จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images
  • images

ชุดคำค้น 19 คำ

อายุ-จารึก พ.ศ. 2098, อายุ-จารึกพุทธศตวรรษที่ 21, ยุคสมัย-จารึกสมัยอาณาจักรล้านช้าง, ยุคสมัย-จารึกสมัยอาณาจักรล้านช้าง-สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราช, วัตถุ-จารึกบนหิน, วัตถุ-จารึกบนหินทราย, ลักษณะ-จารึกบนใบเสมา, ศาสนา-จารึกในพระพุทธศาสนา, ที่อยู่ปัจจุบัน-จารึกวัดจอมมณี หนองคาย, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ, เรื่อง-การบริจาคและการทำบุญ-ถวายข้าพระ, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา, เรื่อง-พิธีกรรมทางศาสนา-กัลปนา, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี, เรื่อง-ความเป็นอยู่และประเพณี-สร้างศิลาจารึก, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง, บุคคล-กษัตริย์และผู้ครองอาณาจักรล้านช้าง-สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราช, บุคคล-พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช, บุคคล-พระยานคร,

จารึกวัดจอมมณี

จารึก

จารึกวัดจอมมณี

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2566 14:13:56 )

ชื่อจารึก

จารึกวัดจอมมณี

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

นค. 4

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย

ศักราช

พุทธศักราช 2098

ภาษา

ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 3 ด้าน มี 41 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 21 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 18 บรรทัด และด้านที่ 3 มี 2 บรรทัด

วัตถุจารึก

ศิลา ประเภทหินทราย

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 70 ซม. สูง 110 ซม. หนา 8 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นค. 4”
2) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 และ กำหนดเป็น “จารึกวัดจอมมณี”
3) ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “ศิลาจารึกวัดจอมมณี”

ปีที่พบจารึก

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518

สถานที่พบ

หน้าพระอุโบสถวัดจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ผู้พบ

เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร

ปัจจุบันอยู่ที่

หน้าพระอุโบสถวัดจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

พิมพ์เผยแพร่

1) จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 336-343.
2) ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 247-253.

ประวัติ

ศิลาจารึกวัดจอมมณีนี้ เจ้าหน้าที่งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้พบที่วัดจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ขณะสำรวจเอกสารโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2518

เนื้อหาโดยสังเขป

เป็นพระบรมราชโองการของสมเด็จพระบรมบพิตรเป็นเจ้าเหนือหัว (พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช) และพระราชมารดา ให้พระยานครและขุนนางผู้ใหญ่สร้างศิลาจารึกหลักนี้ (ลงตำนาน) และช่วยกันทำนุบำรุงศาสนา รวมทั้งกำหนดเขตกัลปนาที่ดิน และอุทิศทาสโอกาสแก่วัด ส่วนด้านที่ 2 สร้างสมัยพระมหาธรรมิกราช กล่าวถึงการถวายที่ดินแก่วัดมณีเชษฐาราม เช่นเดียวกัน

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1 ระบุ จ.ศ. 917 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2098 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชปกครองราชอาณาจักรล้านช้าง (พ.ศ. 2093-2115) ส่วนด้านที่สอง ระบุชื่อกษัตริย์คือ “พระมหาธรรมิกราชาธิราช” ซึ่งอาจเป็นพระวรวงศาธรรมิกราชที่ปกครองราชอาณาจักรล้านช้างในช่วง พ.ศ. 2141-2165 หรือพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชที่ปกครองราชอาณาจักรล้านช้างในช่วง พ.ศ. 2181-2238 พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) ธวัช ปุณโณทก, “ศิลาจารึกวัดจอมมณี,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 247-253.
2) บุณนาค สะแกนอก, “จารึกวัดจอมมณี,” ใน จารึกในประเทศไทย เล่ม 5 : อักษรธรรมและอักษรไทย พุทธศตวรรษที่ 19-24 (กรุงเทพฯ : หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2529), 336-343.
3) สิลา วีระวงส์, เรียบเรียง ; สมหมาย เปรมจิตต์, แปล, ประวัติศาสตร์ลาว, พิมพ์ครั้งที่ 3 (กรุงเทพฯ : มติชน, 2540), 84-106, 111-114, 117-126.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545 (เลขทะเบียน CD; INS-TH-28, ไฟล์; Nk_0401_c, Nk_0402_c และ Nk_0403_c)