จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกสด๊กก๊อกธม 1

จารึก

จารึกสด๊กก๊อกธม 1 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2564 13:40:40

ชื่อจารึก

จารึกสด๊กก๊อกธม 1

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

Stèle dite de Sdok Kok Thom (K. 1087), ปจ. 2, K. 1087, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 25/10/2561

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1480

ภาษา

เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 30 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 22 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 8 บรรทัด

ผู้อ่าน

1) ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2514)
2) อำไพ คำโท (พ.ศ. 2529)

ผู้แปล

1) ฉ่ำ ทองคำวรรณ (พ.ศ. 2514)
2) ทองสืบ ศุภะมาร์ค (พ.ศ. 2514)
3) อำไพ คำโท (พ.ศ. 2514), (พ.ศ. 2529)

ผู้ตรวจ

กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2529)

เชิงอรรถอธิบาย

1. อำไพ คำโท : “โถฺปฺวงฺ” หมายถึง เศียร หรือ หัว
2. ตรงใจ หุตางกูร : อ่านครั้งแรกเป็น “โถฺบง”
3. ตรงใจ หุตางกูร : อ่านครั้งแรกเป็น “สเฉฺมนิ”
4. อำไพ คำโท : “อฺรฺยามฺ” อ่านว่า เรียม แปลว่า พี่
5. อำไพ คำโท : “ถฺลฺวงฺ” หมายถึง เครื่องตวงของขอมสมัยโบราณ
6. อำไพ คำโท : “ปรฺยฺยงฺ” หมายถึง ปรฺยฺยงฺ หรือ เปรียง นี้ แปลว่า น้ำมัน
7. อำไพ คำโท : “มาสฺ” คงจะหมายถึงขวด หรือภาชนะที่ใส่น้ำ
8. อำไพ คำโท : “มิมฺวายฺ ศก” หมายถึง หนึ่งปี หรือล่วงไปหนึ่งปี “มิมฺวาย” เป็นคำขอมโบราณ ซึ่งแปลว่า หนึ่ง, อันหนึ่ง “ศก” เป็นคำสันสกฤต แปลว่า กาล สมัย หรือปี
9. ตรงใจ หุตางกูร : “ศฺริ” อาจพิมพ์ผิด คำที่ถูกต้องต้องเป็น “ศฺรี” ซึ่งเป็นคำนำหน้านาม เช่นในที่นี้คือ “ศฺรีวีเรนฺทฺรวรฺมฺม” หรือ “ศรีวีเรนทรวรมัน” เนื่องจาก ในคำอ่านครั้งแรกก็ใช้คำว่า “ศรี” และถ้าพิจารณาจารึกอย่างใกล้ชิดแล้ว บนสระอิ ดูคล้ายจะมีรอยเหมือนเส้นขีดบนสระอิแต่ไม่ชัดเจนนัก ซึ่งถ้าชัดเจนแล้วก็เป็นสระอีได้
10. อำไพ คำโท : “สฺรุกฺ” หมายถึง หมู่บ้าน เมือง หรือ นคร
11. ตรงใจ หุตางกูร : อ่านครั้งแรกเป็น “ปา”
12. ตรงใจ หุตางกูร : อ่านครั้งแรกเป็น “ปฺริหิ”
13. อำไพ คำโท : “สฺรุ” หรือ “สรู” นี้แปลว่า ข้าวเปลือก
14. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : “วิย” น่าจะมาจากคำว่า “วิษย” ซึ่งหมายถึง ที่อยู่ ตัว “ษ” อาจจะตกไปในการจารึก
15. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : “วิปย” น่าจะมาจากคำว่า “วิษย” เช่นกัน แต่ที่อ่านเป็น “วิปย” เพราะขีดกลางที่เส้นหลังของ “ษ” ไม่มี หรืออาจจะไม่ชัด แต่เมื่อพิจารณาจากบริบทแล้วคำนี้น่าจะเป็นคำว่า “วิษย” เนื่องจากคำว่า “วิปย” มีความหมายในทางไม่ดี และไม่เข้ากับบริบท
16. อำไพ คำโท : “ไต” เป็นคำนำหน้าทาสหญิงของขอมสมัยโบราณ