จารึกปราสาทหินพิมาย 2

จารึก

จารึกปราสาทหินพิมาย 2

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2566 10:30:51 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพิมาย 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 59 ศิลาจารึกปราสาทหินพิมาย, P’imay (K. 953), นม. 29, K.953, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 99/284/2550

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1589

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 15 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 8 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 7 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมาชำรุด เนื้อศิลาส่วนล่างหักหายไป

ขนาดวัตถุ

กว้าง 23 ซม. สูง 18 ซม. หนา 5.5 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นม. 29”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 กำหนดเป็น “หลักที่ 59 ศิลาจารึกปราสาทหินพิมาย”
3) ในหนังสือ Inscriptions du Cambodge เล่ม 8 กำหนดเป็น “P’imay (K. 953)”
4) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 กำหนดเป็น “จารึกปราสาทหินพิมาย 2”
5) พิพิภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น "99/284/2550"

ปีที่พบจารึก

พุทธศักราช 2497

สถานที่พบ

บริเวณมุมตะวันออกเฉียงใต้ของปรางค์ใหญ่ ปราสาทหินพิมาย บ้านพิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่กองโบราณคดี กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 (พระนคร : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 125-128.
2) จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 176-180.

ประวัติ

เมื่อปีพุทธศักราช 2497 กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งและบูรณะบริเวณปรางค์ใหญ่ปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้พบจารึกหลัก นม. 29 นี้ กับจารึก นม. 13 จารึก นม. 29 นี้ เป็นจารึกรูปใบเสมาชำรุดมาก เนื้อศิลาส่วนล่างหักหายไป จารึกอักษร 2 ด้าน ด้านที่ 1 สองบรรทัดแรกจารึกเป็นภาษาสันสกฤต บรรทัดที่ 2-8 จารึกเป็นภาษาเขมร ปรากฏศักราชและนักษัตร เป็นปีมะเส็ง มหาศักราช 958 ตรงกับพุทธศักราช 1579 ส่วนด้านหลังจารึกเป็นภาษาสันสกฤต มีเลขบอกศักราชอยู่บนสุดเป็นมหาศักราช 968 ตรงกับพุทธศักราช 1589

เนื้อหาโดยสังเขป

เนื้อความด้านที่ 1 เริ่มต้นด้วยการกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้า จากนั้นก็กล่าวถึงการซื้อทาส แลสิ่งของเพื่อถวายแด่เทวรูปในเทวสถาน ในวันบรรพวิวัสนะ และวันสงกรานต์ เนื้อความด้านที่ 2 กล่าวสรรเสริญพระพุทธเจ้า ซึ่งมีพระพรหมและพระวิษณุมากราบไหว้ 

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

จารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 3 บอกมหาศักราช 958 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1579 ส่วนจารึกด้านที่ 2 บรรทัดบนสุดบอกมหาศักราช 968 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1589

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก :
1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ และแสง มนวิทูร, “หลักที่ 59 ศิลาจารึกปราสาทหินพิมาย,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 3 : ประมวลจารึกที่พบในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย อันจารึกด้วยอักษรและภาษาไทย, ขอม, มอญ, บาลีสันสกฤต (พระนคร : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2508), 125-128.
2) ฉ่ำ ทองคำวรรณ และแสง มนวิทูร, “จารึกปราสาทหินพิมาย 2,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 : อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15-16 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 176-180.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529)