อายุ-จารึก พ.ศ. 1955-2079, อายุ-จารึก-พ.ศ. 1955, อายุ-จารึก พ.ศ. 2079, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 20, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 20-21, สมัย-จารึกสมัยสุโขทัย วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินดินดาน, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก ปทุมธานี, เรื่อง-ความเชื่อทางศาสนา-นิพพาน, บุคคล-เจ้าไทย,
โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2568 18:08:02 )
ชื่อจารึก |
จารึกวัดกำแพงงาม |
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ |
สท. 13, ศิลาจารึกอักษรไทย ภาษาไทย และอักษรขอม ภาษาบาลี สมัยสุโขทัย, ศิลาจารึกวัดกำแพงงาม พุทธศักราช 1893, หลักที่ 291 จารึกวัดกำแพงงาม |
อักษรที่มีในจารึก |
ไทยสุโขทัย, ขอมสุโขทัย |
ศักราช |
พุทธศักราช 1955-2079 |
ภาษา |
บาลี, ไทย |
ด้าน/บรรทัด |
จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 48 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 31 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 17 บรรทัด |
วัตถุจารึก |
หินดินดาน |
ลักษณะวัตถุ |
รูปใบเสมา |
ขนาดวัตถุ |
กว้าง 29 ซม. สูง 101 ซม. หนา 17 ซม. |
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ |
1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 13” |
ปีที่พบจารึก |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
สถานที่พบ |
วัดกำแพงงาม ตำบลบ้านกล้วย (ข้อมูลเดิมว่า ตำบลสวน) อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย |
ผู้พบ |
ไม่ปรากฏหลักฐาน |
ปัจจุบันอยู่ที่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565) |
พิมพ์เผยแพร่ |
1) วารสาร ศิลปากร ปีที่ 13 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2513) : 107-112. |
ประวัติ |
ตามบัญชีของหอพระสมุดฯ พบศิลาจารึกนี้ที่วัดกำแพงงาม ตำบลสวน (ข้อมูลปัจจุบันเป็น ตำบลบ้านกล้วย) อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ส่วนหลักฐานวันเดือนปีที่พบไม่ปรากฏ |
เนื้อหาโดยสังเขป |
ด้านที่ 1 กล่าวถึง เจ้าไทยออกบวชในพระพุทธศาสนา และการบูชาพระเจดีย์ธาตุและพระบาทลักษณ์ จะต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาดเสียก่อน ด้านที่ 2 กล่าวถึง พระนิพพานและชื่อพรหมโลกชั้นต่างๆ |
ผู้สร้าง |
เจ้าไทย |
การกำหนดอายุ |
(1) แต่เดิมได้อ่านศักราชใน ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1-2 ไว้เป็น “1 . . 2 ปีขาล” ซึ่งพิจารณาดูแล้วเป็นมหาศักราช 1272 ตรงกับพุทธศักราช 1893 ศักราชนี้ตีพิมพ์ใน วารสารศิลปากร ปีที่ 13 ฉบับที่ 5 (มกราคม 2513) หน้า 107-112 และหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย (กรมศิลปากร, 2526) หน้า 302-308 แต่อย่างไรก็ตาม จากการตีพิมพ์ครั้งล่าสุดคือในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 7 (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, 2535) หน้า 53-58 ได้มีการศึกษาสอบทานใหม่ แล้วพบว่าเลขตัวสุดท้ายคล้ายกับเลข 5 ในบรรทัดที่ 22 ข้างล่างจึงควรแก้เป็น “1 . . 4 ปีขาล” เสียมากกว่า เทียบดูแล้วควรเป็นมหาศักราช 1284 ตรงกับพุทธศักราช 1905 ซึ่งเป็นปีที่เจ้าไทยออกมาจากอุทร ต่อมามีข้อความว่า “ได้บวชในพระพุทธศาสนาจนกระทั่งเป็นภิกษุได้ 10 พรรษา” จารึกหลักนี้จึงน่าจะทำขึ้นในพุทธศักราช 1935 หรือ หลังจากนั้น (2) จากการสอบดูตัวอักษร พบว่า มี ฃ และ สระอะ รูปที่ปรากฏในศิลาจารึกเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 1935 แต่ตัวอักษรอื่น เช่น ก, ต, ม, ธ เป็นรูปที่ใช้อยู่ตั้งแต่ พ.ศ. 1955 เป็นต้นไป และอักษร ฃ, ม, ศ และ อ เป็นรูปที่ใช้อยู่ถึง พ.ศ. 2079 ดังนั้นหากสรุปตามรูปตัวอักษรแล้ว “ศิลาจารึกหลักนี้จึงควรทำขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1955-2079” |
ข้อมูลอ้างอิง |
เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก : |
ภาพประกอบ |
ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566 |