกัน หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกลงโทษ ลงท้ายด้วยการถวายพระพรแด่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ให้ได้รับความสุขจากบุญกุศลในครั้งนี้

ผู้สร้าง

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7

การกำหนดอายุ

จารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 7 ได้ระบุพระนามของกษัตริย์พระองค์หนึ่ง คือ ศรีชัยวรมัน ว่าเป็นพระโอรสของพระเจ้าธรณีนทรวรมันที่ 2 ดังนั้น พระนาม “ศรีชัยวรมัน” ในที่นี้ ก็น่าจะหมายถึง พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครองราชย์ในช่วง พ.ศ. 1724-1761

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกปราสาท,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 4 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17-18 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 229-243.
2) ชะเอม แก้วคล้าย, จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2527), 10-18.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2528)