จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกบ้านหัวขัว

จารึก

จารึกบ้านหัวขัว ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2564 เวลา 18:35:28

ชื่อจารึก

จารึกบ้านหัวขัว

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชย. 4, K.965

อักษรที่มีในจารึก

หลังปัลลวะ

ศักราช

พุทธศตวรรษ 14-15

ภาษา

สันสกฤต

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 4 บรรทัด

ผู้อ่าน

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2537)

ผู้แปล

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2537)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ชะเอม แก้วคล้าย : บรรทัดแรกรูปประโยคเป็นกรรมวาจก โดยมีคำว่า “อาจารฺยศฺไศฺยชิน . .” เป็นประธานของประโยค เพราะมีคำว่า “ศฺรีจนฺทฺราเทวฺยา” เป็นผู้กระทำของประโยค จึงแปลโดยความหมาย “ยกศฺรีจนฺทฺราเทวฺยา” ขึ้นเป็นประธานของประโยค แต่รูปอักษรขาดหายไป จึงแปลตามที่รูปอักษรปรากฏ เพราะมีคำว่า “สฺถา . . .” อยู่หลังคำว่า “;อาจารฺยศฺไศฺยชิน . .” ซึ่งน่าจะมาจากคำว่า “สฺถาปิต” แปลว่า ให้สร้างแล้ว แต่อักษรลบขาดหายไป จึงเหลือ “สฺถา . .” ดังกล่าว
2. ชะเอม แก้วคล้าย : บรรทัดที่สอง คำว่า “ราชาภิรฺ” เป็นผู้กระทำของประโยค ฉะนั้น คงเป็นประโยคกรรมวาจก แต่ปลายบรรทัด อักษรขาดหายไป จึงไม่ปรากฏรูปกริยาของประโยค “พระราชาเป็นผู้ตั้งมั่นในธรรม ตามคำแนะนำของพระมุนี พระองค์แม้เป็นยอดนักรบ (บรรทัดที่ 3) ก็ยังเป็นที่รักใคร่ของมิตรสหายและศัตรู”
3. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “สคเณน“ อักษร “ณ” ดูคล้ายอักษร “น” สองตัวอยู่ติดกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบกับอักษร “ณ” ของจารึกหรหะ ของพระเจ้าอีศานวรมัน พุทธศตวรรษที่ 14 ซึ่งรูปอักษรจารึกบ้านหัวขัวนี้ มีลักษณะเกือบจะเหมือนกันทุกประการกับจารึกหรหะดังกล่าว มีส่วนแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ฉะนั้น อักษร “ณ” จึงใกล้เคียงกัน
4. ชะเอม แก้วคล้าย : คำว่า “มารศฺย” อักษร “ศ” ชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบคำว่า “ธรฺมฺมศฺย” ซึ่งเป็นรูปของษัษฐีวิภักติ ใช้อักษร “ศ”เช่นกัน จึงคิดว่า