จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

จารึกสุวรรณปราสาท

จารึก

จารึกสุวรรณปราสาท

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 4 ธ.ค. 2567 16:13:30 )

ชื่อจารึก

จารึกสุวรรณปราสาท

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

ชม. 8, ชม. 8 จารึกพระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์, จารึกบนแผ่นไม้สัก ในพุทธสถาน อักษรไทย (ฝักขาม) และไทยเหนือ ภาษาไทยและบาลี จ.ศ. 1166, 1.2.2.1 เชียงใหม่ พ.ศ. 2348, ชม. 8 จารึกสุวรรณปราสาท พ.ศ. 2047

อักษรที่มีในจารึก

ธรรมล้านนา, ฝักขาม

ศักราช

พุทธศักราช 2347

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 40 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 24 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 16 บรรทัด

วัตถุจารึก

ไม้สัก

ลักษณะวัตถุ

รูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 43.5 ซม. สูง 106 ซม. หนา 4 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. 8 จารึกพระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์”
2) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ 15 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2515) กำหนดเป็น “จารึกบนแผ่นไม้สัก ในพุทธสถาน อักษรไทย (ฝักขาม) และไทยเหนือ ภาษาไทยและบาลี จ.ศ. 1166”
3) ในหนังสือ ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 2 กำหนดเป็น “1.2.2.1 เชียงใหม่ พ.ศ. 2348”
4) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 กำหนดเป็น “ชม. 8 จารึกสุวรรณปราสาท พ.ศ. 2047”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

พุทธสถานเชียงใหม่ ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (สำรวจเมื่อ 29 สิงหาคม 2561)

พิมพ์เผยแพร่

1) วารสารศิลปากร ปีที่ 15 ฉบับที่ 6 (มีนาคม 2515) : 87-94.
2) ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 2 (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541), 77-93.
3) จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน  (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 139-160.

ประวัติ

จารึกหลักนี้ได้มาจากพุทธสถาน ตำบลช้างคลาน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่กองหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร เดินทางไปสำรวจและอัดสำเนาจารึกมาเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2513

เนื้อหาโดยสังเขป

ข้อความจารึกด้านที่ 1 กล่าวถึงพระบรมราชาธิบดีศรีสุริยวงศ์, พระอัครราชเทวี และพระราชโอรส ว่าทรงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนา จึงมีบัญชาให้สร้างปราสาทตกแต่งด้วยทองคำ, สร้างพระพุทธรูป และนิมนต์พระพุทธธาตุเจ้ามาประดิษฐานไว้ ณ สุวรรณปราสาท ส่วนข้อความจารึกด้านที่สอง เป็นคำอธิษฐาน ภาษาบาลี

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึกด้านที่ 1 บรรทัดที่ 2 ระบุ จ.ศ. 1166 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 2347 อันเป็นสมัยที่พระเจ้าบรมราชาธิบดี (กาวิละ) ปกครองเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2324-2358)

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นวพรรณ  ภัทรมูล, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2549, จาก :
1) กรรณิการ์  วิมลเกษม, อักษรฝักขามที่พบในศิลาจารึกภาคเหนือ (กรุงเทพฯ : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2526), 12.
2) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “บัญชีจารึก จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน  (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), (29)-(59).
3) โครงการวิจัย : การปริวรรตและชำระจารึกล้านนา, “ชม. 8 จารึกสุวรรณปราสาท พ.ศ. 2047,” ใน จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน  (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2551), 139-160.
4) เทิม  มีเต็ม และทองสืบ  ศุภะมาร์ค, “คำอ่านจารึกบนแผ่นไม้สัก ในพุทธสถาน อักษรไทย (ฝักขาม) และไทยเหนือ ภาษาไทยและบาลี จ.ศ. 1166,” ศิลปากร 15, 6 (มีนาคม 2515) : 87-94.
5) ฮันส์ เพนธ์, “1.2.2.1 เชียงใหม่ พ.ศ. 2348,” ใน ประชุมจารึกล้านนา เล่ม 1 : จารึกในพิพิธภัณฑ์ฯ เชียงแสน (เชียงใหม่ : คลังข้อมูลจารึกล้านนา สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2541), 77-93.

ภาพประกอบ

1) ภาพถ่ายจารึกจากการสำรวจภาคสนาม : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), สำรวจเมื่อ 28-31 มีนาคม 2561
2) ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2566