จารึก

The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre
  • images
  • images

จารึกสองแคว

จารึก

จารึกสองแคว

QR-code edit Share on Facebook print

เวลาที่โพส โพสต์เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2550 13:59:58 ( อัพเดทเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 2566 13:43:13 )

ชื่อจารึก

จารึกสองแคว

ชื่อจารึกแบบอื่นๆ

หลักที่ 10 ศิลาจารึก จ.ศ. 766 จังหวัดสุโขทัย, ศิลาจารึกสองแคว พุทธศักราช 1947, สท. 10

อักษรที่มีในจารึก

ขอมสุโขทัย

ศักราช

พุทธศักราช 1947

ภาษา

บาลี, ไทย

ด้าน/บรรทัด

จำนวนด้าน 2 ด้าน มี 68 บรรทัด ด้านที่ 1 มี 35 บรรทัด ด้านที่ 2 มี 33 บรรทัด

วัตถุจารึก

หินชนวน

ลักษณะวัตถุ

แผ่นรูปใบเสมา

ขนาดวัตถุ

กว้าง 47 ซม. สูง 100 ซม. หนา 11 ซม.

บัญชี/ทะเบียนวัตถุ

1) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “สท. 10”
2) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 กำหนดเป็น “หลักที่ 10 ศิลาจารึก จ.ศ. 766 จังหวัดสุโขทัย”
3) ในหนังสือ จารึกสมัยสุโขทัย กำหนดเป็น “ศิลาจารึกสองแคว พุทธศักราช 1947”
4) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก กำหนดเป็น “99/36/2560”

ปีที่พบจารึก

ไม่ปรากฏหลักฐาน

สถานที่พบ

หน้าพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ผู้พบ

ไม่ปรากฏหลักฐาน

ปัจจุบันอยู่ที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (สำรวจข้อมูล พฤษภาคม 2565)

พิมพ์เผยแพร่

1) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 ([กรุงเทพฯ] : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 128-134.
2) จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 348-355.

ประวัติ

ศิลาจารึกนี้ ไม่ปรากฏว่ามาจากไหน (แต่ข้อความในบรรทัดที่ 19 ด้านที่ 1 แสดงว่าเดิมจารึกนี้อยู่ที่สองแคว คือ พิษณุโลก) ได้ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศหลายปีมาแล้ว เพิ่งได้ย้ายเอามาไว้ในหอพระสมุดสำหรับพระนคร เมื่อปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2466 ด้านที่ 1 มี 39 บรรทัด เป็นอักษรขอมสุโขทัย ภาษาไทย 2 บรรทัดครึ่ง เป็นอักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลี 6 บรรทัด แล้วอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทยอีก 30 บรรทัดครึ่ง ด้านที่ 2 มี 33 บรรทัด เป็นอักษรไทย ภาษาไทย 21 บรรทัด อักษรขอมสุโขทัย ภาษาบาลี 8 บรรทัด แล้วอักษรไทยสุโขทัย ภาษาไทยอีก 4 บรรทัด แต่ 4 บรรทัดหลังนี้เข้าใจว่าได้จารึกภายหลัง เพราะตัวหนังสือไม่เหมือนกับบรรทัดอื่นๆ ข้างต้น

เนื้อหาโดยสังเขป

ศิลาจารึกหลักนี้ชำรุดมาก อ่านได้น้อยคำ ในตอนต้นมี จ.ศ. 766 ปีวอก ตอนปลายมีชื่อพระธรรมราชา เห็นจะเป็นพระธรรมราชาที่ 3 มูลเหตุที่ได้จารึกก็ไม่ปรากฏ หรือจะปรากฏก็อ่านไม่ได้ คำจารึกที่เหลืออยู่บ้างเล็กน้อยอ่านพอได้ใจความว่า เป็นเรื่องท่านเจ้าพันสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ในเมืองเชลียง เมืองสองแคว เมืองเชียงใหม่ และเมืองสุโขทัย

ผู้สร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐาน

การกำหนดอายุ

ข้อความจารึก ด้านที่ 1 บรรทัดที่ 1-2 ระบุ จ.ศ. 766 ซึ่งตรงกับ พ.ศ. 1947

ข้อมูลอ้างอิง

เรียบเรียงข้อมูลโดย : วชรพร อังกูรชัชชัย และดอกรัก พยัคศรี, โครงการฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย, ศมส., 2546, จาก :
1) ยอร์ช เซเดส์, “ศิลาจารึกสองแคว พุทธศักราช 1947,” ใน จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2526), 348-355.
2) ยอร์ช เซเดส์, “หลักที่ 10 ศิลาจารึก จ.ศ. 766,” ใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ 1 : เป็นจารึกกรุงสุโขทัยที่ได้พบก่อน พ.ศ. 2534 (กรุงเทพฯ : คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์, สำนักนายกรัฐมนตรี, 2521), 128-134.

ภาพประกอบ

ภาพถ่ายความละเอียดสูงจากการสำรวจภาคสนาม : ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, สำรวจเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2566