จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกปราสาทหินพิมาย 2

จารึก

จารึกปราสาทหินพิมาย 2 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2564 23:40:17

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทหินพิมาย 2

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 59 ศิลาจารึกปราสาทหินพิมาย, P’imay (K. 953), นม. 29, K.953, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 99/284/2550

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1589

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 15 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 8 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 7 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (อ่านภาษาเขมร), (พ.ศ. 2508)
2) แสง มนวิทูร (อ่านภาษาสันสกฤต), (พ.ศ. 2508)

ผู้แปล

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (แปลภาษาเขมร), (พ.ศ. 2508)
2) แสง มนวิทูร (แปลภาษาสันสกฤต), (พ.ศ. 2508)

ผู้ตรวจ

1) คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2508)
2) กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : “ศุกรวาร” คือ วันศุกร์
2. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : “จนฺลฺยากฺอฺรุงฺ” คือ ผ้าสีทับทิม
3. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : “ปรฺวฺวทิวสนะ” คำอ่านปัจจุบันเป็น “บรรพทิวัสนะ”
4. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : “บัลลังก์” แปลมาจาก “ปรฺยฺยงฺ” ซึ่งความหมายที่ใช้ในที่นี้ ขัดกับความหมายที่ให้ไว้ในคำแปลของจารึกสด๊กก๊อกธม 1 (แปลโดย อำไพ คำโท) ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 10 ที่ว่า “ปรฺยฺยงฺ มาสฺ 3” แปลว่า “น้ำมัน 3 มาส” และได้อธิบายไว้ในเชิงอรรถว่า “ปรฺยฺยงฺ หรือ เปรียง แปลว่าน้ำมัน” คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) เห็นว่า “ปรฺยฺยงฺ” ที่หมายถึง น้ำมัน ดูเหมาะสมกว่า เพราะความหมายเข้ากับบริบท นอกจากนั้นเมื่อพิจารณารูปคำแล้ว คำๆ นี้จะแปลว่า บัลลังก์ ไม่ได้ เพราะรูปคำที่มีความหมายว่า บัลลังก์ จะเขียนเป็น “ปรฺยฺยงฺก”