จารึกบ้านหัวขัว

จารึก

จารึกบ้านหัวขัว

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 21 เม.ย. 2567 22:04:55 )

ชื่อจารึก

จารึกบ้านหัวขัว

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชย. 4, K.965

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 14-15

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

ใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 82 ซม. สูง 185 ซม. หนา 35 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชย. 4”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 37 ฉบับที่ 6 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2537) กำหนดเป็น “จารึกบ้านหัวขัว”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

บ้านหัวขัว ตำบลหนองข่า อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา (สำรวจข้อมูล 20 มกราคม 2563)

พิมพ์เผยแพร่

วารสาร ศิลปากร ปีที่ 37 ฉบับที่ 6 (พฤศจิกายน-ธันวาคม 2537) : 90-95.

ประวัติ

ตามทะเบียนประวัติจารึกบอกว่า “เจ้าหน้าที่สำรวจเอกสารฯ งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ ได้ทำการสำรวจ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2518 ได้พบจารึกหลักนี้ เก็บรักษาอยูที่หน่วยศิลปากรที่ 6 ตำบลในเมือง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา” ทะเบียนประวัติได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า “พบจารึกหลักนี้ที่บ้านหัวขัว ตำบลหนองข่า อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ย้ายมาเก็บรักษาไว้ที่หน่วยศิลปากรที่ 6 ตามทะเบียนวัตถุเลขที่ 117/2511” แสดงว่า ได้พบจารึกหลักนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2511 หรือก่อนนั้น นายแทน ธีรพิจิตร หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 6 (ในขณะนั้น) ได้จัดส่งสำเนาจารึกมาให้กองหอสมุดแห่งชาติ เพื่อทำการอ่าน-แปล เมื่อ พ.ศ. 2511 ต่อมาเจ้าหน้าที่เอกสารโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ ได้เดินทางไปสำรวจ และจัดทำสำเนาจารึกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2518

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความในจารึก กล่าวถึงพระจันทราเทวี ว่าได้สร้างรูปพระอาจารย์ไศยชิน ซึ่งเป็นผู้สร้างกุศลไว้มาก

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

รูปแบบของตัวอักษรเป็นอักษรหลังปัลลวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 14-15 (ในบทความเรื่อง “จารึกบ้านหัวขัว” ที่เขียนโดย อาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย ได้กำหนดไว้เป็น รูปแบบอักษรเทวนาครีโบราณ อายุพุทธศตวรรษที่ 16 แต่ทางคณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า รูปแบบอักษรเป็นรูปแบบอักษรหลังปัลลวะค่อนข้างชัดเจน อีกทั้งในทะเบียนจารึกที่รวบรวมโดยภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้จัดจารึกหลักนี้ไว้เป็นจารึกอักษรหลังปัลลวะ อายุพุทธศตวรรษที่ 14-15 คณะทำงานพัฒนาฐานข้อมูลฯ จึงกำหนดตามนี้)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2548, จาก :
ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกบ้านหัวขัว,” ศิลปากร 37, 6 (พฤศจิกายน-ธันวาคม, 2537) : 90-95.

ภาพประกอบ

1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-15, ไฟล์; ChP_012)
2) ภาพสำรวจจารึก : รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การตรวจสอบพิกัดสถานที่พบและเก็บรักษาของจารึกรุ่นก่อนพุทธศตวรรษที่ 19 ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาภูมิสารสนเทศจารึกชาติ ปีที่ 2 : จารึกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก เล่ม 2 (กรุงเทพ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2564), 19-20.