จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images
  • images

ชุดคำค้น 23 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 1563, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 16, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร, ยุคสมัย-จารึกสมัยขอมพระนคร-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ , ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนา-จารึกในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-สถาปนาพระศิวลึงค์, เรื่อง-พิธีกรรมตามความเชื่อ-สาปแช่ง, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายที่ดิน, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายสิ่งของ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายเงิน, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรขอมสมัยพระนคร-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1, บุคคล-พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1, บุคคล-เตง ปิตถะเว,

จารึกปราสาทตาเมือนธม 5

จารึก

จารึกปราสาทตาเมือนธม 5

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2550 14:38:26 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 20:06:22 )

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทตาเมือนธม 5

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สร. 16, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 42/131/2544, K.1187

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1563

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 3 ด้าน มี 40 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 19 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 19 บรรทัด และด้านที่ 3 มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทราย

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา ส่วนล่างมีรอยแตก

ขนาดวัตถุ

กว้าง 29.5 ซม. สูง 58 ซม. หนา 7 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สร. 16”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 43 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2543) กำหนดเป็น “จารึกปราสาทตาเมือนธม 5”

ปีที่พบจารึก

พ.ศ. 2535

สถานที่พบ

บริเวณมุขกระสันปราสาทประธาน ปราสาทตาเมือนธม บ้านหนองคันนาสามัคคี ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สุรินทร์ ตำบลเฉนียง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ (ข้อมูลวันที่ 18/1/2563)

พิมพ์เผยแพร่

วารสาร ศิลปากร ปีที่ 43 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2543) : 102-108.

ประวัติ

คณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการหนังสือตัวเขียนและจารึก หอสมุดแห่งชาติ เดินทางไปสำรวจจัดทำสำเนาจารึกและบันทึกข้อมูลเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2535

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกด้านที่ 1 กล่าวถึง พระบรมบพิตรกัมเสตงศรีชยสิงสวรมัน มีพระอาลักษณ์ไปถึงกัมเสตงสภาบดี ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นตรี ให้ติดตามรับใช้พระสภากับพระหรปาล ไปปักหลักเขตที่ดินเมืองสิทธิปุระ ซึ่งพระราชทานเป็นของกำนัลแก่เตงตวนปิตถะเว ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง กัมรเตงอัญชั้นตรี และให้คณะที่ไปด้วยกันสาธยายอธิบายพระธรรมศาสตร์ แก่โขลญสวายทั้งปวงฟังด้วย ข้อความจารึกด้านที่ 2 เป็นข้อความของผู้เขียนจารึก ใช้นามว่า ข้าพเจ้าผู้ชื่อ เตง ปิตถะเว ได้มอบให้กัมรเตงชคัตศิวบาท ให้อยู่ในการดูแลของ ตวน หวร นอกจากนั้น เตง ปิตถะเว ยังมอบข้าทาสและวัตถุสิ่งของให้ด้วย แต่ไม่ให้แก่ข้าทาสที่อยู่อาศัยมาก่อน ทั้งยังสาปแช่งให้พวกเขาตกนรก เพราะพวกเขายุยงข้าทาสด้วยกันให้กระด้างกระเดื่องต่อลูกหลานของ เตง ปิตถะเว บรรทัดที่ 14-19 กล่าวถึงพระเจ้าศรีสุริยวรมันได้ประทานเงินทอง บรรจุไว้ที่ฐานอันมั่นคงของพระศิวะ ทั้งยังได้สาปแช่งผู้ทำลายฐานนี้ให้ตกนรก สิ้นกาลมหาโกฏิ ข้อความจารึกด้านที่ 3 ค่อนข้างชำรุด จับความได้ว่า บุตรของนางพร้อมด้วยภรรยาของเขา พึงหมั่นรักษาฐาน (ของพระศิวะ) นั้นให้มั่นคงต่อไปอีก

ผู้สร้าง

เตงปิตถะเว

การกำหนดอายุ

อาจารย์ชะเอม แก้วคล้าย กำหนดอายุจารึกหลักนี้จากข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ที่ระบุมหาศักราช 942 ตรงกับ พ.ศ. 1563 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าศรีสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2550, จาก :
1) ชะเอม แก้วคล้าย, “จารึกปราสาทตาเมือนธม 5,” ศิลปากร 43, 2 (มีนาคม-เมษายน 2543) : 102-108.
2) Saveros POU, Dictionnaire Vieux Khmer-Français-Anglais = An Old Khmer-French-English Dictionary (Paris : Centre de Documentation et de Recherche sur la Civilisation Khmère, 1992), 325.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : วารสารศิลปากร ปีที่ 43 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2543)