จารึกพระพุทธบาทหนองยาง

จารึก

จารึกพระพุทธบาทหนองยาง

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2567 15:39:21 )

ชื่อจารึก

จารึกพระพุทธบาทหนองยาง

อักษรที่มีในจารึก

ไทยน้อย, ธรรมอีสาน

ศักราช

พุทธศักราช 2378

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 1 ด้าน มี 12 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินทรายแดง

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 41 ซม. สูง 50 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

ในหนังสือ ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว กำหนดเป็น “จารึกพระพุทธบาทหนองยาง”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

ศาลาพระพุทธบาทหนองยาง สำนักสงฆ์หนองยาง ตำบลหนองยาง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

อาคารรอยพระพุทธบาทจำลอง วัดพระพุทธบาทยโสธร บ้านหนองยาง ตำบลหัวเมือง อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร (สำรวจเมื่อ 2 กันยายน 2563)

พิมพ์เผยแพร่

ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุนพินอักษรกิจ, 2530), 415-416.

ประวัติ

ศิลาจารึกหลักนี้สร้างคู่ไว้กับรอยพระพุทธบาทศิลา ที่สำนักสงฆ์หนองยาง แต่ผู้ดูแลสำนักสงฆ์คงไม่เข้าใจความหมายในศิลาจารึก จึงนำมาเก็บไว้หลังพระพุทธรูปปางนาคปรก ผู้ที่ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทจะไม่เห็นแผ่นศิลาจารึกนี้

เนื้อหาโดยสังเขป

พระเถระองค์หนึ่ง (พระมหาอุตตมปัญญา) ได้อาราธนารอยพระพุทธบาทศิลาทราย กว้างประมาณ 1.50 ม. ยาว 1.60 ม. จากกรุงศรีอยุธยาไปไว้ที่สำนักสงฆ์นี้ พร้อมทั้งใส่บรรณศาลาไว้ด้วย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกบรรทัดที่ 5 ระบุ พ.ศ. 2378 อันตรงกับสมัยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2367-2394)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) ธวัช ปุณโณทก, “จารึกพระพุทธบาทหนองยาง,” ใน ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว : ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน (กรุงเทพฯ : คุณพินอักษรกิจ, 2530), 415-416.
2) ฝ่ายวิชาการ สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 53 พระมหากษัตริย์ไทย : ธ ทรงครองใจไทยทั้งชาติ (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2543), 309-330.

ภาพประกอบ

ภาพสำเนาจารึกจาก : ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว (กรุงเทพฯ : คุนพินอักษรกิจ, 2530)