จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre

จารึกวัดกำแพงงาม

จารึก

จารึกวัดกำแพงงาม ด้านที่ 1

QR-code edit Share on Facebook

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2564 เวลา 16:21:46

ชื่อจารึก

จารึกวัดกำแพงงาม

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

สท. 13, ศิลาจารึกอักษรไทย ภาษาไทย และอักษรขอม ภาษาบาลี สมัยสุโขทัย, ศิลาจารึกวัดกำแพงงาม พุทธศักราช 1893, หลักที่ 291 จารึกวัดกำแพงงาม

อักษรที่มีในจารึก

ไทยสุโขทัย, ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1955-2079

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 48 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 31 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 17 บรรทัด

ผู้อ่าน

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2513)

ผู้ปริวรรต

ประสาร บุญประคอง (พ.ศ. 2513)

ผู้ตรวจ

1) ประเสริฐ ณ นคร (พ.ศ. 2513), (พ.ศ. 2534)
2) คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2534)

เชิงอรรถอธิบาย

1. ประสาร บุญประคอง และ ประเสริฐ ณ นคร : “1(28)4 ปีขาลนักษัตร” = สันนิษฐานว่า เป็นมหาศักราช 1284 ตรงกับ พุทธศักราช 1905
2. ประสาร บุญประคอง และ ประเสริฐ ณ นคร : “เจ้าไทย” = เจ้านายผู้ใหญ่พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
3. ประสาร บุญประคอง และ ประเสริฐ ณ นคร : “ข้าว” = เข้า แปลว่า ปี
4. ประสาร บุญประคอง และ ประเสริฐ ณ นคร : “พระวิฎกตรัย” = พระปิฎกตรัย
5. ประสาร บุญประคอง และ ประเสริฐ ณ นคร : “เถิง” = ถึง
6. ประสาร บุญประคอง และ ประเสริฐ ณ นคร : “กรวม” = ครอบ (ฉบับอ่านครั้งแรก อ่านเป็น กลอม แปลว่า สวม)
7. ประสาร บุญประคอง และ ประเสริฐ ณ นคร : “ซ่วยเนื้อ” = ซ่วย แปลว่าล้าง ในความนี้อาจหมายถึง ล้างเนื้อตัว (ฉบับอ่านครั้งแรกอ่านเป็น ช่วยเหนือ แปลว่า ช่วยเอื้อเฟื้อ)
8. ประสาร บุญประคอง และ ประเสริฐ ณ นคร : “มีต้น” = เป็นต้นว่า
9. ประสาร บุญประคอง และ ประเสริฐ ณ นคร : “ช่อย” = ช่วย
10. ประสาร บุญประคอง และ ประเสริฐ ณ นคร : “คัน” = ครั้น
11. ประสาร บุญประคอง และ ประเสริฐ ณ นคร : “เนียรพาน” = นิพพาน