อายุ-จารึก พ.ศ.1480, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 15, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยพระนคร-พระเจ้าชัยวรมันที่ 4, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าวสาร, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายน้ำมัน, เรื่อง-การปกครองข้าทาส, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี-ประดิษฐานศิลาจารึก, บุคคล-เสตญอาจารย์โขลญสันดับ, บุคคล-เสตญอาจารย์โขลญพนม, บุคคล-พระบุณย์มรเตญมัทยมศิวะ, บุคคล-วาบบรม, บุคคล-พรหม, บุคคล-แม่บส, บุคคล-กำเสตญอัญศรีวีเรนทรวรมัน, ,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2567 14:19:19 )
ชื่อจารึก |
จารึกสด๊กก๊อกธม 1 |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
Stèle dite de Sdok Kok Thom (K. 1087), ปจ. 2, K. 1087, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 25/10/2561 |
อักษรที่มีในจารึก |
ขอมโบราณ |
ศักราช |
พุทธศักราช 1480 |
ภาษา |
เขมร |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 30 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 22 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 8 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
ศิลา ประเภทหินทรายสีแดง |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 22 ซม. สูง 81 ซม. หนา 9 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ปจ. 2” |
ปีที่พบจารึก |
วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 |
สถานที่พบ |
บ้านสระแจง ตำบลโคกสูง อำเภอโคกสูง (ข้อมูลเดิมว่า อำเภออรัญประเทศ) จังหวัดสระแก้ว |
ผู้พบ |
เจ้าหน้าที่กองโบราณคดี กรมศิลปากร |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี (สำรวจ 7 พฤศจิกายน 2563) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 15 ฉบับที่ 4 (พฤศจิกายน 2514) : 69-73. |
ประวัติ |
เจ้าหน้าที่กองโบราณคดีได้นำศิลาจารึกหลักนี้ มามอบให้ผู้เชี่ยวชาญอักษรโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ อ่าน-แปล เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2511 หลักจารึกจึงอยู่ในความดูแลรักษาของกองหอสมุดแห่งชาติ ตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2521 และเนื่องจากกรมศิลปากรมีความประสงค์จะให้ศิลาจารึก ซึ่งจัดไว้เป็นโบราณวัตถุ ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตามกฎหมาย จารึกสด๊กก๊อกธมหลักนี้ จึงได้ย้ายไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จนถึงปัจจุบัน จารึกสด๊กก๊อกธมหลักนี้ เมื่อพิมพ์เผยแพร่ใน วารสารศิลปากร ปีที่ 15 ฉบับที่ 4 พฤศจิกายน 2514 ใช้ชื่อเรื่องว่า “คำอ่านศิลาจารึกสด๊กก๊อกธม อักษรและภาษาขอม” ซึ่งนายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน ศาสตราจารย์ฉ่ำ ทองคำวรรณ นายทองสืบ ศุภะมาร์ค และนายอำไพ คำโท เป็นผู้แปลและตรวจแก้คำอ่าน การจัดพิมพ์จารึกในประเทศไทยครั้งนี้ นายอำไพ คำโท ได้แก้ไขคำอ่าน-แปลใหม่ให้สมบูรณ์ถูกต้องมากขึ้น และให้ชื่อใหม่ว่า จารึกสด๊กก๊อกธม |
เนื้อหาโดยสังเขป |
เสตญอาจารย์โขลญสันดับ และเสตญอาจารย์โขลญพนม ซึ่งเป็นผู้ดูแลพระเทวรูป ได้แจ้งให้พระบุณย์มรเตญมัทยมศิวะ วาบบรม พรหม และแม่บส ให้ร่วมกันดูแลพระเทวรูป โดยการถวายข้าวสาร และน้ำมัน ตลอดหนึ่งปี นอกจากนั้นยังแจ้งพระบรมราชโองการถึง กำเสตญอัญศรีวีเรนทรวรมัน ให้ใช้เจ้าหน้าที่มาตั้งหลักศิลาจารึกไว้ในเมืองนี้ และห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลน้ำมัน ริบเอาน้ำมันเป็นของตนเอง ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องข้าว ริบเอาข้าวเป็นของตนเอง และห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลเทวสถานเรียกใช้ทาสพระให้ไปทำงานอื่น ให้ใช้ทาสพระเหล่านั้น ในการดูแลพระเทวรูปและพระศิวลึงค์เท่านั้น ข้อความต่อจากนั้นเป็นรายนามทาสพระ |
ผู้สร้าง |
ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครสร้าง ทราบเพียงว่าพระมหากษัตริย์ (น่าจะเป็นพระเจ้าชัยวรมันที่ 4) มีพระบรมราชโองการให้วีเรนทรวรมัน เป็นผู้สั่งให้เจ้าหน้าที่นำศิลาจารึกหลักนี้มาประดิษฐานไว้ |
การกำหนดอายุ |
จารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 บอกมหาศักราช 859 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1480 |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : ตรงใจ หุตางกูร และนวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2547, จาก : |
ภาพประกอบ |
1) ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-02, ไฟล์; PJ_010f1 และ PJ_010f2) |