จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกปราสาทตาเมือนธม 5

จารึก

จารึกปราสาทตาเมือนธม 5 ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2564 20:38:29

ชื่อจารึก

จารึกปราสาทตาเมือนธม 5

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สร. 16, เลขทะเบียนโบราณวัตถุที่ 42/131/2544, K.1187

อักษรที่มีในจารึก

ขอมโบราณ

ศักราช

พุทธศักราช 1563

ภาษา

สันสกฤต, เขมร

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 3 ด้าน มี 40 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 19 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 19 บรรทัด และด้านที่ 3 มี 2 บรรทัด

ผู้อ่าน

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2543)

ผู้แปล

ชะเอม แก้วคล้าย (พ.ศ. 2543)

เชิงอรรถอธิบาย

1. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ศักราช 942 เป็นมหาศักราช ตรงกับ พุทธศักราช พ.ศ. 1563 อันเป็นรัชสมัยของพระเจ้าศรีสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ. 1545-1593)
2. ชะเอม แก้วคล้าย : สิ่งที่น่าสังเกตคือ พระบรมบพิตร กัมเสตง ศรีชยสิงสวรมัน อักษรจารึกชัดเจน อ่านเป็น ศรีชยสิงสวรมัน ถ้าไม่มีการเขียนผิดในจารึก ก็นับว่า เป็นนามของพระราชาอีกองค์หนึ่ง ที่ยังไม่เคยปรากฏในจารึกใดๆ มาก่อน ได้ทำการตรวจสอบจารึกต่างๆ ที่พบในกัมพูชา ลาว และประเทศไทย มีแต่นามว่า ศรีชยสิงหวรมัน ฉะนั้น ความผิดพลาดน่าจะเกิดจากการเขียน หรือการอ่านจารึกมากกว่า
3. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : พระสภา = ที่ประชุมสมัชชา, ศาลยุติธรรม
4. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : พระหรปาล แปลตามศัพท์แล้วน่าจะหมายถึง ผู้ดูแล หรือ ผู้อารักขาพระหระ (พระศิวะ) เข้าใจว่าคงจะเป็นชื่อตำแหน่งอย่างหนึ่ง แต่ใน Dictionnaire Vieux Khmer-Français-Englais มีคำว่า ปรติหารปาล, ประติหาร = ยามเฝ้าประตู เป็นไปได้ว่าจริงๆ แล้ว คำ หรปาล อาจจะเป็นคำเดียวกับ หารปาล
5. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ขโลญ เป็นชื่อตำแหน่ง
6. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : พระปรติหระ เข้าใจว่าน่าจะเป็นคำเดียวกับ ประติหาร ที่หมายถึง ยามเฝ้าประตู
7. ชะเอม แก้วคล้าย : นามว่า กัมเสตง ศรีราเชนทราทิตยะ มีปรากฏในจารึก Prasat Nak Buos K. 344 และ จารึก Prasat Thnal Chuk K. 350 ของพระเจ้าศรีราเชนทรวรมัน แต่คำนำหน้านาม เป็นมรตาญ คือ มรตาญศรีราเชนทราทิตยะ ซึ่งต่างจากจารึกนี้ ที่มีคำนำหน้าเป็น กัมรเตง ส่วนตำแหน่ง มรตาญ ศรีราเชนทราทิตย ปรากฏในสมัยของพระเจ้าศรีราเชนทรวรมันที่ 2 พ.ศ. 1487-1511 ก่อนสมัยพระเจ้าศรีสุริยวรมันเพียง 34 ปี ฉะนั้น จึงน่าจะเป็นไปได้ที่ มรตาญ ศรีราเชนทราทิตยะ เป็นบุคคลเดียวกัน แต่ได้รับตำแหน่งชั้นสูงขึ้น จึงคงใช้คำนำหน้าชื่อที่ต่างกัน
8. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ลิะ = เครื่องตวงชนิดหนึ่ง
9. คณะทำงานฐานข้อมูลจารึกฯ (2547) : ใต = คำนำหน้าชื่อทาสหญิง