อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 15, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 4, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินชนวน, ลักษณะ-จารึกบนหลักสี่เหลี่ยม, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ที่อยู่ปัจจุบัน-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ปทุมธานี, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 4, บุคคล-พระเจ้าชัยวรมันที่ 4, บุคคล-พระบาทบรมศิวบท,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2566 18:17:36 )
ชื่อจารึก |
จารึกอัญชัยวรมัน |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
ลบ. 24 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมโบราณ |
ศักราช |
พุทธศตวรรษ 15 |
ภาษา |
สันสกฤต, เขมร |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 48 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา ประเภทหินทรายแป้ง |
ลักษณะวัตถุ |
หลักสี่เหลี่ยม |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 50.5 ซม. สูง 128 ซม. หนา 12.5 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ลบ. 24” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
จังหวัดลพบุรี |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565) |
พิมพ์เผยแพร่ |
จารึกในประเทศไทย เล่ม 3 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 74-81. |
ประวัติ |
ศิลาจารึกหลักนี้ ได้มาจากจังหวัดลพบุรี จารึกด้วยอักษรขอม ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร วัดขนาดส่วนกว้าง 50.5 เซนติเมตร ส่วนสูง 128 เซนติเมตร ส่วนหนา 12.5 เซนติเมตร ปัจจุบันศิลาจารึกหลักนี้ อยู่ที่หอพระสมุดวชิรญาณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เริ่มต้นด้วยการกล่าวคำนมัสการเทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ และกล่าวถึงพิภพพระยานาคในโลกบาดาล จากนั้นก็กล่าวถึงพระราชโองการของพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 หรือพระบาทบรมศิวบท ว่าด้วยเรื่องการถวายสิ่งของและทาสชายหญิงเป็นจำนวนมาก |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
การกำหนดอายุ |
จารึกบรรทัดที่ 39 ได้ระบุปีที่จารึกไว้ คือ มหาศักราช 8_5 จะเห็นว่ามีการเว้นเลขตัวกลางไว้เนื่องจากเส้นอักษรไม่ชัดเจน อาจจะเป็นเลข 4 หรือเลขหนึ่งก็ได้ แต่อาจารย์อำไพ คำโท ได้ระบุไว้ว่าน่าจะเป็นเลข 4 เพราะตัวอักษรนี้มีหางที่ลากต่ำลงต่ำกว่าระดับบรรทัด และหางที่ลากลงมาต่ำอย่างนี้ไม่ใช่หางของเลข 1 อีกทั้งมีข้อความในจารึกนี้เป็นเครื่องสนับสนุนอีกด้วย คือ ประการแรก พระนามว่า “ชัยวรมัน” ที่ปรากฏในจารึกนี้ หมายถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 ประการที่สอง ในเรื่องของการประกอบคำ ลักษณะการประกอบคำของภาษาเขมรก่อนสร้างเมืองพระนครจะใช้ “อิ” “อี” “เอ” แทนสระ “เอีย” เช่น “ญิงฺ” “เทนฺ” “เวรฺ” ส่วนลักษณะการประกอบคำของภาษาเขมรหลังเมืองพระนครจะใช้ตัว “ย” แทนสระ “เอีย” คือเป็น “ญฺยงฺ” “ทฺยนฺ” “วฺยรฺ” ประการที่สาม ชื่อพวกทาส เช่น กำไว ปนำ ปันลบ สำอบ เหล่านี้ มักจะพบในศิลาจารึกภาษาเขมรระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15 ตอนปลาย กับพุทธศตวรรษที่ 16 ตอนต้นๆ เท่านั้น และประการสุดท้าย ถ้าอ่านเลขมหาศักราชในจารึกนี้เป็นเลข 815 แล้ว ก็จะตรงกับรัชสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 หรือ พระบาทบรมศิวโลก (พ.ศ. 1432-1443) แต่ถ้าอ่านเป็นเลข 845 ก็ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 พอดี |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-19, ไฟล์; LB_012) |